ประวัติเหรียญรุ่น เราสู้ ครูบาอิน อินโท วัดฟ้าหลั่ง อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ พ.ศ.2531
จากการบันทึก
นับตั้งแต่คณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโก โดยการนำของ อาจารย์หมอสมสุข คงอุไร ที่ได้รับการถ่ายทอดการปฏิบัติสมาธิอานาปานสติอันถูกต้องจากหลวงปู่พรหม ถาวโร วัดช่องแค หลวงปู่ครูบาชุ่ม โพธิโก หลวงปู่ครูบาอินทจักร รักษา วัดน้ำบ่อหลวง หลวงปู่ครูบาพรหมาจักร พรหมจักโก วัดพระพุทธบาทตากผ้า และหลวงปู่ครูบาขันแก้ว อุตตฺโม วัดสันพระเจ้าแดง เมื่อหลวงปู่ครูบาทั้ง5องค์ที่คณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโกเคารพกราบเป็นครูบาอาจารย์ได้มรณภาพลงหมดแล้วนั้น งานต่างที่หลวงปู่ครูบาอาจารย์ทั้งหลายที่เคยมอบหมายให้ อาจารย์หมอสมสุข คงอุไรก่อนมรณภาพนั้นทางคณะศิษย์รัศมีพรหมก็ยังคงดำเนินการต่อให้จนเสร็จ และก็ยังได้มีการทำบุญทอดผ้าป่า และผ้ากฐินตามวัดที่ทางคณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโกได้เป็นศิษย์เรื่อยมาเป็นประจำทุกปี เพื่อรำลึกถึงคุณแห่งครูบาอาจารย์ที่ท่านเมตตาอบรมสั่งสอน
ในปีพ.ศ.2530ก็เช่นกัน ทางคณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโก รับเป็นเจ้าภาพทอดผ้ากฐินประจำปีให้กับ วัดวังมุย และวัดพระธาตุดอยน้อย
- เมื่อวันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2530 ทำบุญทอดผ้ากฐินให้กับวัด วังมุย ต.ประตูป่า จ.ลำพูน เพื่อรำลึกถึงคุณแห่งครูบาชุ่ม โพธิโก
- วันอาทิตย์ที่ 11 ตุลาคม พ.ศ.2530 ทำบุญทอดผ้ากฐินให้วับวัดพระธาตุดอยน้อย อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ เพื่อรำลึกถึงครูบาพรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้า และมอบปัจจัยทั้งหมดในการสร้างแท่น อนุสาวรีย์ของครูบาพรหมา ให้แล้วเสร็จ และวันนี้เองที่เจ้าอาวาส คือ พระครูอุดม อานันโท เจ้าอาวาสพระธาตุดอยน้อย ได้นิมนต์ครูบาอิน อินโท เจ้าอาวาส วัดฟ้าหลั่ง อ.ดอยหล่อ จ.เชียงใหม่ มาเป็นประธานในพิธีรับผ้ากฐินจากคณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโก โดยการนำของ อาจารย์หมอสมสุข คงอุไร
ครั้งแรกที่อาจารย์หมอสมสุข ได้เห็นลักษณะของครูบาอิน อินโท ก็สะดุดตาทันทีเลยขยับเข้าไปนั่งใกล้ๆ ดูลักษณะจนครบ จ้องดูดวงตาของครูบาอิน (ตามที่ครูบาชุ่มโพธิโก และครูบา พรหมจักร วัดพระพุทธบาทตากผ้าแนะนำอาจารย์หมอสมสุข เรื่องการดูลักษณะร่างกาย แห่งพระอริยะเจ้า)จนแน่ใจ ว่าหลวงพ่อท่านได้ดวงตาเห็นธรรม
เมื่อพิธีเสร็จ อาจารย์หมอ เลยเข้าไปกราบครูบาอิน ถามเรื่องการปฏิบัติธรรมที่หลวงปู่ทั้ง5องค์ถ่ายทอดให้อาจารย์หมอว่าตรงกันหรือไม่ ครูบาอินท่านก็ตอบในสิ่งที่อาจารย์หมอถาม จนแน่ใจว่านี่คือพระอริยะเจ้าอีก1องค์ในแดนล้านนาแน่นอน เมื่อทอดผ้ากฐินที่วัดพระธาตุดอยน้อยเสร็จทางคณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโกได้แห่กันไปที่วัดฟ้าหลังกันทั้งหมดคณะทันทีเมื่อไปถึงวัดฟ้าหลั่ง ก็ได้สอบถามขอคำชี้แนะการปฏิบัติธรรมจากครูบาอิน อินโท และอาจารย์หมอสมสุขแนะนำว่าที่มาที่ไปของการเป็นคณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโกว่ามีความเป็นมาอย่างไร และพูดคุยกับครูบาอิน อย่างสนุก ศิษย์บางคนก็ได้เข้าไปขอวัตถุมงคลเช่นตะกรุดต่างๆที่ครูบาอิน สร้างไว้และนอนกันที่วัดฟ้าหลังทั้งหมด หลังจากนั้นเป็นต้นมา เมื่อทางคณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโก หรือใครคนใดคนหนึ่งในคณะได้ขึ้นมาทำธุระที่เชียงใหม่-ลำพูน ก็มักจะไปแวะกราบ หลวงปู่ครูบาหล้า วัดป่าตึง หลวงปู่ครูบาสุรินทร์ วัดศรีเตี๊ย และหลวงปู่ครูบา อิน อินโท วัดฟ้าหลั่ง เป็นประจำ
ในปลายเดือน พฤษจิกายน ปลายปี พ.ศ.2530 ครูบาอิน ท่านเดินทางมาทำธุระที่กรุงเทพฯท่านเมตตาไว้แวะเข้าไปเยี่ยมอาจารย์หมอสมสุข ถึงบ้านสะพานเหลือง ท่านก็ได้พักที่บ้านอาจารย์หมอสมสุข นั่นเองจนกระทั่งท่านทำธุระเสร็จถึงได้กลับไป ในช่วงเวลาที่ท่านพักอยู่บ้านอาจารย์หมอในช่วงนั้น ทางบ้านเมืองของประเทศไทยได้มีเหตุการณ์หนึ่งซึ่งคนไทยทุกคนรู้คือ เหตุการณ์ปะทะกันของทหารที่สมรภูมิบ้านร่มเกล้า จนเป็นเหตุให้ทหารหลายนายได้เสียชีวิต และรับบาดเจ็บเป็นจำนวนมาก ครูบาอินเลยพูดกับ อาจารย์หมอสมสุขว่า “ให้สร้างเหรียญให้หลวงพ่อ(หมายถึงตัวครูบาอิน เอง) สักหนึ่งรุ่นนะ เพื่อจะได้นำไปแจกบรรดาทหาร ที่เขาสู้รบกัน และจะเอาให้กับบรรดาทหารที่ยอมสละชีวิตเพื่อชาติตามแนวชายแดนไทย” ณ ช่วงเวลานั้นอาจารย์หมอท่านยังดำเนินการก่อสร้างหาทุนเพื่อจะบูรณะ วัดโคกโดนด้วย เมื่อท่านได้รับการขอร้องจากครูบาอิน อาจารย์หมอสมสุขจึงรีบที่จะสร้างเหรียญขึ้มมาทันที และปรึกษากับครูบาอิน ว่าให้ใช่ชื่อว่า รุ่น”เราสู้” อาจารย์หมอสมสุข ตั้งใจและรีบทำให้โดยไว เพื่อจะได้ให้ครูบาอินแจก ดั่งที่ครูบาอินท่านตั้งใจไปบอกกับอาจารย์หมอสมสุขเอง
ลักษณะเหรียญนี้คล้ายกับเหรียญเจ้าสัว กลีบบัว ครูบาขันแก้ว อุตตฺโมแห่งวัดสันพระเจ้าแดง เพราะเป็นเหรียญที่เล็กกะทัดรัดเหมาะที่จะพกติดตัว
จำนวนการสร้างคือ
1.เนื้อทองคำ จำนวน 50เหรียญ(ตอกโค๊ก อะ รัศมีล้อม ตัวขอม กลางยันต์๕)
2.เนื้อเงิน จำนวน 500 เหรียญ(ตอกโค๊ต นะ รัศมีล้อม ตัวขอมกลางยันต์๕)
3.เนื้อ นวะโลหะ จำนวน 1,000 เหรียญ(ตอกโค๊ต นะรัศมีล้อม อะรัศมีล้อม 2ฝั่งยันต์๕)
4.เนื้อสำริดผสม ยันต์ดาบสรี๋กัญชัย ของครูบาขันแก้วและทองระฆัง ไม่มีห่วง จำนวน1000 เหรียญ(ตอกโค๊ต อะรัศมี และ นะรัศมี 2ฝั่งยันต์๕)
5.เนื้อสำริดผสมฯ กะไหล่ทอง จำนวน 1,000 เหรียญ(ตอกโค๊ต กะ อักขระขอมใต้ยันต์๕)
6.1เนื้อทองแดง กะไหล่นาก จำนวน 1,000 เหรียญ(ไม่ได้ตอกโค๊ต)
6.2 เนื้อทองแดงมีห่วง 20,000 เหรียญ(ไม่ได้ตอกโค๊ต)
-เนื้อทองแดงมีห่วงอาจารย์หมอสมสุข คงอุไรถวายให้ครูบาอิน ทั้งหมดเพื่อที่ครูบาอิน จะได้นำไปแจกจ่ายให้กับเหล่าทหารที่ไปรบสงครามบ้านร่มเกล้า
-และถวายเหรียญเจ้าสัวกลีบบัว รุ่น เราสู้ ชุดกรรมการ(ชุดเงิน) 100 ชุดทำบุญ400บาท เพื่อนำปัจจัยที่เข้าวัดฟ้าหลั่ง
**เนื้อทองคำ อาจารย์หมอ สมสุข คงอุไรท่านได้ให้เหล่าบรรดาคณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโกบูชาองค์ละ2500 บาท ท่านก็มอบกล่องชุดกรรมการ เงิน ให้อีก1ชุด
**ส่วนชุดเงิน 1 ชุด ทำบุญ ชุดละ 400 บาท สร้างทั้งหมด 500 ชุด (นับรวมชุดที่ให้พร้อมกับทองคำไปด้วย)
**ส่วนเนื้อต่างๆที่เหลือ ใครอยากได้ก็ไปขอบูชา อาจารย์หมอสมสุข เองเพราะจะนำรายได้ส่วนนี้ไปมอบให้แก่ วัดโคกโดนเป็นทุนบูรณะวัดโคกโดน จ.พัทลุง ต่อไป
ป.ล ทุนที่สร้างวัตถุมงคล รุ่นเราสู้ นี้ ทางคณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโก สร้างถวายวัดฟ้าหลั่ง และวัดโคกโดนทั้งหมด โดยไม่หักค่าจัดสร้างวัตถุมงคลแต่อย่างใด ****
การสร้างวัตถุมงคลชุดนี้ทางอาจารย์หมอสมสุขได้สร้างเสร็จเมื่อกลางเดือนธันวาคม พ.ศ.2530 และได้นำมาให้ครูบาอินท่านปลุกเสกเลยในเดือนธันวาคมนั้นเองประมาณวันที่20-22 ธันวาคมเพื่อให้ทันแจกลูกศิษย์ลูกหาที่เป็นทหารจะได้ปกป้องคุ้มครองประเทศชาติได้ทันท่วงทีและครูบาอิน ท่านก็ปลุกเสกอย่างเต็มที่และก็ได้แจกลูกศิษย์ลูกหาไปหลายเหรียญเช่นกั เมื่อสงครามสงบในปลายเดือนกุมภาพันธ์ วัตถุมงคลรุ่นเราสู้ที่เหลือและเนื้อพิเศษก็นำมาให้ครูบาอินท่านปลุกเสกอีก เมื่อวันที่13- 17 เมษายน พ.ศ.2531 เป็นระยะเวลารวมปลุกเสก 5 วันในช่วงวันสงกรานต์ และวัน พญาวัน และวันปากปี (วัน พญาวัน ถือว่าเป็นวันที่คนทางภาคเหนือเชื่อว่า เป็นใหญ่กว่าวันธรรมดา ถือว่าเป็นวันปีใหม่เมือง ของล้านนา เป็นวันที่แรงที่สุดในรอบปี เลยทีเดียว)ในการปลุกเสกเหรียญเราสู้ครั้งนี้ของครูบาอิน แบบชนิดทิ้งทวนรุ่นนี้เลยก็ว่าได้ จนครูบาอินท่านเอ่ยปากว่า "ถ้าปลุกเสกมากกว่านี้พระเครื่องรุ่นนี้แตกหมดนะ"(แล้วท่านก็หัวเราะ)อาจารย์หมอก้นำเหรียญครูบาอิน ก็นำพระบางส่วนกลับมาให้คณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโกทำบุญ ดังที่กล่าวมาแต่ต้น
เมื่อครูบาอิน อินโท แจกวัตถุมงคลรุ่นเราสู้ชุดนี้กับเหล่าบรรดาทหารทั้งหลายในปลายปีพ.ศ.2530และเดือนมกราคมต้นปีพ.ศ.2531 ที่ไปรบในสงครามขณะนั้น ปรากฏว่า ไม่มีใครได้รับอันตราย หรือเสียชีวิตจากเหตุการณ์ในสงครามครั้งนั้นสักคนเดียว แม้กระทั่งแจกพระชุดนี้ให้กับลูกศิษย์ของครูบาอิน บางคนที่เป็นพ่อค้า แม่ค้า ที่อยากได้ไว้บูชา และเกิดขายของดีขึ้นมาเป็นเทน้ำเทท่า เลยนำเหตุการณ์ที่กล่าวขานต่างๆมาเล่าให้ครูบาอินฟัง ครูบาอิน ท่านพูดกับอาจารย์หมอสมสุขเอง ว่าปลุกเสกเพื่อให้เป็นกำลังใจกับผู้ที่รักษาประเทศชาติ เป็นกำลังใจให้กับพ่อค้า แม่ขาย นักธุรกิจต่างๆที่ประกอบการงานอาชีพสุจริต เป็นขวัญและกำลังใจแก่ผู้ที่ป่วยไข้ และเป็นขวัญและกำลังใจกับผู้ที่กลัวสิ่งเร้นลับ ไสยศาสตร์ผีและวิณญาณร้าย สุดแล้วแต่อธิฐานว่าจะให้สำเร็จในด้านไหน ก็พร้อมที่จะ สู้ เป็นที่กล่าวขานของเหล่าบรรดาคณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโก และศิษย์ครูบาอินบางส่วน เริ่มหาเก็บเป็นการใหญ่ เพราะเชื่อในพุทธคุณที่ครูบาอิน ท่านได้ปลุกเสกให้แก่ลูกศิษย์ทุกคนที่มาขอพึ่งใบบุญพระพุทธศาสนา และครูบาอิน อินโท และคณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโกให้ความเคารพ อย่างไร้ข้อสงสัย
1.การสร้างเหรียญ เจ้าสัวกลีบบัว รุ่นเราสู้ รุ่นนี้ เป็นการขอจาก ครูบาอิน อินโท เอง ที่อยากจะให้เหล่าบรรดาคณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโกสร้างวัตถุมงคลถวาย เพื่อจะนำไปแจกจ่าย แก่ทหาร และเหล่าบรรดาศิษย์ของท่านนำไปบูชาให้เป็นดั่งแก้วสารพัดนึก
2.การสร้างเหรียญครูบาอินรุ่นเราสู้นี้ ถือเป็นครั้งแรกของครูบาอิน ที่สร้างเป็นเนื้อทองคำ
3.เป็นการสร้างที่เป็นเจตนาดีบริสุทธิ์ ทั้งผู้สร้างและผู้ปลุกเสก
นี่แหละครับ เหรียญเราสู้ ที่หลายๆคนมองข้ามไป ผม ธันชนก เลยนำประวัติเหตุผล ที่มา ที่ไปของการสร้างเหรียญรุ่นนี้ครับ เพราะเห็นหลายๆคนมาลงขายกันโดยไม่รู้สาเหตุที่มาที่ไป ใครมีเก็บไว้และบุชาอยู่ผมก็ดีใจด้วยนะครับ
ขอขอบคุณคณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโกทุกคน ที่ให้การสนับสนุนลงข้อมูลเผยแพร่ประวัติของวัตถุมงคลรุ่นนี้ ขอบคุณทุกคนที่เข้ามาอ่าน แม้อาจจะเป็นประวัติเล็กๆน้อยๆ แต่ก็คือประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นมาแล้วในอดีตครับ |