ประวัติ ของพระกรุนี้ วัดบางยี่หนได้สืบความเป็นมาจนได้หลักฐานแน่ชัดว่า หลวงพ่อหยัด อดีตเจ้าอาวาสวัดบางยี่หน เป็นผู้สร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. ๒๔๔๕ แล้วบรรจุลงไว้ภายในเจดีย์ เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาตามคตินิยมโบราณ หลวงพ่อ หยัด องค์นี้เป็นพระเกจิอาจารย์ดังแห่งเมืองขุนแผนอีกท่านหนึ่ง รุ่นราวคราวเดียวกันกับ หลวงพ่อเนียม วัดน้อย ว่ากันว่า...หลวงพ่อหยัด ท่านเป็นพระที่คงแก่เรียน เชี่ยวชาญพระเวทอาคม และวิปัสสนากรรมฐาน และเป็นสหธรรมิก (สหาย) กับหลวงพ่อเนียม วัดน้อย ซึ่งท่านทั้งสองมักไปมาหาสู่แลกเปลี่ยนวิชาอาคมกันและกันเสมอ ในราวปี พ.ศ.๒๔๔๕ หลวงพ่อหยัดได้สร้างพระเครื่อง เนื้อดินเผา โดยท่านได้แกะแม่พิมพ์ด้วยตนเอง หลังจากนั้นก็ให้บรรดาพระเณรนำดินภายในวัดช่วยกันกรองกรวดหินทรายแล้วนวดจน ได้ที่แล้วนำมากดเป็นพิมพ์พระ หลังจากนั้นก็ทำการสุมไฟ เพื่อเผาพระให้สุกโดย หลวงพ่อหยัด ทำสมาธิเดินวนเวียนอยู่รอบ ๆ เตาเผา เพ่งกสิน เป็นการปลุกเสกไปในตัว แบบเดียวกันกับการปลุกเสกพระเครื่องของหลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน และหลวงพ่อแดง วัดทุงคอก เมื่อพระสุมไปจนได้ที่ หลวงพ่อหยัดจึงนำพระทั้งหมดปลุกเสกอีกครั้ง เผอิญขณะนั้น หลวงพ่อแก้ววัดสวนหงษ์ อำเภอบางปลาม้า พระเกจิอาจารย์ยุดเดียวกันกับท่านมาเยี่ยมเยียนท่านที่วัดบางยี่หน หลวงพ่อหยัดจึงนิมนต์หลวงพ่อแก้วปลุกเสกพระเครื่องอีกครั้ง ก่อนที่จะนำพระดังกล่าวทั้งหมดบรรจุเจดีย์
พระกรุบางยี่หน เป็นพระเนื้อดินเผา มี ๒ พิมพ์ คือ พิมพ์เชียงแสน และ พิมพ์ชินราช ขนาดองค์พระทั้งสองพิมพ์ไล่เลี่ยกัน คือกว้างประมาณ ๑.๕ ซ.ม. และสูงประมาณ ๓ ซ.ม.
๑. พิมพ์เชียงแสน ลักษณะรูปทรงห้าเหลี่ยมเว้ามุมตามซุ้มองค์พระ ตรงกลางเป็นรูปองค์พระพุทธปวงสมาธิ ขัดสมาธิเพชร ส่วนมากพระพักตร์เลือน ไรพระศกโค้งเล็กน้อย พระโมลีใหญ่ เกศบัวตูม พระกรรณสั้น องค์ปฏิมากรล่ำสัน แบบพระ ศิลปเชียงแสน นักเลงพระจึงขนานนาม พระพิมพ์นี้ว่า...“พิมพ์เชียงแสน”องค์พระประทับเหนืออาสนะบัวหงาย ๙ กลีบมีซุ้มโดยรอบเป็รัศมี พุทธลักษณะตลอดจนรายละเอียดต่างๆ เหมือนกันทั้งด้านหน้าและด้านหลัง
๒. พิมพ์ชินราช เป็น พระพิมพ์ ๒ หน้า ด้านหน้าเป็นองค์พระพุทฑปางสมาธิ ขัดสมาธิเพชร ประทับอยู่บนอาสนฐานบัวคว่ำบัวหงาย ๗ กลีบ ภายในซุ้มเรือนแก้วแบบเดียวกันกับพระพุทธชินราช วัดใหญ่พิษณุโลก ด้านหลังเป็นพระ ๒ ปาง คือ พระปางมารวิชัยองค์หนึ่ง และ พระปางประทับยืนองค์หนึ่ง อยู่ภายในซุ้มเรือนแก้วและซุ้มเส้นลวด จาก การที่ซุ้มองค์พระด้านหน้า ลักษณะคล้ายคลึงกับ พระพุทธชินราช วัดใหญ่พิษณุโลก นักเลงพระจึงขนานนามพระพิมพ์นี้ว่า “พิมพ์ชินราช”
ส่วน เนื้อพระทั้งสองพิมพ์นั้นเหมือนกัน คือ เป็นพระเนื้อดินเผา มีความละเอียดและแกร่งมาก แสดงว่าการคัดเนื้อดิน ตลอดจนการกรองกรวดทรายและนวดดินให้เข้ากันทำอย่างประณีต บางองค์จะปรากฎก้อนขาว ๆ คล้ายกับพระหลวงพ่อโหน่ง แต่ไม่ปรากฎให้เห็นทุกองค์บางองค์ไม่มีก้อนขาวดังกล่าวก็มาก และในบางองค์เมื่อส่องด้วยกล้องขยายจะพบแร่ทรายเงินทรายทองระยิบระยับงดงาม ยิ่งนัก ส่วนสีของเนื้อพระนั้น เป็นธรรมดาสำหรับพระเนื้อดินเผาจะต้องมีหลายสี คือ แดง, เทา, น้ำตาล, ดำ และขาวแกมเหลือง ส่วน คราบกรุ ของพระกรุบางยี่หนนี้คราบ เกาะติดบางมาก จะปรากฏให้เห็นเฉพาะองค์ที่ยังไม่ผ่านการใช้เท่านั้น หากเป็นพระที่ถูกสัมผัสจับต้องบ่อย ๆ คราบนี้ก็จะหลุดไป เพราะพระกรุนี้บรรจุอยู่ที่สูงไม่จมน้ำ ฉะนั้น คราบกรุจึงไม่หนาแน่นเป็นเพียงฝ้าจับโดยผิวเผือนเท่านั้น พระพุทธชินราช กรุบางยี่หน ปี 2445 บางปลาม้า สุพรรณบุรี พุทธคุณ เด่นล้ำในด้าน มหาอุด เคยเป็นข่าวใหญ่ในคราวทดสอบ “ของดี ของขลัง” ด้วยอาวุธปืนนานาชนิดมาแล้ว ปรากฏว่ากระสุนไม่ทำงาน จนเป็นที่เกรียวกราวไปทั่วเมืองขุนแผน องค์นี้เป็นพระกรุบางยี่หนพิมพ์เชียงแสนครับ สนใจแอดไลน์สอบถามได้ครับ 0645427985 หรือโทรสอบถามได้ครับ 064-5427985
|