เหรียญรุ่นแรกครูบาชัยวงค์ วัดพระพุทธบาทห้วยต้ม ปี 2509 บล็อกข้าวตม สวยคมชัดเดิมๆ
จัดสร้างเพื่อสมทบทุนจัดสร้างศาลายาว 54 ห้อง (จำนวนห้องเท่ากับจำนวนหลวงปู่ครูบาวงค์ ท่านเกิดปี 2456 ในขณะนั้น ปี 2509 อายุ 54 ปี) หลวงปู่เมตตาอธิฐานจิตเดี่ยว และได้นำเหรียญรุ่นแรก ทั้งบล็อกข้าวตมและต้มเข้าร่วมปลุกเสกเพิ่มในพิธีตั้งธรรมหลวงเทศมหาชาติ ปลุกเสกด้วยคาถาพัน โดยสุดยอดเกจิคณาจารย์ที่หลวงปู่นิมนต์มาเทศพลัดเวียนกันสวดเจริญพุทธมนต์เทศธรรมหลวงมหาชาติ ถือเป็นสุดยอดแห่งพระคาถา
การเตรียมพิธีตั้งธรรมหลวง
ก่อนการจัดพิธีตั้งธรรมหลวง พระเณรและชาวบ้านต้องช่วยกันเตรียมงานเป็นการใหญ่ ล่วงหน้าอย่างน้อยเป็นเดือน เพราะต้องเตรียมการในหลายส่วน เช่น การ “ตกธรรม” คือการไปนิมนต์พระเสียงดีมาเทศน์ การตกแต่งสถานที่ การทำรั้วราชวัตร ประตูป่า ประดับโครงซุ้มด้วยทางมะพร้าว ประดับด้วยฉัตร ธง ช่อช้าง ต้นกล้วย ต้นอ้อย ต้นข่า ต้นกุก มาปักไว้ให้ดูเหมือนกับประตูเข้าป่า การที่จัดทำประตูป่านี้ คาดว่าคงจำลองมาจากเรื่องในเวสสันดรชาดก คือตอนที่พระเวสสันดรถูกขับให้ออกจากเมือง พร้อมทั้งพระมเหสีและโอรสธิดา จึงพากันเข้าไปอยู่ในป่าเพื่อบวชเป็นฤาษีบำเพ็ญบารมี เมื่อไปถึงประตูป่าที่มีพรานเจตบุตรเป็นผู้เฝ้า ได้ชี้ทางไปเขาวงกตให้และอาจมีการจำลองเขาวงกตไว้ภายในวัดให้ได้เดินเล่น โดยตรงกลางเขาวงกตจะมีแท่นบูชาพระพุทธรูปอยู่ หากหลงก็วนเวียนอบยู่จนกว่าจะเข้าไปสักการะพระพุทธรูปได้ จึงเป็นที่สนุกสนานของผู้ที่มาร่วมทำบุญ
สถานที่ใช้ในการ ตั้งธรรมหลวง จะนิยมใช้วิหาร ภายในจะต้องตกแต่งไปด้วยเครื่องบูชาเวสสันดรชาดก ได้แก่ ดอกบัว ดอกพ้าน(บัวสาย) ช่อสามเหลี่ยม ติดกนะดาษต้อง(กระดาษฉลุ) รูปช้าง ม้า วัว ควาย ทาสหญิง ทาสชาย แก้ว แหวน เงิน ทอง อย่างละ ๑๐๐ รูป ประดับโคมผัดที่เล่าเรื่องเวสสันดรชาดก มีการทำค้างโคมแขวนบูชา มีเชือกสำหรับดึงขึ้นลงได้ จึงเรียกว่า โคมล้อ ล้อ หมายถึงรอกที่ใช้สำหรับชักเชือกขึ้นลงเพื่อจุดประทีสบูชา
ส่วนธรรมมาสน์สำหรับเป็นที่นั่งเทศน์ของพระสงฆ์ก็จะประดับตกแต่งด้วยม่าน และห้อยดอกพัน ที่อยู่ใน หับดอก ที่สานโดยแตะไม้ไผ่ประกบกัน ดอกไม้พันดอก หรือ สหสสฺปุปฺผานิ เป็นเครื่องบูชาพระธรรม บูชาพระคาถาจำนวน ๑,๐๐๐ พระคาถา ที่เรียกว่า สหสฺสคาถา ดอกไม้ที่นิยมได้แก่ดอกกาสะลอง ดอกจีหุบ(มณฑา) ดอกสารภี เป็นต้น ดอกไม้เหล่านี้เป็นดอกไม้หอมทำช่วยให้บรรยากาศเหมือนอยู่ในป่าหิมพานต์ที่พระเวสสันดรบำเพ็ญบารมีอยู่ที่นั่น ส่วนด้านข้างก็จะมีการจำลองเป็นป่าหิมพานต์ ปัจจุบันมีการตกแต่งด้วยซุ้มต้นไม้ดอกไม้ใส่กระถางไปประดับตกแต่งให้งดงาม
ด้านข้างพระประธานในวิหารก็จะมีการอ่างน้ำมนต์ โดยใช้น้ำมันงา หรือน้ำมันมะพร้าว ใส่ลงไป โยงสายสิญจน์จากพระประธาน ไปยังธรรมมาสน์ โยงมาพันที่อ่างน้ำมนต์สามรอบ แล้วโยงกลับไปยังธรรมมาสน์ให้พระถือไว้ขณะเทศน์กัณฑ์ต่างๆ เชื่อว่าอานุภาพของการเทศน์ตั้งธรรมหลวงจะทำให้น้ำมนต์นี้ศักดิ์สิทธิ์ ใช้ทาแผล แก้ปวดเคล็ดขัดยอก แก้ผื่นคัน และเชื่อว่าจะทำให้อยู่ยงคงกระพัน
ลำดับพิธีการตั้งธัมม์หลวง
เกี่ยวกับลำดับพิธีการตั้งธัมม์หลวงนี้ ประมวลจากสารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ(๒๕๔๒, หน้า ๒๓๕๖) ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มณี พยอมยงค์ (๒๕๔๗, หน้า ๒๖๐) และชูเกียรติ วงศ์รักษ์ (๒๕๓๙, หน้า ๔๔) และพระครูอดุลสีลกิตติ์ (ฐานวุฑโฒ) (สัมภาษณ์, ๔ พฤศจิกายน ๒๕๕๑)
วันแรก
วันแรก ในการเทศน์ นิยมเทศน์ในวันเดือนยี่เหนือขึ้น ๑๔ ค่ำ เวลาประมาณ ๑๕.๐๐ น ศรัทธาชาวบ้านจะมาฟังเทศน์คาถาพัน คือเรื่องราวของเวสสันดรชาดกที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้เป็นภาษาบาลี รวมทั้งหมดมี ๑,๐๐๐ พระคาถา และเทศน์คัมภีร์ต่อไปอีก คือ คัมภีร์มาลัยต้น มาลัยปลายและอานิสงส์เวสสันตระ และธัมม์ไขวิบากเวสสันตระ
คาถาพัน หรือสหัสสคาถา คือคำบาลีที่แต่งด้วยฉันทลักษณ์ต่างๆ กล่าวเรื่องย่อของพระเวสสันดรตั้งแต่ต้นจนจบ
คัมภีร์มาลัยต้น กล่าวถึงพระมาลัยเถร พระสงฆ์ชาวลังกาเป็นพระอรหันต์ เดินทางไปเยี่ยมนรก ได้พบพญายมราชและเห็นสัตว์นรกจำนวนมาก พญายมราชบอกกับพระมาลัยว่า การทำบุญทำทาน การฟังเทศน์ และอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตายนั้น อาจทำให้ผู้ที่อยู่ในนรกพ้นจากความทุกข์ได้
คัมภีร์มาลัยปลาย กล่าวถึงพระมาลัยเดินทางไปสวรรค์ ได้พบพระอริยะเมตไตรเทวบุตร ผู้ซึ่งจะมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ต่อไป พระมาลัยถามว่า ทำอย่างไรจะได้ร่วมศาสนากับพระศรีอริยะเมตไตร ได้คำตอบว่า ผู้ที่ได้สดับฟังการเทศมหาชาติตั้งแต่ต้นจนจบจะได้พบกับศาสนาพระศรีอริยะเมตไตรพุทธเจ้า
ธัมม์อานิสงส์เวสสันตระและธัมม์ไขวิบากเวสสันตระ กล่าวถึงอานิสงส์ต่างๆของการฟังเทศน์มหาชาติ รวมถึงการได้อยู่ร่วมพระศาสนาของพระศรีอริยะเมตไตร และชาติต่างๆของพระเวสสันดร นางมัทรี กัณหา ชาลี ชูชก จึงทำให้เกิดเป็นเรื่องราวพระเวสสันดรชาดกชาติสุดท้ายก่อนเกิดเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในยุคปัจจุบัน
วันที่สอง
วันที่สอง รุ่งขึ้นวันเดือนยี่เหนือเพ็ญ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เวลาเช้าตรู่จะเริ่มฟังกัณฑ์ทศพรและกัณฑ์ต่อ ๆ มาตามลำดับ มีเวลาพักตักบาตรตอนเช้าและฉันเพล จากนั้นเทศน์ติดต่อกัน การฟังเทศน์และเป็นเจ้าภาพกัณฑ์เทศน์ สามารถเป็นเจ้าภาพร่วมกันหรือฟังแบบสืบชาตาต่ออายุ ตามปีเกิดของแต่ละคน เมื่อเทศน์กัณฑ์ใด ให้เจ้าภาพของกัณฑ์จุดธูปเทียน (ผางประทีส) เท่าจำนวนพระคาถา เพื่อบูชาคาถาของกัณฑ์นั้น จนครบคาถา ดังนี้
๑. กัณฑ์ทศพร มี ๑๙ คาถา ปีใจ้(ปีชวด) ๒. กัณฑ์หิมพาน มี ๑๓๔ คาถา ปีเป้า(ฉลู) ๓. ทานกัณฑ์ มี ๒๐๙ คาถา ปียี(ปีขาล) ๔. กัณฑ์ประเวสน์ มี ๕๗ คาถา ปีเหม้า(ปีเถาะ) ๕. กัณฑ์ชูชก มี ๗๙ คาถา ปีสี(ปีมะโรง) ๖. กัณฑ์จุลพล มี ๑๕ คาถา ปีใส้(ปีมะเส็ง) ๗. กัณฑ์มหาพน มี ๘๐ คาถา ปีสะง้า(ปีมะเมีย) ๘. กัณฑ์กุมาร มี ๑๐ คาถา ปีเม็ด(ปีมะแม) ๙. กัณฑ์มัทรี มี ๙๐ คาถา ปีสัน(ปีวอก) ๑๐. กัณฑ์สักกบรรพ มี ๔๓ คาถา ปีเร้า(ปีระกา) ๑๑. กัณฑ์มหาราช มี ๖๙ คาถา ปีเส็ด(ปีจอ) ๑๒. กัณฑ์ฉกษัตริย์ มี ๓๙ คาถา ปีใค้(ปีกุน) ๑๓. นครกัณฑ์ มี ๔๘ คาถา ทุกปีเป็นเจ้าภาพร่วมกัน รวมทั้งหมด ๑,๐๐๐ คาถา
เหรียญสุดยอดประสบการณ์ของหลวงปู่ครูบาวงค์
เหรียญยอดนิยมของหลวงปู่ครูบาวงค์ แท้ดูง่าย ท่านใดชอบของเดิม ๆ ไม่ควรพลาดครับ
สนใจสอบถามได้ครับ 0861936900
|