พระสมเด็จบางขุนพรหม (สองคลอง)
พระสมเด็จบางขุนพรหม สร้างในปี พ.ศ. 2413 โดยเสมียนตราด้วง ต้นตระกูลธนโกเศศ โยมผู้ใกล้ชิดและศรัทธาในท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) เป็นอย่างมาก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสืบสานศาสนาตามแนวทางของสมเด็จท่าน ทั้ง้นี้ได้มีการขอ สูตรส่วนผสม, มวลสารอันศักดิ์สิทธิ์ และ แม่พิมพ์ ที่เหมือนกับพระสมเด็จวัดระฆัง จำนวน 4 แบบ มาจากวัดระฆังเพื่อใช้ในการสร้างพระในครั้งนี้ด้วย คือ
1. พิมพ์ใหญ่
2. พิมพ์เจดีย์
3. พิมพ์เกศบัวตูม
4. พิมพ์ฐานแซม
เนื่องจากแม่พิมพ์ที่นำมาจากวัดระฆัง เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอต่อการสร้างจำนวนมากเช่นนี้ ดังนั้นจึงให้ช่างแกะแม่พิมพ์ขึ้นมาใหม่อึกจำนวน 10 แบบ ที่มีเอกลักษณ์แม่พิมพ์ที่แตกต่างไม่เหมือนแม่พิมพ์ที่นำมาจากวัดระฆัง เช่น
1. พิมพ์ใหญ่
2. พิมพ์เจดีย์
3. พิมพ์เกศบัวตูม
4. พิมพ์ฐานแซม
5. พิมพ์เส้นด้าย
6. พิมพ์สังฆาฎิ
7. พิมพ์อกครุฑเศียรบาตร
8. พิมพ์ฐานคู่
9. พิมพ์ปรกโพธิ์
10. พิมพ์ไสยาสน์
นอกจากนอกจากนี้ยังได้อาราธนาสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี) วัดระฆังโฆษิตาราม มาเป็นประธานในพิธีพุทธาภิเษกและได้บรรจุพระสมเด็จทั้งหมดลงกรุพระเจดีย์ใหญ่ที่อยู่หน้าพระอุโบสถ วัดบางขุนพรหมใน(วัดใหม่อมตรสในปัจจุบัน) จำนวน 84,000 องค์เท่ากับพระธรรมขันธ์ สันนิษฐานว่าพระสมเด็จบางขุนพรหมทุกองค์จะได้รับอิทธิปาฎิหารย์อันเป็นสิริมงคล จากมวลสารอันศักดิ์สิทธิ์ และ จากพระคาถาชินบัญชร ที่แผ่เมตตามาจากอภิญญาของท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์(โต พรหมรังสี)โดยตรง ภายหลังทางวัดได้เปิดกรุพระเจดีย์ใหญ่อย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2500 ปรากฎว่าเหลือพระสมเด็จบางขุนพรหมที่สมบูรณ์เพียง สองพันกว่าองค์เท่านั้น
ที่นี้จะกล่าวถึงพระสมเด็จบางขุนพรหม (สองคลอง) ซึ่งหมายถึง พระสมเด็จที่มีเอกลักษณ์ผสมระหว่างพระสมเด็จวัดระฆัง(ฝั่งคลอง(แม่น้ำ)ด้านธนบุรี) และ พระสมเด็จบางขุนพรหม(ฝั่งคลอง(แม่น้ำ)ด้านกรุงเทพ) ในองค์เดียวกัน ซึงแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
ประเภทที่ 1. พระสมเด็จวัดระฆัง ที่ถูกนำมาจากวัดระฆังและถูกบรรจุลงกรุพระเจดีย์ใหญ่ เรียกว่า ฝากกรุ พร้อมกันกับพระที่สร้างในครั้งนั้นที่วัดใหม่อมตรสในปี พ.ศ. 2413 จึงปรากฎคราบกรุให้เห็นเหมือนพระสมเด็จบางขุนพรหม พระสมเด็จบางขุนพรหม(สองคลอง) ประเภทที่ 1 จึงมีจำนวนน้อยมาก
ประเภทที่ 2. พระสมเด็จบางขุนพรหม แต่ใช้แม่พิมพ์เดียวกันกับ พระสมเด็จวัดระฆัง ที่นำแม่พิมพ์มาจากวัดระฆัง ทั้ง 4 แบบ ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น ดังนั้น พิมพ์ทรงจึงเหมือนกันกับพระสมเด็จวัดระฆัง แต่เนื้อหาแก่ปูนเหมือนพระสมเด็จบางขุนพรหม พระสมเด็จบางขุนพรหม(สองคลอง) ประเภทที่ 2 มีจำนวนน้อยมากเช่นกัน
พระสมเด็จบางขุนพรหม(สองคลอง) ไม่ว่าจะเป็นประเภทที่ 1 หรือ
ประเภทที่ 2 เป็นพระที่มีจำนวนน้อยมาก
" คู่บารมี ความมีระดับพรหมวิหาร "
|