“หลวงพ่อโชติ รุฬหผโล” แห่งวัดตะโน
ภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
ตามประวัติ...ท่านเป็นเสือเก่า มีวิชาดีตั้งแต่ยังเป็นหนุ่ม ภายหลังจึงอุปสมบทที่วัดกระทุ่ม ปี ๒๔๕๑ เครื่องรางของท่านที่มีประสบการณ์มากที่สุด ก็คือ เชือกคาดเอวนี่แหละครับ ท่านโด่งดังมากองค์หนึ่งในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เชือกคาดเอวที่ท่านสร้าง ตั้งใจแจกให้ชาวบ้าน ผู้เคารพนับถือ และทหารที่โดยเฉพาะต้องไปราชการสงคราม เมื่อนำติดตัวไปใช้ปรากฏให้เห็นถึงความศักดิ์สิทธิ์ในด้านคงกระพัน แคล้วคลาด มหาอุด ป้องกันเขี้ยวงาได้ เป็นที่ร่ำลือกันมาก อีกทั้งยังสามารถใช้ปราบภูตผีได้ และสมัยก่อนละแวก วัดตะโน จะเป็นสวน ชาวบ้านส่วนมากก็จะทำอาชีพเกี่ยวกับสวนกันครับ เข้าสวนแต่ละที ต้องคาดเชือกท่านเข้าไปด้วย เพราะสมัยก่อน งูเยอะครับ
“วัสดุที่ใช้” สร้างเป็นผ้าบังสุกุลคลุมโลงศพ ของคนที่ตายโหงและเกิดในวันแข็ง เช่น วันอังคาร วันพฤหัสบดี หรือวันเสาร์ มีทั้งผ้าขาว และผ้าจีวรจะหายาก ต้องนำไปซักด้วยน้ำค้างกลางหาวก่อน แล้วจึงนำผ้ามาควั่นเป็นเส้นๆตามแนวยาว ลงอักขระ แล้วจึงกลึงม้วนให้แน่นเป็นเส้นกลมๆ แล้วจึงถักเป็นเงื่อนพิรอดลายเปียตะขาบไฟ ว่ากันว่าท่านปลุกเสกจนเชือกคาด เลื้อยใด้เหมือนงู เมื่อสำเร็จแล้วหัวตะกร้อจะลอดเข้าบ่วงได้เองดุจมีชีวิต ซึ่งพลังจิตแบบนี้มีพระเกจิอาจารย์น้อยรูปที่สามารถทำได้ มีผู้ลองเอาเชือกคาดของท่านไฟเผาปรากฏว่าต้านไฟ ไม่ไหมมีเพียงคราบเขม่าควันไฟเท่านั้น