พระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง พิมพ์มารวิชัย เนื้อดิน จ.พระนครศรีอยุธยา พระสายเหนียว นักเลงสมัยเก่านิยมแขวนคอ ขึ้นชื่อด้านคงกระพันชาตรี สายเหนียว ยิ่งไม่ออก ฟันไม่เข้า
ประวัติ
พระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง จัดเป็นพระเครื่องที่มีชื่อเสียงโด่ง ดังในระดับแนวหน้าอีกกรุหนึ่งของเมืองไทย เป็นที่ยอมรับกันมานานเรียกได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของพระเครื่องเมืองอยุธยาเลย ทีเดียว ความจริงนั้นพระหลวงพ่อโต ได้พบกระจัดกระจายอยู่ทั่วตามกรุต่างๆ ทั้งในอยุธยา เช่น กรุวัดใหญ่ชัยมงคลกรุ วัดมเหยงค์ กรุวัดมหาธาตุ กรุวัดราชบูรณะ กรุบึงพระราม และจังหวัดอื่นๆ เช่น ในกรุงเทพฯก็ได้พบด้วยเช่นกันที่กรุวัดหนัง วัดระฆัง วัดสระเกศ เป็นต้น นอกจากนี้ก็ยังได้พบที่ นนทบุรี ปทุมธานี รวมไปถึงที่กรุวัดเหนือ จ.กาญจนบุรีก็ยังได้พบพระหลวงพ่อโต ขึ้นกรุมาพร้อมกับพระท่ากระดานอีกด้วย ซึ่งเมื่อมีการเปิดกรุครั้งใดก็มักจะพบพระหลวงพ่อโตที่เป็นทั้งพระเนื้อดิน และพระเนื้อชินปะปนอยู่ใน กรุเหล่านี้ด้วยเสมอ
ในจำนวนพระหลวงพ่อโตกรุ ต่างๆเหล่านี้ กรุพระหลวงพ่อโตที่ขุดพบ และมีความยิ่งใหญ่มีชื่อเสียงโด่งดังที่สุดนั้นได้แก่"พระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง" ตำบลหัวเวียง อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งที่นี่ได้พบพระหลวงพ่อโตจำนวนมากที่สุดอีกทั้งยังได้พบแม่พิมพ์ที่ใช้ พิมพ์พระ หลวงพ่อโตจำนวนมากบรรจุรวมอยู่ในกรุนี้ด้วย หลักฐานสำคัญดังกล่าวจึงทำให้เชื่อว่า ที่กรุวัดบางกระทิงแห่งนี้ น่าจะเป็นแหล่งต้นกำเนิดของพระหลวงพ่อโต ส่วนพระที่พบในกรุอื่นนั้น น่าจะเป็นลักษณะของพระที่นำไปฝากกรุในภายหลัง
พระหลวงพ่อโต ที่ขุดค้นพบ ณ วัดบางกระทิง จะมีการแตกกรุออกมาเมื่อไรนั้นคงไม่มี ใครทราบช่วงเวลาที่แน่ชัดนักเพราะเดิมทีนั้นได้มีผู้พบเห็นพระหลวงพ่อโตตก หล่นอยู่ตามบริเวณพื้นที่รอบๆวัดบางกระทิงมานานแล้วแต่ที่แตกกรุอย่างเป็น ทางการและมีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรแน่นอนก็คือเมื่อปี ๒๔๘๑ เนื่องจากวัดได้รื้อพระอุโบสถหลังเดิม เพื่อสร้างใหม่ จึงได้พบกรุพระหลวงพ่อโตเป็นจำนวนมาก มายหลายหมื่นองค์ ซึ่งในครั้งนั้น ทางวัดได้แจกจ่ายไปยัง ผู้ร่วมกุศลทีร่วมกันสร้างโบสถ์ จนเหลือพระ อยู่ในราว ๑๐ ปี๊ปซึ่งพระที่เหลือจำนวนนี้ทางวัดได้นำไปบรรจุที่ฐาน ชุกชีพระประธานของพระอุโบสถหลังใหม่
พระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง เท่าที่พบ จะเป็นพระเนื้อดินเผาทั้งสิ้น มีทั้งประเภทเนื้อหยาบและเนื้อละเอียด
พระที่ แตกกรุเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๑ ตามผิวพระจะไม่ปรากฏคราบกรุ หากแต่มีฝ้ากรุสีขาวหม่นเกาะจับประปราย
โดย เฉพาะในองค์ที่ไม่ผ่านการสัมผัสจับต้องมากนักจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้เป็นเพราะสภาพกรุที่อัดแน่นไป
ด้วยทรายจึงเป็นตัวป้องกันความ ชื้นได้เป็นอย่างดี คราบกรุและราดำจึงไม่ปรากฏให้เห็นในพระหลวงพ่อโต กรุวัดบางกระทิง
ศิลปการสร้างสมัยอยุธยาตอนต้น องค์พระล่ำสัน พระพักตร์โต จึงเรียกกันว่า "หลวงพ่อโต" มีด้วยกันสองพิมพ์คือ
พิมพ์ สมาธิ และพิมพ์มารวิชัย มีด้วยกัน ๒ เนื้อ คือ เนื้อดินและเนื้อชิน แต่นิยมเล่นหาเนื้อดินมากกว่า
นักเลงรุ่นคุณปู่สมัยก่อนนิยมมีไว้กับตัว จนมีอีกชื่อหนึ่งนิยมเรียกว่า "พระคงกระบอง" อันเนื่องมาจากพุทธคุณที่สูง
และ โดดเด่นมากทางด้านคงกระพัน ชาตรี ชนิดที่ว่ากันว่าแมลงวันยังไม่เคยดื่มเลือดผู้ที่แขวนหลวงพ่อโตได้เลย แถมยังมีพุทธคุณทางด้านเมตตา-มหานิยมอีกด้วย
ข้อสำคัญในการพิจารณา อยู่ที่เนื้อดินเป็นหลัก "เนื้อดิน" บางท่านบอกง่ายๆว่าต้องเก่า มีการหดตัว มีรอยแตกของเนื้อดินบ้าง เนื่องจากพระแตกกรุ ปี ๒๔๘๑ ดังนั้นหากเป็นพระใหม่จะมีอายุประมาณ ๖๐ ปี ซึ่งต่างจากของจริง มีอายุไม่ต่ำกว่า ๔๐๐ ปี เนื้อดินย่อมต่างกัน และทุกองค์ที่ผมลงกล้อง พบว่านดอกมะขาม เป็นสีแดงชัด มีมากบ้าง น้อยบ้าง บางองค์ไม่เห็นแต่อาจปนอยู่ในเนื้อพระก็เป็นได้ ส่วนด้านหลัง อาจจะเป็น รอยกาบหมาก หรือไม่เป็นก็มี แต่ถ้าจะให้ครบสูตร ต้อง หลังกาบหมาก ก้นหยิกเป็นจงอยออกมา ซอกแขนลึก ซอกหูเป็นแอ่ง และมีว่านดอกมะขาม ครับ
|