พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
พระเครื่อง จ.เชียงใหม่

เหรียญรุ่นแรกครูบาตั๋น ปัญโญ สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิน เนื้อฝาบาตร


เหรียญรุ่นแรกครูบาตั๋น ปัญโญ สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิน เนื้อฝาบาตร

ชื่อพระ :
 เหรียญรุ่นแรกครูบาตั๋น ปัญโญ สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิน เนื้อฝาบาตร
รายละเอียด :
 

เหรียญรุ่นแรกครูบาตั๋น ปัญโญ สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิน เนื้อฝาบาตร

พระอรันต์ นักปฎิบัติ ได้รับการยกย่องจาก ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง ครูบาบุญปั๋น วัดร้องคุ้ม พระธรรมังคลาจารย์ (ทอง สิริมังคโล) ว่าเป็นพระผู้ปฎิบัติดี
หลวงปู่ครูบาเจ้าตั๋น ปัญโญ แห่งสำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น ท่านเป็นพระมหาเถระ ที่มีอายุกาลพรรษามากที่สุด อันดับต้นๆ ของภาคเหนือ ปัจจุบันชื่อเสียงของท่านนั้น เริ่มเป็นที่รู้จักของคนหมู่มาก ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ วัตถุมงคลที่ได้ผ่านการอธิฐานจิตจากหลวงปู่นั้น ล้วนมีประสบการณ์ เป็นที่ประจักรในหลายๆด้าน ทั้งเมตตา ปกป้องคุ้มครอง และประสบความสำเร็จในสิ่งที่ปราถนาในหลายๆด้าน ท่านได้รับการยกย่องในเรื่องปฏิบัติภาวนา สมถะ และมีศีลธรรม กัมมัฏฐาน เป็นที่เด่นชัด ในเรื่องของความเป็นพระดีพระแท้ เคร่งครัดปฏิบัติตามแนวทางวิปัสสนากัมมัฏฐานอย่างท่องแท้ ได้รับการยกย่องจากพระคณาจารย์ชื่อดังของทางภาคเหนือ หลายต่อหลายท่านคร่าวๆ เช่น หลวงปู่ครูบาอิน วัดฟ้าหลั่ง( พระที่ได้รับการยกย่องจากพระเกจิอาจารย์มากมายในความเก่งกล้าในเรื่องวิชาคาถาอาคม ถึงขนาดที่หลวงพ่อกวย วัดโฆษิตาราม สั่งให้ลูกศิษย์มาขอเรียนต่อวิชากับครูบาอิน ) หากหลวงปู่ครูบาอินไม่อยู่แล้วฮื้อไปหาครูบาตั๋นวัดดอยเน่อ , หลวงปู่ครูบาบุญปั๋น วัดร้องขุ้ม ( พระอรหันต์ต๋นเมตตาแห่งวัดร้องขุ้ม เจ้าตำหรับเทียนเศรษฐีล้มลุกอันโด่งดัง ) , หลวงปู่บุญจันทร์ วัดถ้ำผาผึ้ง ( พระกัมมัฏฐานศิษย์สายพระอาจารย์มั่น ) ทั้ง ๓ รูป ได้บอกกล่าวกับศิษย์เอาไว้ ปัจจุบันท่านทั้ง 3 ได้ละสังขารไปแล้ว อัฐิธาตุของพระคณาจารย์ทุกท่านได้แปรสภาพกลายเป็นพระธาตุทุกรูป และ ยังมีสหายธรรมอีกหลายรูปเช่น หลวงปู่ครูบาวงศ์ วัดพระบาทห้วยต้ม , หลวงปู่ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี ( ท่านเคยกล่าวเอาไว้ว่าเฮานิอยู่อย่างตุ๊ตั๋นบะได้เน่อ ) , หลวงปู่ครูบาดวงดี วัดบ้านฟ่อน . หลวงปู่ทอง วัดพระธาตุศรีจอมทอง , พระครูขันตยภรณ์ สุสานไตรลักษ์ และ พระคณาจารย์อีกหลายท่านที่ไม่ได้เอ้ยนาม ทุกรูปล้วนเป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนทั้งหลาย หลวงปู่ครูบาตั๋นท่านเป็นพระ ที่มีจริยาวัตรอันงดงาม ปฏิบัติตนอยู่ในศีล ในธรรม ปฏิบัติตนตามคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าเคร่งครัด ท่านเป็นพระมหาเถระที่อยู่อย่างสมถะ เรียบง่าย ไม่ยึดติด ไม่ฝักใฝ่ ในตำแหน่ง หรือยศถาบรรดาศักดิ์ใดๆ ทั้งสิ้น คงมุ่งเน้นแต่แนวทางปฏิบัติ ตามคำสั่งสอนของครูบาอาจารย์ เพื่อความหลุดพ้นเท่านั้น วัตรปฏิบัติของท่านเน้น ปฏิบัติทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน ถือภาวนาพุธโธเป็นหลัก หลีกเร้นความวุ่นวาย จะเห็นได้ว่ามีอยู่ครั้งหนึ่ง ท่านไม่ยอมรับตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีแดนเมือง วัดต้นสังกัดของท่าน ทั้งๆที่ท่าน มีความอาวุโส และความพร้อมในทุกด้าน แต่แล้วท่านกลับเลือกที่จะย้ายขึ้นมาอยู่ที่ สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่นแทน ถ้าจะเปรียบเทียบความสะดวกสบาย ของสำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น ในสมัยก่อนนั้นย่อมสู้ที่วัดศรีแดนเมืองไม่ได้แน่นอน จุดประสงค์ในการเผยแพร่เถระประวัติในครั้งนี้ เพื่อเป็นการบูชาคุณ หลวงปู่ครูบาเจ้าตั๋น ปัญโญ พระมหาเถระที่มีอายุกาลพรรษาสูงที่สุดในดินแดนล้านนาในปัจจุบัน และเพื่อเป็นการเผยแพร่บารมีธรรมของหลวงปู่ครูบาเจ้าตั๋น ไม่ให้หายสาบสูญ และให้คงอยู่บนดินแดนล้านนาสืบไป

สวยเดิมๆไม่ผ่านการใช้

สนใจสอบถามได้ครับ 0861936900

Clip_18.jpg Clip_41.jpg Clip_42.jpg Clip_53.jpg Clip_47.jpg Clip_48.jpg Clip_49.jpg Clip_50.jpg Clip_51.jpg Clip_52.jpg





เถระประวัติ
หลวงปู่ครูบาเจ้าตั๋น ปัญโญ มีนามเดิมว่า ตั๋น นามสกุล คำมูล โยมบิดาชื่อ พ่ออุ้ยหม่อนปั๋น คำมูล โยมมารดาชื่อ แม่อุ้ยหม่อนคำเอ้ย คำมูล ท่านเกิดเมื่อ วันพฤหัสบดี ที่ ๒๗ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๕๗ ตรงกับวันแรม ๗ ค่ำ เดือน ๑๐ จุลศักราช ๑๒๗๖ ปี ขาล (เสือ) ไทภาษาว่าปี กัดเป้า ณ.หมู่บ้านแสนคำ หมูที่ ๑๐ ตำบลทุ่งปี๊ อำเภอสันป่าตอง ( ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอแม่วาง ) จังหวัดชียงใหม่ มีพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน จำนวน ๖ คน
๑. แม่อุ้ยมูล คำมูล ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
๒. แม่อุ้ยมา คำมูล ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
๓. พ่ออุ้ยคำ คำมูล ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
๔. หลวงปู่ครูบาตั๋น ปัญโญ ( เจ้าของเถระประวัติ )
๕. พ่ออุ้ยทา คำมูล ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
๖. พ่ออุ้ยทอง คำมูล ( ถึงแก่กรรมแล้ว )
ปัจจุบันบรรดาพี่น้องทั้งหมดของหลวงปู่ครูบาเจ้าตั๋น ปัญโญ ได้ถึงแก่กรรมไปแล้วทุกท่าน
ฝากตัวเป็นเด็กวัด
พ่ออุ้ยหม่อนปั๋น แม่อุ้ยหม่อนคำเอ้ย คำมูล ท่านเป็นคนขยัน หมั่นแพ่วถาง ครอบครัวของท่านจึงมีที่ดินที่นาทำกินเป็นจำนวนมาก และถือได้ว่าเป็นครอบครัวที่มีฐานะร่ำรวย เป็นอันดับ หนึ่งของ ตำบลทุ่งปี๊ ท่านมีอาชีพเกษตรกรรม ดำเนินชีวิตด้วยการทำไร่ ทำนา เลี้ยงบุตร ธิดาตามประสาชาวบ้านทั่วไป เมื่อครั้งยังเยาว์วัยนั้น เด็กชาย ตั๋น คำมูล ได้ใช้ชีวิตเหมือน เด็กชาวบ้านทั่วไป ช่วยบิดาทำไร่ ทำนา พ่ออุ้ยหม่อนปั๋น โยมบิดา ท่านชอบทำบุญเข้าวัด ทุกคราวที่ไปวัดท่านก็จะพา เด็กชาย ตั๋น คำมูล ติดตามไปด้วยทำให้ เด็กชาย ตั๋น คำมูล มีจิตใจฝักใฝ่ในทางบุญ บวกกับ บุญวาสนาที่ได้เคยสั่งสมมาแต่เมื่อชาติที่แล้วทำให้ สนใจศึกษาหลักธรรม คำสอน เด็กชาย ตั๋น คำมูล จึงขอลาบิดา มารดา เข้ามาฝากตัว เป็นศิษย์วัดที่ วัดมะกับตองหลวง สมัยนั้น ท่านครูบาปัญญา เป็นเจ้าอาวาส วัดมะกับตองหลวง เด็กชาย ตั๋น คำมูลก็ได้คอยศึกษาเล่าเรียน ปัดกวาดเช็ดถู มิได้ขาด เมื่อ เป็นศิษย์ วัดมะกับตองหลวงได้ ประมาณปีเศษ เด็กชาย ตั๋น คำมูล ได้ไปเที่ยวเล่นที่วัดศรีแดนเมือง เพื่อนเด็กวัดรุ่นเดียวกัน ก็เลยชักชวนเด็กชายตั๋น คำมูลมาเป็นศิษย์วัด ที่วัดศรีแดนเมือง ตำบล ยางคราม อำเภอ จอมทอง ( ปัจจุบันอยู่ อำเภอดอยหล่อ ) จังหวัดเชียงใหม่ สมัยนั้น พระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ เป็นเจ้าอาวาส เด็กชาย ตั๋น คำมูล ก็ลาเจ้าอาวาสวัดมะกับตองหลวงมา อยู่ที่วัดศรีแดนเมือง ตอนนั้น เด็กชาย ตั๋น คำมูล อายุได้ ๑๓ ปี ฝากตัวเป็นศิษย์วัด กับพระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ เจ้าอาวาสวัดศรีแดนเมือง ท่านพระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ ได้อบรมสั่งสอน เด็กวัดทั้งหลายให้มีระเบียบวินัย เด็กชาย ตั๋น คำมูล คอยปฏิบัติรับใช้ ด้วยความอ่อนน้อมเชื่อฟัง จึงเป็นที่รักของ พระอธิการสุพันธ์ (จันทร์) สุวันโณ ประกอบกับอุปนิสัยของ เด็กชายตั๋น คำมูล นั้นมีความอดทน อ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ เผื่อแผ่แก่เพื่อนฝูงเด็กวัดด้วยกัน และ ชอบหาความสงบ อยู่ลำพังเพียงผู้เดียว เป็นเด็กที่ซื่อตรงต่อหน้าที่ และ ก็ยังได้เรียนอักขระพื้นเมืองไทยล้านนาไปด้วย แต่ก็เรียนไปด้วยความยากลำบากยิ่งเพราะ ความจำไม่ค่อยดี ก็เลยเป็นที่ล้อเรียนของเพื่อนเด็กวัดด้วยกัน แต่เด็ก ชายตั๋น คำมูล ก็มีจิตเป็นสมาธิตั้งมั่น อาศัยจิตตั้งมั่นนี้ ในการจดจำร่ำเรียน และยังติดตามพระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ ไปจาริกธุดงค์ เหนือจดใต้ ไปบูรณะวิหาร และก่อสร้างมณฑปยังวัดจอมแจ้ง อำเภอ แม่วาง ( สมัยนั้นยังไม่เป็นวัด )ร่วมกับครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ( ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ อาจาร์สอนกัมมัฏฐานหลวงปู่ครูบาตั๋นท่านเดินธุดงค์มาจาก บ้านป่าเหียง กองงาม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เป็นพระกัมมัฏฐานสายป่าซางล้านนาขนานแท้ ยุคเดียวกับครูบาเจ้าศรีวิไชยนักบุญแห่งล้านนา พระคณาจารย์ที่ถือปฎิบัติสายนี้ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักมีดังนี้ ครูบาอินทจักร วัดน้ำบ่อหลวง , ครูบาพรหมจักร วัดพระบาทตากผ้า , หลวงปู่ทอง วัดพระธาตุศรีจอมทอง เป็นต้น ต่อมาท่านได้เป็นเจ้าอาวาสวัดจอมแจ้ง เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๒ –๒๔๘๔ ท่านเป็นพระที่เคร่งในศีลในธรรมเน้นปฏิบัติ ทางวิปัสสนากัมมัฏฐาน อย่างเด็ดเดี่ยว ) เด็กชาย ตั๋น คำมูล ได้ปฏิบัติรับใช้ท่านพระ คุณเจ้าทั้งสอง มิได้ขาด และ ยังคอยศึกษาเล่าเรียนเพิ่มเติมอยู่ตลอด เวลา ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ท่านได้เห็นความขยันหมั่นเพียรความ อดทน มีมานะ ของ เด็กชาย ตั๋น คำมูล ประกอบกับท่านก็ยังไม่มี ศิษย์คอย อุปัฏฐากรับใช้ ท่านจึงได้ขอเอาเด็กชาย ตั๋น คำมูล ที่ติดตามอุปัฏฐากมากับ พระอธิการสุพันธ์( จันทร์ ) สุวันโณ ให้อยู่กับท่านเสียที่ วัดจอมแจ้ง บ้านนาทราย อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ เด็กชาย ตั๋น คำมูล จึงได้มาเป็นศิษย์คอยดูแลอุปัฏฐาก ถวายตัวรับใช้ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
บรรพชาเป็นสามเณร
พอล่วงมาถึงเวลาอันควรแล้วที่เด็กชาย ตั๋น คำมูล ควรแก่การบรรพชาบวชเป็นสามเณร พระอธิการสุพันธ์ (จันทร์) สุวันโณ ท่านก็ได้เดินทางไปหาท่าน ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ที่วัดจอมแจ้ง ( อำเภอแม่วาง) เพื่อเอาความนี้ไปปรึกษากับ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ พระคุณเจ้าทั้งสองเมื่อปรึกษากันก็ได้เห็นว่า เด็กชาย ตั๋น คำมูล ได้รับการศึกษาอักขระวิธี ท่องจำบท สวดมนต์ทำวัตร ท่องบทสวดมนต์ ๗ ตำนาน ๑๒ ตำนาน และบทสวดมนต์ ตำนานมงคลสูตร มหาสมัยสูตร สามารถอ่านเขียนอักขระล้านนา และภาษาไทยได้ จึงได้ปรึกษากันว่า เด็กชาย ตั๋น คำมูล มีภูมิความรู้พอที่จะบรรพชาเป็นสามเณรได้ ในขณะนั้นเด็กชาย ตั๋นมีอายุได้ ๑๕ ปี การบวชสมัยนั้น ก็ทำกันง่ายๆ คือการบวชห่อหมาก ห่อพลูเท่านั้น มีภิกษุ ๕ รูปโดยมี พระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ เป็นพระอุปัชฌาย์ เมื่อวัน เสาร์ ที่ ๑๑ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๗๒ เวลา ๑๑.๑๕ น. ตรงกับวันแรม ๑๒ ค่ำ เดือน ๒ จุลศักราช ๑๒๙๑ เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรแล้ว สามเณร ตั๋น คำมูล ได้ศึกษาเล่าเรียนภูมิธรรมความรู้ทาง พระพุทธศาสนาวิปัสสนา กัมมัฏฐาน และ อักษรไทยล้านนา ที่สำนักปฏิบัติธรรมน้ำออกรู ( ปัจจุบันนี้เป็นสำนักสงฆ์ป่าน้ำฮู หมู่ที่ ๒ บ้านหนองเย็น ตำบลทุ่งปี้ อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ) ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ท่านเป็นเจ้าสำนักปฏิบัติธรรมแห่งนี้ และ มีพระภิกษุอีก ๔ รูป ประกอบด้วย ๑. ท่านครูบาบุญตัน สุวัณโณ ( เจ้าอาวาสวัดจอมแจ้ง)๒. ตุ๊ลุงอ้าย วัดโทกหัวหมา เขตจอมทอง ๓. ตุ๊ลุงมา เมืองฝาง ๔. พระปัญญาโม่ง วัดจอมแจ้ง สามเณรอีก ๔ รูป ๑. สามเณรตั๋น คำมูล ( ครูบาตั๋น ปัญโญ ) แม่อาวหน้อย ๒. สามเณรคำ จันทร์แดง ( พระครูขันตยาภรณ์ ) วัดดอยแก้วหนองเย็น ๓. สามเณรคำไฮ ลูกลุงเหมา บ้านปง ๔. สามเณรขาว ( น้อยขาวบ้านต้อ ) ลูกลุงมาเปี้ย ฆราวาสมี ๕ คน ๑. พ่อแก้ว จันทร์แดง ๒. พ่อน้อยกันทะ พรหมแสน ๓. พ่อลุงเหมาบ้านปง ๔. พ่อแก่แก้ว บ้านปงสนุก ๕. พ่อลุงมาเปี้ย เจ้าหน้าที่โรงครัว ได้ศึกษาพระ กัมมัฏฐาน ฝ่ายวิปัสสนาธุระ เป็นเวลา ๓ พรรษา และร่วมจาริกธุดงค์แสวงบุญไปในเขตแดนต่างๆ กับท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ และ ท่านได้เห็นว่า สามเณรตั๋น คำมูล ได้ปฏิบัติตัวตามพระธรรมคำสอน ฝึกวิปัสสนาธรรม กัมมัฏฐาน ทั้ง สมถะ มีศีลหมดใส จึงสมควรแก่เวลาที่สามเณรตั๋น คำมูล จะออกจาริกธุดงค์ไปยังเขตแดนต่างๆ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ พร้อมด้วย น้อยพรหมมินทร์ บ้านหนองบอน น้อยกันทะ พรหมเสน บ้านหนองเย็น และ พระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ วัดศรีแดนเมือง ได้นำพระภิกษุสามเณร จำนวน ๒๓ รูป รวมถึง สามเณรตั๋น คำมูล ร่วมเดินจาริกธุดงค์ ลัดเลาะป่าเขา ดอยสูง มีสัตว์น้อยใหญ่ แรด กวาง ฟาน กระทิง และช้าง เดินเลาะเข้าไปในป่า เพื่อไปศึกษาคัดลอก พระธรรมคัมภีร์ ครั้งนั้นเมื่อต้อง พักแรมกลางป่า สามเณรตั๋น คำมูล และ สามเณรอีกรูปได้นำ ถ้วย ชาม บาตร และช้อน ที่ฉันเสร็จไปล้าง และด้วยความที่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ สามเณรตั๋นและ สามเณรอีกรูป ก็ได้นำช้อน เอามาลอยเป็นเรือเล่น พอครูบาเจ้า บุญเป็ง อภิวงศ์เห็นเข้าท่านก็ได้บอกให้สามเณรทั้งสองว่า ไม่ควรเล่น มันไม่ดี มันจะเกิดอาเภท สามเณรทั้งสอง ก็หยุดเล่น พอตอนพลบค่ำก็เป็นจริง ดั่งคำที่ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ท่านได้กล่าว ตกดึกก็ได้ยินเสียงคำรามของเสือ ดังใกล้เข้ามาที่พักเรื่อย ๆ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ก็ได้ให้สามเณรทุกรูปมาสวด บทสวดกะระณียะเมตตะสุตตัง ( บทแผ่เมตตาให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย ) พอสวดได้สักพักเสียงคำราม ของเสือก็เริ่มไกลออกไป จนไม่ได้ยิน แต่ไม่มีใครกล้าออกมา พอรุ่งเช้าก็ออกมาดู เห็นรอยเท้าเสือรอบๆบริเวณที่พักเต็มไปหมด หลังจากนั้นทั้งคณะก็เดินทางลัดเลาะ ป่าเขามาถึงวัดแม่อวม พระบาทเมืองกาง ล่องมาถึงวัดพระธาตุศรีจอมทอง เพื่อกราบนมัสการพระธาตุศรีจอม ทอง เมื่อกราบนมัสการเสร็จ แล้วจึงเดินทางกลับมายังสำนักปฏิบัติธรรมน้ำออกรูจนเวลาล่วงมาได้ ๑ พรรษา ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ พร้อมด้วยพระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ สามเณรตั๋น คำมูล พ่อหนาน ปัญญา ( เมื่อก่อนท่านเป็นพระภิกษุ ) ศิษย์วัดอีกหนึ่งคน ท่านเป็นผู้เฒ่าผู้แก่ ได้ร่วมจาริกธุดงค์ไปยังเขตแดนต่างๆ เดินขึ้นเหนือ ผ่านเมืองเชียงใหม่ ค่ำที่ไหนก็นอนพักที่นั้น เดินทางผ่านแม่ริม แม่แตง แม่สา ป่ากล้วย แม่นะ ป่าบง แม่ก๊ะ เชียงดาว เดินผ่านดอยห้วยหนอง พักรอนแรมไปตามเทือกเขา ลำห้วย ลุถึงถ้ำตับเตา ก็ได้พักให้หายปวดเหมื่อย เมื่อหายปวดเหมื่อยแล้ว ก็เดินทางต่อผ่าน แม่ออน บ้านห้วยห้อม วัดแม่สุญหลวง วัดแม่แหลง กราบนมัสการครูบาเต๋จา แล้วธุดงค์ต่อไปบ้านอ่าย บ้านคาย บ้านแพะ บ้านสันป่าเหียง และเลยไปจนถึงพระธาตุสบฝาง ครูบาเจ้าวัดแม่แหลงท่านมีความศรัทธา จึง ได้ขอกราบอาราธนานิมนต์ให้ คณะครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ให้พำนักจำพรรษาพร้อมจัดหา คนคอยอุปัฏฐากรับใช้ ระหว่างที่พำนักอยู่ท่านได้ปฏิบัติธรรม และ อบรมสั่งสอนชาวบ้านให้ปฏิบัติดี ปฏิบัติชอบ ตามพระธรรมคำสอน ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ และคณะอยู่ปฏิบัติธรรมที่ วัดแม่แหลงได้ประมาณเดือนเศษ พ่อแสนตาและศรัทธาญาติโยมบ้านท่าตอนได้มาฟังพระธรรมคำสอน ของท่านก็เกิดความเลื่อมใส ศรัทธาจึงขอกราบอาราธนานิมนต์ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ พร้อมกับคณะอยู่จำพรรษาอยู่บนดอยบ้านท่าตอน พร้อมด้วยคณะวัดแม่แหลงก็อยู่ร่วมจำพรรษาด้วย ระหว่างจำพรรษา สามเณรตั๋น คำมูล ก็ได้หมั่นศึกษาหาความรู้อยู่มิได้ขาด พอเวลาล่วงมาถึงออกพรรษาแล้ว ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ก็เห็นว่าถึงเวลาอันควรแล้ว จึงขอลาศรัทธาญาติโยมชาวบ้านท่าตอน พาคณะเดินทางจาริกธุดงค์ต่อไปโดยอาศัยแพ ขึ้นเหนือจากท่าตอน พอค่ำที่ไหนก็นอนที่นั้นบางครั้งยังอาศัยหลับนอน บนแพ ที่ลอยยู่กลางแม่น้ำกก ล่องแพมาได้ ๒ วันก็มาถึงจังหวัดเชียงราย ขึ้นท่าน้ำเดินทางต่อ โดยทั้งคณะได้อาศัยรถยนต์ ไปอำเภอเชียงแสน
ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ก็ได้พาสามเณรและศิษย์ ไปกราบคาราวะ พระสถูปเจ้าองค์คำ และเลยต่อไปบ้าน แม่คาว วัดกอกอก บ้านสัน วัดแม่คำ ไปจนถึงบ้านป่ากว๋าว และ ได้ขึ้นไปกราบนมัสการพระบรมธาตุดอยตุง เดือนยี่ แรม ๑ ค่ำ คณะครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ เดินทางโดยอาศัยรถยนต์ เพื่อไปกราบนมัสการพระเจ้าตนหลวงทุ่งเอี้ยง เมืองพะเยา นอนพักที่นั้นหนึ่งคืน พอตอนเช้าจึงออกเดินทางต่อไป อำเภองาว จังหวัดแพร่ จังหวัดน่าน แล้วจึงได้ขึ้นรถไฟเดินทางผ่าน เมืองลำปาง ลำพูน กราบนมัสการพระธาตุหริภุญชัย แล้วเดินทางผ่านสารภี มาถึงเมืองเชียงใหม่แล้ว ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ พร้อมด้วยคณะ ก็เดินทางไปยัง วัดพระสิงห์วรวิหาร ซึ่งในขณะนั้นครูบาเจ้าศรีวิชัย ท่านเป็นประธาน( นั่งหนัก ) รักษาการเจ้าอาวาสวัดพระสิงห์วรวิหาร เมื่อครูบาเจ้าศรีวิชัย ได้รู้ว่า ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ พร้อมคณะเดินทางมายังวัดพระสิงห์วรวิหาร ครูบาเจ้าศรีวิชัยก็ได้ให้ศิษย์วัดกราบอาราธนานิมนต์ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ให้พำนักอยู่ที่วัดพระสิงห์วรวิหาร ๑ คืน พอรุ่งเช้าครูบาเจ้าศรีวิชัย ท่านก็ได้นิมนต์ใส่บาตร ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ แล้ว พระคุณเจ้าทั้งสองพร้อมคณะ ก็ร่วมฉันเช้าเมื่อฉันเสร็จ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ พร้อมทั้งคณะก็ได้ขอกราบลาครูบาเจ้าศรีวิชัย เดินทางกลับมายังสำนักปฏิบัติธรรมน้ำออกรูตามเดิม จากนั้นมา สามเณรตั๋น คำมูล อยู่อุปัฏฐากรับใช้ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ มาเป็นเวลา ๔ พรรษา ยังมีจิตใจเที่ยงมั่นในพระธรรมคำสอน ขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ครองอยู่ในผ้าเหลือง อยู่ตลอด เวลา มีศีลหมดใส จนอายุครบอุปสมบท
อุปสมบทเป็นพระภิกษุ
เมื่อได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว สามเณรตั๋น คำมูล ก็ได้มีจิตใจประกอบด้วย ฉันทะ วิริยะ จิตตะ วิมังสา ศึกษาค้นคว้าท่องบ่นจำพระวินัย ประพฤติเสขิยาวัตร จริยวัตร ความเป็นสามเณรเป็นอันดีงาม และเป็นที่รักใคร่ จนกระทั่งเจริญอายุครบ ๒๐ ปี ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ และ หลวงพ่ออ้ายอินทนนท์ ก็ได้จัดงานอุปสมบท ให้เมื่อวันที่ ๘ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๗๗ ณ พัทธสีมา วัดศรีแดนเมือง ได้รับฉายาว่า “ ปัญญาภิกขุ ” ( แต่ภายหลังได้เปลี่ยนมาเป็น “ ปัญโญภิกขุ ” เนื่องจากสมัยก่อนท่านมักจะโดนล้อว่า ฉายาปัญญาภิกขุนั้น ไม่เหมาะกับท่าน เพราะท่านเป็นคนที่ ความจำไม่ค่อยดี ท่านเลยเปลี่ยนจาก ปัญญา มาเป็น ปัญโญ ) มีพระอธิการสุพันธ์(จันทร์) สุวันโณ ( เจ้าอาวาสวัดศรีแดนเมือง ) เป็นพระอุปัชฌา พระอุ้ย คัมภีโร ( วัดมะกับตองหลวง ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมา โพธิโก ( วัดศรีแดนเมือง ) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ บวชเป็น พระ ภิกษุขึ้นอยู่กับวัดศรีแดนเมือง หลังจากนั้นก็ได้คอยติดตามอุปัฏฐากรับใช้ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ไปเข้าปริวาสกรรมตามที่ต่างๆ และยังออกธุดงค์ไปจำพรรษาอยู่ที่ห้วยลึก ๑ พรรษา ห้วยน้ำขาว ๑ พรรษา ดงป่าเฝ่า ๑ พรรษา น้ำออกรู ๒ พรรษา และเนื่องจากปีนั้นได้เกิดไฟป่าเผาไหม้ มายังบนดอย ทางทิศตะวันตก ของสำนักปฏิบัติธรรมน้ำออกรู ประกอบกับมีลมแรงกระหน่ำ ได้พัดเอาลูกไฟก้อนมหึมานั้นลงมาใส่กุฏิของ ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ทำให้กุฏิของท่านนั้นไฟไหม้วอด ไปทั้งหลัง ข้าวของในกุฏิ มีมากมายหลายชนิด มีทั้ง พระพุทธรูป และ ของใช้ต่างๆ ถูกไฟเผาไหม้ วอดวาย เสียหายทั้งหมด ไม่มีอะไรเหลือเลย หลังจากนั้นท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ก็ได้มุ่งหน้าออกเดินธุดงค์ไปยังวัดจอมแจ้ง และท่านได้อยู่จำพรรษาที่นั้น ๑ พรรษา โดยมี พระตั๋น ปัญโญ คอยอุปัฏฐากรับใช้เรื่อยมา หลังจากนั้น ไม่นาน ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ไ ด้เกิดอาพาส ท่านก็เลยออกธุดงค์ต่อไปยังวัดท่าโป่ง ๑๗๓ หมู่ ๓ ตำบล บ้านแม อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ และ หลังจากท่านได้อยู่จำพรรษาที่วัดท่าโป่ง ได้ไม่นาน ก็ได้มรณะภาพลง และเป็นที่น่าเศร้าใจยิ่งนักแก่บรรดาลูกศิษย์และญาติโยมทั้งหลาย สุดท้ายจึงได้ตามกันไปจัดงานพิธีฌาปนกิจ ถวายเพลิงท่านครูบาเสียตามประเพณี ณ สุสานแห่งนั้น ปัจจุบันนี้อัฐิของ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ ได้บรรจุอยู่ที่ วัดดอยหยุด หมู่ ๒ ตำบลดอนเปา อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ ( สมัยก่อนดอยหยุด เป็นสำนักปฏิบัติธรรมอยู่ในเขตของวัดท่าโป่ง แต่ปัจจุบันนี้มีการแบ่ง แยกเขตจากเดิม สถานปฏิบัติธรรมดอยหยุด อยู่ตำบลบ้านแม อำเภอสันป่าตอง โดยได้แยกออกมาเป็นเขตของอำเภอแม่วางในปัจจุบัน ) ส่วนสำนักปฏิบัติธรรมน้ำออกรู ก็เลยไม่มีใครเป็นตัวตั้งตัวตีสืบทอดอยู่ต่อไป ภายหลังจากการจัดงานฌาปนกิจให้แก่ ครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ เรียบร้อยแล้ว พระตั๋น ปัญโญ จึงได้กลับมาจำพรรษา ยังวัดศรีแดนเมืองตามเดิม อันเป็นวัดประจำภูมิลำเนาของ ท่านตลอดมา และ ศรัทธาญาติโยม ก็ได้สร้างกุฏิไม้ถวายท่าน ท่านก็ได้อยู่จำพรรษา ที่ วัดศรีแดนเมืองตลอดมา ด้วยความที่ท่านเป็นพระที่รักสงบ ท่านก็ไปปฏิบัติธรรมบนสำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่นบ้าง ( สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น หรือที่ชาวบ้านท้องที่เรียกว่า วัดดอยปู่ต้นสมัยก่อน มีพระธุดงค์รูปหนึ่ง ท่าน ชื่อว่าครูบาวงศ์ ได้เดินธุดงค์มาจากทางเชียงใหม่ และได้มาพักปฏิบัติธรรมอยู่จำพรรษาที่สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น และ ท่านก็ได้มามรณะภาพลงที่สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น แห่งนี้ แสดงว่าสถานที่นี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เคยมีพระสงฆ์อยู่ปฏิบัติธรรมมาก่อน เป็นระยะเวลาร่วม ๑๐๐ กว่าปีมาแล้ว ) หลังจากนั้นท่านพระอธิการสุพันธ์ ( จันทร์ ) สุวันโณ ท่านก็ได้ขึ้นมาบูรณะวิหาร สร้างศาลาปฏิบัติธรรม และ อยู่ปฏิบัติธรรม ที่สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น เป็นครั้งเป็นคราว ส่วนพระตั๋น ปัณโญ อยู่จำพรรษาที่วัดศรีแดนเมือง ได้ไม่นาน ก็ได้ย้ายขึ้น มาอยู่สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น ศรัทธาญาติโยมก็ได้ช่วยกัน ลื้อกุฏิหลังเก่าของท่านที่วัดศรีแดนเมืองขึ้นมา สร้างถวายให้ท่านที่สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น และมีสามเณรขึ้น มาอยู่กับท่านด้วยในครั้งนั้น และเมื่อสามเณรได้ลาสิกขาบทออกไป ศรัทธาญาติโยมได้เห็นว่าท่านไม่มีคนคอยอุปัฏฐากรับใช้ ศรัทธาญาติโยมจึงได้มานิมนต์ท่านให้กลับมาจำพรรษาอยู่ที่วัดศรีแดนเมืองตามเดิม และเมื่อตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดศรีแดนเมือง ว่างลง ด้วยบุคลิกของท่านเป็นผู้ที่สมถะ ไม่ฝักใฝ่ ในลาภยศ หรือ ตำแหน่งใดๆ ท่านมีจิตแน่วแน่ไปในทางปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานเพียงอย่างเดียว ท่านจึงได้ย้ายขึ้นมาอยู่ที่สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่นอีกครั้ง โดยไม่ยอมรับตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดศรีแดนเมือง ในปีพ.ศ. ๒๕๑๐ และศรัทธาก็ได้ทำการลื้อกุฏิไม้หลังเดิม ขึ้นมาสร้างบนสำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่นอีกครั้ง และท่านก็ได้ทำการบูรณะวิหารหลังเดิม ในปีพ.ศ. ๒๕๒๑ เมื่อเวลาผ่านไปกุฏิไม้หลังเก่า เริ่มมีสภาพชำรุด ทรุดโทรม จึงมีศรัทธาญาติโยมนำโดย คุณ เจนจิตร ดาวเจริญ และ คณะรับเป็นเจ้าภาพจัดสร้างกุฏิหลังใหม่ให้ท่าน ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ และ ในปีที่ พ.ศ. ๒๕๔๗ หลวงปู่ครูบาตั๋น กับ ศรัทธาญาติโยม ก็ได้ทำการลื้อศาลาการเปรียญ และสร้างขึ้นมาใหม่ในวันที่ ๖ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๗ เพื่อเอาไว้ใช้ปฏิบัติศาสนากิจ บำเพ็ญเพียร ปฏิบัติธรรม และจัดงานต่างๆใน วันสำคัญ ตลอดระยะเวลากว่า ๕๐ ปี หลวงปู่ครูบาตั๋น ปัญโญ ท่านได้อยู่จำพรรษา และ ปฏิบัติธรรม อยู่บนสำนักสงฆ์ม่อนปู่อิ่น และ คอยอบรมสั่งสอนศรัทธาญาติโยมที่มาทำบุญกับท่าน ตลอดมาจวบจนทุกวันนี้
วัตรปฏิบัติของสำนักปฏิบัติธรรมน้ำออกรู
เวลา ๐๔.๐๐ น. ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์ จะตีระฆังเงี่ยง ตุ๊ลุงตัน สุวัณโณ จะตีกรก ( ตีเกราะ ) ตุ๊ลุงมา ตุ๊ลุงอ้ายและลุงมาเปี้ย ก็ตีเกราะเหมือนกัน สำหรับสามเณรน้อยทั้ง ๔ รูป ก็ตีเกราะด้วยเช่นกัน แล้วจึงออกไปชำระร่างกายตนเอง ที่ตีเกราะกันนั้นเพื่อที่จะให้บุคคลในที่นั้นๆ ตื่นขึ้น เฉพาะที่พักของเณรก็มีเกราะอยู่ใบหนึ่งสำหรับตีกัน แต่พวกเณรมี ๔ รูป ต้องเปลี่ยนกันตีเกราะคนละวันเวียนกันไป ทำกันอยู่อย่างนี้ตลอดพรรษา เสร็จแล้วทั้งพระและ เณร ก็พากันไปสวดมนต์ที่กุฏิของ ท่านครูบาเจ้าบุญเป็ง อภิวงศ์พร้อมกัน สวดมนต์เสร็จแล้ว ต้องลงไปนั่งที่โคนต้นไม้คนละต้น เพื่ออธิฐานรุกขมูลลิกังคะธุดงค์ หากเป็นวันพระวันศีล ท่านครูบาจะให้ขึ้นทำวัตรเอกา ( ฉันมื้อเดียว ) เพิ่มเติม และ วัตรเนสัชชิกังคะ ให้ถืออิริยาบถ ๓ มี นั่ง ยืน เดิน เท่านั้น วันนั้น ห้ามนอนไปจนกว่าจะถึง ๒๔.๐๐ น. จาก นั้นจึงนอนได้ แต่ละวันนั้นเมื่อตื่นมาแล้ว ก็ต้องปฏิบัติกิจประจำวัน ตอนเช้าหลังออกจากรุกขมูล ก็ให้ไปช่วยทำอาหารซึ่งมีลุงมาเปี้ยเป็นหัวหน้า เสร็จแล้วเตรียมใส่บาตร แล้วจึงฉันภัตตาหารได้ การฉันก็ฉันแบบเอกา คือฉันหนเดียวทั้งพระทั้งเณร ฉันเสร็จแล้วสวดบท ทายะ-กานัง อนุโมทามิ ฯ จากนั้นก็พักผ่อนตามอัธยาศัยได้ บางวันมีมะพร้าวอ่อน กล้วยสุก และผลไม้ อื่นๆ ที่โยมนำมาถวาย ท่านครูบาจะให้ปลงวัตรเอกาแล้วมาฉันได้อีก ข้อนี้ไม่บังคับ หรือ หากวันใด มีการขุดดิน ขนดิน ตัดฟืน ปลูกผัก หรือมีงานหนักๆ ท่านครูบาจะให้ปลงเอกาด้วย ตอนเย็นประมาณบ่าย ๓ โมง จะพากันไปหาผักต่างๆ จากลำห้วยหรือในป่ามาไว้ทำอาหารพรุ่งนี้เช้า เวลา ๑๗.๓๐ น. สรงน้ำเสร็จแล้วไปนั่งโคนต้นไม้เจริญกัมมัฏฐานภาวนา เวลา ๑๙.๐๐ น. ท่านครูบาจะตีระฆังเงี่ยงและเกราะจากนั้นก็จะไปรวมกันสวดมนต์ที่ กุฏิของท่านครูบา เสร็จแล้วท่านครูบาก็จะ ให้โอวาทแล้วก็เลิก เวลา ๒๑.๐๐ น. ไปไหว้พระที่กุฏิของท่านครูบาพร้อมกัน แล้วกลับไปพักผ่อนหลับนอน วนเวียนกันอยู่อย่างนี้ นี่เป็นระเบียบข้อวัตรปฏิบัติของสำนักปฏิบัติธรรมน้ำออกรูใน

 
ราคาเปิดประมูล :
 100 บาท
ราคาสูงสุด ขณะนี้ :
 100 บาท
ราคาที่ต้องเพิ่มขึ้น ขั้นต่ำ :
 100 บาท

เงื่อนไขการรับประกัน :
 

ผู้ตั้งประมูล :
 วันศีล โกวัง
ที่อยู่ :
 323/332 ม.12 ต.สันผักหวาน อ.หางดง จ.เชียงใหม่ ไทย

เบอร์โทรติดต่อ :
  0861936900, 0861936900
E-mail :
 

ชื่อบัญชี :
 นายวันศีล โกวัง
เลขที่ บัญชี :
 8922097432
ประเภท บัญชี :
 ออมทรัพย์
ธนาคาร :
 ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
สาขา :
 สาขาย่อยเทสโก้ โลตัส เชียงใหม่ - กาดคำเที่ยง

วันที่ :
 Thu 12, Nov 2020 20:39:14
โดย : ศิวิไล    [Feedback +55 -0] [+36 -1]   Thu 12, Nov 2020 20:39:14
 








 
 
โดย : ศิวิไล    [Feedback +55 -0] [+36 -1]     [ 1 ] Thu 12, Nov 2020 20:39:44

 
ประมูล เหรียญรุ่นแรกครูบาตั๋น ปัญโญ สำนักสงฆ์ม่อนปู่อิน เนื้อฝาบาตร : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.