ตำนานตะกรุดหยุดกระสุนที่เป็นเบญจภาคีแห่งเครื่องรางแห่งล้านนา (ยุคต้น) พร้อมฟิล์ม 080-1259886 แดนเชียงใหม่
ครูบาชุ่ม หลังจากที่ได้ศึกษา วิชาการทำตะกรุดหนังฯ มาแล้ว ท่านยังไม่ได้ทำตะกรุด เพราะว่ายังไม่พบหนังลูกควายตายพรายตามตำรา จนมาเมื่อปี 248 กว่า และปี 2510 , 2518 , 2519 ท่านจึงได้สร้างตะกรุดหนังฯขึ้นมา เพราะได้หนังลูกควายตายพรายตามตำรามา (ได้หนังฯมา 4 ครั้ง แต่ละครั้ง ได้หนังมาประมาณ ฟุตกว่า ๆ เพราะเป็นหนังลูกควายที่ตายขณะอยู่ในท้อง ตัวจะไม่โต และในปี 2519 ได้หนังลูกควายตายพรายมีลักษณะ 8ขา 4เขาและเป็นควายเผือกมา) รวมทำทั้งหมดไม่เกิน 400 ดอก
ตะกรุดที่ท่านสร้าง จะมีอยู่ 2ลักษณะ คือ แบบปิดทอง (สร้างในยุคต้น ร้อยเชือกสีขาว และสีแดง) และ แบบทาทอง (ทำในยุค 2518 – 2519 เพราะมีสีทองจากการบูรณะวิหารอยู่)
วิธีการสร้างตะกรุด ก็คือ.
เมื่อได้หนังลูกควายตามตำราแล้ว ต้องมีการพลีเพื่อขอศพลูกควายจากศพแม่ก่อน (ตำราต้นฉบับกล่าวไว้) แล้วนำหนังมาฟอกล้างให้สะอาดแล้วนำมาผึ่งให้แห้ง จากนั้นนำหนังมาวัดกะจำนวนปริมาณของดอกตะกรุด ว่าจะได้สักกี่ดอก แล้วตัดหนัง เมื่อตัดแล้วก็ลงอักขระที่หนังแต่ละดอกว่า…
“ พุทธังอัด ธัมมังอัด สังฆังอัด อุดธังอัดโธอัด ฆะขาขาขาขา ฆะพะสะจะ กะพะวะกะหะ”
พุทธังอัด ธัมมังอัด สังฆังอัด อุดธังอัดโธอัด (คาถามหาอุด หยุดปืน ปืนแตก)
ฆะขาขาขาขา (ข่าม เหนียว กันงูเงี้ยว เขี้ยวขอ กันเขา กันปืน กันมีด)
ฆะพะสะจะ (หัวใจข่าม คงกระพัน สารพัดกัน)
กะพะวะกะหะ (แคล้วคลาด ปลอดภัย กันสิ่งไม่ดี)
จากนั้นนำทองแดงมาเป็นแกนกลางเพื่อจะได้พันหนังได้ง่ายไม่เสียรูปทรง เสร็จแล้วนำ เชือกมาพันให้แน่นกับทองแดง แล้วนำครั่งมาพอกไว้ เพื่อทำเป็นรูปทรงเดียวกัน (แบบลูกหนำเลี๊ยบ) แล้วนำเชือกสีแดงหรือเหลืองมาร้อยไว้ เป็นอันเสร็จ ถือเป็นสุดยอดเครื่องรางของขลังอันดับต้นๆของล้านนา เด่นด้านมหาอุด และคงกระพันชาตรี
|