(คาดว่าองค์นี้อยู่บาตรน้ำมนต์ พิธีกริ่งนเรศวรเมืองงาย)
พระอุปคุต วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร จ.เชียงใหม่ ปี 2512 กริ่งดัง การสร้างน้อยยาก เจตนาดี พิธีใหญ่ ปลุกเสกพิธีเดียวกันกับพระกริ่งนเรศวรเมืองงายอันลือลั่น เกจิดังๆร่วมปลุกเสกมากมาย
ตามความเชื่อว่าพระมหาเถรอุปคุตเป็นพระอรหันต์ที่มีฤทธิ์อำนาจในทางปราบมาร บันดาลโชคลาภ นามพระอุปคุต แปลว่า “ผู้คุมครองรักษา” พระอุปคุตชอบวิเวกสงบ ท่านจึงเข้านิโรธสมาบัติ จำพรรษาอยู่ในกุฎิเรือนแก้ว กลางสดือทะเล โบราณจารย์มักจะสร้าง เป็นรูปพระอุปคุตแตกต่างกันไปหลายรูปแบบ เช่น นั่งอยู่ภายในกุ้ง หอย ปู ปลา หรือพระบัวเข็มอันเป็นสัญลักษณ์สำคัญทำให้ศรีษะแหลม เพราะที่ศรีษะคลุมด้วยใบบัวมีลักษณะแหลม จึงเรียกกันว่าพระบัวเข็ม พระอุปคุตรุ่นเก่าจะนิยมสร้างเป็นเนื้อสัมฤทธิ์ โละผสม ศิลปะเขมร เชื่อว่าพระอุปคุตมีอนุภาพในทางมหาอำนาจ ปราบศัตรูหมู่มารทั้งหลาย ป้องกันภยันตรายโดยเฉพาะภัยทางน้ำ และมีประสบการณ์ปาฏิหาริย์ ปรากฏหลายครั้งว่าผู้ที่มีพระอุปคุตบูชาอยู่กับตัวจะแคล้วคลาดปลอดภัย คงกระพันชาตรี มหาอุด และโชคลาภ เมตตามหานิยม จึงทำให้มีผู้แสวงหาพระอุปคุตมาสักการบูชากันอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ยังใช้อาราธนาทำน้ำมนต์ป้องกันแก้ไขอาถรรพณ์จัญไร ถูกกระทำด้วยคุณไสยศาสตร์ต่าง ๆ
|