1 ใน 9 เครื่องรางแห่ง สยามประเทศ
@"หมากทุยหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง"@ " หมากดี ที่วัดหนัง ถ้าเบี้ยขลัง วัดนายโรง
ไม้ครู คู่วัดอินทร์ ส่วนมีดบิน วัดหนองโพ
พิสมร วัดพวงมาลัย ครั่งเหลือร้าย วัดโตนดหลวง
ราหู คู่วัดศรีษะ แหวนอักขระ วัดหนองบัว
ลูกแร่ ที่วัดบางไผ่ ฤทธิ์เหลือร้ายหาใดปาน
เก้าสิ่งล้วนเป็นมงคล ทั่วทุกคนควรค้นหา
ติดกายยามยาตรา ภัยมิกล้ามาแผ้วพานฯ "
นี่คือบทโคลงกลอนที่นักสะสมเครื่องรางของขลังในยุคเก่าก่อนได้กล่าวถึง 9 เครื่องรางของขลังทรงคุณค่าที่ควรมีไว้คู่กาย อันได้แก่ 1. หมากทุยหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง 2. เบี้ยแก้หลวงปู่รอด วัดนายโรง 3. ตะกรุดไม้ครู หลวงปู่ภู วัดอินทร์ 4. มีดหมอ (มีดบิน) หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ 5. ตะกรุดพิสมรหลวงพ่อแก้ว วัดพวงมาลัย 6. ตะกรุดอุดครั่งหลวงพ่อทองศุข วัดโตนดหลวง 7. ราหูหลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง 8. แหวนอักขระหลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว 9. ลูกสะกดเนื้อแร่บางไผ่ หลวงปู่จันทร์ วัดโมลี...ใครที่มีชิ้นใดชิ้นหนึ่งก็ว่าดีแล้ว ยิ่งใครมีครบนี่นับว่าเป็นมงคลมากทีเดียว
พระภาวนาโกศลเถระ เจ้าคุณเฒ่าหรือหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง เป็นพระเกจิอาจารย์ที่พระพุทธเจ้าหลวงรัชกาลที่ 5 ทรงให้ความเคารพนับถือ พระองค์เคยเสด็จมาที่วัดและถ่ายภาพหลวงปู่เอี่ยมด้วยฝีพระหัตถ์ของพระองค์เองเลยครับ
หลวงปู่เอี่ยมสร้างวัตถุมงคลไว้หลายอย่าง เช่น ตะกรุด เหรียญ พระชัยวัฒน์ พระปิดตาเนื้อไม้แกะกับพระปิดทวารโลหะ แต่สำหรับเครื่องรางแล้ว"หมากทุย"ของหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง เป็นเครื่องรางที่มีชื่อเสียงที่สุดครับ
หลวงปู่เอี่ยม เกิด พ.ศ. 2375 บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดหนังเมื่ออายุ 19 ปีและอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดราชโอรสใน ปีพ.ศ. 2397 แล้วย้ายไปอยู่ที่ วัดนางนอง กับอาจารย์หลวงปู่รอด วัดนางนอง
ในรัชกาลที่ 4 ย้ายไปอยู่วัดโคนอนกับหลวงปู่รอด เมื่อหลวงปู่รอดมรณภาพ(ประมาณพ.ศ. 2410 ถึง 2413) จึงเป็นเจ้าอาวาสครองวัดโคนอนต่อจากหลวงปู่รอดครับ
ปีพ.ศ. 2441 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ย้ายไปครองวัดหนัง ท่านอยู่ที่วัดหนังประมาณ 28 ปีได้รับพระราชทานสมณศักดิ์สุดท้ายเป็น"พระภาวนาโกศล"อีกทั้งได้รับพระราชทาน"พัดงาสาน"ซึ่งเป็นพัดสำหรับผู้เชี่ยวชาญทางด้านวิปัสสนาธุระมีพระภิกษุไม่กี่รูปที่ได้รับพระราชทานพัดนี้ หลวงปู่เอี่ยมมรณภาพ ในวันที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2469 อายุ 94ปีพรรษาที่ 72 ครับ จะเห็นได้ว่าการทำมากทุยนั้นค่อนข้างยุ่งยาก โดยเฉพาะการหาหมากทุยที่ตายพราย(ยืนต้นตาย)จำนวนการสร้างจึงมีน้อยก่วา พระเครื่องมาก ขนาดของหมากทุยนั้นไม่แน่นอนแต่ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก เพราะทำจากลูกหมากที่ตายพราย ลูกจึงแคระแกรนบางลูกออกลีบๆ เมื่อทำเสร็จแล้วเจ้าของจึงนำไปถักเชือกลงรักเพื่อความคงทนและนำไปแขวนติดตัวครับ หมากทุยที่แบบเปลือยไม่มีการถักและลงรักก็มี ต้องสังเกตความเก่าของชันนะโรงที่อุดนะครับ
หมากทุยมีกรรมวิธีการสร้างและขั้นตอนเช่นเดียวกับการสร้างพระเครื่องทจึงคงมีความขลังเช่นเดียวกับพระเครื่องและเครื่องรางอื่นๆของหลวงปู่เอี่ยม นับว่าของดีที่น่ามีไว้ติดตัวเป็นอย่างมาก เพราะขนาดเบา พกติดตัวง่าย ไม่ต้องกลัวว่าจะหล่นแตก มีอยู่กับผู้ใด ถือว่าเป็นสิริมงคลอย่างยิ่งครับ (ขอบพระคุณข้อมูลคุณป๋อง สุพรรณครับผม) 080-1259886 แดนเชียงใหม่
|