“เขากวางคุด” เครื่องรางของทนสิทธิ์ ที่มีแต่ผู้ แสวงหา
“ที่มีอิทธิฤทธิ์สูง โบราณว่า ขนาดจอมโจร
เสือสมัยสงครามยังพกติดตัว “
โบราณจารย์ท่านกล่าวว่า "เขากวางคุด" เกิดเฉพาะกับกวางที่เป็นจ่าฝูงเท่านั้น กวางร้อยตัวพันตัวจะมีสักตัวที่เป็นเขาคุด เขาที่ไม่ได้ขึ้นตามปกติทั้งสองข้าง แต่จะขึ้นที่กลางหน้าผาก หรือกลางหัว หรือรูปลักษณะที่แปลก
อานุภาพของเขากวางคุดนั้นดีวิเศษรอบตัวตั้งแต่มหาอุด คงกระพัน เมตตา มหาอำนาจ ราชศักดิ์ โชคลาภ เจริญรุ่งเรืองร่มเย็นเป็นสุข ป้องกันภัยทั้งหลายทั้งปวง
#เขาคุดบ้าง คำว่า คุด มีความหมายว่า “มีสภาพไม่เจริญเติบโตตามที่ควรหรืองอพับ” อย่างฟันคุดเป็นอาทิ (พจนานุกรมฉบับมติชน, 2547) เมื่อหมายถึงเขากวางเขาฟาน (เก้ง) ที่มีลักษณะแปลกไม่เป็นไปตามปกติอันเกิดจากสภาวะใดสภาวะหนึ่ง กล่าวคือ เขากวางเหล่านี้แทนที่จะใช้รูปสวยหรือสะล้างงาม กลับสั้นด้วนคุดคด บางชิ้นเป็นตอเป็นกิ่งเป็นตุ่มเป็นตา คนล้านนาเรียก เขาฟานคุด ๙ กวาง ๙ ฟาน ก็ว่า นามหลังนี้คงเพราะเขาคุดบางชิ้นเกิดเป็นตุ่ม หรือแทงงอกออกมาเป็น 9 กิ่ง
ของวิเศษดังว่านี้ถือว่าทรงฤทธีด้านมหาอุด ขนาดเล็กๆ ถูกถักลวดรวมกับคดหินและของมงคลอื่นๆ สำหรับห้อยคอ ตอนเด็กๆ เคยเห็นนักเลงโตประจำหมู่บ้านเล่าในวงสุราว่า เขาคุดข่ามคลังยิ่งนัก แทงไม่เข้ายิงไม่ออก พี่เขาบอกประสบการณ์หลากหลาย รวมทั้งวิธีแก้เคล็ด เขาพูดว่า ถ้าจะยิงคนแขวนเขาคุด ให้เอาก้อนข้าวยัดปากกระบอกปืน คำว่า ข้าว คนเมืองออกเสียงว่า “เข้า” ด้วยวิธีนี้ จึงทำให้อีกไม่นานต่อมาที่นักเลงโตก็เหลือแต่ชื่อ
เขาคุดมีลักษณะหลากหลาย ถึงแม้จะมีองค์รวมของความคุดเหมือนกัน กล่าวคือ เป็นหน่อเป็นชิ้นเดียวหรือแทงกิ่งเป็น 9 ตุ่ม ๙ ยอดคงหายาก ส่วนมากจะดำริแต่งเขากวางธรรมดาให้เป็น ๙ กิ่งเสียมากกว่า บางชิ้นโตเกินจะห้อยคอได้ ส่วนมากพันลวดปิดบังรายละเอียดอันชวนสงสัย
เขางามแตกหน่อดังลำดับมานี้ ผู้เขียนได้รับมอบจากเจ้าวงศ์สักก์ ณ เชียงใหม่ (เจ้าหลานนายพลตรี เจ้า แก้วนวรัฐเจ้าหลวงเชียงใหม่องค์ที่ 9) เป็นของอยู่คุ้มหลวง มาแต่เดิมมีขนาดโตสำหรับตั้งประดับ อีกชิ้นหนึ่งที่ได้รับจากเจ้าลุงคือด้ามมีดเหน็บเป็นเขาคุด ทรงรูปสวยนั่นแล
แทรกนิดนึงนะ ไม่ว่า เขี้ยว เขา งา ความเชื่อนี้ดูเหมือนจะเกิดมาแต่เดิม เป็นเครื่องประดับทั้งบุรุษและนารีก่อนจะกลายเป็นเครื่องรางสำหรับชาวไท ไทยและจีน ในปัจจุบันหากเรามองภาพย้อนไปสู่คนชนเผ่าทั้งแถบบ้านเราและต่างประเทศ ล้วนมีชิ้นส่วนของสัตว์เหล่านี้จะประดับตัวท่านหลายท่านมองว่าเป็นคนป่าเท่านั้น ที่ใช้ความจริงแล้ว บางท่านทุกวันนี้ก็แขนก็ห้อย พะรุงพะรังประมาณเดียวกันหรืออาจมากกว่าด้วยซ้ำ คือเป็นความงามในมิติเดียวกันนับแต่อดีตจนถึงทุกวันนี้
สรุปอีกที ของวิเศษจากสัตว์อันหมายถึงของหายากอย่าง งามงคล เขี้ยว เขา เหล่านี้ ถือเป็นเครื่องรางข่ามขลัง ปัจจุบันถือเป็นเครื่องรางบำรุงใจสำหรับคนใฝ่รักงานด้านนี้ ผู้เขียนเองมีกับเขาบ้างเป็นตัวอย่างเพื่อสำแดงให้บรรดาคนรุ่นหลังได้รู้ได้เห็น เพื่อจะเข้าใจ บางครั้งก็สะท้อนใจว่า ของเหล่านี้ต้องพล่าชีวิตจึงจะได้มา ถึงแม้จะแก้ต่างว่าเป็นของสืบมาแต่โบราณก็ตาม ไม่ได้ฆ่าได้ฟัน (เอง) แต่ใจก็ยังอีกครั้งอีกวันไว้อยู่ แล...
บทความจากหนังสือ “คง เข้ม ข่าม ขลัง เครื่องรางล้านนา”
โดย ผศ. วิลักษณ์ ศรีป่าซาง ปราชญ์แห่งล้านนาครับ
|