พระรุ่นนี้ได้ประกอบพิธีเททองและกดพิมพ์ในปี 2519 โดยมีพระธรรมราชานุวัตร(ปัจจุบันคือสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์วัดสุวรรณาราม) เป็นประธานสงฆ์ พระครูประสาทธรรมวัตร หรือหลวงตาละมัย (แจ่ม) วัดอรัญญิก เป็นเจ้าพิธี และพระครูประภาสธรรมาภรณ์หรือหลวงพ่อลำยอง (หลวงพ่อแขก) เป็นผู้ช่วยเจ้าพิธี หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังก์วิเวการาม ครูบาสายทอง วัดท่าไม้แดง จ.ตาก หลวงพ่อเปรื่อง วัดบางคลาน จ.พิจิตร หลวงพ่อเกตุ วัดศรีเมือง จ.สุโขทัย หลวงพ่อยงยุทธ วัดเขาไม้แดง จ.ชลบุรี เป็นต้น ร่วมนั่งปรกเททอง การจัดสร้างพระในครั้งนั้นประกอบด้วย พระบูชาพระพุทธชินราช พระมาลาเบี่ยง ขนาด 9 และ 5 นิ้ว ลงรักปิดทอง พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พระพุทธชินราช มาลาเบี่ยง เนื้อทองคำ เนื้อเงิน และเนื้อนวโลหะ เหรียญพระพุทธชินราช พระมาลาเบี่ยง (รูปทรงพระมาลาเบี่ยง) และพระพุทธชินราชเนื้อผง รุ่นพระมาลาเบี่ยง จำนวน 3 พิมพ์ คือ พิมพ์สี่เหลี่ยมใหญ่ พิมพ์สมเด็จ และพิมพ์เล็กตัดชิด (สามเหลี่ยม) หลังเป็นยันต์อกเลาอันศักดิ์สิทธิ์ ประจำองค์หลวงพ่อพระพุทธชินราช และพระมาลาเบี่ยง ของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และอักขระขอม หัวใจธาตุ 4 (นะ มะ พะ ทะ) ส่วนพิธีมหาพุทธาภิเษก จัดขึ้นในวันยุทธหัตถี 25 ม.ค. ปี 2520 ณ พระวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก โดยมีพระเกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้น จำนวน 125 รูปนั่งปรกตลอดคืน อาทิ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ธนบุรี,หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี,หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม สิงห์บุรี,หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ สุพรรณบุรี,หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู ลพบุรี,หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง สมุทรสาคร,หลวงพ่อสุด วัดกาหลง สมุทรสาคร,หลวงพ่อวัดเกตุมฯ สมุทรสาคร,หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสงคราม ฯลฯ ซึ่งเป็นผลงานปั้นสุดคลาสิคของ จ่าทวี บูรณะเขตต์ ที่บรรจงรังสรรค์ |