## เหรียญพระแก้วมรกต วัดพระศรีฯ พิมพ์ฮั้งเตี้ยนเซ้ง เนื้อเงิน ปี 2475 จ.กรุงเทพฯ สภาพสวยมาก สมบูรณ์ เหรียญเก่าเก็บไม่ผ่านการใช้ ไม่ล้างผิว(ถ้าต้องการผิวสะอาดให้ล้างเองครับ) เหรียญดีพิธีใหญ่ สุดยอดพระเกจิอาจารย์ปลุกเสก น่าใช้ที่สุด มีบัตรรับรองจากการันตีพระ
ประวัติการสร้างเหรียญพระแก้วมรกต ฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ ครบ 150 ปี
ในปี พ.ศ.2470 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม(วัดพระก้ว) ให้ทันกับการสมโภชกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะมีอายุครบ 150 ปี ในปี พ.ศ.2475 โดยทรงโปรดเกล้าฯให้ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ทรงเป็นประธานกรรมการ และพระองค์ทรงมีพระประสงค์ที่จะให้ พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนทั่วไป ได้มีโอกาสที่จะบำเพ็ญกุศลในครั้งนี้ด้วย โดยการจัดสร้างวัตถุมงคล “เหรียญพระแก้วมรกต” เพื่อแจกเป็นที่ระลึกแก่ผู้ร่วมบริจาคทรัพย์
1. ผู้บริจาคตั้งแต่ 100 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วมรกต เนื้อทองคำ
2 .ผู้บริจาคตั้งแต่ 20 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วมรกต เนื้อเงิน
3. ผู้บริจาคตั้งแต่ 5 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วมรกต เนื้อนิเกิล(อัลปาก้า)
4. ผู้บริจาคตั้งแต่ 1 บาทขึ้นไป พระราชทานเหรียญพระแก้วมรกต เนื้อทองแดง
เหรียญพระแก้วมรกต ฉลองกรุงเทพฯ ครบ 150 ปี พ.ศ.2475 ผู้ออกแบบคือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส มีหลายบล็อกคือ บล็อกต่างประเทศ หรือ บล็อกเจนีวา สร้างน้อยนิยม บล็อกในประเทศ ผลิตจากหลายโรงงาน และมีหลายพิมพ์ เช่น สุวรรณประดิษฐ์ ฮั้งเตี้ยนเช้ง เพาะช่าง นาถาจารุประกร พิมพ์สองชื่อ และพิมพ์ไม่มีชื่อ (พิมพ์ธรรมดา) เป็นต้น เหรียญพระแก้วมรกตมี 4 เนื้อคือ 1.เนื้อทองคำ 2.เนื้อเงิน 3.เนื้อนิเกิล(อัลปาก้า) 4.เนื้อทองแดง
เหรียญพระแก้วมรกตมีลักษณะเป็นเหรียญปั๊มกลม ด้านหน้าเป็นรูปพระแก้วมรกตปางสมาธิ ประทับนั่งบนฐานบัวคว่ำบัวหงายอยู่ภายในซุ้มเรือนแก้ว มีผ้าทิพย์ห้อยและมีดอกไม้อยู่โดยรอบ ด้านหลังเหรียญเป็นรูปยันต์กรงจักร มีอักขระขอมที่ปรากฏในยันต์ 8 ตัว ได้แก่มรรคมีองค์ 8 คือ สัมมาทิฐิ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ สัมมาสมาธิ
พิธีพุทธาภิเษกนับว่ายิ่งใหญ่มาก เพราะเป็นการรวมพระเกจิคณาจารย์ชื่อดังผู้ทรงพุทธาคมในยุคนั้นมากมาย เข้าร่วมอธิษฐานจิต ได้แก่ (อ้างอิงจากสำนักงานวัดพระแก้ว)
1.พระเจ้าวรวงศ์เธอกรมหลวงชินวรสิริวัฒน์ สมเด็จพระสังฆราชเจ้า วัดราชบพิตร กทม.
2. สมเด็จพระวันรัต ( แพ ติสสเทโว ) วัดสุทัศน์ กทม.
3. พระโพธิวงศาจารย์(นวม) วัดอนงคาราม กทม.
4. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เข้ม) วัดโพธิ์ กทม.
5. หลวงพ่อคง วัดซำป่าง่าม ฉะเชิงเทรา
6. หลวงพ่อเข็ม วัดม่วง ราชบุรี
7. หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว นครปฐม
8. หลวงพ่อจันทร์ วัดนางหนู ลพบุรี
9. หลวงปู่รอด วัดทุ่งศรีเมือง อุบลราชธานี
10. หลวงพ่อเปี้ยน วัดโพธิราม สุพรรณบุรี
11. หลวงพ่อกรัก วัดอัมพวัน ลพบุรี
12. เจ้าคุณอุบาลี สิริจันโท วัดบรมนิวาส
13. หลวงพ่อช่วง วัดปากน้ำ สุมทรสงคราม
14. หลวงพ่อแฉ่ง วัดพิกุลเงิน นนทบุรี
15. หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่ กทม.
16. หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก กทม.
17. หลวงพ่อฉาย วัดพนัญเชิง อยุธยา
18. หลวงพ่อลา วัดแก่งคอย สระบุรี
19. หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง กทม.
20. หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพธิ์ นครสวรรค์
21. หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม สุมทรสงคราม
22. หลวงพ่อลา วัดโพธิ์ศรี สิงห์บุรี
23. หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้ กาญจนบุรี
24. หลวงพ่ออี๋ วัดสัตหีบ ชลบุรี
25. หลวงพ่อทอง วัดเขากบ นครสวรรค์
26. หลวงพ่อคง วัดท่าหลวงพล ราชบุรี
27. หลวงพ่อสอน วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
28. หลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม สุมทรสงคราม
29. หลวงพ่อชม วัดพุทไธสวรรค์ อยุธยา
30. หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ สุมทรสงคราม
31. หลวงพ่อพวง วัดหนองกระโดน นครสวรรค์
32. หลวงพ่อคง วัดใหม่บำเพ็ญบุญ ชัยนาท
33. หลวงพ่อญัติ วัดสายไหม ปทุมธานี
34. หลวงพ่อพร วัดดอนเมือง กทม.
35. หลวงพ่อเผือก วัดกิ่งแก้ว สมุทรปราการ
36. หลวงพ่อศรี วัดพระปรางค์ สิงห์บุรี
37. หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา
38. หลวงพ่อจาด วัดบางกระเบา ปราจีนบุรี
39. หลวงพ่อพิธ วัดฆะฆัง พิจิตร พิจิตร
40. หลวงพ่อจันทร์ วัดบ้านยาง ราชบุรี
41. หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ กทม.
42. หลวงพ่อเปี่ยม วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์
43. หลวงพ่อสนธิ์ วัดสุทัศน์ กทม.
ขออภัย เนื่องจากทางเว็บไซต์ไม่อนุญาตให้นำภาพบัตรมาแสดง
|