## พระพุทธชินราช วัดสุทัศนฯ รุ่นอินโดจีน พิมพ์สังฆฏิยาว เนื้อทองเหลือง ปี 2485 จ.กรุงเทพฯ (ไม่ตอกโค๊ต) สภาพสวย มีหน้าตา เลี่ยมทองยกซุ้มอย่างดี พระดีพิธีใหญ่ มีพุทธคุณสูง มีประสบการณ์มากทางคงกระพันชาตรี มีบัตรรับรองจากการันตีพระ
...ขอยกตัวอย่างสักเรื่องหนึ่งดังนี้ นสพ.ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2536 พาดหัวข่าวว่า "ซัดกำนัน 2 กระบอก ยิงไม่เข้า" 2 มือปืนบุกซัลโวในบ้านรุมยิงไม่ยั้ง กระสุนไม่ระคายผิวหนังแต่อย่างใด ปรากฎเพียงแต่รอยไหม้เท่านั้น ปาฏิหารย์ในการถูกยิงรอดตายครั้งนี้ กำนันเปิดเผยว่า เพราะแขวนพระพุทธชินราช วัดสุทัศน์ฯ รุ่นอินโดจีน เรื่องนี้ นิตยสารพระเครื่อง "นักเลงพระ" ได้นำมาลงด้วยเช่นเดียวกัน.
ประวัติการสร้างโดยสังเขป
...ในปี พ.ศ. 2485 พุทธสมาคมแห่งประเทศไทยร่วมกับวัดสุทัศนฯ เป็นผู้ดำเนินการสร้างพระเครื่องชุดนี้ขึ้น เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจแก่ประชาชนในยามศึกสงคราม โดยยึดเอาพระพุทธลักษณะจากองค์พระพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก เป็นองค์ต้นแบบ มีการสร้างแบ่งเป็น 3 ชนิดด้วยกัน ประกอบด้วย..
1. พระบูชา สร้างด้วยวิธีการหล่อเป็นพระพุทธรูปขัดเงา มีซุ้มเรือนแก้วเหมือนพระพุทธชินราชองค์ปัจจุบัน
2. พระรูปหล่อ พระรูปหล่อสรัางด้วยเนื้อทองเหลือง มีพุทธลักษณะเหมือนพระพุทธชินราชเป็นรูปลอยองค์ มีพิมพ์หลักๆ 3 พิมพ์คือ พิมพ์สังฆาฏิยาว พิมพ์สังฆาฏิสั้น และพิมพ์ต้อ จำนวน 90,000 องค์
3. เหรียญ สร้างด้วยวิธีการปั๊ม เป็นเนื้อทองแดงรมดำและกะไหล่ทอง มีลักษณะเป็นเหรียญรูปเสมา ด้านหน้าเป็นรูปองค์พระพุทธชินราชประทับนั่งในซุ้มเรือนแก้ว ส่วนด้านหลังของเหรียญ จะเป็นรูปอกเลาบานประตูพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จำนวน 3,000 เหรียญ.
...วันที่ 1 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ.2485 ได้ทำพิธีเททองตามตำราการสร้างพระกริ่งของวัดสุทัศน์ โดยมีท่านเจ้าพระคุณ สมเด็จพระสังฆราชแพ เป็นองค์ประธาน ท่านเจ้าคุณสัจจญาณมุนี(สนธิ์) และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในสมัยนั้น เป็นผู้ดำเนินการ นอกจากนั้นยังมีแผ่นทองจากพระเกจิอาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีอีกจำนวนหนึ่ง จึงนับได้ว่าเป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ในสมัยรัตนโกสินทร์พิธีหนึ่ง ซึ่งเพียบพร้อมไปด้วยพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงในยุคนั้นจากทั่วประเทศ จำนวน 108 รูป มาร่วมในพิธีพุทธาภิเษกในพระอุโบสถวัดสุทัศน์ฯ ในวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2485 ตรงกับเสาร์๕ (วันเสาร์ เดือน ๕ ขึ้น ๕ค่ำ).
...เนื่องจาก การตอกโค๊ตพระรูปหล่อไม่เสร็จทันในวันพุทธาภิเษกที่กำหนดไว้(ตอกโค๊ตประมาณ 84,000 องค์) จึงได้นำเข้าในพิธีพุทธาภิเษกทั้งหมด จึงมีทั้งที่ตอกโค๊ตและไม่ตอกโค๊ต.
...ในด้านพุทธคุณนั้นเข้มขลังมาก มีประสบการณ์ทางด้านคุ้มครองป้องกันภัย และคงกระพันชาตรีเป็นเยี่ยม ใช้แทนพระกริ่งวัดสุทัศนฯรุ่นเก่าได้อย่างสมศักดิ์ศรี
รายนามพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงจากทั่วประเทศ 108 รูป ที่ร่วมปลุกเสก พระพุทธชินราช รุ่นอินโดจีน ปี พ.ศ. 2485
1.สมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์ เป็นองค์ประธานในพิธี
2.ท่านเจ้าคุณศรี สนธิ์ วัดสุทัศน์ฯ ผู้ดำเนินการควบคุมการจัดสร้าง
3.หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา
4.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก
5.หลวงปู่นาค วัดระฆัง
6.หลวงปู่จันทร์ วัดนางหนู
7.หลวงพ่อดิ่ง วัดบางวัว
8.หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง
9.หลวงพ่อแช่ม วัดตาก้อง
10.หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว
11.หลวงพ่อโอภาสี อาศรมบางมด
12.หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ
13.หลวงพ่อแฉ่ง วัดบางพัง
14หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ.
15.หลวงพ่ออิ่ม วัดหัวเขา
16.หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ
17 หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก
18.พระพุทธโฆษาจารย์เจริญ วัดเทพศิรินทร์
19.หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่
20.หลวงพ่อติสโสอ้วน วัดบรมนิวาส
21.สมเด็จพระสังฆราชชื่น วัดบวรนิเวศ
22.พระพุฒาจารย์นวม วัดอนงค์
23.หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยา
24.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้
25.หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ
26.หลวงพ่อเล็ก วัดบางนมโค
27.หลวงพ่อแจ่ม วัดวังแดงเหนือ
28.หลวงพ่อช่วง วัดบางแพรกใต้
29.หลวงพ่ออาจ วัดดอนไก่ดี
30.หลวงพ่อกลิ่น วัดสพานสูง
31.สมเด็จพระสังฆราชอยู่ วัดสระเกศ
32.หลวงพ่อเชย วัดเจษฎาราม
33.หลวงพ่อปาน วัดเทพธิดาราม
34.หลวงพ่อเซ็ก วัดทองธรรมชาติ
35.หลวงพ่อเจีย วัดพระเชตุพน
36. หลวงพ่อเผื่อน วัดพระเชตุพน
37.หลวงพ่อหลิม วัดทุ่งบางมด
38.หลวงพ่อแพ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก
39.หลวงพ่อสอน วัดพลับ
40.หลวงพ่อเฟื่อง วัดสัมพันธวงศ์
41.หลวงพ่อบัว วัดอรุณ
42.หลวงพ่อนาค วัดอรุณ
43.หลวงพ่อปลั่ง วัดคูยาง
44.หลวงพ่อชุ่ม วัดพระประโทน
45.หลวงพ่อสนิท วัดราษฎร์บูรณะ
46.หลวงพ่อเจิม วัดราษฎร์บูรณะ
47.หลวงพ่อสุข วัดราษฎร์บูรณะ
48.หลวงพ่ออาคม สุนทรมา วัดราษฎร์บูรณะ
49.หลวงพ่อดี วัดเทวสังฆาราม
50.หลวงพ่อประหยัด วัดสุทัศน์
51.หลวงพ่อปลอด วัดหลวงสุวรรณ
52.หลวงพ่ออิ่ม วัดชัยพฤกษ์
53.หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก
54.หลวงพ่อทอง วัดดอนสะท้อน
55.หลวงพ่อครุฑ วัดท่าฬ่อ
56.หลวงพ่อกลีบ วัดตลิ่งชัน
57.หลวงพ่อทรัพย์ วัดสังฆราชาวาส
58.หลวงพ่อแม้น วัดเสาธงทอง
59.หลวงปู่รอด วัดวังน้ำวน
60.หลวงพ่อสาย วัดพยัคฆาราม
61.หลวงพ่อเส็ง วัดประจันตาคาม
62.หลวงพ่อพิศ วัดฆะมัง
63.หลวงพ่ออ่ำ วัดหนองกระบอก
64.หลวงพ่อหมา วัดน้ำคือ
65.หลวงปู่จันทร์ วัดบ้านยาง
66.หลวงปู่เหมือน วัดโรงหีบ
67.หลวงปู่เหรียญ วัดหนองบัว
68.หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง
69.หลวงพ่อปลื้ม วัดปากคลองมะขามเฒ่า
70.หลวงพ่อแนบ วัดระฆัง
71.หลวงพ่อเลียบ วัดเลา
72.หลวงพ่อพักตร์ วัดบึงทองหลาง
73.หลวงพ่อสอน วัดลาดหญ้า
74.หลวงปู่เผือก วัดโมลี
75.หลวงพ่อผิน วัดบวรนิเวศ
76. หลวงพ่อเจียง วัดเจริญธรรมาราม
77.หลวงพ่อทองอยู่ วัดประชาโฆษิตาราม
78.หลวงพ่อไวย์ วัดดาวดึงส์
79.หลวงพ่อกลึง วัดสวนแก้ว
80.หลวงพ่ออ่ำ วัดวงฆ้อง
81.หลวงปู่จันทร์ วัดคลองระนง
82.หลวงพ่ออ๋อย วัดไทร
83.หลวงพ่อศรี วัดพลับ
84.พระอาจารย์เชื้อ วัดพลับ
85.หลวงพ่อพริ้ง วัดบางประกอก
86.หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ
87.หลวงพ่อพริ้ง วัดราชนัดดา
88.หลวงพ่อขำ วัดตรีทศเทพ
89.หลวงพ่อหนู วัดปทุมวนาราม
90.หลวงพ่อทองคำ วัดปทุมคงคา
91.หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม
92.หลวงพ่อกรอง วัดสว่างอารมณ์
93.หลวงพ่อเนียม วัดเสาธงทอง
94.หลวงพ่อบุญ วัดอินทราราม
95.หลวงพ่อเปลี่ยน วัดบึง
96. หลวงพ่อฉ่ำ วัดท้องคุ้ง
97.หลวงพ่อพรหมสรรอด วัดบ้านไพร
98. หลวงปู่จันทร์ วัดโสมนัสวิหาร
99.หลวงพ่อโสม วัดราษฎร์บูรณะ
100.หลวงพ่อบุตร วัดบางปลากด
101.หลวงพ่อโต วัดบ้านกล้วย
102.หลวงพ่อทองอยู่ วัดบางหัวเสือ
103.หลวงพ่อวงศ์ วัดสระเกศ
104..พระอาจารย์พงษ์ วัดกำแพง
105.พระอธิการชัย วัดเปรมประชา
106 หลวงปู่รอด วัดเกริ่น
107.หลวงพ่อเที่ยง วัดบางหัวเสือ
108.หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ (ท่านไม่ได้มาร่วมปลุกเสก แต่ได้จารแผ่นทองเหลือง แผ่นทองแดง มาร่วมในพิธี)
...ขออภัย เนื่องจากทางเว็บไซต์ไม่อนุญาตให้นำภาพบัตรมาแสดง
|