เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ปี ๒๕๑๓ เนื้อทองคำ หนึ่งใน ๑๘๙ เหรียญ
เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ปี ๒๕๑๓ เนื้อทองคำ หนึ่งใน ๑๘๙ เหรียญ เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก ปี ๒๕๑๓ เนื้อทองคำ หนึ่งใน ๑๘๙ เหรียญ หายากมากฯ เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก จัดสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2513 หลังจากที่ได้มีการสร้างอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหักครบ 1 ปี ลักษณะเป็นเหรียญปั๊มรูปไข่ ออกแบบโดย กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ ด้านหน้า มีรูปพระยาพิชัยดาบหักในชุดแม่ทัพสมัยอยุธยาตอนปลาย ยืนถือดาบ 2 ข้าง ส่วนดาบข้างขวาหัก 1 ข้าง ซึ่งกองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ จำลองแบบมาจากอนุสาวรีย์ มีผ้ามัดมือที่ถือด้ามดาบติดกับด้ามดาบ เพื่อป้องกันดาบหลุดจากมือ และดาบอีกข้างหนึ่งหักข้างขวา มุมขอบข้างล่างปรากฎตัวหนังสือไทยว่า “พระยาพิชัยดาบหัก จังหวัดอุตรดิตถ์” ด้านหลังเป็น ยันต์เกราะเพชร ยันต์มะอะอุ ยันต์หัวใจมนุษย์ ยันต์พระเจ้า 5 พระองค์ ยันต์พุทธซ้อน ยันต์เฑาะว์ ยันต์ฤษี ฤาฤา ประกอบอักขระขอมและตัวนะต่าง ๆ ด้านล่างมีตัวหนังสือ ๑ ก.พ. ๒๕๑๓ จำนวนการสร้างเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก มี 1.เนื้อทองคำสร้างจำนวน 189 เหรียญ สร้างไว้เท่าจำนวน 189 ปีที่พระยาพิชัยดาบหักถึงแก่อสัญกรรม ถึง พ.ศ.2513 ให้บูชาราคาเหรียญละ 999 บาท (สมัยนั้นราคาทองคำบาทละ 450 บาท ) 2.เนื้อเงินสร้างจำนวน 999 เหรียญ ให้บูชาราคาเหรียญละ 99 บาท (ราคาสมัยนั้น) 3.เนื้อทองแดงสร้างจำนวนมากหลายหมื่นเหรียญ ให้บูชาราคาเหรียญละ 9 บาท (ราคาสมัยนั้น) เหรียญพระยาพิชัยดาบหัก รุ่นแรก 2513 แบ่งออกเป็น 2 บล็อก คือ บ.ขาด และ บ.เต็ม (เส้นขีดด้านล่างของ บ.) คือ บ.ของคำว่า“ดาบ” ส่วนด้านหน้าเหรียญพระยาพิชัยดาบหัก ตรงไหล่ซ้ายจะมีจุดไข่ปลา 1 จุด และยันต์ต่างๆ ด้านหลังเหรียญ จะเหมือนกันหมดจะแตกต่างกันที่บ.ขาด และบ.เต็ม เท่านั้น และบล๊อคแม่พิมพ์ทั้ง 2 ได้ถูกทำลายไปทั้งหมดหลังจากการสร้างเสร็จสิ้น การสร้างอนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ชาวจังหวัดอุตรดิตถ์ได้เรียกร้องให้มีการสร้างนานแล้วแต่ไม่สำเร็จ จนกระทั่งสมัยนายเวทย์ นิจถาวร เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ ด้วยศรัทธาอันแรงกล้าของพี่น้องประชาชนชาวจังหวัดอุตรดิตถ์จึงร่วมกันบริจาคเงินก่อสร้างจนสำเร็จ โดยไม่ได้ใช้งบประมาณแผ่นดินมาเกี่ยวข้องเลย อนุสาวรีย์พระยาพิชัยดาบหัก ออกแบบและหล่อด้วยโลหะผสม ทองเหลือง โดยกรมศิลปากร ขนาดใหญ่กว่าคนในยุคปัจจุบันจริง 3 เท่า ในชุดนายทหารสมัยอยุธยาตอนปลาย ในลักษณะยืนถือดาบ 2 ข้าง มีผ้ามัดมือที่ถือด้ามดาบติดกับด้ามดาบ เพื่อป้องกันดาบหลุดจากมือ และดาบอีกข้างหนึ่งหักข้างขวา มีการวางศิลาฤกษ์อนุสาวรีย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ. ศ. 2511 จนก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดอย่างป็นทางการ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ. ศ 2512 โดยคณะกรรมการซึ่งมีพลโทสำราญ แพทย์กุล แม่ทัพภาคที่ 3 (ยศและตำแหน่งขณะนั้น) เป็นประธาน นายเวทย์ นิจถาวร ผู้ว่าราชการจังหวัดอุตรดิตถ์ในขณะนั้นเป็นรองประธาน พระคณาจารย์ที่ร่วมพิธีพุทธาภิเษก 1.สมเด็จ พระสังฆราช (จวน) วัดมงกุฏกษัตริย์ฯ พระองค์ท่านทรงเสด็จมาเป็นองค์ประธานจุดเทียนชัย 2.หลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุญนาค นครสวรรค์ (ไม่ได้มานั่งปรกในพิธี แต่มอบแผ่นยันต์ ชนวน) 3.หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่ ((ไม่ได้มานั่งปรกในพิธี มอบแผ่นยันต์ชนวนพร้อมอธิษฐานส่งจิตมา ) 4.หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง 5.หลวงพ่อจันทร์ วัดหาดสองแคว อุตรดิตถ์ 6.หลวงปู่คำมี ถ้ำคูหาสวรรค์ ลพบุรี 7.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ 8.หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค นครสวรรค์ 9.หลวงปู่ดู่ วัดสะแก อยุธยา 10.หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี 11.หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าศาลาลอย ชุมพร 12.หลวงพ่อคร่ำ วัดวังหว้า ระยอง 13.หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จันทบุรี 14.หลวงพ่อทบ วัดชนแดน เพชรบูรณ์ 15.พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา พัทลุง 16.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม 17.หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอเหนือ ศรีสะเกษ 18.หลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่ 19.พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงค์ธรรม สกลนคร 20.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี 21.หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี 22.หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม นครปฐม 23.หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน ปราจีนบุรี 24.หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม นครปฐม 25.หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว นครปฐม 26.หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสาคร 27.หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง กรุงเทพฯ 28.หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง นครศรีธรรมราช 29.หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐม 30.หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี 31.หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา 32.ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง เชียงใหม่ 33.หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต ขอนแก่น 34.หลวงพ่อโอด วัดจันเสน นครสวรรค์ 35.หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี 36.หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ นครราชสีมา 37.หลวงปู่สี วัดสะแก อยุธยา 38.หลวงพ่อเขียว วัดหรงบล พัทลุง 39.หลวงพ่อเกตุ วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์ 40.หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังวิเวการาม กาญจณบุรี 41.ครูบาวัง วัดบ้านเด่น จ.ตาก 42.หลวงพ่อจ้อย วัดศรีอุทุมพร นครสวรรค์ 43.หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม ชัยนาท 44.หลวงพ่อเกษม เขมโก ลำปาง 45.พระอาจารย์ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร สกลนคร 46.หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช อยุธยา เป็นต้น
|