หากพูดถึงเครื่องรางล้านนาแล้วที่มักกล่าวถึงคือ
1.ยันต์ดาบสรี๋กัญชัย
2.ยันต์ราหู (คุ้มครองดวงชะตา)
3.ยันต์หนีบที่ชื่อว่า (พระยันต์จักรวัตติ แก้วมณีโชติ หรือ อะหิหัสะ)
4.ยันต์นาคคอคำ นาคเขาคำ หรือเรียกว่า ยันต์สำเภานาค
5.ยันต์ใบลานสรี๋พันต้น เกสรพันใบ
หากดูรายการที่5ที่กล่าวถึงยันต์ใบลานสะหรี๋พันต้นฯ ทางร้านคิดว่าเครื่องรางชนิดนั้นน่าจะมาทางประคำสะหรี๋พันต้นเพราะด้วยชื่อและมวลสารที่สร้างมันสอดครองกัน แต่ตะกรุดใบลานล้านนาส่วนใหญ่จะพอกครั่ง และเครื่องรางที่หายากอันดับต้นๆก็คือประคำสะหรี๋พันต้นโบราณ ซึ่งในวงการเครื่องรางล้านนาที่เอามาโชว์หรือซื้อขายกันจะเห็นไม่กี่เส้น ส่วนใหญ่จะเห็นเป็นประคำไม้ ประคำหวายฯ แต่ประคำล้านนาหรือประคำสะหรี๋พันต้นแบบโบราณๆยุคครูบาเก่าๆสร้างไว้นั้น แทบนับเส้นได้ ประคำสะหรี๋พันต้นคือการนำใบต้นสะหรี๋(ใบโพธิ์)จำนวนหนึ่งพันต้นหนึ่งพันวัด พวกดอกไม้ที่บูชาพระพันดอกพันเกสรนำมาเผามาบดผสมมวลสารอื่นๆ มาปั้นด้วยมือ(ลูกจะไม่สวย)โดยข้างในที่เห็นจะเป็นใบลานลงอักขระเป็นแกนของลูกประคำ จากนั้นทาด้วยรักอีกชั้นหนึ่ง โดยปรกติแล้วประคำจะเป็นของขนั๋นประจำตัวครูบานั้นๆ ครูบาท่านจะทำไว้เพียงเส้นเดียวติดตัวเท่านั้น
วันนี้ที่ได้มาเป็นประคำข้อมือสะหรี๋พันต้นชิ้นนี้พึ่งเจอชิ้นแรก ส่วนใหญ่ที่ทำจะเป็นประคำห้อยคอ ก็ว่าหายากแล้วแต่ชิ้นนี้ทำเป็นประคำข้อมือถือว่าแทบไม่เห็นที่ไหนก็ว่าได้ สภาพเกือบสมบูรณ์มีประคำอยู่ลูกจะแตกเหลือครึ่งลูก จึงทำให้รู้ว่าประคำขอมือสะหรี๋พันต้นชิ้นนี้แกนเป็นใบลาน ประคำโบราณแบบนี้อายุเกิน100ปีแน่นอน ที่ยังหลงเหลือมาถึงปัจจุบันได้ ถือว่าโชคดีแล้วครับ ชิ้นนี้เป็นของครูบาท่านใดนั้น ทางร้านไม่สามารถบอกได้จริงๆเพราะว่าสืบค้นยาก ถ้าไม่มีหลักฐานที่ชัดเจนอย่าไปตีเป็นของครูบานั้นครูบานี้ แต่ว่าประคำชิ้นนี้รู้แค่ว่าเดิมไปได้มาจากเชียงใหม่ครับ
|