เหรียญครูบาศรีวิไชย รุ่นพิเศษ จัดสร้างเมื่อ ปี 2517 โดยมีพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ ยุคล เป็นองค์ประธาน และคุณนิตย์ พงษ์ลัดดา เป็นผู้ดำเนินการสร้าง ช่างผู้บรรจงแกะแม่พิมพ์ คือ ช่างยิ้ม ยอดเมือง ช่างผู้มากด้วยฝีมือเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป พระเถราจารย์ผู้ร่วมพิธีพุทธาภิเษก ล้วนแต่เป็นพระอริยะสงฆ์ ดังมีรายนามดังต่อไปนี้ อาทิเช่น
1.ครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า
2.ครูบาอินทจักร์ วัดน้ำบ่อหลวง
3.ครูบาคำแสน คุณาลังกาโร วัดป่าดอนมูล
4.ครูบาชุ่ม โพธิโก วัดวังมุย
5.หลวงพ่อสิม พุทธาจาโร วัดสันติธรรม ( หรือที่รู้จักว่าปัจจุบัน คือ หลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง )
6.ครูบาชัยวงศ์ษา วัดพระบาทห้วยต้ม
7.ครูบาทึม วัดจามเทวี
8.ครูบาสุรินทร์ วัดศรีเตี้ย
9.ครูบาสิงห์ชัย วัดป่าซางงาม
10.ครูบาสุข วัดป่าซางน้อย เจ้าอาวาสวัดบ้านปาง
และท่านเจ้าคุณพระเทพสารเวที เจ้าคณะภาคเหนือธรรมยุต เป็นประธานฝ่ายสงฆ์นั่งปรกในพิธี เริ่มพิธีพุทธาภิเษก เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๑๗ เวลา 21.19 น. ณ.วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน
จำนวนการจัดสร้าง มีรายละเอียดดังนี้
1.เนื้อทองคำ จำนวน 9 เหรียญ
2.เนื้อเงิน จำนวน 579 เหรียญ
3.เนื้อนวะโลหะ จำนวน 3,559 เหรียญ
4.เนื้อทองแดง จำนวน 5,625 เหรียญ
5.ล็อคเก็ตลงหิน จำนวน 227 อ้นเท่ากับจำนวน ศีล 227 ข้อ
รายละเอียดการตอกโค๊ดเหรียญมีดังนี้
-เหรียญทองคำและเงิน เป็นเหรียญไม่มีหู เหรียญทองคำไม่มีการตอกโค้ต เหรียญเงิน และล็อคเก็ตมีการตอกโค้ตตัว "ศ" และ "ช"
-เหรียญนวะโลหะตอกตัว "ศ"
-เหรียญทองแดงตอกตัว "จ"
เหรียญรุ่น ๑๗ นี้มีสองบล็อคพิมพ์คือ 1.พิมพ์เศียรหนาม 2.พิมพ์เศียรโล้น พิมพ์เศียรหนามเป็นพิมพ์ที่ได้รับความนิยมมากกว่าพิมพ์เศียรโล้น และมี่จำนวนสร้างมากว่าพิมพ์เศียรโล้น โดยสรุปได้ดังนี้ เหรียญทองคำ เหรียญเงิน เป็นพิมพ์เศียรหนามทั้งหมด เหรียญนวะโลหะและทองแดงมีสองบล็อคแม่พิมพ์
สาเหตุ..อันเนื่องจากในการปั๊มเหรียญพอจำนวนใกล้ครบตามกำหนดบล็อคแม่พิมพ์เกิดชำรุด จึงมีการนำเหรียญพิมพ์เศียรหนามมาถอดพิมพ์ และปั๊มขึ้นใหม่เป็นพิมพ์เศียรโล้นจนครบจำนวนที่กำหนด
ออกที่วัด :
-วัดบ้านปาง อ.ลี้ จ.ลำพูน
ผู้จัดสร้าง :
-คุณนิตย์ พงษ์ลัดดา
โดยมีอักขระขอม ด้านหลังเหรียญครูบาเจ้าฯ
สัพพพุทธา นุภาเวนะ ด้วยอานุภาพแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
สัพพสันตาปวัชชิโต จงว่างเว้นจากความเดือดร้อนทั้งปวง
สัพพสมัตถสัมปันโน เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยความปรารถนาทั้งปวง
สีติภูโต สทา ภวะ ความเป็นผู้สงบในกาลทุกเมื่อ
|