เมื่อกล่าวถึงตะกรุดที่ชื่อว่า จำปาสี่ต้น(จุ๋มป๋าสี่ต้น)คนภาคเหนือรู้จักว่าเป็นตะกรุดที่เด่นในด้านเมตตามหานิยม ค้าขาย และในลักษณะรูปแบบที่ทุกคนรู้จักคือมีตะกรุดดอกเล็ก4ดอกมาถักเชือด้ายร้อยติดกันจะเป็นแบบนี้ทุกที่ที่มีการสร้าง แต่....เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นของใครสร้าง? นั่นก็เป็นคำถามที่หลายๆคนถามมา แล้วข้างในเขาเขียนยังไง คาถาอะไรที่เขาเขียน
ประเด็นแรก คือส่วนมากที่ทุกคนรู้ว่า ครูบาวัง พรหมเสนโน วัดบ้านเด่น จ.ตาก เป็นผู้ทำขึ้นมาและเป็นตะกรุดอีกชนิดที่ร้างชื่อเสียงให้ท่าน..ประเด็นรองคือ...ทั่วภาคเหนือ ทั้งหลวงพ่อ พ่อหนาน พ่อครูต่างที่มีคาถาอาคมเขาก็ได้จัดสร้างตะกรุดชื่อว่าจำปาสี่ต้นเหมือนกัน ซึ่งไม่มีเอกลักษณ์ใดๆตายตัว หรือให้รู้ว่าเป็นของสำนักนั้นๆ เพราะเหล่าบรรดาครูบาอาจารย์ยุคก่อนๆท่านสร้างให้ลูกศิษย์เอาไว้บูชาเพื่อให้เกิด สิริ และมงคล ไม่ได้คิดถึงเรื่องราคา หรือพุทธพานิชย์ บางคนตีเหมารวมว่าเป็นครูบาวัง ไปซะงั้น เห็นแล้วก็สงสารคณาจารย์ พ่อหนาน พ่อครูต่างๆที่เคยสร้างมาเหมือนกัน
ประเด็นที่สอง ข้างในเป็นยันต์ หรือคาถาอะไร ที่เหล่าบรรดาครูอาจารย์ ท่านเขียน ?
ตะกรุดที่ว่า จำปาสี่ต้นนั้นเป็นตะกรุดอีกชนิดหนึ่งของล้านนาที่ไม่ได้มีรูปแบบยันต์หรือคาถาตายตัว (เหมือนตะกรุดกาสะท้อนนั่นแหละครับ) แล้วแต่บางสำนัก บางตำรา ที่ครูบาอาจารย์แต่เก่าก่อนสืบทอดรุ่นต่อรุ่น อาจเป็นทั้งตารางยันต์ ตารางตัวเลข หรือเขียนตัวพระคาถาลงไปเลยก็มี หรือบางตำรา ท่านจะเขียน
1.นะชาลิติ 2.ชาลิตินะ 3.ลิตินะชา 4.ตินะชาลิ คำว่า “นะชาลิติ” เป็นพระคาถาหัวใจพระสิวลี ที่เหล่าบรรดาพระคณาจารย์ ครูบาอาจารย์แต่เก่าก่อนท่านยกย่องว่ามีโชคลาภ เมตตาเป็นเลิศ แล้วแต่ว่าท่านจะสลับกลบทของพระคาถาแบบไหนเท่านั้น
ในแบบของครูบาขันแก้วท่านจะเขียน
ดอกที่1.เอหิเมตตา มหาเตจา
ดอกที่2.เอหิเมตตา มหาวาโย
ดอกที่3.เอหิเมตตา มหาลาโภ
ดอกที่4.เอหิเมตตา มหาปิยา และมีอีกหลายตำราของครูบาขันแก้วที่เกี่ยวกับจำปาสี่ต้น
แต่พระคาถาบทนี้ซึ่งตรงกับครูบาสุริทร์ สุรินโท วัดหลวงศรีเตี๊ยท่านทำให้กับลูกศิษย์เหมือนกัน เพียงแค่ท่านจะเพิ่มตะกรุดพ่วงเข้าไปอีกดอก ชื่อว่า ตะกรุดสิวลี(ก็นะชาลิติ นั่นแหนละครับ)บางดอกท่านก็เขียนลงในแผ่นครั้งเดียวเป็นตะกรุดโทนไปเลยก็มี แต่พุทธคุณก็จำปาสี่ต้นของครูบาสุรินทร์ท่านเหมือนกัน
ในส่วนตะกรุดจำปาสี่ต้นของครูบาวังท่านจะลงเป็นคาถาว่า 1.พยังพยาวินาสันตุฯ เป็นต้น(รายละเอียด เรื่องยันต์ของครูบาวังต้องยกให้ท่านพระอาจารย์ ภูไทย ปภากโร วัดเขาแก้วชัยมงคล อ.ทุ่งสเลี่ยม จ.สุโขทัยเพราะท่านเป็นผู้สืบทอดตำราในสายของครูบาวัง ณ ปัจจุบัน)
บางตำราและบางสำนัก ท่านจะเขียนว่า “ทุสะมะนิ” (หัวใจพระอริยสัจสี่)แล้วแต่อีกเช่นกันที่ท่านจะสลับคาถา เพราะเป็นหัวใจของพระคาถาปถมังที่มีคุณอนันนต์ และพระคาถาบทนี้ก็ไม่ไช่มีแต่จะโชคลาภอย่างเดียว ทั้งกันภัย กันผีได้ดีทีเดียว
บางตำราท่านจะแยกไปอีกโดยเขียนพระคาถาไป เช่น
ดอกที่1.นะโมพุทธายะ
ดอกที่2.นะมะพะธะ
ดอกที่3.จะภะกะสะ
ดอกที่4.มะอะอุ(หรือ นะชาลิติ ก็แล้วแต่ตำราครับ)
หรือ..พระคาถาเมตตาบท ปิโย(ย่อมาจาก บท ปิ ในพระหัวใจคาถา “อิติปิโส รัตนะมาลา” )
ดอกที่1.ปิโยเทวะมนุษย์สานัง ดอกที่2.ปิโยพรหมมะนะมุตตะโม
ดอกที่3.ปิโยนาคะสุปันนานัง ดองที่4.ปินินทริยังนะมามิหัง
จะเป็นช่องแถวได้4แถวพอดี
ส่วนตำราที่เป็นยันต์หรือตารางท่านก็มีนะครับแล้วแต่ว่าทางครูบาอาจารย์เหล่านั้นท่านจะรับการสืบทอดและถ่ายทอดเป็นแบบไหน จะเป็นตารางยันต์ทั้ง4ลูกเลยก็มี เป็นตารางยันต์1ลูกแล้วอีก3ลูกเป็นคาถาก็มี เยอะมากครับคำว่าตะกรุดจำปาสี่ต้น
ในส่วนหลวงพ่อท่านใดบ้างที่สร้างตะกรุดจำปาสี่ต้นนอกเหนือจากครูบาวัง มีเยอะครับทุกหลวงพ่อ ทุกอาจารย์ทุกสำนักจะต้องมีตะกรุดที่ชื่อว่าจำปาสี่ต้นทุกๆที่ เป็นตะกรุดหลักประจำสำนักนั้นๆ
ในการจัดสร้างจำปาสี่ต้นแต่ละดอกนั้น บางตำราบังคับไว้เลยว่าเป็นวันไหน ฤกษ์ไหนเช่น ข้างขึ้น วันจันทร์ หรือวันเสาร์๕ แล้วแต่ตำราอีกที่ บางตำราก็ไม่ได้บังคับว่าวันไหนแค่อาจจะยกเว้นวันเสีย หรือวันดับเขาห้ามทำ (นับเดือนแบบคนภาคเหนือโบราณ) ในส่วนของพระสงฆ์อริยะเจ้าท่านจะไม่เน้นตามฤกษ์ยามเท่าไหร่(เพราะในตัวครูบาเหล่านั้นท่านว่า “วันไหนถ้าคิดว่า.ดีก็ดีหมดนั่นแหละ)ขึ้นอยู่กับอำนาจจิตและแรงแห่งครูบาอาจารย์ที่ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้ท่านเอง และส่วนของฆารวาสเรืองอาคมท่านจะเน้นฤกษ์ยามและแรงครูเป็นหลักที่ประสิทธ์ประสาทตำราไว้ให้ จะเขียนลงแผ่นทองแดง เงิน หรือทองคำก็แล้วแต่ว่าท่านจะหาอะไรมาให้หลวงพ่อ ครู อาจารย์ท่านเขียน หรือจะเขียนลงเป็น 3 กษัตริย์ 4 กษัตริย์ก็แล้วแต่ครับ ไม่กำหนด
เรื่องพระพุทธคุณนั้นต้องแยกออกเป็น2ส่วนครับเพราะตำราแต่ละที่ไม่เหมือนกันคนส่วนใหญ่เข้าใจว่าจำปาสี่ต้นนั้นเป็นโชคลาภเมตตาอย่างเดียว ก็ถูกต้องครับแต่บางทีครูบาอาจารย์แต่ก่อนอาจทำเป็นยันต์กันภัยกันผี กันคุณไสย กันเขี้ยวด้วยก็ได้แล้วท่านก็มาผูกรวมกัน คนเห็นก็ต้องบอกว่า จำปาสี่ต้นแน่นอน หรือบางตำรา ก็เอามารวมกันไปเลยก็มี
และที่ผมนำมาให้อ่านนั้นเป็นตำราของทางครูบาขันแก้วและวัดศรีเตี๊ยครูบาสุรินทร์ สุรินโท ท่านเคยสร้างไว้ ว่าเป็นเมตตา มหานิยม โชคลาภด้วยใช้อาราธนาเป็นน้ำมนต์ประพรหมสินค้าให้ขายดี(ดังเช่นใบฝอยเดิมที่มาจากวัด ครูบาสุรินทร์ ท่านให้พระเลขาสมัยนั้นพิมพ์ตามคำพูดท่าน ไม่ต้องตียัดวัด สบายใจครับ ในส่วนตะกรุดจำปาสี่ต้นครูบาขันแก้วนั้น ถ่ายรูปมาจากการดูแลรักษาของคณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโก)
ปล.ผมได้ศึกษามาเฉพาะที่เห็นตำรา ณ ปัจจุบันเท่านั้น ในตำราอื่นที่เกี่ยวกับจำปาสี่ต้นก็ยังมีอีกมากมาย มหาศาลครับที่ผมศึกษาไม่หมดครับ เนื่องจาก ตะกรุดจำปาสี่ต้นมีหลายตำรามาก เขียนไม่หมด บางที่ท่านแบ่งว่าเป็นตำราราชครูในวัดหลวง เป็นตำราสายลำพูน สายเชียงใหม่ สายเมืองน่าน สายลำปางฯลฯ เพราะแต่ละพื้นที่อักขระ การสืบทอด การแต่งพระคาถาเลขยันต์ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ของที่แห่งนั้นด้วยว่าเขาใช้คาถาแบบไหนก็เท่านั้นครับ ใครจะเชื่อหรือไม่เชื่อก็สุดแล้วแต่ท่านนะครับ มาได้มีการบังคับกันอยู่แล้ว
สุดท้ายใครมีประสบการณ์ดีๆเกี่ยวกับตะกรุดจำปาสี่ต้น เป็นของหลวงพ่อ หรือของอาจารย์ที่ท่านนับถือ รู้ที่มาชัดเจนผมก็ดีใจด้วยครับ
|