ล็อกเก็ตรุ่นแรกฉากทอง พระสิงห์ปาย วัดศรีดอนชัย หลังอุดผงตะกรุดเงิน หมายเลข 144
พระพุทธรูปคู่เมืองปาย
พระพุทธสิหิงค์ หรือ พระสิงห์ปาย เป็นพระพุทธรูปเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองปาย และเป็นพระพุทธรูปประธานวัดศรีดอนชัย ตั้งอยู่เลขที่ 18 หมู่ 8 ต.เวียงเหนือ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน สังกัดคณะสงฆ์ พระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์ปาย) เป็นพระ พุทธรูปศิลปะเนื้อทองสำริด ปางมารวิชัยเชียง แสนสิงห์ยุคแรก สร้างในราวพุทธศตวรรษที่ 17-18 อายุราวประมาณ 700-800 ปี ตามพงศาวดาร เป็นวัดแรกของเมืองปาย (อำเภอปาย) สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 1855 โดยพะก่าหม่องซอได้นำทัพพม่า ตั้งที่บ้านดอนแห่งนี้ พะกาหม่องซอจึงได้สร้างวัดนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ชื่อว่า วัดบ้านดอนจองใหม่ (หรือวัดใหญ่) โดยการสร้างครั้งแรก ได้สร้างกุฏิให้เป็นที่บำเพ็ญกุศลของเหล่าทัพและประชาชนสมัยนั้น โดยได้นิมนต์พระพม่าไทยใหญ่จากแสนหวี หนองฮี เมืองปั่น ลางเคอ เมืองนาย มาจำพรรษาอบรมชาวบ้านและกองทัพสมัยนั้น ต่อมาปีพุทธศักราช 2020 สมัยที่พระเจ้าติโลกราช เจ้ากษัตริย์ผู้ครองนครพิงค์เชียงใหม่ ได้มีพระบัญชาให้เจ้ามหาชีวิตศรีใจยา หรือเจ้าศรีใจย์ ซึ่งเป็นราชบุตรของพระเจ้าเสนะภู เป็นหลานของพระเจ้าคราม และเป็นเหลนของพ่อขุนเม็งรายมหาราช ได้นำช้างพลายเผือก 2 เชือก ชื่อ ช้างพลายเผือกเฒ่ามงคล และช้างพลายแก้วมงคล ยกทัพจากนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ เพื่อมาตีเมืองแห่งนี้จากพะก่ากั่นนะ และพะก่าส่างกง ปรากฏว่า ได้รับชัยชนะศึกในครั้งนั้น แต่ช้างเผือก 2 เชือกของเจ้าศรีใจยา ได้หลุดหนีเข้าป่าไป โดยเสนาอำมาตย์ได้ติดตามได้ที่ลำห้วยขุนแม่น้ำปายปัจจุบัน เมื่อเสนาอำมาตย์ได้มากราบทูล เจ้ามหาชีวิตศรีใจยา ก็ปรารภว่าแม่น้ำนี้สมควรชื่อแม่น้ำปาย เหตุคือเรียกตามที่ได้พบช้างพลาย 2 เชือกคืนในลำห้วยขุนน้ำนั้น (ภาษาเมืองเหนือ ช้างพลาย เรียกว่าจ๊างปาย) และเมืองๆนี้จึงได้ชื่อว่าเมืองปาย ตามชื่อแม่น้ำปายจนบัดนี้ พระเจ้าติโลกราช ได้สถาปนาพระนามใหม่ให้เจ้าศรีใจยาว่าเจ้าชัยสงคราม ให้ดูแลปกครองเมืองปายสืบต่อไป และได้สร้างวัดโดยการสร้างขึ้นใหม่ เมื่อปีพุทธศักกราช 2021 โดยได้ก่อสร้างวิหาร กำแพง กุฏิ และเสนาสนะอื่นๆ และขุดสร้างกำแพงเมือง ประตูเมือง และอัญเชิญอาราธนาพระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์ปาย) จากเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่มาประดิษ ฐานเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองอยู่ประจำที่วัดแห่งนี้ในปีนั้นด้วย รวมทั้งได้อาราธนาพระวชิรปัญญามหาเถร วัดมหาโพธาราม (เจ็ดยอด) เชียงใหม่ และพระภิกษุมหาเถระจากเมืองพะเยา เชียงราย อีก 5 รูป จำพรรษาอบรมศีลธรรมให้กับชาวบ้าน โดยได้ตั้งชื่อวัดใหม่ว่า วัดศรีดอนชัย กาลต่อมาปีพุทธศักราช 2124 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เสด็จมาฝึกคุมทหารที่เมืองปาย และเสด็จมานมัสการพระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์ปาย) ประทับแรมที่ปราสาทหอคำเจ้าฟ้าคุ้มเจ้าหลวงเมืองปายแห่งนี้ด้วย พุทธศักราช 2158 เจ้าหลวงปัญญา ได้มีพระบัญชาให้เจ้าแม่สุนันทา ซึ่งเป็นหลานของพระเจ้าติโลกราช ให้มาปกครองเมืองปาย และได้บูรณะซ่อมแซมวัดศรีดอนชัยและปราสาทหอคำที่เจ้าฟ้าที่ถูกพม่าเผาบาง ส่วน อีกทั้งได้อาราธนาพระภิกษุ-สามเณรจากเวียงเชียงใหม่จำพรรษา สืบมาจนถึงปัจจุบัน ในแต่ละปี วัดศรีดอนชัย จัดให้มีประเพณีการสรงน้ำพระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์ปาย) ทุกวันที่ 13 เมษายน เป็นประจำ โดยตลอดตั้งแต่โบราณกาล สำหรับกฤษดาอภินิหารความศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์พระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์ปาย) เท่าที่ทราบและได้บันทึกไว้ คือ ครั้งแรกเมื่อกองทัพพม่าที่มาตีเมืองปาย ก่อนที่จะกลับไปเมืองหงสาวดีได้เผาวัดอาราม แต่ก็ยังยกเว้นพระวิหารที่ตั้งประดิษฐานองค์พระพุทธสิหิงค์ (พระสิงห์ปาย) ครั้งที่ 2 วันประเพณีเดือนยี่เป็งหรือวันลอยกระทงของปี พุทธศักราช 2479 ตามประเพณีของทางเหนือชาวล้านนาแล้ว วันนั้นก็จุดเทียนบูชาเป็นอันมาก และได้มีการละเล่นสนุกสนานตามแต่ละท้องถิ่น ได้มีศรัทธาชาวบ้านมาจุดเทียนบูชากันมากมายที่บนกุฏิ เนื่องจากช่วงนั้นได้อัญเชิญองค์พระพุทธสิหิงค์ ประดิษฐานที่บนกุฏิ พอตกเวลาดึก ทางวัดได้มีการแสดงมหรสพต่างๆ คนก็ไปดูการละเล่น เหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันก็บังเกิดขึ้น คือ ไฟได้ลามลุกไหม้กุฏิอย่างรวดเร็วยากที่จะดับได้ทัน พระเณรและชาวบ้านก็ช่วยกันดับ แต่เพลิงลุกไหม้ไปมาก ครั้นเพลิงได้สงบลง พระลูกวัดและชาวบ้าน ได้รีบตรวจสอบความเสียหายทันที ปรากฏว่า ไฟไหม้เสียหายวอดวายเป็นอันมาก แต่องค์พระสิงห์ปายกลับไม่ได้รับความเสียหายแต่อย่างใด สร้างความมหัศจรรย์แก่สาธุชนเป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าคงมีอภินิหารเกี่ยวกับองค์พระสิงห์ปายอีกมาก ที่วัดศรีดอนชัยหรือผู้คนไม่ได้บันทึกเอาไว้
สนใจสอบถามได้ ครับ 0861936900
|