หลวงพ่อเนียม วัดน้อยเป็นหนึ่งในพระอริยสงฆ์ของกรุงรัตนโกสินทร์ที่ศักดิ์สิทธิ์มากองค์หนึ่ง พระของท่านนั้นมีอยู่น้อยใครที่มีใครก็หวง เพราะรู้ว่าของแท้ๆของท่านนั้น หาค่าไม่ได้ ตามประวัติท่านเป็นลูกศิษย์ของสมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังเป็นสหธรรมิกกับหลวงพ่อปาน วัดบางเหี้ย และเป็นอาจารย์ของพระเกจิดังๆมากมาย เช่น หลวงพ่อโหน่ง วัดคลองมะดัน, หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค, หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี และ หลวงพ่อโบ้ย วัดมะนาว หลวงพ่ออ่ำ แห่งวัดชีปะขาว อ.บางปลาม้า,พระเครื่องที่เป็นมาตรฐานของท่านนั้นเป็นพระเครื่องเนื้อตะกั่วผสมปรอทที่สร้างตามกรรมวิธีเรียกปรอทมาหุงด้วยมนต์ ก่อนปลุกเสกกำกับตามฤกษ์ยาม และการหุงปรอทตามสมัยนั้นต้องทำในฤดูฝนฤดูเดียวเท่านั้น เพราะพืชบางอย่าง เช่น ใบแตงหนู ซึ่งขึ้นในท้องนา จะขึ้นในฤดูฝน ส่วนผสมต่างๆ มีใบสลอด, ข้าวสุกหลวงพ่อท่านเอาของสามอย่างมาโขลกปนกันเพื่อไล่ขี้ปรอทออกให้หมด ทั้งนี้เพื่อให้ได้ปรอทขาวที่สุด การโขลกจะต้องโขลกและกวนอยู่ถึง ๗ วัน จึงทำการแยกชั่งเป็นส่วนๆ ส่วนละหนึ่งบาทต่อจากนั้นเอาไปใส่ครกหิน เติมกำมะถันและจุนสีโขลกตำให้เข้ากัน โดยใช้เวลาทำตอนกลางคืนเท่านั้น ทำเช่นนั้นอยู่ ๓ คืนจึงเอาปรอทใส่ลงไปในกระปุกเหล้าเกาเหลียง ผสมกับตะกั่วเอาเข้าไฟสุมอยู่ถึง ๗ วัน บางครั้งอุณหภูมิ สูงจัด กระปุกเหล้าเกาเหลียงแตกเสียหายก็มี การสุมไฟสุมเฉพาะเวลากลางวัน ส่วนเวลากลางคืนทำพิธีปลุกเสกด้วยคาถาอาคม พอครบ ๗ ไฟเทลงในแม่พิมพ์จึงจะได้พระตามที่ต้องการ พระเครื่องของท่านนั้นโด่งดังมีประสบการณ์และอภินิหารมากมาย ในเรื่องปกป้องคุ้มครองภัย แคล้วคลาด คงกระพัน มหาอุตม์ ว่ากันว่าพระหลวงพ่อเนียม วัดน้อยเป็นพระเนื้อตะกั่วที่แพงที่สุดในโลกเพราะเป็นพระเครื่องที่อยู่เหนือพญามัจจุราชที่ร่ำลือกันมาแต่โบราณว่าผู้ที่มีพระเครื่องของท่านนั้นถึงขนาดมัจจุราชยังเมิน องค์นี้สภาพสวยน่ารักเข้มขลังเข้มข้นครับ
|