พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ

พระเชียงแสนเดียวลายกนก


พระเชียงแสนเดียวลายกนก


พระเชียงแสนเดียวลายกนก

ใหม่ กลับหน้าร้าน
ชื่อพระ :
 พระเชียงแสนเดียวลายกนก
รายละเอียด :
 
พระเชียงแสนเดียวลายกนก แขนอ่อน กรุวัดพระธาตุดงส้มสุก เนื้อชิน ปิดทองเดิมๆจากในกรุครับ
พระเชียงแสนสนิมแดงแตกกรุครั้งแรกมาตั้งแต่ช่วงยุคสงครามมหาเอเซียบูรพา กรุที่พบพระเชียงแสนสนิมแดงนี้มีมากมาย ตั้งแต่แถบแม่สาย แม่คำ เชียงของ ทุ่งลอ แม่วะ ไปจนตลอดพื้นที่รวมถึงในเขตจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ขุนตาน แพร่ น่าน และพะเยา ซึ่งในยุคที่พบพระเชียงแสนนั้น ยังเป็นส่วนหนึ่งของจังหวัดเชียงราย
การแตกกรุนั้นเชื่อว่าเป็นการขุดเพื่อนำพระขึ้นมาแจกจ่ายทหารหาญ หน่วยต่างๆ ที่ขึ้นไปประจำการที่มณฑลภาคพื้นพายัพ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจให้ทหารกล้าเหล่านั้น พระเชียงแสนจึงมีมีจำนวนมากมาย คาดประมาณการได้ว่าน่าจะเป็นจำนวนหลายหมื่นองค์ คุณน้อย ไอยรา เซียนพระกรุเมืองเหนือชื่อดัง เคยเขียนเล่าไว้ในหนังสือ spirit ว่า มีจำนวนมากเสียจนกระทั่งต้องใช้รถบรรทุกขนกันทีเดียว ซึ่งหลังสงครามยุติ พระเชียงแสนสนิมแดงเหล่านี้จึงกระจัดกระจายไปทั่วทุกภูมิภาค เนื่องจากทหารที่ผ่านสมรภูมิที่เมืองเชียงรายมักนำติดตัวกลับไปยังถิ่นฐานบ้านเกิดของตน ผู้คนทั่วไปจึงเริ่มรู้จักพระเชียงแสนสนิมแดงนับแต่นั้นมา ซึ่งก็แน่นอนว่าประสบการณ์ที่โจษขานของพุทธานุภาพของพระเชียงแสนสนิมแดงนี้ เห็นจะหนีไม่พ้น เรื่องแคล้วคงกระพันเป็นหลัก
พระพิมพ์เนื้อตะกั่วสนิมแดงที่เรียกกันรวม ๆ ว่า “พระเชียงแสนสนิมแดง” นี้มีมากมายหลายสิบพิมพ์ เช่นพิมพ์ปรกโพธิ์ที่มีทั้งพิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก พิมพ์ฐานสูง พิมพ์ตุ๊กตา พิมพ์ใบข้าว พระพิมพ์ลีลาที่หาชมได้ยาก พระเชียงแสนสนิมแดงบางองค์มีลงรัก ทั้งรักดำแบบไทย และรักแดงแบบรักจีน บ้างก็มีปิดทองล่องชาด ทาครั่งทายางไม้ไว้ที่ด้านหลังก็มี พระส่วนใหญ่มักมีขนาดค่อนข้างเขื่องใหญ่โต ทำให้พออนุมานวัตถุประสงค์ในการสร้างพระได้ว่า ใช้เพื่อเป็นพุทธปฎิมากรรม ติดผนังโบสถ์ และติดไว้ที่แผงไม้ลักษณะเป็นซุ้ม ใช้วางประดับตามเสนาสนะทั่วไปในพระอารามต่างๆให้สวยงาม รูในองค์พระปรากฏเป็นส่วนใหญ่ ก็เกิดจาการตอกติดไว้ที่ผนังนั่นเอง พระเชียงแสนสนิมแดงนั้น หากพิจารณาจากวัตถุประสงค์ในการสร้าง ก็พอจะสันนิษฐานได้ว่า ไม่ได้สร้างขึ้นเพียงยุคเดียวครั้งเดียว หากแต่น่าจะมีการหลายยุคหลายสมัย ที่พอจะเป็นหลักฐานสามารถยืนยันได้การสันนิษฐานเรื่องมีการสร้างพระต่อสืบเนื่องกันมาได้เห็นจะได้แก่ พระเชียงแสนขนาดเล็กจ้อยน่ารักที่สร้างไปจนถึงพระขนาดเล็กองค์จ้อยน่ารัก องค์ค่อนข้างบาง ปิดทองในกรุที่สร้างจากเนื้อดีบุกเป็นส่วนผสมหลักในยุคหลังถัดมา มีคล้ายคลึงกับ พระกรุวัดกลางตลาดพลู และพระเนื้อชินของหลวงปู่สังข์เฒ่า ที่จังหวัดระยองที่หากพิจารณาพิมพ์ทรง อายุความเก่าของทองที่ปิดองค์พระ ตลอดจน ยางไม้หรือครั่งที่ติดด้านหลังพระพิมพ์ต่างๆ จะเห็นได้ว่าแทบไม่มีความแตกต่างกันเลย
 
"พระลีลาเชียงแสนเนื้อชินสนิมแดง"
"เมืองเชียงแสนเคยมีความสำคัญในอดีต นอกจากพระพุทธรูปที่งดงามแล้ว พระเครื่องเนื้อชินสนิมแดงก็ยังมีอีกมากมายหลายกรุด้วยกัน ที่เรามักรู้จักกันดีก็คือพระปรกโพธิ์เชียงแสน และพระลีลาด้วย ซึ่งพบเห็นกันไม่บ่อยนักครับ"
เชียงแสนในปัจจุบันเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย ที่มีการพบพระพุทธรูปที่มีศิลปะงดงามมาก ที่เราเรียกกันว่าพระพุทธรูปเชียงแสน ในส่วนของพระเครื่องนั้นก็มีการพบพระกรุเนื้อชินสนิมแดงมากมายหลากหลายพิมพ์ทรง ที่เรามักจะเรียกกันว่าพระกรุเชียงแสน และนับว่าในภาคเหนือนั้นเมืองเชียงแสนมีพระเนื้อชินตะกั่วสนิมแดงมากกว่าทุกจังหวัดของภาคเหนือ ประวัติความเป็นมาของเมืองเชียงแสนนั้น มีประวัติความเป็นมายาวนานมากเป็นพันกว่าปี มีตำนานและพงศาวดารบันทึกไว้หลายตำนาน มีเจ้าผู้ครองเมืองสืบต่อกันมาจนถึงพระยามังราย และพระเจ้าแสน ภูณผู้สร้างเมืองเชียงแสนที่เรา เห็นในปัจจุบัน และประทับอยู่ที่เมืองเชียงแสนจนสวรรคต ในราวปี พ.ศ.1877 เมืองเชียงแสนในขณะนั้นคงเป็นเมืองที่มีความสำคัญมาก
กษัตริย์องค์ต่อมาคือพระเจ้าคำฟู ทรงย้ายจากเชียงใหม่มาประทับที่เชียงแสนโดยตลอดรัชกาลเช่นกัน แต่หลังจากสมัยพระเจ้าคำฟูแล้ว เมืองเชียงแสนคงลดฐานะลงกลายเป็นเมืองลูกหลวงเท่านั้น พระเจ้าผายูโปรดให้พระเจ้ากือนาราช โอรสมาปกครองเมืองเชียงแสนนาน จนถึงรัชสมัยของพระเจ้ากือนาเป็นต้นมา เมืองเชียงแสนถูกลดบทบาทลงไปอีก เนื่องจากโปรดแต่งตั้งพระราชวงศ์หรือขุนนางที่มีความดีความชอบมาปกครองในฐานะเจ้าเมืองแทน ทำให้ฐานะของเมืองเชียงแสนคงอยู่ในฐานะหัวเมือง หนึ่งเท่านั้น อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะลดฐานะลง แต่ผู้ปกครองเมืองเชียงแสน ทุกคน ต่างก็ทำนุบำรุงบ้านเมืองและมีการสร้างวัดวาอารามอยู่เสมอ
ต่อมาในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ราวปี พ.ศ.2413 มีชาวพม่า ลื้อ เขิน จากเมืองเชียงตุง และชาวไทยใหญ่จากเมืองหมอกใหม่ ได้อพยพเข้าไปตั้งถิ่นฐานในเมืองเชียงแสน เจ้าอุปราชราชวงศ์เมืองเชียงใหม่จึงมีหนังสือแจ้งไปยังกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าฯ ให้อุปราชเมืองเชียงใหม่ไปแจ้งให้คนเหล่านั้นอยู่ภายใต้การปกครองของเชียงใหม่ ถ้าต้องการอาศัยอยู่ต่อไป แต่มิมี ผู้ใดปฏิบัติตาม ดังนั้น ราวปี พ.ศ.2417 จึงโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าอินทรวิชยานนท์เมืองเชียงใหม่ และเจ้าอินต๊ะนำราษฎรจากลำพูน ลำปาง และเชียงใหม่ขึ้นไปตั้งถิ่นฐานที่เชียงแสน แล้วยกเจ้าอินต๊ะให้เป็นพระยาราชเดชตำแหน่งเจ้าเมืองเชียงแสน ต่อมาเมืองเชียงแสนถูกยุบฐานะมาเป็นอำเภอเชียงแสน ภายใต้การปกครองของจังหวัดเชียง แสนอีกครั้งหนึ่ง เมื่อวันที่ 9 เมษายน พ.ศ.2500 จนถึงปัจจุบัน
ที่เล่าความโดยย่อมานั้นก็เพื่อให้เห็นว่า เมืองเชียงแสนเคยมีความสำคัญในอดีต จึงทำให้มีพระพุทธรูปที่สวยงาม ที่เรารู้จักกันดีคือพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนไงครับ นอกจากพระพุทธรูปที่งดงามแล้ว พระเครื่องเนื้อชินสนิมแดงก็ยังมีอีกมากมายหลายกรุด้วยกัน ที่เรามักรู้จักกันดีก็คือพระปรกโพธิ์เชียงแสน ซึ่งมีอยู่หลายพิมพ์ทรงซึ่งมักจะมีขนาดเขื่อง แต่ก็มีที่เป็นขนาดย่อมเหมาะแก่การบูชาคล้องคอได้ เช่น พระปรกโพธิ์เชียงแสนพิมพ์เล็ก นอกจากนี้ก็ยังมีพระเครื่องแบบลีลาด้วย ซึ่งก็ไม่ค่อยได้พบเห็นกันบ่อยนักครับ พระกรุเชียงแสนมักจะมีการปิดทองมาแต่เดิมด้วย และผิวพระมักจะปรากฏสนิมแดงคลุมอยู่ ทำให้เพิ่มความงดงามแก่องค์พระได้ดียิ่ง"
ราคา :
 2500
โทรศัพท์ :
 0837946145, 0837946145
วันที่ :
 11/01/25 16:29:52
 
 
พระเชียงแสนเดียวลายกนก พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.