ครูบาอ้ายชื้อเดิม อ้าย เสนป่าหมุ้น เกิดปี พ.ศ. 2434 เป็นบุตรของ พ่อสมแม่ดา เสนป่าหมุ้น บ้านสะปุ๋ง หมู่ 3 ต.ม่วงน้อย แขวงปากบ่อง(อ.ป่าซางปัจจุบัน) จ.ลำพูน ท่านครูบาอ้ายบวชเป็น สามเณรเมื่อ พ.ศ. 2449 โดยมีท่านครูบาอุปละ เป็นผู้บรรพชา และท่านครูบาอ้าย ได้บวชเป็นภิกษุ เมื่ออายุ 21 ปี ในวันที่ 16 มิถุนายน พ,ศ,2454 ณ.วัดป่าตาล ต.ม่วงน้อย โดยท่านครูบา ธรรมงวค์ วัดสันกำแพงเป็นพระอุปัชฌาย์ ได้นามฉายาว่า “อินทปัญโญ ภิกขุ”หลังจากนั้นท่านก็หมั่นศึกษา ในทุกด้าน ทั้งวิชชาเวทมนต์คาถาและวิชชาโหราศาสตร์ จากหลายสำนักครูบาอาจารย์ ท่านครูบาอ้ายสร้างคุณงามความดี ทั้งทางโลกและทางธรรม เมื่อวันที่ 23 มกราคม พ.ศ.2493 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็น “พระครูอ้าย อินทปัญโญ และท่านเสียชีวิตเมื่อตี 5.39 น.ของวันที่8 ก.ย.2505
โลงเก็บศพเกิดอภินิหาริย์
หลังจากเก็บศพท่านครูบาอ้าย ไว้ได้ประมาณ 1 เดือนคณกรรมการและศิษยานุศิษย์ อันมีเจ้าอธิการพรหม พรหมบุญโญเป็นประธานเปลี่ยนขี้เถ้า (ฟาง)ศพ ขณะที่ทำการเปิดฝาโลง ทุกคนต้องตกตลึง เพราะที่บนขี้เถ้าตรงหน้าอกของท่านครูบามีก้อนขาวๆขนาดกำมือใหญ่ๆ คล้ายๆกับปะการัง ทุกคนลงความเห็นว่าเป็น “พระธาตุดิบของท่าน” (ดิบ คือยังไม่ได้เผา) ทำให้ข่าวนี้แพร่ออกไปอย่างรวดเร็ว ต่อมาทางคณะกรรมการได้นำพระธาตุไปให้ครูบาพรหมา วัดพระบาทตากผ้าพิจารณา ท่านบอกกับคณะกรรมการว่า เป็นสิ่งน่าอัศจรรย์เป็นของวิเศษให้เก็บไว้ดีๆ อย่าเอาไปเผา เวลานี้คณะศัทธาเก็บรักษาโดยบรรจุไว้ในรูปหล่อเหมือนของท่านครูบา
อัฐิกลายเป็นพระธาตุ
วันที่ 12 เม.ย.พ.ศ.2506 ตรงกับเดือน 5 เหนือแรม 3 ค่ำ เป็นวันงานทำบุญฌาปนกิจศพท่าน ครูบาอ้าย ณ เมรหน้าวัดสะปุ๋งน้อย ต.ม่วงน้อย อ.ป่าซาง จ.ลำพูน เปิดให้มีการทำบุญ 3 วัน 3 คืน มีประชาชนหลั่งไหลกันมาทั่วทุกสารทิศ หลังจากเผาเสร็จตอนใกล้รุ่งประมาณเวลา ตี 4-5 มีคนเห็นแสงประหลาดพุ่งขึ้นๆ ลงๆเป็นเวลานานพอสมควร ตรงที่เผาศพของท่านครูบา พอรุ่งขึ้นพระอธิการพรหม พรหมบุญโญ ทราบเรื่องจึงบอกว่าอาจจะเป็นพระธาตุ ของท่านครูบาให้พวกเราเฝ้าดูกันต่อไป เพราะตอนนี้ไฟยังร้อนอยู่ ต่อมาอีก 7 วันซึ่งตรงกับงานสรงน้ำ ครูบาคางเป็ดวัดฉางข้าวน้อยป่ายาง เวลาประมาณ 3-4 ทุ่มคนเป็นจำนวนมาก ต่างก็เห็นพร้อมกันและตกตลึงไปตามๆ กัน เมื่อเห็นแสงไฟประหลาดขึ้นๆ ลงๆ เมื่อได้สติทุกคนต่างยกมือพนมเหนือหัวพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “สาธุ”พระธาตุครูบาออก นับว่าเป็นบุญของหมู่เฮาแต้ๆ พอรุ่งขึ้นข่าวเรืองพระธาตุของครูบาอ้ายก็ดังไปทั่ว เจ้าอธิการพรหม เป็นประธาน พ่ออุ้ยหมวก ทาแก้ว เป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ ได้ช่วยกันทำการ (ตาว) คือร่อนหาพระธาตุของครูบา ปรากฏว่าได้เป็นเม็ด กลมๆ ขนาดเม็ดข้าวสาลี มีอยู่เม็ดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่กว่าเม็ดอื่นๆ มีขนาดเท่าปลายนิ้วมือ และมีกระโหลกหน้าติดอยู่ยาวประมาณ 1 นิ้ว มีสีสองสีคือ สีขาว และสีเขียวมรกต รวมแล้วมีอยู่ 35 ดวงหลายหลากสี เมื่อชาวบ้านนำน้ำขมิ้นส้มป่อยมาสรงพระธาตุ พอพระธาตุถูกน้ำก็มีสีสวยงามตายิ่ง ข่าวการได้พระธาตุของครูบาอ้าย แพร่ไปทุกสารทิศประชาชนต่างหลั่งไหลกันมาเคารพบูชามิได้ขาดทั้งข้าราชการ ทหาร ตำรวจ โดยเฉพาะฝูงบิน 41 เชียงไหม่ก็ได้มาบูชากราบใหว้ เวลานี้พระธาตุได้เก็บไว้สักการะบูชาประจำทุกปี บรรจุผอบไว้ที่วัดสะปุ๋งน้อย ต.ม่วงน้อย อ.ป่าซาง จ. ลำพูน
แบ่งอ้ฐิธาตุไว้ 3 แห่ง
1 บรรจุไว้ที่วัดพระพุทธบาทตากผ้า
2 ท่านอาจารย์สาธิต พระโขนง กรุงเทพๆ
3 วัดสะปุ๋งน้อย สำหรับที่วัดสะปุ๋งน้อยคณะศัทธาจัดให้มีงานสรงน้ำเป็นประจำทุกปี ในเดือน 9 เหนือขึ้น 8 คำ วันดีคืนดีจะมีชาวบ้านเห็นพระธาตุของครูบาอ้าย ปรากฎแสงเหมือนดาวลูกไก่จะระยิบระยับ ผ่านยอดไม้ แต่เป็นที่หน้าแปลกถ้าเป็นในช่วงพรรษาจะไม่มีปรากฎการให้ใครได้เห็นเลย
เหรียญครูบาอ้ายช่วยคนรอดตายจากปืน
คณะกรรมการวัดสะปุ๋งน้อย ได้จัดสร้างเหรียญครูบาอ้ายรุ่นแรกในปี 2521 ทำการปรุกเสกที่วัดสะปุ๋ง จำนวนไม่มาก ชาวบ้านที่มีไว้ต่างหวงแหนกันมาก ที่มีเอาไปขายกันก็เป็นลูกหลานที่ไม่รู้แอบเอาออกไปขายกันโดยผู้ใหญ่ไม่รู้ ตัวอย่างความศักดิ์สิทธิ์ สมัยก่อนดังมาก เป็นข่าวดังในหนังสือพิมพ์ ชาวบ้านคนหนึ่งถูกปืนยิงหลายนัด ตามตัวมีแต่รอยแผล จ้ำๆ นิดหน่อย และที่เหรียญครูบาอ้ายด้านหลังของเหรียญเป็นยันต์ของครูบาคางเป็ด “เป็นคาถาอิติปิโสตั๋น”
|