ครูบาชุ่ม โพธิโก อดีตเจ้าอาวาสวัดชัยมงคล (วังมุย) เป็นชาวลำพูนโดยกำเนิด เกิดในตระกูล “นันตละ” ณ บ้านวังมุย ต.ประตูป่า อ.เมือง จ.ลำพูน เมื่อวันอังคาร เดือน ๕ เหนือ ปีกุน ขึ้น ๗ ค่ำ พ.ศ.๒๔๔๑ โยมบิดาชื่อ “บุญ” โยมมารดาชื่อ “ลุน” บรรพชาเป็นสามเณรเมื่ออายุ ๑๒ ปี ณ วัดวังมุย โดยมีครูบาอินตา วัดพระธาตุขาว เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากบรรพชาแล้วได้ตั้งจิตอธิษฐานไม่ฉันเนื้อสัตว์ตั้งแต่บัดนั้น
ในระหว่างเป็นสามเณรได้ศึกษา ปริยัติธรรม โดยเดินทางไปศึกษาในสำนักวัดผ้าขาว จ.เชียงใหม่ จากนั้นไปศึกษาต่อที่วัดพระสิงห์ และวัดเจดีย์หลวง ฯลฯ จนมีความรู้สามารถแปลหนังสือและพระไตรปิฎกได้อย่างแตกฉาน ต่อมาได้เดินทางกลับมาจำพรรษาที่วัดวังมุย ตามเดิม
เมื่ออายุ ๒๐ ปี ได้อุปสมบท โดยมีครูบาอินตา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์หมื่น เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์หลวงอ้าย เป็นพระอนุสาสนาจารย์ ได้ฉายาว่า “โพธิโก”
หลังจากอุปสมบทแล้ว ได้ศึกษาวิปัสสนาธุระในสำนักวัดท้าวศรีบุญเรือง อ.หางดง จ.เชียงใหม่ โดยมีครูบาสุริยะเป็นพระอาจารย์ และได้ศึกษากับครูบาศรีวิชัย วัดร้องแหย่งซึ่งเป็นสำนักปฏิบัติธรรมอันมีชื่อเสียงในสมัยนั้นอีก ๒ ปี จากนั้นได้ไปศึกษาต่อกับครูบาแสน วัดหนองหมู อีก ๒ ปี
จนมีความรู้ความสามารถอย่างครบถ้วน จึงเริ่มออกเดินธุดงค์ ลัดเลาะไปตามริมน้ำปิง สู่ดินแดนภูเขาเขต อ.ลี้ อ.ฮอด ได้บูรณะพระธาตุดอยเกิ้ง อันเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า
เสร็จแล้วได้เดินทางต่อไปยัง จ.แพร่ เพื่อศึกษาวิชาเพิ่มจาก พระมหาเมธังกร พระผู้ทรงวิทยาคุณชื่อดังในสมัยนั้น
ต่อมาได้มอบตัวเป็นศิษย์ท่าน ครูบาเจ้าศรีวิชัย พร้อมกับร่วมงานสร้างถนนขึ้นสู่ดอยสุเทพ เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๘ นอกจากนี้ยังได้รับการเรียนรู้วิธีปฏิบัติธรรมจากท่านครูบาเจ้าอีกด้วย
ครูบาชุ่ม เป็นผู้เคร่งครัดในวัตรปฏิบัติมาก มีจิตที่แน่วแน่มั่นคง มีพลังจิตและญาณอันแกร่งกล้า ทั้งเชี่ยวชาญในอักขระวิธี พระเวท พระสูตร จนสามารถผูกอักขระเลขยันต์และพระคาถาอาคมต่างๆ ได้อย่างแม่นยำ
เกียรติประวัติอันสำคัญยิ่งของครูบา ชุ่ม โพธิโก ในฐานะเป็นศิษย์ของ ท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย คือ เป็นผู้ได้รับมอบหมายให้เก็บรักษา พัดหางนกยูง และ ไม้เท้า ของท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย...(ครูบาชุ่ม มรณภาพ ๑๐ กันยายน ๒๕๑๙)
สำหรับวัตถุมงคลที่ครูบาชุ่ม ได้สร้างขึ้นในยุคแรกๆ คือ ยันต์ตะกรุดเสื้อ ยันต์ตะกรุดหนังลูกควายตายพราย ทำจากหนังลูกควายเผือกตายพราย (ตายในท้อง) หุ้มด้วยครั่งพุทรา โดดเด่นทางมหาอุดและแคล้วคลาด ตำรานี้ท่านได้รับการถ่ายทอดมาจาก พระมหาเมธังกร เจ้าอาวาสวัดน้ำคือ อ.เมือง จ.แพร่ (ต่อมาตำรานี้ได้ตกทอดสู่ ครูบาขันแก้ว วัดป่ายาง จ.ลำพูน ซึ่งเป็นสหธรรมิกกับครูบาชุ่ม)
วัตถุมงคลอีกอย่างหนึ่งที่ขึ้นชื่อของครูบาชุ่ม คือ ตะกรุดปรอท ใช้ในทางป้องกันคุณไสย และตะกรุดต่างๆ อีกหลายอย่าง รวมทั้งผ้ายันต์
ต่อมาเมื่อปี ๒๕๑๗ คณะศิษย์ได้กราบเรียนขออนุญาตสร้างเหรียญรูปเหมือนของท่านเพื่อไว้บูชาเป็น ที่ระลึก เป็นขวัญและกำลังใจ ท่านได้อนุญาตให้ศิษย์ของท่านคือ ครูทองใบ สายพรหมา ซึ่งขณะนั้นเป็นรองผู้อำนวยการวิทยาลัยพลศึกษาเชียงใหม่ (ภายหลังได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ นามว่า หลวงพ่อทองใบ โชติปัญโญ) ท่านได้ปรึกษากับ อ.ยุทธ เดชคำรณ ขณะดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์เขต ๘ ท่านเป็นนักเขียนอิสระในหนังสือ “ของดีเมืองเหนือ” และนิตยสาร “ลานโพธิ์”, ม.ร.ว.เอี่ยมศักดิ์ จรูญโรจน์ และคุณอิศรา เทพหัสดิน ณ อยุธยา เจ้าของโรงพิมพ์ช้างคลาน จ.เชียงใหม่
คุณอิศราได้ออกแบบเหรียญและนำไปให้ ครูบาชุ่ม พิจารณา ท่านครูบาได้อนุญาตให้จัดสร้างได้ โดยท่านได้ลงอักขระเลขยันต์ในแผ่นทองเพื่อเป็นชนวนในการผสมเนื้อโลหะสำหรับ การจัดสร้างเหรียญรุ่นนี้ ซึ่งถือเป็น “รุ่นแรก”
เมื่อเหรียญปั๊มเสร็จเรียบร้อยแล้ว ได้มีการฉลองสมโภช เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๑๗ โดยนิมนต์เจ้าคณะภาค เจ้าคณะจังหวัด และพระเถระชั้นผู้ใหญ่ ร่วมนั่งปรกบริกรรมแผ่เมตตาอธิษฐานจิตตลอดคืน พอใกล้รุ่งของวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๕๑๗ ได้มีการสวดเบิกพระเนตร และสวดมงคลสูตรต่างๆ จนเสร็จพิธีแล้วก็มีการทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหาร พระสงฆ์กล่าวอนุโมทนา เป็นอันเสร็จพิธี
จากนั้นคณะกรรมการจึงได้แจก จ่ายเหรียญให้ทันที่ ครูบาชุ่ม ท่านมรณภาพเมื่อวันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ.2519 สิริอายุได้ 78 ปี 65 พรรษา คงเหลือไว้แต่คุณงามความดีของท่านและวัตถุมงคลของท่านซึ่งจากประสบการณ์ของ ผู้ที่ครอบครอง วัตถุมงคลของท่าน ล้วนแล้วแต่เป็นประสบการณ์ที่เล่าขานกันไม่รู้จบ
เหรียญครูบาชุ่ม ปี2517ไข่เล็กเนื้อเงินสวยแชมป์ สรา้งแค่499เหรียญ สนใจโทรถามราคาได้ครับ 1X,XXX
ID Line 0837966403
เข้าชมรายการพระร้านกร สารภี เพิ่มเติมได้..คลิก กร สารภี ด้านล่างครับ
|