พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ

เหรียญหนุมาน หลวงพ่อกุน วัดพระนอน


เหรียญหนุมาน หลวงพ่อกุน วัดพระนอน


เหรียญหนุมาน หลวงพ่อกุน วัดพระนอน


เหรียญหนุมาน หลวงพ่อกุน วัดพระนอน

โชว์ กลับหน้าร้าน
ชื่อพระ :
 เหรียญหนุมาน หลวงพ่อกุน วัดพระนอน
รายละเอียด :
 

หลวงพ่อกุน วัดพระนอน จ.เพชรบุรี ในอดีตถ้ากล่าวถึงตะกรุดที่มีราคาแพงที่สุด คงไม่มีใครไม่รู้จักหลวงพ่อกุน วัดพระนอนพระดีเมืองเพชรบุรีอีกรูปหนึ่งที่ทำตะกรุดได้เข้มขลัง ตะกรุดมหาระงับ ตะกรุดไมยราพสะกดทัพ และอื่นๆ เรียกได้ว่านักเลงในสมัยก่อนยังนำตะกรุดของหลวงพ่อ ไปลองแขวนไว้ที่เสาบ้านใครเป็นได้หลับไม่ตื่นกันทั้งบ้าน จะทำเสียงดังอย่างไรก็ไม่ตื่นกันเลยทีเดียว เรื่องเสน่ห์ก็เป็นเยี่ยมครับ พระเกจิอาจารย์ที่สร้างรูป หนุมาน ไว้เป็น เครื่องรางของขลัง คือ หลวงพ่อกุน วัดพระนอน อ.เมือง จ.เพชรบุรี ความจริงแล้ว หลวงพ่อกุน เมื่อท่านสร้างตะกรุดอันเลื่องชื่อคือ ตะกรุดจันทร์เพ็ญ โดยแผ่นตะกรุดของ หลวงพ่อกุน ท่านจะลงอักขระและรูปลายเส้น เป็นรูป หนุมาน จับทศกัณฐ์และนางมณโฑมัดผมเข้าด้วยกัน ซึ่งเป็นภาพเรื่องราวของ รามเกียรติ์ ตอนที่ หนุมาน ไปเอาลูกหินบดยาที่ทศกัณฐ์ใช้หนุนต่างหมอน เพื่อนำมาบดยารักษาพระลักษมณ์ที่ถูกหอกกบิลพัทธ์ของทศกัณฐ์ หอกกบิลพัทธ์นี้ เป็นหอกที่พระอิศวรประทานแก่ท้าวลัสเตียน พ่อของทศกัณฐ์ และตกทอดมาถึงทศกัณฐ์ หลวงพ่อกุน วัดพระนอน ตามอัตโนประวัติกล่าวว่า เกิดเมื่อวันพุธ เดือน ๖ ปีวอก พ.ศ.๒๔๐๓ ที่บ้านหนองกาทอง ตำบลโรงเข้ อำเภอบ้านลาด จ.เพชรบุรี บิดาไม่ปรากฏนาม ส่วนมารดาชื่อ ม่วง เป็นบุตรคนที่ ๓ ในจำนวน ๕ คน ประกอบด้วยพี่ชาย ๒ คน คือ นายพ่วง และนายเตอะ ส่วนน้องชายอีก ๒ คน คือนายเกตุ และนายเขียด ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่ วัดวังบัว และอุปสมบทที่วัดแห่งเดียวกันนี้ ในระหว่างที่อุปสมบทได้ใหม่ๆ ท่านได้เดินทางไปศึกษาวิชาจาก อาจารย์แจ้ง ฆราวาสที่มีความรู้ในสูตรสนธิ์ดีผู้หนึ่ง จากนั้นยังได้ศึกษาวิชาจาก หลวงพ่อมุ่ย วัดใหญ่สุวรรณาราม และ หลวงพ่อฤกษ์ วัดพลับพลาไชย และได้ย้ายมาพำนักที่ วัดพระนอน เมื่ออุปสมบทได้ ๓ พรรษา มี พระครูสุวรรณมุนี (เกษ) เป็นเจ้าอาวาส วัดพระนอน ต่อมาท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาส วัดพระนอน สืบต่อ ทั้งยังได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ ตามที่ปรากฏอยู่บนรูปถ่ายที่ท่านเขียนสมณศักดิ์ไว้ว่า พระครูสุเมธาจารย์ แต่มีผู้เขียนประวัติท่านเขียนนามสมณศักดิ์ท่านว่า พระครูสุชาตเมธาจารย์ หลวงพ่อกุน มรณภาพลงเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๓ อายุได้ ๖๐ ปี พรรษาที่ ๔๐ ตะกรุดของหลวงพ่อนั้นกล่าวขานกันว่า ตำหรับทำตะกรุดนี้จารึกไว้ในสมุดจีนใบปกเขียว ๆ รูปที่เขียนเป็นเรื่องรามเกียรติ์ ตอนหนุมานถวายแหวน ขั้นตอนการทำก็พิถีพิถันมากหลวงพ่อท่านใช้ฤกษ์เสาร์ห้า เป็นฤกษ์ในการลงอักขระเลยยันต์และปลุกเสก สถานที่ปลุกเสกท่านก็ไปปลุกเสกในป่าช้าเจ็ดป่าช้า มีป่าช้าวัดพลับ วัดแก่นเหล็ก และวัดพระนอน เป็นต้น หลังจากนั้นพอถึงคืนวันเพ็ญเดือนสิบสองหลวงพ่อท่านก็จะใช้ลูกสะบ้ามอญ ลบถูรอยเหล็กจารที่ท่านได้จารไว้ออก และพอถึงฤกษ์เสาร์ห้าก็กลับไปจารที่ป่าช้าอีก ท่านทำเช่นนั้นจนครบ ๓ รอบท่านถึงจะนำออกมาแจกจ่ายแก่บรรดาลูกศิษย์ลูกหา พุทธคุณนั้นเหล่าเรื่องมหาเสน่ห์ก็ไม่แพ้พระขุนแผนสำนักไหนเลยนะครับ ด้านตะกรุดโทนมงกุฎพระเจ้ายันต์ที่ท่านลงและปลุกเสกในตะกรุด เรื่องมหาอุด อยู่ยงคงกระพันก็เยี่ยมครับ แต่สิ่งหนึ่งที่หลวงพ่อท่านสั่งทุกคนที่ได้ของท่านไปว่า ขออย่างเดียวอย่าไปขโมยของเขา ถ้าไปขโมยของเขาก็จะใช้ไม่ขึ้น ของดีของหลวงพ่อกุนเลื่องลือมากสมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ปลัดเมืองเพชรบุรี ยังเคยมาขอของท่านเพื่อไปคุมครองตัวเลยครับ แต่ของดีของหลวงพ่อนั้นมีน้อย เพราะกว่าท่านจะทำออกมาแต่ละอย่างใช้เวลามากขั้นตอนเยอะ เราๆ ท่านๆ คนรุ่นใหม่เลยหาของหลวงพ่อชมได้ยากครับ หลวงพ่อกุน มีชีวิตอยู่จนถึงปี พ.ศ.๒๔๖๓ ท่านก็ป่ายด้วยโรคที่รักษาไม่หาย และมรณภาพลงด้วยอายุ ๖๐ ปี ๔๐ พรรษา นักเป็นการเสียบูรพาจารย์ที่สำคัญของเมืองเพชรบุรี สำหรับเหรียญหนุมาน นั้นหลวงพ่อกุนท่านได้สร้างตามตำราโบราณ มีทั้งแบบเหรียญทรงเหลี่ยมและทรงกลม ปั๊มขอบกระบอก เนื้อทองคำลงยา( มีน้อยมากๆ) เหรียญเงินลงยา ด้านหลังหลวงพ่อกุน ท่านจะลงอักขระยันต์ครั้งละ 1 ตัว ด้วยตัวท่านเอง ตามฤกษ์ยาม แล้วท่านจึงปลุกเสกจน หนุมานจนมีอาการครบ 32 คือ ปลุกเสกจนเหรียญดิ้นได้หรือลอยขึ้นเองจึงจะใช้ได้ เหรียญหนุมานของท่าน เป็นเหรียญเก่าที่ทรงอนุภาพในทุกๆด้าน ทั้งคงกระพันชาตรี และเมตตามหานิยม มีประสบการณ์มากมาย เป็นเหรียญเก่าที่หาได้ยากยิ่งครับ

ราคา :
 โทรถาม
โทรศัพท์ :
 081-8811658, 0818811658
วันที่ :
 21/10/17 11:41:43
 
 
เหรียญหนุมาน หลวงพ่อกุน วัดพระนอน พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.