พระกริ่งโพธิโก รุ่น บูรณะวัดโคกโดน
เคยเห็นผ่านๆในเวปไซค์ทั่วไป..แต่เป็นแค่การเอาคำพูดไปอ้างต่อๆกัน(เมื่อก่อนไม่ได้สนใจ) ในใจก็อยากไปโทรถามว่ารู้ละเอียดแค่ไหน หรือเพียงแค่ก๊อปข้อมูลเขามาเพื่อที่จะเพิ่มความน่าเชื่อถือให้ได้ราคา วันนี้เลยคันอยากจะเอาข้อมูลที่แท้จริงมาลง(ไม่ได้อวดรู้นะครับ ผมก็แค่ถามผู้ที่อยู่ในพิธีสมัยนั้น)เพื่อเป็นวิทยาทานให้อ่านกันเพื่อที่จะได้รู้ว่าความเป็นมาของพระกริ่งชุดนี้เป็นอย่างไร
ในช่วงเวลานั้น จ.พัทลุง หลวงพ่อท่านแก้ว ธัมมิโกแห่งวัดโคกโดน พระสงฆ์ที่มีกาลพรรษามากเป็นอันดับที่2รองจากพ่อท่านเล็ก วัดประดู่เรียง เป็นศิษย์เอกของพ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์และเป็นศิษย์แห่งสำนักเขาอ้อด้วย(ลองเข้าไปหาอ่านประวัติพ่อท่านแก้ว ธัมมิโกในเวปไซค์ต่างๆได้เลยครับ เพราะส่วนมากจะบอกว่าท่านเป็นศิษย์เขาอ้ออย่างเดียว แต่จากการสอบถามจากปากของอาจารย์หมอ ท่านบอกว่า พ่อท่านแก้วได้รับการถ่ายทอด สมาธิอานาปานสติ ตลอดวิชาคมจากพ่อท่านคล้าย จันดีจนหมดและมาแลกเปลี่ยนวิชากับรุ่นพี่ๆสำนักเขาอ้อ จนกลับมาอยู่ที่บ้านเกิดแล้วมาปรกครองที่วัดโคกโดน) เป็นพระอริยะเจ้าอีกรูปหนึ่งที่ทาง คณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโกให้ความเคารพเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังได้สร้างเหรียญรุ่นแรกให้ท่านเมื่อปี พ.ศ.2528 และรับอุปถัมป์วัดโคกโดนเรื่อยมา.....จนกระทั่งพ่อท่านแก้วมรณะภาพก็ยังคงอุปถัมป์อยู่
เท้าความยาวไปนิดนะครับ เรามาเข้าเรื่องพระกริ่งกันต่อ...
พระกริ่งโพธิโก เป็นพระกริ่งหล่อโบราณสร้างพร้อมกัน2แบบ
แบบที่1ถอดแบบมาจากกริ่งจีนใหญ่
แบบที่2เป็นการออกแบบพระกริ่งของอาจารย์หมอสมสุขเอง(กริ่งราชาโชค)
ทั้ง2แบบนี้มีพุทธลัษณะที่งดงามมาก เนื้อหาวรรณะของพระกริ่งจะเหมือนพระพุทธรัศมีพรหมโพธิโก18เกษาพระอริยะเจ้าเมื่อปีพ.ศ.2527ณ วัดสันพระเจ้าแดง (มีครูบาหล้า ตาทิพย์ วัดป่าตึงเป็นเจ้าพิธีในการหล่อพระ) มวลสาร พิธี และพระระดับอริยะเจ้ามาปลุกเสกครับที่สร้างโดย คณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโก โดยถือเป็นการออกแบบของอาจารย์หมอสมสุข คงอุไร ที่สร้างเป็นพระกริ่งหล่อโบราณที่สมบูรณ์แบบอีกรุ่นหนึ่งเลยทีเดียว
พระกริ่งชุดนี้อาจารย์หมอสมสุข ท่านตั้งใจและบรรจงในการสร้างมาก คนที่คลุกคลีกับพระกริ่งหล่อโบราณจะรู้ดีว่า กรรมวิธีการสร้างนั้นลำบากแค่ไหนเพราะต้องมีความพิถีพิถันทุกขั้นตอนตั้งแต่การหาฉนวนโลหะ การคิดคำนวณการผสมโลหะให้เข้ากันตามมาตราส่วนที่พอดี การปั้นหุ่นให้เป็นช่อและคิดคำนวนว่าแต่ละช่อได้กี่องค์ให้เหมาะสมกัน การทำตามฤกษ์ที่กำหนด การหลอมโลหะให้ได้ในอุณหภูมิที่พอดี การนำโลหะที่ละลายไปเทใส่ในช่อพระทุกช่อ การตัดช่อ การแต่งพระและอุดกริ่งทีละองค์ สุดแสนจะลำบากครับ และถ้าไม่พิถีพิถันทุกขั้นตอนที่ทำออกมาอาจะเสียหมดเลยก็ได้ครับ(เพราะปัจจุบันจ้างโรงงานเลยครับ ง่ายเข้าว่า)
มวลสารก็ต้องตามฉบับของหลวงพ่อพรหม ท่านและครับ มีทองระฆังหลวงพ่อพรหม ทองจังก็หุ้มพระธาตุดอยห้างบาตรครูบาขันแก้ว แผ่นยันต์ต่างๆที่เหล่าบรรดาพระอาจารย์ของคณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโกเมตตาลงอักขระให้ แผ่นยันต์บังคับต่างในการสร้างพระกริ่ง ตะกรุดยันต์ดาบสรี๋กัญชัย ครูบาขันแก้ว และยันต์อีกหลายๆหลวงพ่อครับ
พระกริ่งชุดนี้อาจารย์หมอท่านออกแบบและและเตรียมการสร้างไว้แล้วในวันเสาร์ที่5เมษายน พ.ศ.2532โดยได้นิมนต์หลวงพ่อพุฒ วัดเขาไม้แดง และหลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า ทำพิธีหล่อพระกริ่งชุดนี้ที่วัดเขาไม้แดงจนเสร็จตามฤกษ์กะว่าเมื่อหล่อเสร็จจะสร้างถวายหลวงปู่พุฒ สารสุข และในช่วงเวลาดังกล่าวนั้นทางวัดโคกโดน กำลังจะหาปัจจัยมาบูรณะวัดอย่างเร่งด่วน ลำพังจะให้ศรัทธาของทางวัดโคกโดนช่วยบูรณะก็คงไม่ไหวเพราะชาวบ้านแถวๆวัดยังอดอยากกันอยู่เลยครับ การคมนาคมสมัยนั้นก็ยังลำบากอยู่ทางอาจารย์หมอท่านก็เลยปรึกษากับหลวงพ่อพุฒ ให้นำพระกริ่งชุดนี้ออกทำบุญให้กับวัดโคกโดน ส่วนอาจารย์หมอสมสุขท่านก็เลยมีความคิดขึ้นมาที่ว่า ให้พระอริยะเจ้าที่เหล่าบรรดาคณะศิษย์รัศมีพรหมให้ความเคารพและศรัทธามาร่วมปลุกเสกด้วย โดยให้ พ่อท่านแก้ว ธัมมิโก วัดโคกโดนเป็นประธาน และได้พุทธาภิเสกร่วมกับหลวงปู่สุภา วัดเขารัง หลวงปู่คร่ำ วัดวังหว้า หลวงปู่ครูบาอิน อินโท วัดฟ้าหลั่ง ปลุกเสกในวันเสาร์ที่30 มีนาคม 2533 บางคนเรียกว่า กริ่ง4ธาตุ4อภิญญา และก็ได้มีการเปิดให้ลูกศิษย์คณะรัศมีพรหม และลูกศิษย์พ่อท่านแก้ว ธัมมิโก วัดโคกโดนให้บูชาพระกริ่งชุดนี้ และวัตถุมงคลต่างๆที่คณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโกเคยสร้างไว้ ได้ปัจจัยถวายวัดโคกโดนจนแล้วเสร็จ ไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้นเงินทุกบาททุกสตางค์ถวายวัดหมดเลยครับ ถือว่า พระกริ่งรุ่นนี้ เจตนา การสร้าง พิธี มวลสารดีครบทั้งสิ้น
พระกริ่งโพธิโกชุดนี้เป็นที่หวงแหนของเหล่าบรรดาคณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโกเป็นอย่างมาก ถ้าศิษย์รุ่นเก่าๆเขารู้ดีครับว่า อาจารย์หมอสมสุข เป็นคนที่ละเอียดทุกขั้นตอนไม่ให้เสียชื่อว่าเป็น อาหมอ...ลุงหมอ..อาจารย์หมอ...ของคณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโกครับ |