พระสมเด็จระฆังหลังฆ้อน
|
|
รายละเอียด :
สมเด็จระฆังหลังฆ้อน สวยจริง ๆครับ
พระสมเด็จ วัดระฆังหลังฆ้อน เป็นพระสมเด็จเนื้อโลหะผสม ขนาดองค์พระเล็กกะทัดรัด กว้างประมาณ 1.2 ซ.ม. สูงประมาณ 1.7 ซ.ม. จัดสร้างโดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณฉันทมหาเถร (เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา) ผู้เป็นบุตรของหม่อมเจ้าถึก (พระโอรสสมเด็จพระเจ้าสัมพันธวงค์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรานุรักษ์ ผู้เป็นต้นราชกุล อิศรางกูรฯ) ซึ่งท่านเป็นเจ้าอาวาสองค์ที่ 8 ของวัดระฆังก่อนหน้า พระเทพสิทธินายก (หลวงปู่นาค) โดยสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี 2453--2457 ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพิมลธรรม (ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เมื่อปี 2464) และสร้าง พระสมเด็จ หลังฆ้อน อีกครั้งช่วงปี 2458-2470 โดยท่านได้นำเอาแผ่นโลหะที่พระอาจารย์ต่าง ๆ ได้ลงอักขระไว้นำมาหลอมหล่อรวมกับชนวนพระพุทธชินราช ที่ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 5 ได้โปรดให้สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐาน ณ พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร ทำเป็นเชื้อชนวนในการสร้างพระวัดระฆังหลังฆ้อนนี้ พระที่สร้างในคราวแรกจะมีกระแสเหลืองออกทองลูกบวบ และเนื้อสำริด และเนื้อเมฆสิทธิ์ก็เคยพอเห็น ..แต่หายากมาก ส่วนพระที่สร้างในคราวหลังจะมีสีอ่อนกว่า แต่ที่จริง ๆ ก็ ไม่ได้มีการแบ่งแยกรุ่นกันอย่างชัดเจนนัก เพราะว่าค่อนข้างจะแยกกันอย่างชัดเจนได้ยากสำหรับ พระที่มาร่วมพิธีปลุกเสกในสมัยนั้น มีจำนวนถึง 60 รูป ได้แก่ หลวงพ่อพริ้ง วัดบางปะกอก, หลวงพ่อไปล่ วัดกำแพง, หลวงพ่อพุ่ม วัดบางโคล่, หลวงพ่อพ่วง วัดกก, กรมหลวงชินวรสิริวัฒน์, หลวงพ่อชู วัดนาคปรก, หลวงพ่อสาย วัดอินทราราม(ใต้), หลวงปู่ใจ วัดเสด็จ, หลวงพ่อคง วัดบางกะพร้อม, หลวงพ่อบ่าย วัดช่องลม, หลวงพ่อเปลี่ยน วัดใต้, หลวงพ่อฉุย วัดคงคาราม, หลวงพ่อทา วัดพะเนียงแตก, หลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว, หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน, พระสังวรานุวงศ์เถร (ชุ่ม) วัดราชสิทธาราม (วัดพลับ), สมเด็จพระพุฒาจารย์ (นวม) วัดอนงคาราม, หลวงปู่ไข่ วัดเชิงเลน, หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า , หลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ, ... (จากบันทึกประวัติที่ พระราชธรรมภาณี รองเจ้าอาวาสวัดระฆัง เมื่อปี 2513 ซึ่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ญาณฉันทมหาเถร (เจริญ อิศรางกูร ณ อยุธยา) เป็นพระอุปัชฌาย์ของท่าน บันทึกไว้ ที่หลงเหลืออยู่มีดังต่อไปนี้) พิธีกรรม เนื่องด้วยการสร้างพระเนื้อทองเหลืองนี้ เริ่มด้วยการส่งแผ่นทองเหลืองไปถวายพระอาจารย์ต่าง ๆ ในพระนครฯ ธนบุรี และต่างจังหวัด มากท่านด้วยกันได้ทำการลงเลขยันต์แล้วส่งคืนกลับมา เมื่อรวมแผ่นทองเหลืองที่ลงเลขยันต์เสร็จแล้ว จึงเริ่มพิธีโดยอาราธนาพระเถรานุเถระ ผู้ทรงวิทยาคุณมาทำการปลุกเศกทองเหลืองที่จะหลอมเทเป็นองค์พระตามแบบพิมพ์ ที่กำหนดไว้ สถานที่ทำพิธีในพระอุโบสถนั้น พิธีกรรมนั้นใหญ่โตแข็งแรงมาก เมื่อเททองเป็นองค์พระแล้ว จึงเลื่อยออกเป็นกิ่ง ๆ จากแกนชนวน และเลื่อยตัดออกเป็นแท่งๆ ลักษณะของแท่งพระเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความกว้างประมาณเกือบ 3 เซนติเมตรครึ่ง ความยาวประมาณเกือบ 5 เซนติเมตรครึ่ง ความหนาประมาณครึ่งเซนติเมตร หลังจากเลื่อยตัดจากช่อแล้ว พระแต่ละองค์จะติดกันเป็นแพ ต้องใช้เลื่อยเฉือนบากออกตรงรอยต่อระหว่างองค์ และใช้ฆ้อนเคาะกระแทกให้องค์พระแต่ละองค์แยกออกจากกัน อันเป็นที่มาของชื่อ ระฆังหลังฆ้อนโดยบางองค์อาจจะมีรอยฆ้อนกระแทกยุบลงไปบ้าง บางองค์ก็ไม่มี จะมีก็แต่เพียงรอยตะไบแต่งเท่านั้น ลักษณะพิมพ์พระ เป็นรูปองค์พระปฏิมา ประทับนั่งปางสมาธิ บนอาสนะบัว 2 ชั้น อยู่ภายในซุ้มครอบแก้ว พื้นภายในเส้นครอบแก้ว ด้านหลังองค์พระเป็นปรกโพธิ์เหมือนกันหมด ลักษณะเป็น เม็ดกลม รายรอบเหนือพระเศียร เหมือนพิมพ์ปรกโพธิ์ ด้านหลัง เป็นแบบเรียบ ตอนสร้างสมัยนั้น แบ่งออกเป็น 2 อย่าง อย่างหนึ่งไม่ได้ขัดแต่งให้เช่าองค์ละ 1 บาท อีกอย่างหนึ่งเป็นพระขัดแต่งให้เช่าองค์ละ 2 บาท วิธีขัดท่านจ้างโยมปั้นผู้ชำนาญในการพระ ซึ่งแกอยู่ที่หอไตร ฯ ในสระ เอาตะไบลงตะไบที่มุมทั้งสองตอนบน และข้างทั้งสอง ทำให้มีรูปลักษณะมน ๆ แล้วเอากระดาษทรายลงขัดอีกจนทั่วทั้งด้านหน้าและหลัง แล้วจึงเอารากลำพูลงขัดเป็นครั้งสุดท้าย เสร็จแล้วดูงามมาก ทั้งนี้สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ฯ ท่านรวบรวมเงินเอาไปปฏิสังขรณ์ศาลาการเปรียญและพระอุโบสถ ที่แจกให้แก่ผู้ที่ควรแจกก็มีมาก เมื่อพระรุ่นที่ 1 หมด จึงทำเป็นรุ่นที่ 2 ตอนนี้ผู้เขียน (พระราชธรรมภาณี รองเจ้าอาวาสวัดระฆัง เมื่อปี 2513 )บวชเณรแล้ว การทำพระรุ่นที่ 2 นี้ ทำพิธีเพียงเล็กน้อยไม่ได้ทำในบริเวณพระอุโบสถ โดยเอามาเททองที่ริมเขื่อนหน้าคณะ 3 นิมนต์พระสวดมนต์และชยันโตที่หอกลางคณะ 1 การใช้ทองเหลืองหลอมเพื่อเทพระ ก็เอาทองเหลืองกับชนวนที่เข้าพิธีแล้ว เมื่อทำครั้งที่ 1 ยังเหลือเก็บไว้มารวมกันเทพระรุ่นที่ 2 โดยปกติแล้วสมเด็จอุปัชฌาย์ของข้าพเจ้า ท่านไม่โปรดเลยที่จะสร้างพระเครื่องเพิ่มเติมโดยส่วนประกอบนั้น ๆ ไม่ได้ทำพิธีปลุกเศก ท่านทำขึ้นครั้งที่ 2 ท่านก็ว่าทองเหลืองทั้งหมด ตลอดจนชนวนพระทั้งหมด ได้ปลุกเศกบริกรรมจากพระอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณมาแล้วตั้งแต่ครั้งที่ 1 พระสมเด็จทองเหลืองนี้มีน้อยไม่แพร่หลาย และเป็นที่เล่าลือกันว่ามีประสิทธิคุณไม่น้อยเหมือนกัน เล่ากันว่าผู้มีพระติดตัวลงไปในนาในหนองที่มีปลิงชุกชุมปลิงไม่เกาะ พระสมเด็จทองเหลืองเวลานี้หายากมาก แม้ผู้เขียนเอง ซึ่งขลุกอยู่กับพระอย่างใกล้ชิดยังไม่มีเลย จนถึงเมื่อบวชพระแล้วขึ้นไปทำวัตร ในฐานะท่านเป็นอุปัชฌาย์ จึงได้เรียนขอพระแก่ท่าน ท่านกลับถามว่าแกยังไม่ได้อีกหรือ ? เรียนตอบท่านว่ายังไม่ได้ ท่านพูดว่าเห็นแกวุ่นวายอยู่กับพระทำไมจึงไม่ได้ เรียนบอกท่านว่าไม่ได้ยักเอาไว้ ท่านร้องว่าอือ แล้วก็หัวเราะหันไปหยิบพระในกล่องกระดาษออกมาให้ 4 องค์ ข้าพเจ้าเก็บไว้นาน จึงตรวจดู พระหายหมดเลย เมื่อท่านมรณภาพแล้ว ท่านพระครูสังฆวิจารณ์ (ม.ล. เทพ อิศรางกูร) พระครูฐานานุกรมในองค์ท่าน เอาพระสมเด็จทองเหลืองที่ยังมีเหลืออยู่ ออกแจกแก่พวกชาววังหลวงที่เขามาช่วยจัดดอกไม้ประดับแท่นรองโกฐศพ ก็ขอได้ไว้อีก ๒-๓ องค์ก็หายหมดอีก ไม่มีเหลืออยู่เลย เวลานี้อยากได้เหลือเกินเพราะเป็นพระของพระอุปัชฌาย์ของตัว แม้เห็นที่เขามีกันก็ไม่กล้าขอเขา ถึงขอเขาก็ไม่ให้ มีผู้ทำเทียมบ้าง เอามาให้ดูอ้างว่าเป็นพระของพระสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ พิจารณาดูลักษณะและเนื้อทองแล้วเห็นผิดกันไกลมากไม่เกิดศรัทธาปสาท ฉะนั้นท่านผู้มีของเก่าเป็นสมบัติของตนจงรักษาไว้ให้ดีเถิด... เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย... จากข้อสันนิษฐานของผู้เขียนหนังสือที่ผมคัดลอกมา บอกว่าน่าจะสร้างในช่วงปลายปี 2453-2454 เพราะช่วงนี้ เป็นช่วงที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จสวรรคต เมื่อ 23 ตุลาคม พ.ศ.2453 ทำให้มีพระเกจิอาจารย์ทั้งหลายจากทั่วประเทศ ได้รับการนิมนต์มาในพระราชพิธีเป็นจำนวนมากครับ ยังมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเพิ่มเติมอีกครับ ว่าการสร้างพระหล่อขนาดเล็กนี้เป็นที่นิยมในสมัยนั้น แม้แต่หลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า ซึ่งในยุคแรกๆ นิยมสร้างตะกรุดและพระปิดตา ในยุคแรกๆของท่าน ท่านยังมาสร้างพระหล่อด้วยโลหะขนาดเล็กขนาดใกล้เคียงกันนี้ จนเป็นที่นิยมกันมาจนถึงทุกวันนี้เลยครับ และแบบพระในยุคแรกๆ จะนิยมสร้างเป็นเส้นๆและจุดกลมๆ เพราะง่ายต่อการแกะพิมพ์ จนต่อมา เมื่อฝีมือช่างเก่งขึ้นจึงเพิ่มรายละเดียดต่างๆมากขึ้นครับ เพิ่มเติมอีกนิดนึงครับ ท่านอาจารย์ภา วัดระฆัง เดิมเป็นชาวจังหวัดนครปฐม ย่านนครชัยศรี ซึ่งท่านมีความคุ้นเคยกันดีและเคารพนับถือกับหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว เป็นอย่างยิ่ง ท่านอาจารย์ภานี้ ท่านได้สร้างพระหล่อเนื้อโลหะ โดยนำรูปแบบของพระสมเด็จระฆังหลังฆ้อนเดิม มาสร้างเป็นพระหล่อเนื้อโลหะ มีขนาดใหญ่กว่า และผิวตึงเรียบกว่า มีชื่อเรียกกันว่า ระฆังหลังเรียบ อาจารย์ภา วัดระฆัง องค์นี้เป็นพระยุคต้นที่มีความคมชัดสวยงามสมบูรณ์ทั้งพิมพ์ทรงและผิวเดิมทั้งองค์
ชมรายการพระร้านธรรมล้านนา เพิ่มเติม คลิก ธรรมล้านนา ด้านล่างครับ |
โทรศัพท์ :
0817163011, 0817163011
วันที่ :
8/06/11 11:34:15
|
|
|
|
|
|