พระรอดหลัง อ. ครูบาอินทร รุ่นแรก วัดสันป่ายางหลวง จ.ลำพูน พระดีพิธีใหญ่ มากประสบการณ์ พุทธคุณสูง
การกดพิมพ์พระ
การกดพิมพ์พระ
พระรอดวัดสันป่ายางหลวง ได้ฤกษ์ลงมือกดพิมพ์พระตามแบบโหราจารย์ภาคเหนือ ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2532 ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 3 เหนือ ยามเช้า พระเณรในวัดสันป่ายางหลวงและคณะศรัธธาผู้ร่วมสร้างพระรอด ได้ช่วยกันนำวัตถุมงคลทุดอย่าง ที่ต้องใช้ในการกดพิมพ์พระรอด เช่น ดินผสม ผงยา และผงว่าน ที่จะนำมาคลุกดินอีกครั้งหนึ่งก่อนการกดพิมพ์พระรอด น้ำทิพย์ที่นำมาผสมดินให้อ่อนนิ่ม ทั้งหมดได้นำมารวมไว้กลางพระอุโบสถ แล้ววางรูปพระเกจิอาจารย์สำคัญๆ อันเป็นที่รู้จักและเคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศไว้รอบๆ กองวัตถุมงคลนั้น เพื่ออธิษฐานของความเมตตาจากพระคุณท่าน ช่วยแผ่พลังบารมีมาปกป้องคุ้มครองพร้อมกับร่วมประจุพลังลงในวัตถุมงคลนั้นด้วย พระสงฆ์ภายในวัดสันป่ายางหลวง อันมีพระอาจารย์อินทร ปัญญาวัฑฒโน
การอาบว่านยา
การอาบว่านยาเริ่มตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2532 ไปจนถึงวันที่ 5 มกราคม 2533 รวมเวลา 9 วัน เริ่มด้วยพิธีการด้วยการเทศน์หนึ่งกันฑ์พระสงฑ์สวดชัยมงคลคาถา อุบาสกพิธีกรรมร่วมกับพระเณร ช่วยกันนำรพะลงอาบแช่น้ำว่านยา เป็นเวลาพอสมควร ให้เนื้อพระดูดซับเอาน้ำว่ายาไว้ แล้วนำขึ้นผึ่งบนแท่นที่ปูลาดด้วยผ้าเหลืองภายในปริมณฑล พระสงฑ์สวดชยันโตแล้วคลุมทับด้วยดอกไม้นานาชนิด ประพรมด้วยน้ำมนต์ น้ำอบน้ำหอม ทำพิธีเช่นนี้ติดต่อกันทุกเช้าเวลา 09.09 น. เป็นต้นไป จนถึงวันครบกำหนดคือ วันที่ 5 มกราคม 2533 และในตอนกลางคืนทุกคืน ได้รวมพระรอดกองไว้แล้วพระสงฑ์ภายในวัด สวดชัยมงคลคาถาเป็นประจำจนเสร็จพิธีอาบว่านยา <O</O
หลังจากนั้นวันสุดท้ายคือ วันที่ 5 มกราคม 2533 ได้นำพระรอดทั้งหมดมาประพรมและคลุกด้วยน้ำมันมนต์ อันประกอบด้วยน้ำมันงา , น้ำมันจันทน์ , น้ำมันมะพร้าว , น้ำมันมะกอก , น้ำมันละหุ่ง , น้ำมันหมื้อ , ชมด , ผงจันทร์เทศ , และกฤษณา น้ำมันนี้ได้เก็บไว้ในโบสถ์ และทำพิธีสวดด้วยธรรมจักร ทุกวันพระตลอดพรรษา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 จนกระทั่งเนื้อพระดูดซับเอาน้ำมันมนต์ฉ่ำทั่วองค์พระแล้ว จึงนำออกผึ่งให้แห้ง พอพระรอดทั้งหมดแห้งพอดี ก็ลำเลียงเข้าสู่บริเวณพิธีที่จะทำพิธีอธิฐานจิตแผ่เมตตาต่อไป
การอธิฐานจิตแผ่เมตตา
การอธิฐานจิตแผ่เมตตา
เมื่อขั้นตอนทั้งหลายผ่านพ้นไป และได้สำเร็จเป็นองค์พระตามที่ต้องการแล้ว พิธีสำคัญยิ่งคือพิธีพุทธาภิเษก หรือการอธิฐานจิตแผ่เมตตาประจุไว้ในองค์พระ สถานที่ประกอบพิธีกรรมภายในโบสถ์ วัดสันป่ายางหลวง ด้วยเห็นว่า โบสถ์นั้น เป็นสถานที่ของสงฑ์โดยเฉพาะการทำพิธีกรรมของสงฑ์ เช่น การอุปสมบท การปลงอาบัติ ฟังพระปาฏิโมกข์ ก็ทำได้เอาเฉพาะในโบสถ์เท่านั้น ดังนั้น โบสถ์จึงเป็นสถานที่หมดจดสะอาดปราศจากสิ่งเลวร้ายและมลทิน
การจัดสถานที่ได้จัดเอาบรรดาศาสตราวุธทุกชนิดเท่าที่จะจัดหาได้บางอย่างก็ต้องใช้ของสมมุติแทนสิ่งมีพิษทั้งหลาย เช่น บรรดายาพิษทั้งหลายที่ชาวบ้านใช้กัน สัตว์มีพิษ และดุร้าย เช่น งูพิษ ตะเข็บ ตะขาบ ฯลฯ เสือ สิงโต กระทิง ควายป่า ช้าง ฯลฯ สัตว์ร้ายเหล่านี้ต้องใช้ของประดิษฐ์แทนของจริง ของทั้งหมดจัดนำมาเพื่อข่มพิษร้ายโดยจัดวางไว้ใต้แท่นที่วางพระแล้วปูทับด้วยผ้าขาวโรยทับด้วยดอกไม้อันมีดอกพุธ ดอกมะลิ และดอกไม้หอมอื่นๆ อีกมาก หมายถึงการลดความเลวร้ายลงและเปลี่ยนจากร้ายให้กลายเป็นดีในที่สุด ชั้นบนเป็นชั้นที่จัดวางพระรอดที่จะนำมาเข้าพิธีอธิฐานจิตแผ่เมตตา ปูลาดด้วยผ้าขาวแล้วจึงวางเกลี่ยพระลงบนชั้นนั้น ประพรมด้วยน้ำอบ น้ำหอมจนทั่วกองพระ แล้วปูทับด้วยผ้าขาวอีกชั้นหนึ่ง ชั้นบนสุดก็โรยด้วยดอกไม้อันเป็นมงคล และมีกลิ่นหอม การโรยดอกไม้ชั้นนี้ ได้โรยทับขึ้นไปทุกคืน ตลอดระยะเวลา 9 คืน
พิธีสำคัญนี้ได้ฤกษ์เริ่มพิธีในวันที่ 6 มกราคม 2533 ตรงกับวันเสาร์ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 4 เหนือ ไปจนถึงวันที่ 14 มกราคม 2533 พิธีเริ่มตั้งแต่เวลา 19.00 น. ไปจนถึงเที่ยงคืน หลังเที่ยงคืนไปแล้ว ก็ยังคงเปิดโบสถ์จุดเทียนชัยไว้ แล้วกล่าว อัญเชิญเทพเทวาทั้งหลาย และพระสงฑ์จากพรหมโลก เทวโลก ขอให้มาร่วมแผ่เมตตาและอนุโมทนาในกองกุศลนี้ด้วย พิธีกรรมนี้ทำติดต่อกันไปรวมเวลาได้ 9 คืน ในพิธีอธิฐานจิตครั้งนี้ ทางวัดได้นำพระพุทธรูปขนาดหน้าตักกว้าง <?
ยืนปางห้ามมารสูง 4 ศอก 1 องค์ พระพุทธรูปปางประธานพรแบบอินเดีย ขนาดหน้าตักกว้าง2 องค์ เข้าร่วมพิธีด้วย
พระเกจิอาจารย์หรือครูบาสังฆะ ที่นิมนต์มาร่วมในพิธีอธิฐานจิตครั้งนี้ทั้งหมด 32 รูป ส่วนมากจะมีอายุ 70 พรรษาขึ้นไป และได้บำเพ็ญจิตภาวนาสั่งสมบารมีมาตลอด แม้บางองค์จะมีอายุพรรษาน้อยกว่านั้น แต่ก็เป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และสั่งสมบุญบารมีด้วยการบำเพ็ญจิตเรื่อยๆมาไม่ขาดสาย นับได้ว่าเป็นบุญอย่างยิ่งของคณะผู้ดำเนินการสร้างพระ ที่ได้รับความเมตตาอย่างสูงจากพระคุณเจ้าทุกรูป บางองค์ แม้จะสูงอายุสังขารร่างกายก็ทรุดโทรมตามปกติไม่รับนิมนต์ที่ไหนไกลๆ แต่ก็ยินดีมาร่วมพิธีกรรมครั้งนี้โดยเฉพาะ
รายนามพระสงฆ์ที่มาร่วมพิธีอธิฐานจิตแผ่เมตตา
<รายนามพระสงฆ์ที่มาร่วมพิธีอธิฐานจิตแผ่เมตตา<
พระรอดปลอดภัยและพระพุทธรูปบูชา
วันที่ 6 มกราคม 2533
1. พระมหาเจติยารักษ์ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร แสดงธรรม “ไชยะสังคะหะ “ เริ่มพิธีกรรม
2. ครูบาดวงจันทร์ จันวโร วัดป่าเส้า อ.เมือง ลำพูน
3. ครูบาปั๋นคำ วัดสวนลำไย อ.เมือง ลำพูน
4. พระมหาบุญช่วย วัดสวนลำไย อ.เมือง ลำพูน
วันที่ 7 มกราคม 2533
1. ครูบาสิงห์แก้ว สิริวิชโย วัดป่าขาม อ.เมือง ลำพูน
2. พระครูสุทธิธรรมสุนทร วัดบ้านหลุก อ.เมือง ลำพูน
3. ครูบาอินตา ธนักขันโธ วัดวังทอง อ.เมือง ลำพูน
4. ครูบาต่วน อริยวังโส วัดหนองปลาขอ อ.เมือง ลำพูน
วันที่ 8 มกราคม 2533<
1. พระครูสังวรญาณ วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน อ.บ้านโฮ่ง ลำพูน
2. พระครูรัตนวงศ์วิวัฒน์ วัดห้วยแทง อ.บ้านโฮ่ง ลำพูน
3. พระครูศิรินันทคุณ วัดช้างค้ำ อ.ป่าซาง ลำพูน<
4. ครูบาซอน ธันมชโย วัดดอนหลวง อ.ป่าซาง ลำพูน
วันที่ 9 มกราคม 2533
1. พระครูชยาลังการ วัดทาดอยแช่ อ.แม่ทา ลำพูน
2. พระครูรัตนวงศ์วิวัฒน์ วัดปทุมสราราม อ.ป่าชาง ลำพูน
3. ครุบาจันทร์ จันทวังโส วัดสันเจดีย์ริมปิง อ.เมือง ลำพูน
4. ครูบาสุจินดา สุมังคโส วัดม่วงชุม อ.พาน เชียงราย
วันที่ 10 มกราคม 2533
1. พระครูชยาลังการ วัดทาดอยแช่ อ.แม่ทา ลำพูน
2. พระครูรัตนวงศ์วิวัฒน์ วัดประทุมสราราม อ.ป่าซาง ลำพูน
3. ครูบาจันทร์ จันทวังโส วัดสันเจดีย์ริมปิง อ.เมือง ลำพูน
4. ครูบาสุจินดา สุมังคโล วัดม่วงชุม อ.พาน เชียงราย
วันที่ 10 มกราคม 2533<
1. ครูสิงหวิชัย สิริวิชโย วัดฟ้าฮ่าม อ.เมือง เชียงใหม่ <
2. ครูบาอินตา อินทปัญโญ วัดห้วยไซ อ.เมือง ลำพูน
3. ครูบาแสง วัดล้อมก่องข้าว อ.สันกำแพง เชียงใหม่
4. พระครูพิทักษ์ปัจจันตเขต วัดพระชินธาตุดอยตุง อ.แม่สาย เชียงราย
วันที่ 11 มกราคม 2533
1. พระครูคันธวงศ์วิวัฒน์ วัดหนองผำ อ.ป่าซาง ลำพูน
2. ครูบาสม โสภโน วัดเจดีย์สามยอด อ.ป่าซาง ลำพูน
3. ครูตุ่น ปัญญาวิลาโส วัดบ้านล้อง อ.ป่าซาง ลำพูน
วันที่ 12 มกราคม 2533
1. พระครูญาณภิรัต วัดป่าเจริญธรรม อ.สันป่าตอง เชียงใหม่
2. พระครูศรียูรมงคล วัดทุ่งแป้ง อ.สันป่าตอง เชียงใหม่
3. พระครูบวรสุขบท วัดป่าซางน้อย อ.ป่าซาง ลำพูน
วันที่ 13 มรกราคม 2533
1. พระครูวรวุฒิคุณ วัดฟ้าหลั่ง อ.จอมทอง เชียงใหม่
2. พระครูธรรมภาณี วัดดอยชัย อ.สันป่าตอง เชียงใหม่
3. พระครูญาณภิรัต วัดป่าเจริญธรรม อ.สันป่าตอง เชียงใหม่
วันที่ 14 มกราคม 2533<O</O
1. พระครูสุขบทบริหาร วัดห้างฉัตร อ.ห้างฉัตร ลำปาง
2. พระครูโถมมณียคุณ วัดบ้านเป้า อ.ห้างฉัตร ลำปาง
3.พระครูรัตนาคม วัดพระธาตุเสด็จอ.เมือง ลำปาง
4.พระครูรักขิตคุณ วัดม่อนพญาแช่ อ.เมือง ลำปาง
นอกจากพระเถระที่นิมนต์มาแล้ว ทุกคืนพระสงฆ์ภายในวัดสันป่ายางหลวงอันประกอบด้วย
1.พระปลัดอินทร ปัญญาวัฑฒโน เจ้าอาวาส
2.พระมหาเจริญ ชุตินธโร
3.พระอุทัย อภิญญาโณ
4.พระชัยพร สิริปัญโญ
5.พระคัชเชน โชติธัมโม
ได้ร่วมพิธีอธิฐานจิตแผ่เมตตา กับพระเถระเป็นประจำทุกคืน ตั้งแต่คืนเริ่มต้นจนถึงคืนสุดท้าย พระภิกษุรูปอื่นที่ไม่เข้าร่วมพิธีอธิฐานจิตแผ่เมตตา ก็เข้าไปสวดพระคาถาพุทธาภิเษก ร่วมกันกับสามเณร ตั้งแต่เริ่มพิธีจนจบพิธีกรรมทุกๆ คืน
พระรอดปลอดภัยนี้เป็นพระรอดพิมพ์ต่อ องค์พระต้นแบบนั้นมีเพียงองค์เดียว แต่ทำแบบพิมพ์ออกมาจำนวนหลายสิบพิมพ์ ด้วยวัสดุชนิดหนึ่งเรียกว่า “ดีโกว่า” “ดีโกว่า” นี้ มีลักษณะคล้ายขี้ผึ้งแต่แข็งกว่า เมื่อนำมาทำแบบพิมพ์ระแล้วมีการชำรุด และแปรเปลี่ยนรูปทรงได้ง่าย เพราะไม่ค่อยจะทนต่อแรงกด ความกัดกร่อน และความร้อนได้มากนัก จึงมีอายุการใช้งานสั้น ต้องนำมายุบแล้วนำทำแบบพิมพ์ใหม่บ่อยครั้ง ประกอบกับผู้ที่มาช่วยกดพิมพ์ระรอดปลอดภัยมีจำนวนมาก จึงทำให้พระรอดแต่ละองค์มีความแตกต่างกันออกไป เช่น บางองค์รูปทรงกว้าง บางองค์แคบสูง บางองค์ฐานสั้น บางองค์ฐานยาว บางองค์มีรายละเอียดชัดเจน แต่บางองค์ก็กลางเลือน เป็นต้น จึงหาลักษณะพิเศษที่เป็นเอกลักษณ์ในองค์พระไม่ได้ แต่กลับมีลักษณะพิเศษที่ด้านหลังองค์พระ คือ พระรอดปลอดภัยทุกองค์จะมีอักษร “อ” ประทับไว้ด้านหลัง ที่ไม่มีอักษร “อ” เพราะอาจจะหลงลืมประทับก็คงมีอยู่บ้างแต่ก็น้อยเต็มที ถึงอย่างไรก็ตามพระรอดปลอดภัยทุกองค์จะมีลักษณะองอาจผึ่งผาย มีอำนาจน่าเคารพสักการะเป็นที่ยิ่ง ยิ่งเป็นองค์ที่มีรายละเอียดที่สมบูรณ์มีพระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ ชัดเจนด้วยแล้วยิ่งเพิ่มความงามสง่าขึ้นเป็นทวีคูณ แต่ก็มีจำนวนน้อยมาก เพราะผู้ที่จะพิมพ์พระที่สมบูรณ์แบบแบบนี้ออกมา ต้องใช้สมาธิและความประณีตเป็นอย่างสูงทำไปช้าๆ ไม่หวังผลทางด้านปริมาณ
สีขององค์พระ พระรอดปลอดภัยนี้ขณะที่นำออกจากเตาเผาใหม่ๆ มีสีสดใสชัดเจนมากพอจะแยกออกไปเป็น 9 สี โดยไม่นับสีสลับในองค์เดียวกัน มีสีเหลืองสด สีเหลืองอ่อน สีกรัก สีแดง สีมันปู สีขาว สีเขียว สีเทา และสีดำ เมื่อนำมาเทจากหม้อเผาลงมารวมกัน มองดูคล้ายกองดอกไม้ต่างสีสวยงามมาก แต่หลังจากผ่านการอบว่านยา และคลุกน้ำมันมนต์แล้วก็ทำให้สีหมองลงไห้สดใสเหมือนเดิมแต่ก็ยังแยกออกว่าเป็นสีอะไร ที่สำคัญอีกอย่างก็คือ พระรอดปลอดภัยนี้จะมีลักษณะจะมีกลิ่นหอมนี้อาจระเหยไปก็ได้ แต่อำนาจความศักดิ์สิทธิ์ของว่านยานั้นจะยังคงอยู่อย่างไม่เสื่อมคลาย
สนใจสอบถามได้ครับ 0861936900
|