เราสามารถสรุปเหล็กไหลว่าคืออะไรได้ดังนี้ เหล็กไหลคือสิ่งมีชีวิตประเภทหนึ่งที่มีจิตวิญญาณ มีชีวิตขั้นพื้นฐานของตนเอง และเป็นสิ่งมีชีวิตที่มีสังขารร่างกายอยู่ในรูปร่างของ วัตถุธาตุบางอย่าง มีอยู่หลายชนิดหลายเผ่าพันธุ์ในธรรมชาติ
ประเภทของเหล็กไหล
การจัดแบ่งเหล็กไหลนั้นครูบาอาจารย์ท่านจะแบ่งเหล็กไหลออกเป็นสองประเภทหลัก ก่อนที่จะแยกย่อยลงไปคือ
เหล็กไหลประเภทน้ำหนึ่ง หมายถึง เหล็กไหลชั้นยอด ที่สามารถไหลย้อยตัวเองเป็นของเหลวไปตามที่ต่างๆ มีอิทธิฤทธิ์ในการดับพิษไฟทุกชนิด มีศักยภาพในการทำลายดินระเบิด ฟอสฟอรัส เป็นมหาอุดหยุดกระสุนปืน กินพลังงานไฟฟ้าได้
เหล็กไหลประเภทที่สองเรียกว่าเหล็กไหลน้ำรอง หมายถึงรังเหล็กไหลหรือโคตรเหล็กไหล คือเหล็กไหลที่แข็งตัวเองแล้ว ไหลไปมาไม่ได้ แต่สามารถงอกได้ เจริญเติบโตได้ และมักเกาะกลุ่มกันเป็นรังใหญ่บ้าง ก่อตัวคล้ายรังผึ้ง บ้างคล้ายรังต่อหรือจอมปลวก บางชนิดพบในถ้ำ ตามผนังถ้ำ บางชนิดพออยู่ในใต้ดินลึกลงไป
เหล็กไหลประเภทน้ำหนึ่งนี้ถือเป็นของคู่บุญเป็นของเฉพาะตัว ไม่ใช่ของที่ใครๆจะหาได้ง่ายๆ และไม่ควรอย่างยิ่งที่จะใฝ่หาเหล็กไหลประเภทน้ำหนึ่งเป็นเรื่องของบุญบารมีเท่านั้น เพราะเหล็กไหลประเภทนี้มีอาถรรพ์ในตัวมาก ผู้ที่ใฝ่หาด้วยความโลภ มักเกิดความวิบัติทั้งทางทรัพย์สินเงินทองจนถึงชีวิตของตนได้
.....
ตำนานเหล็กไหล
เหล็กไหลเป็นโลหะธาตุที่มีความลี้ลับพิสดาร แปลกประหลาดมหัศจรรย์แตกต่างไปจากโลหะธาตุทั้งปวง จึงได้ถูกจัดอยู่ในฐานะ “ธาตุกายสิทธิ์” ที่มีชีวิตจิตวิญญาณ ซึ่งเป็นไปตามวิบากของกฎแห่งกรรม ที่บันดาลให้วิญญาณในสังสารวัฏมาปฏิสนธิ ในสภาวะที่เป็นโลหะธาตุที่ศักดิ์สิทธิ์มี อิทธิฤทธิ์เหนือธรรมชาติทั่วไป
ดังนั้น “เหล็กไหล” จึงถือเสมือนหนึ่งเป็น “สัตว์โลกที่มีชีวิต” เผ่าพันธุ์หนึ่งในโลก เพราะเหล็กไหลมีทั้งตัวผู้และตัวเมีย สามารถเคลื่อนไหวได้ เสพบริโภคน้ำผึ้งเป็นอาหาร มีการขับถ่ายออกมาได้ ซึ่งเรียกกันว่า “ขี้เหล็กไหล” นอกจากนี้ยังสามารถเสพกามได้ แต่เป็นการเสพกามกันทางกระแสจิตวิญญาณ เพราะเพียงแต่มีความรู้สึกใคร่ในกามารมณ์ ก็สามารถบรรลุจุดสุดยอดได้ในทันที โดยไม่ ต้องมีการถูกต้องสัมผัสกัน และชอบพักผ่อนหลับนอนในสถานที่สงบตามถ้ำ
เหล็กไหลจึงจัดเป็นสัตว์ที่ประเสริฐเผ่าพันธุ์หนึ่งของโลก จัดอยู่ในจำพวกเทพ แต่เป็นเทพที่ มาชดใช้วิบากกรรมในโลกมนุษย์ ดังนั้นจึงทำให้มีพวก ยักษ์ คนธรรพ์ ครุฑ นาค คอยให้ความอารักขาอีกทีหนึ่ง เหล็กไหลจึงมีถิ่นกำเนิด และบารมีที่แตกต่างกันไป ตามเผ่าพันธุ์และวรรณะ ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะ และสมมุติเรียกหาเพื่อให้เห็นความแตกต่างชัดเจนขึ้นเท่านั้น เช่น
โคตรเหล็กไหล (เหล็กไหลงอกหรือเหล็กทรหด) เป็นเหล็กไหลที่มีปรากฏอยู่ค่อนข้างมาก สีดำสนิทเป็นมันเลื่อมเมื่อกระทบแสงสว่าง ผิวค่อนข้างละเอียด แม่เหล็กดูดไม่ติดพบเห็นได้ตามถ้ำที่ ลึกลับ เกิดจากเทพที่มาใช้วิบากกรรมในโลกนี้ จึงมีพวกเทพที่เป็นยักษ์ หรือ คนธรรพ์คอยให้ความอารักขา ไม่ยืดหรือหดได้อีก แม่เหล็กดูดไม่ติด แต่ชอบกินน้ำผึ้ง สามารถงอกโตขึ้นเอง บางทีหากเจ้าของบูชาให้ดี จะเปลี่ยนเป็นสีดำอมเขียว ไปจนถึงเป็นสี รุ้ง ๗ สี ดีทั้งเมตตา โชคลาภ แคล้วคลาดกันภัย มหาอุด คงกระพันถอนพิษสัตว์เขี้ยวงาต่าง ๆ งอกขึ้นอยู่ตามพื้นถ้ำและผนังถ้ำที่มีความชื้นและเย็นพอสมควร สามารถนำมาแกะหรือเจียรนัยเป็นเครื่องรางหรือรูปวัตถุ มงคลตามต้องการ
เหล็กไหลย้อย เป็นเหล็กไหลที่ปรากฏอยู่ค่อนข้างมาก สีออกดำหรือเทาดำ ด้านไม่มีแวว เปราะและกรอบเหมือนเหล็กผุ เป็นเหล็กไหลที่ตายซากแล้ว ไหลย้อยอยู่ในซอกถ้ำที่ลี้ลับ ลักษณะแข็งกรอบ ยาวเป็นศอกเป็นคืบเป็นวา ไม่ยืดหรือหดได้อีก ไม่กินน้ำผึ้ง แม่เหล็กไม่ดูด เกิดจากได้มีการเคลื่อนย้ายแหล่งหาน้ำผึ้งไปในสถานที่ ใหม่ซึ่งอยู่ห่างไกลออกไปมาก ธาตุขันธ์เดิมจึงถูกทิ้งไว้ เหมือนไม่มี ชีวิตจิตวิญญาณ คือเหลือแต่ซากนั่นเอง บางทีมีอสูรกายชอบถือโอกาสเข้าแอบแฝงอาศัยอยู่ เกจิอาจารย์ที่มีกฤตยาคมสูงสำเร็จอัปปนาสมาธิพลังจิตแก่กล้า มักจะนำมาปลุกเสกให้เกิดอานุภาพ เมตตามหานิยม แคล้วคลาดคงกระพัน จนถึงมหาอุดเลยที เดียว แต่ถ้านำมาหลอมละลายด้วยไฟอาคมจะกลายเป็นของเหลวสีดำมันวาวเหมือนนิล หล่อหลอมเป็นพระพุทธรูป เครื่องรางต่าง ๆ ได้ดี มี อานุภาพทางโชคลาภ แคล้วคลาดคงกระพันชาตรี ทำลายอาถรรพณ์ทุกชนิด หากบูชาให้ดีจะเปลี่ยนเป็นสีต่าง ๆ ได้หลายสีตามบารมีของผู้บูชา
ขี้เหล็กไหล มักจะปรากฏอยู่ในถ้ำหรือบริเวณที่มีเหล็กไหล เหมือนกับมูลหรือการขับถ่ายของเสียจากเหล็กไหล ลักษณะเป็นก้อนกลม ๆ สี ออกดำบ้าง น้ำตาลบ้าง ไม่สามารถยืดได้หดได้ แม่เหล็กดูดไม่ติด หากครูบาอาจารย์ผู้ทรงฌาน ทำพิธีกรรมให้ถูกต้อง เฉกเช่นวัตถุ มงคลที่ถูกปลุกเสก ก็จะมีอานุภาพตามที่ ประสงค์
สี สั น ข อ ง เ ห ล็ ก ไ ห ล
ดังที่ได้เคยกล่าวไว้ในตอนต้นแล้วว่า สีสันของเหล็กไหลนั้นจะบ่งบอกถึงบุญบารมีของกายทิพย์เดิมหรือผู้รักษาเหล็กไหล ซึ่งเป็นผู้ที่มีบารมีจากภพภูมิที่แตกต่างกันไป ซึ่งอาจจะเป็น พรหม ฤาษี เทวดา คนธรรพ์ เพชรพญาธร ยักษ์ ที่เข้าไปจับจองเป็นเจ้าของ ทำให้เกิดอิทธิฤทธิ์ในขั้น ล่องหนหายตัว ยืดหดเองได้ สีสันต่าง ๆ ที่พบเห็นบ่อยนั้นได้แก่
1.สีเขียวปีกแมลงทับ หรือ เขียวมรกต
2.สีเขียวตองอ่อน
3.สีน้ำตาลอ่อนหรือท้องปลาไหล
4.สีเปลือกมังคุด หรือ สีน้ำตาลไหม้
5.สีเงินยวง หรือ สีขาวเงินในเบ้าหลอม
6.สีทองลูกบวบ
7.สีนิลดำสนิทแวววาว
8.สีลูกหว้า หรือ ม่วงเข้ม
ดังนั้น สีสันของเหล็กไหลอาจแปรเปลี่ยนได้ตามกาลเวลา เพราะเหล็กไหลเมื่อได้กระจัดกระจายไปอยู่ในส่วนต่าง ๆ ของโลก ซึ่งมักจะเป็นสถานที่สงบ อากาศเย็นชุ่มชื้น ทั้งใต้พื้นน้ำ ตามถ้ำ ป่าเขา ลำเนาไพร เพื่อแสวงหาอริยะสัจธรรมมานานนับโกฏิปีก็มี การเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติ ย่อมมีผลกระทบต่ออาณาจักรของเหล็กไหล จึงจำเป็นต้องมีการเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัย เสาะแสวงหาสถานที่หรือสร้างอาณาจักรขึ้นมาใหม่ ฉะนั้นสี สันของเหล็กไหลอาจเปลี่ยนแปลงได้ด้วยเหตุดังกล่าว คือ
# สีสันขึ้นอยู่กับสภาพสิ่งแวดล้อม ภูมิประเทศ ดินฟ้าอากาศ เช่น แร่ธาตุในบริเวณนั้น อากาศหนาวจัด อากาศร้อนจัด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพและสีสันที่แตกต่างกันออกไป เพื่อการอำพรางตัว ปรับตัวตามอุณหภูมิ
# สีสันเปลี่ยนแปลงไปตามจริตของเทพเทวาในระดับต่าง ๆ อาจจะเนื่องด้วยอำนาจลี้ลับของวิญญาณแห่งธรรมชาติบันดาลให้เป็นไปในสีต่าง ๆ หรือ ผู้ที่ครอบครองเหล็กไหล หมั่นฝึกฝนปฏิบัติ เจริญสมาธิภาวนาอยู่เนืองนิตย์ แล้วแผ่เมตตาบุญบารมีของการปฏิบัตินั้นให้กับเหล็กไหล จะทำให้บารมีของธาตุกายสิทธิ์นั้นเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ สีสันต่าง ๆก็สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงได้เหมือนกัน
# สีสันเกิดจากส่วนผสมของสีหลัก ๆ ผสมกัน ซึ่งเป็นความลึกลับอย่างหนึ่งของธรรมชาติ เหล็กไหล
พิธีอาบแสงจันทร์ และเสพน้ำผึ้ง
เหล็กไหลเสพน้ำผึ้งคือการนำน้ำผึ้งป่าบริสุทธฺมาให้เสพ โดยอาศัยแสงจันทร์ในคืนวันเพ็ญเป็นสื่อ เหล็กไหลจะเสพกลิ่น สี และรส ดังนั้นเราควรถวายน้ำผึ้งแก่เหล็กไหลในคืนวันเพ็ญโดยจัดในที่โล่งแจ้งให้แสงจันทร์สาดส่องมาโดยไม่มีสิ่งกีดขวาง น้ำผึ้งที่เสพแล้วนั้นจะมีคุณสมบัติที่เปลี่ยนไปเช่นกลิ่นจางลง สีเข้มขึ้นหรืออ่อนลงเป็นต้น
การบุชาให้กล่าวคาถาบูชาดังนี้.
"พุทโธเมนาโถ ธัมโมเมนาโถ สังโฆเมนาโถ โอมสิทธิครูกูสวาโหม"
"ขอพลังอำนาจ จากธาตุกายสิทธิ์เหล็กไหลคุ้มครองข้าพเจ้าให้พ้นจากภัยอันตรายบนโลกธาตุนี้ด้วยเทอญ"