หลวงปู่ทวด วัดพะโคะ เนื้อว่าน พิมพ์ใหญ่รุ่นแรก ปี 2506 รุ่นนี้มากด้วยประสบการณ์ ผสมผงว่านปี 2497+++วัด พะโคะ ซึ่งเป็นวัดที่ สมเด็จเจ้า พะโคะ หรือ หลวงพ่อทวด เคยพำนักจำพรรษามาก่อน เนื่องจากชาวอำเภอสทิงพระ จังหวัดสงขลา ก็ต้องการมีพระเครื่องในนาม หลวงพ่อทวดมาบูชาบ้าง ด้วยเหตุ นี้ ท่านอาจารย์เขียว ปุญญผโล ผู้ช่วยเจ้าอาวาส วัดพะโคะ ซึ่งรักษาการแทนเจ้าอาวาสใน ขณะนั้นจึงได้ร่วมกับคณะกรรมการ วัดพร้อมชาวบ้านที่นั่นทำการสร้าง พระหลวงพ่อทวด ขึ้นบ้างโดยรวบรวมวัสดุที่จะนำมาเป็นเนื้อหาในการสร้างพระอาทิ ว่าน 108 ชนิด ที่นำมาจากวัดต่าง ๆ, น้ำผึ้งรวง, กล้วยน้ำว้า, น้ำมันตังอิ๊ว พร้อม ผงพุทธคุณอื่น ๆ มาผสมเป็นเนื้อเพื่อ สร้างพระขึ้นโดยเริ่มดำเนินการในช่วงเข้าพรรษาเดือน 8 ของปี พ.ศ. 2506 ด้วยการจัดสร้างแม่พิมพ์ด้วยเนื้อหินจำนวน 12 แม่พิมพ์ มีทั้งพิมพ์แบบ พระซุ้มกอ, พิมพ์ใหญ่, พิมพ์เล็ก ตลอดทั้งแกะพิมพ์พิเศษขึ้นเพื่อแจกจ่ายแก่กรรมการที่มาช่วยงานเป็น พิมพ์รูปไข่, พิมพ์ใหญ่, พิมพ์เล็ก ที่เรียกกันว่า พิมพ์กรรมการใหญ่และเล็ก โดย มี ปลัดศักดา ไชยาวรรณ ซึ่งเป็นผู้ชำนาญด้านการแกะ แม่พิมพ์โดยเป็นผู้ที่แกะแม่พิมพ์พระให้กับ วัดยะหา และ วัดเมือง มาก่อน ซึ่งหลังจากแกะแม่พิมพ์เสร็จแล้วจึงระดมชาวบ้านมาร่วมกันกดพิมพ์พระ โดยทุกคนต้องชำระล้างร่างกายให้สะอาดก่อนแล้วนุ่งขาวห่มขาว มารับศีลพร้อมทำสมาธิตามขั้นตอนการสร้างพระเครื่องของวัดพะโคะ อีกทั้งการพิมพ์พระครั้งแรกนั้นก็ต้องให้บุคคลที่มีชื่อเป็นมงคลอย่างเช่น นายนำ, นายชัย, นายคง เป็นต้น เป็นผู้กดพิมพ์พระเป็นครั้งแรกภายในวงสายสิญจน์ครั้งละ 5-6 คน ระหว่างนั้นก็จะมีการสวดมนต์ของพระสงฆ์ตลอดการจัดสร้างที่ใช้เวลานับเดือน จึงได้พระมากมายเรียกว่าครบตามจำนวนพระธรรมขันธ์คือ 84,000 องค์ จากนั้นจึงนำเนื้อพระที่เหลือไปกด พิมพ์กรรมการ ต่อจนเนื้อพระหมดปรากฏว่าพิมพ์นี้กดพิมพ์พระได้น้อยมากเพราะเนื้อที่ผสม มาสร้างพระหมดลงก่อน จึงเป็นเหตุให้พิมพ์กรรมการมีค่านิยมสูงกว่าพิมพ์อื่น ๆ หลัง การกดพิมพ์ พระเสร็จสิ้นพร้อมเนื้อพระแห้งดีแล้วจึงจัดพิธี พุทธาภิเษกขึ้นโดยมอบให้ ขุนพันธรักษ์ราชเดช เป็นผู้ดำเนินการด้านพิธีการด้วยการนิมนต์เกจิอาจารย์ชื่อดังในยุคนั้นหลาย รูปมาร่วมพิธี โดยหลวงปู่ทิม วัดช้างให้และเกจิสายใต้ทำการอัญเชิญบารมีหลวงพ่อทวดมาร่วมในพิธีด้วยเช่น กัน และหลังจากเสร็จสิ้นพิธีพุทธาภิเษกแล้วจึงนำแจกจ่ายแก่ชาวบ้านทั่วไปโดย เนื้อหาของพระมีหลายสีเช่น ดำ, เทา, น้ำตาล และ น้ำตาลอมแดง
|