"เมืองพะเยา” เป็นเมืองเก่าแก่อีกเมืองหนึ่งบนแผ่นดินล้านหน้า สำหรับ “พระกรุพะเยา” เป็นพระที่ขุดพบในเขตจังหวัดพะเยา มีมากมายหลายกรุ ผมขอเรียกรวมๆ ว่า “พระกรุพะเยา” ก็แล้วกันนะครับ นักวิชาการด้านโบราณคดีสันนิษฐานว่า “พระกรุพะเยา” นี้น่าจะสร้างราวๆ พทธศตวรรษที่ ๑๗-๑๘ ก็นับว่าเก่าไม่ใช่น้อย แต่ก็เป็นยุคหลังพระสกุล “ลำพูน” ที่สร้างราวๆ พุทธศตวรรษที่ ๑๒ ดูจากตำแหน่งแห่งที่ของพระทั้งสองกรุนี้อยู่ไม่ไกลกันนัก ฝีมือเชิงช่างและคตินิยมในการสร้างสรรค์งานพุทธศิลป์น่าจะหนีกันไม่ไกลนัก พระพิมพ์ที่ขึ้นชื่อลือชา ของกรุพะเยานี้ก็มีหลายพิมพ์หนึ่งในนั้นก็คือ พิมพ์พระรอด และที่ไม่เหมือนใคร คือ พระรอดสองหน้า เป็นพระเนื้อชินเขียว บ้างก็เรียกชินอุทุมพร พุทธลักษณะเป็นพระพุทธปางมารวิชัย ประทับนั่งอยู่บนฐาน “เขียง” ภายใต้ซุ้ม “โพธิ์ขีด” ลองสังเกตดูแล้วหน้าตาก็คล้ายพระรอดสกุล “ลำพูน” อยู่มากทีเดียว คนรุ่นเก่านักเลงรุ่นใหญ่เขายกนิ้วให้ว่าพระรอดสองหน้าชินเขียวนี้ “เหนียว” จริง “พระรอดสองหน้าชินเขียวกรุพะเยา” นี้ขึ้นคอบูชาแล้วอยู่ยง “คงความดี” รับรองชีวิตไม่มีอันตรายแน่นอนครับ
#พระรอดสองหน้า เนื้อชินเขียว จ.พะเยา มีอายุการสร้างมากกว่า 200 ปีโดยประมาณ(สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี) เป็นพระที่เคยโด่งดังในอดีต เนื่องจากผู้ที่ได้แขวนบูชา ต่างพบประสบการณ์ในเรื่องมหาอุตม์และคงกระพันด้วยกันทั้งสิ้น จึงทำให้พระกรุเนื้อชินเขียว จ.พะเยา เริ่มเป็นที่รู้จักและยอมรับกันในวงการเป็นพระเครื่องมาตรฐาน องค์นี้เป็นพระรอดสองหน้าเนื้อชินเขียว กรุพะเยา หากท่านสักเกตุดีๆไขจะขึ้นเป็นจุดๆทั่วองค์พระ ตรงช่วงหน้าอกขององค์พระจะเห็นเป็นปานดำขึ้นครับ นี่คือลักษณะของพระกรุเนื้อชินอุทุมพรหรือเนื้อชินเขียว รัศมีรอบๆองค์พระจะมีความคมเห็นเด่นชัดในตัวเองแม้พระจะเป็นพระกรุอายุนับรัอยๆปี แท้ตาเปล่าครับองคนี้ ไม่ต้องลงกล้อง สวยน่าเก็บสะสมครับองค์นี้ สนใจโทรสอบถามได้ครับหรือแอดไลน์ทักมาสอบถามได้ครับ 064-5427985
|