พระสภาพเดิมๆ ผิวสะอาด ดูง่ายมากๆ ฐานเสียเดิม ไม่มีอุดซ่อม ขายตามสภาพ ไม่แพง
รับประกันด้วบความซื่อสัตย์และจริงใจ แพท 089 6356354
ข้อมูลเพิ่มเติม จากคุณ แทน ท่าพระจันทร์
"สำปะซิว" เดิมชื่ออาจจะเป็น "สำปะทิว" เนื่องจากสุนทรภู่ได้เคยเขียนโคลงสี่สุภาพ ใน "โคลงนิราศเมืองสุพรรณ" เรียกชื่อ "สำปะซิว" ว่า "สำปะทิว" แต่ต่อมาภายหลังอาจจะเรียกเพี้ยนกันมาเป็น "สำปะซิว" ในปัจจุบัน พระกรุที่พบนั้นความจริงไม่ได้พบภายในวัดสำปะซิวเลย แต่ขุดพบใกล้ๆ ในละแวกนั้น ในสมัยก่อนได้มีการขุดพบพระบูชาศิลปะลพบุรีอยู่หลายครั้งทางทิศใต้ใกล้ๆ กับวัดสำปะซิว ต่อมาภายหลัง นายดี ซึ่งมีบ้านเรือนอยู่ทางเหนือของวัดสำปะซิว ได้ขุดที่ดินในบริเวณริมรั้วบ้านก็ได้พบพระเครื่องเนื้อดินเผาขึ้นมาจำนวน มาก
พระที่พบเป็นพระเนื้อดินเผา ค่อนข้างหยาบ มีกรวดทรายผสมอยู่ในเนื้อพระ ที่เป็นเนื้อค่อนข้างละเอียดก็มีพบบ้าง พิมพ์ที่พบนั้นเป็นพระท่ามะปราง พุทธลักษณะคล้ายกับพระท่ามะปรางทั่วๆ ไปที่พบแถบทางจังหวัดพิษณุโลก กำแพงเพชร และสุโขทัย นอกจากนี้ ยังพบพระซุ้มนครโกษา และพระนารายณ์ทรงปืนอีกด้วย ซึ่งศิลปะพิมพ์ทรงก็คล้ายกับพระที่พบทางจังหวัดลพบุรี นอกจากเนื้อหาเท่านั้นที่เป็นเอกลักษณ์ของพระกรุนี้ ซึ่งเป็นพระเนื้อดินเผาแกร่งและค่อนข้างหยาบ
สาเหตุที่เรียกกันว่าพระกรุวัดสำปะซิวนั้น ก็คือ เมื่อมีผู้ถามว่าเป็นพระที่ไหน ชาวบ้านก็มักจะตอบว่า "พระสำปะซิว" ก็เลยเรียกกันมาติดปากว่า "พระกรุวัดสำปะซิว" เนื่องจากใกล้เคียงบริเวณนั้นมีวัดสำปะซิวตั้งอยู่ จากการสังเกตดูการขุดพบพระมักจะพบตามบริเวณพื้นดิน ไม่ปรากฏเจดีย์หรือโบราณสถานอื่นใดเลย ซึ่งอาจจะผุพังเสียหายไปนานแล้ว สันนิษฐานว่า บริเวณนี้น่าจะเป็นที่ชุมชนมาตั้งแต่สมัยลพบุรี เพราะพบพระบูชาเป็นสมัยลพบุรีแทบทั้งสิ้น ต่อมาก็พบพระเครื่องท่ามะปรางและพระซุ้มนครโกษาอีก ซึ่งอายุของพระเครื่องก็น่าจะอยู่ในราวสมัยสุโขทัยปลาย
ส่วนพระพิมพ์ท่ามะปรางนั้น เคยพบในกรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สุพรรณบุรีเช่นกัน มีพิมพ์ทรงที่คล้ายกันมาก แต่เนื้อหาของกรุวัดพระศรีฯ จะละเอียดกว่ามาก และที่กรุวัดพระศรีฯ ยังพบพระท่ามะปรางเนื้อชินเงินอีกด้วย จึงน่าจะเป็นไปได้ว่าพระของทั้งสองกรุนี้น่าจะสร้างในยุคสมัยเดียวกัน
ส่วนพุทธคุณนั้น พระกรุวัดสำปะซิวโดดเด่นทางด้านอยู่ยงคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาด อีกทั้งเมตตามหานิยมก็ดีเช่นกันครับ |