ประวัติการสร้างพระรอดปลอดภัย(หลัง อ.)วัดสันป่ายางหลวง
ข้อความทั้งหมดนี้คัดลอกมาจาก หนังสือ แม่หม่อนเล่าและย้อนอดีตวัดสันป่ายางหลวง จากนิมิตของคุณ ไพศาล แสนไชย เรียบเรียงโดย คุณ ประสิทธิ์ เพชรรักษ์ ทั้งหมดครับ
....เพื่อ เป้นการเผยแพร่ข้อมูบให้ทุกท่านได้ทราบถึงพระรอดซึ่งทรงคุณค่าและได้รับการ รับรองจากดวงวิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของพระแม่จามเทวี(แม่หม่อนหรือคุณทวด)ว่า มีคุณเปรียบดังพระรอดที่ท่านได้สร้างไว้เมื่อ 2000 กว่าปีมาแล้วครับ
คน ส่วนใหญ่มากเมื่อพูดถึงเมืองลำพูน มักจะเล่าสู่กันฟังถึงความวิจิตรสายงามของพระธาตุภุญชัย อันตั้งเด่นตระหง่านเป็นพันปี เท่าอายุของนครหริภุญชัยหรือลำพูน ในปัจจุบัน เช่น พระเจดีย์วัดจามเทวีและกู่บรรจุอัฎฐิพระแม่จามเทวี ปฐมกษัตริย์ของหริภุญชัย ตลอดจนพระวัดวาอารามต่างๆ อีกหลายแห่ง ซึ่งล้วนแต่มีประวัติอันยาวนานคู่บ้านคุ่เมือง>>
วัด ที่รู้จักกันดีในบรรดาพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศ เพราะเป็นที่บรรจุพระเครื่องสำคัญเป็นอันที่รู้จัก และเป็นที่นิยมกันทั่วไปนับได้ว่าเป็นลัญญสักษณ์อย่างหนึ่งของเมืองลำพูน คือ วัดพระคงฤาษี ซึ่งอยู่ทางทิศเหนือของตัวเมืองลำพูน เป็นที่ประดิษฐานบรรจุพระคง หรือเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่าพระลำพูนดำ หรือ ลำพูนแดง แล้วแต่สีของพระ อีกวัดหนึ่งคือวัดมหาวัน ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของตัวเมืองลำพูน เป็นวัดที่ประดิษฐานบรรจุพระเครื่องสำคัญ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขว้าง ทั้งคนในเมืองลำพูน และคนทุกภาคทุกจังหวัดของประเทศไทย ต่างก็พยายามเสาะแสวงหามาไว้บูชาพกพาติดตัวเพื่อพึ่งพลังอิทธิฤทธิ์ ให้แคล้วคลาดจากภยันอันตรายทั้งหลายทั้งปวงอันอาจจะประสบเข้ากับตนเอง และด้วยอำนาจพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณอันบรรจุไว้ในองค์พระรอดนี้ ได้ช่วยให้ผู้ที่บูชากราบไหว้อยู่เสมอ ให้แคล้วคลาดหลุดพ้นจากเหตุการณ์อันตรายได้โดยปลอดภัยราวกับปาฎิหาริย์ มานับครั้งไม่ถ้วน มีหลักฐานบุคคลที่ประสบเหตุการณ์พอที่จะสอบถามได้อยู่มาก
เหตุที่พระรอดเป็นพระเครื่องที่ทรงไว้ ซึ่งอิทธิปาฎิหาริย์อันยิ่งใหญ่ดังที่ได้กล่าวมาแล้วนั้นเป็นเพราะ
1. ผู้สร้างพระรอด (รวมทั้งพระคง และพระลือ) สร้างขึ้นมาด้วยจิตอันบริสุทธิ์ ประกอบด้วยเมตตาธรรมเป็นที่ตั้ง หวังให้บุคคลผู้มีไว้ครอบครอง และบูชาอยู่เป็นนิจ ได้รับความร่มเย็นเป็นสุข รอดพ้นจากภยันตรายทั้งหลายทั้งปวงที่จะมาเบียดเบียนชีวิต ทั้งนี้ โดยไม่หวังผลเป็นอามิสไดๆ ทั้งสิ้น
2. นอกจะมีไว้เพื่อปกป้องประชาชนแล้ว ท่านผู้สร้าง ยังมุ่งหวังเพื่อจะให้คุ้มครองบ้านเมืองให้แคล้วคลาดปราศจากภยันตรายทั้ง หลายทั้งปวง ดังนั้นการสร้างก็อธิฐานไปในทางข่มศัตราวุธและอำนายให้เกิดความแคล้วคลาด (รายละเอียดการสร้างพระรอด โปรดหาอ่านได้จากหนังสือ)
เหตุการณ์มหัศจรรย์
ใน ระยะที่ทางคณะผู้จัดสร้างพระรอด กำลังดำเนินงานกันอยู่นี้ คุณไพศาล แสนไชย ผู้สามารถติดต่อกับเทวโลกได้ และนรกได้ ทำหน้าที่ทูตจากเทวโลกและนรกโลกมาเป็นเวลานานแล้ว ได้นำข่าวจากเทวโลกมาแจ้งให้แก่พระอาจารย์อินทรว่า การสร้างพระรอดครั้งนี้ทางพระสงฆ์ที่อยู่บนเทวโลก ท่านก็ได้ทราบแล้วและทุกท่านที่ทราบ เช่น ท่านครูบาคัณธา คัณธาโล ครูบาสรีวิชัย หลวงพ่อโอภาสี ก็ขอร่วมอนุโมทนา ในเจตนารมณ์อันเป็นบุญเป็นกุศลนี้ และแจ้งด้วยว่าในวันพุทธาภิเกพระนั้น ทุกท่านก็จะลงมาร่วมด้วยพร้อมกับพระสงฆ์อีกหลายรูปที่อยู่บนเทวโลก ในโอกาสนี้ท่านครูบาคัณธา คัณธาโลก สั่งมาว่าขอหัยสาธุเจ้าอินทร ไปบอกกล่าวแก่เทวดาผู้รักษา ดอยไซและขอดินที่ดอยไซมาร่วมผสมทำพระรอดด้วย เพราะเทวดาท่านนี้ในอดีตสมัยพระนางจามเทวีท่านชื่อ ขุนเจ้าคำบุญ เคยร่วมสร้างพระรอดโดยเป็นเจ้าพิธีในการทำทุกขั้นตอน ส่วนท่านพญาพิงคราช ก็กำชับมาว่าอย่าลืมเอาว่านเพชรหลีกมาผสมด้วย จะทำให้พระรอดนี้มีอิทธิทางแคล้วคลาดหลีก พ้นจากอันตราย หลวงพ่อโอภาสี ได้ขิให้ครูบาคัณธา นำท่านไปพบกับหลวงปู่บุญ หรือพระพุทธวิถีนายก วัดกลางบางแก้ว อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นอาจารย์ของท่านเมื่อยังทรงสังขารอยู่ในมนุษย์โลก แต่ขณะนี้ได้มาสถิตอยู่บนพรหมโลก ท่านมีความรู้เรื่องการสร้างพระเครื่องดีมากเมื่อพบกันแล้วโดยไม่ต้องแจ้ง ความจำนง หลวงปู่กล่าวออกมาทันทีที่คณะของครูบาคัณธา ไปถึงว่า
การดำเนินการสร้างพระรอดในครั้งนี้ พระอาจารย์อินทร ปัญยาวัฑฒโน และบรรดาผู้ร่วมงานได้ตกลงจะจะปฏิบัติตามแบบฉบับเดิมของพระแม่เจ้าจามเทวี ได้ปฏิบัติมา ซึ่งองค์พระแม่เจ้าได้เล่าเรื่องการสร้างพระรอด พระคง พระลือ อย่างละเอียดผ่านคุณไพศาล แสนไชย และได้จัดพิมพ์เป็นรูปเล่มเรื่อง
การอธิษฐานจิตแผ่เมตตาให้แก่แบบพิมพ์พระ
แบบ พิมพ์พระรอดนี้ ได้จ้างผู้ที่มีความรู้เรื่องพระรอดและเคยแกะต้นแบบพระรอดมาแล้วจนชำนาญ เป็นผู้แกะต้นแบบจัดทำพิมพ์พระให้แต่ก่อนที่จะนำแบบพิมพ์ทั้งหมดมาทำการ พิมพ์พระ ท่านอาจารย์อินทร ได้นำเอาแบบพิมพ์เหล่านั้น ไปขอความเมตตาจากครูบาสังฆะที่มากด้วยพรรษา และเปี่ยมด้วยบารมีธรรมช่วยแผ่พลังจิตอธิษฐาน เพื่อให้พระรอดทุกองค์ที่กดออกจากแบบพิมพ์นั้น ทรงไว้ซึ่งความศักดิ์สิทธิ์ ครูบาสังฆะที่พระอาจารย์อินทร ได้ไปขอความเมตตาจากพระคุณท่าน คือ
1. ครูบาอินตา อินทปัญโญ วัดห้วยไว อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
2. ครูบาอิ่นแก้ว วัดวาลุการาม (ป่าแงะ)
อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่
3. ครูบาคำตั๋น อารามดอย อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
4. พระครูวรวุฒิคุณ (ครูบาอินทร) วัดฟ้าหลั่ง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่แล้วได้ฝากแบบพิมพ์ทั้งหมด ไว้กับท่านครูบาอิน อินโทเป็นเวลา5 วัน กับ 5 คืน
พระ รอดวัดสันป่ายางหลวง ได้ฤกษ์ลงมือกดพิมพ์พระตามแบบโหราจารย์ภาคเหนือ ในวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2532 ตรงกับวันศุกร์ ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 3 เหนือ ยามเช้า พระเณรในวัดสันป่ายางหลวงและคณะศรัธธาผู้ร่วมสร้างพระรอด ได้ช่วยกันนำวัตถุมงคลทุดอย่าง ที่ต้องใช้ในการกดพิมพ์พระรอด เช่น ดินผสม ผงยา และผงว่าน ที่จะนำมาคลุกดินอีกครั้งหนึ่งก่อนการกดพิมพ์พระรอด น้ำทิพย์ที่นำมาผสมดินให้อ่อนนิ่ม ทั้งหมดได้นำมารวมไว้กลางพระอุโบสถ แล้ววางรูปพระเกจิอาจารย์สำคัญๆ อันเป็นที่รู้จักและเคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั่วประเทศไว้รอบๆ กองวัตถุมงคลนั้น เพื่ออธิษฐานของความเมตตาจากพระคุณท่าน ช่วยแผ่พลังบารมีมาปกป้องคุ้มครองพร้อมกับร่วมประจุพลังลงในวัตถุมงคลนั้น ด้วย พระสงฆ์ภายในวัดสันป่ายางหลวง อันมีพระอาจารย์อินทร ปัญญาวัฑฒโน เจ้าอาวาสเป็นประธาน ได้ร่วมกันสวดชยันโต ประพรมน้ำทิพย์ซึ่งนำมาทำน้ำพระพุทธมนต์ลงไปตามวัตถุมงคลเสร็จแล้วจึงลงมือ กดพิมพ์พระ โดยพระอาจารย์อินทร เริ่มประเดิมเป็นองค์แรกพิมพ์ละองค์ทุกๆ พิมพ์ การสร้างพระครั้งนี้ ท่านพระอาจารย์อินทร ได้ตั้งใจไว้ว่าจะทำให้ได้ แปดหมื่นสี่พันองค์ เท่ากับจำนวนพระธรรมขันธ์ และเท่ากับจำนวนที่พระนางจามเทวีได้เคยสร้างไว้ครั้งแรก
การอาบว่านยา
การ อาบว่านยาเริ่มตั้งแต่วันที่ 28 ธันวาคม 2532 ไปจนถึงวันที่ 5 มกราคม 2533 รวมเวลา 9 วัน เริ่มด้วยพิธีการด้วยการเทศน์หนึ่งกันฑ์พระสงฑ์สวดชัยมงคลคาถา อุบาสกพิธีกรรมร่วมกับพระเณร ช่วยกันนำรพะลงอาบแช่น้ำว่านยา เป็นเวลาพอสมควร ให้เนื้อพระดูดซับเอาน้ำว่ายาไว้ แล้วนำขึ้นผึ่งบนแท่นที่ปูลาดด้วยผ้าเหลืองภายในปริมณฑล พระสงฑ์สวดชยันโตแล้วคลุมทับด้วยดอกไม้นานาชนิด ประพรมด้วยน้ำมนต์ น้ำอบน้ำหอม ทำพิธีเช่นนี้ติดต่อกันทุกเช้าเวลา 09.09 น. เป็นต้นไป จนถึงวันครบกำหนดคือ วันที่ 5 มกราคม 2533 และในตอนกลางคืนทุกคืน ได้รวมพระรอดกองไว้แล้วพระสงฑ์ภายในวัด สวดชัยมงคลคาถาเป็นประจำจนเสร็จพิธีอาบว่านยา
หลัง จากนั้นวันสุดท้ายคือ วันที่ 5 มกราคม 2533 ได้นำพระรอดทั้งหมดมาประพรมและคลุกด้วยน้ำมันมนต์ อันประกอบด้วยน้ำมันงา , น้ำมันจันทน์ , น้ำมันมะพร้าว , น้ำมันมะกอก , น้ำมันละหุ่ง , น้ำมันหมื้อ , ชมด , ผงจันทร์เทศ , และกฤษณา น้ำมันนี้ได้เก็บไว้ในโบสถ์ และทำพิธีสวดด้วยธรรมจักร ทุกวันพระตลอดพรรษา ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 จนกระทั่งเนื้อพระดูดซับเอาน้ำมันมนต์ฉ่ำทั่วองค์พระแล้ว จึงนำออกผึ่งให้แห้ง พอพระรอดทั้งหมดแห้งพอดี ก็ลำเลียงเข้าสู่บริเวณพิธีที่จะทำพิธีอธิฐานจิตแผ่เมตตาต่อไป __________________
การอธิฐานจิตแผ่เมตตา
เมื่อ ขั้นตอนทั้งหลายผ่านพ้นไป และได้สำเร็จเป็นองค์พระตามที่ต้องการแล้ว พิธีสำคัญยิ่งคือพิธีพุทธาภิเษก หรือการอธิฐานจิตแผ่เมตตาประจุไว้ในองค์พระ สถานที่ประกอบพิธีกรรมภายในโบสถ์ วัดสันป่ายางหลวง ด้วยเห็นว่า โบสถ์นั้น เป็นสถานที่ของสงฑ์โดยเฉพาะการทำพิธีกรรมของสงฑ์ เช่น การอุปสมบท การปลงอาบัติ ฟังพระปาฏิโมกข์ ก็ทำได้เอาเฉพาะในโบสถ์เท่านั้น ดังนั้น โบสถ์จึงเป็นสถานที่หมดจดสะอาดปราศจากสิ่งเลวร้ายและมลทิน
การ จัดสถานที่ได้จัดเอาบรรดาศาสตราวุธทุกชนิดเท่าที่จะจัดหาได้บางอย่างก็ต้อง ใช้ของสมมุติแทนสิ่งมีพิษทั้งหลาย เช่น บรรดายาพิษทั้งหลายที่ชาวบ้านใช้กัน สัตว์มีพิษ และดุร้าย เช่น งูพิษ ตะเข็บ ตะขาบ ฯลฯ เสือ สิงโต กระทิง ควายป่า ช้าง ฯลฯ สัตว์ร้ายเหล่านี้ต้องใช้ของประดิษฐ์แทนของจริง ของทั้งหมดจัดนำมาเพื่อข่มพิษร้ายโดยจัดวางไว้ใต้แท่นที่วางพระแล้วปูทับ ด้วยผ้าขาวโรยทับด้วยดอกไม้อันมีดอกพุธ ดอกมะลิ และดอกไม้หอมอื่นๆ อีกมาก หมายถึงการลดความเลวร้ายลงและเปลี่ยนจากร้ายให้กลายเป็นดีในที่สุด ชั้นบนเป็นชั้นที่จัดวางพระรอดที่จะนำมาเข้าพิธีอธิฐานจิตแผ่เมตตา ปูลาดด้วยผ้าขาวแล้วจึงวางเกลี่ยพระลงบนชั้นนั้น ประพรมด้วยน้ำอบ น้ำหอมจนทั่วกองพระ แล้วปูทับด้วยผ้าขาวอีกชั้นหนึ่ง ชั้นบนสุดก็โรยด้วยดอกไม้อันเป็นมงคล และมีกลิ่นหอม การโรยดอกไม้ชั้นนี้ ได้โรยทับขึ้นไปทุกคืน ตลอดระยะเวลา 9 คืน
พิธี สำคัญนี้ได้ฤกษ์เริ่มพิธีในวันที่ 6 มกราคม 2533 ตรงกับวันเสาร์ขึ้น 14 ค่ำ เดือน 4 เหนือ ไปจนถึงวันที่ 14 มกราคม 2533 พิธีเริ่มตั้งแต่เวลา 19.00 น. ไปจนถึงเที่ยงคืน หลังเที่ยงคืนไปแล้ว ก็ยังคงเปิดโบสถ์จุดเทียนชัยไว้ แล้วกล่าว อัญเชิญเทพเทวาทั้งหลาย และพระสงฑ์จากพรหมโลก เทวโลก ขอให้มาร่วมแผ่เมตตาและอนุโมทนาในกองกุศลนี้ด้วย พิธีกรรมนี้ทำติดต่อกันไปรวมเวลาได้ 9 คืน ในพิธีอธิฐานจิตครั้งนี้ ทางวัดได้นำพระพุทธรูปขนาดหน้าตักกว้าง 9 นิ้ว จำนวน 205 องค์ พระพุทธรูปใหญ่ปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 69 นิ้ว 1 องค์ พระพุทธรูป
ยืนปางห้ามมารสูง 4 ศอก 1 องค์ พระพุทธรูปปางประธานพรแบบอินเดีย ขนาดหน้าตักกว้าง 39 นิ้ว 2 องค์ เข้าร่วมพิธีด้วย
พระ เกจิอาจารย์หรือครูบาสังฆะ ที่นิมนต์มาร่วมในพิธีอธิฐานจิตครั้งนี้ทั้งหมด 32 รูป ส่วนมากจะมีอายุ 70 พรรษาขึ้นไป และได้บำเพ็ญจิตภาวนาสั่งสมบารมีมาตลอด แม้บางองค์จะมีอายุพรรษาน้อยกว่านั้น แต่ก็เป็นพระที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ และสั่งสมบุญบารมีด้วยการบำเพ็ญจิตเรื่อยๆมาไม่ขาดสาย นับได้ว่าเป็นบุญอย่างยิ่งของคณะผู้ดำเนินการสร้างพระ ที่ได้รับความเมตตาอย่างสูงจากพระคุณเจ้าทุกรูป บางองค์ แม้จะสูงอายุสังขารร่างกายก็ทรุดโทรมตามปกติไม่รับนิมนต์ที่ไหนไกลๆ แต่ก็ยินดีมาร่วมพิธีกรรมครั้งนี้โดยเฉพาะ
รายนามพระสงฆ์ที่มาร่วมพิธีอธิฐานจิตแผ่เมตตา
พระรอดปลอดภัยและพระพุทธรูปบูชา
วันที่ 6 มกราคม 2533
1. พระมหาเจติยารักษ์ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร แสดงธรรม “ไชยะสังคะหะ “ เริ่มพิธีกรรม
2. ครูบาดวงจันทร์ จันวโร วัดป่าเส้า อ.เมือง ลำพูน
3. ครูบาปั๋นคำ วัดสวนลำไย อ.เมือง ลำพูน
4. พระมหาบุญช่วย วัดสวนลำไย อ.เมือง ลำพูน
วันที่ 7 มกราคม 2533
1. ครูบาสิงห์แก้ว สิริวิชโย วัดป่าขาม อ.เมือง ลำพูน
2. พระครูสุทธิธรรมสุนทร วัดบ้านหลุก อ.เมือง ลำพูน
3. ครูบาอินตา ธนักขันโธ วัดวังทอง อ.เมือง ลำพูน
4. ครูบาต่วน อริยวังโส วัดหนองปลาขอ อ.เมือง ลำพูน
วันที่ 8 มกราคม 2533
1. พระครูสังวรญาณ วัดพระเจ้าสะเลียมหวาน อ.บ้านโฮ่ง ลำพูน
2. พระครูรัตนวงศ์วิวัฒน์ วัดห้วยแทง อ.บ้านโฮ่ง ลำพูน
3. พระครูศิรินันทคุณ วัดช้างค้ำ อ.ป่าซาง ลำพูน
4. ครูบาซอน ธันมชโย วัดดอนหลวง อ.ป่าซาง ลำพูน
วันที่ 9 มกราคม 2533
1. พระครูชยาลังการ วัดทาดอยแช่ อ.แม่ทา ลำพูน
2. พระครูรัตนวงศ์วิวัฒน์ วัดปทุมสราราม อ.ป่าชาง ลำพูน
3. ครุบาจันทร์ จันทวังโส วัดสันเจดีย์ริมปิง อ.เมือง ลำพูน
4. ครูบาสุจินดา สุมังคโส วัดม่วงชุม อ.พาน เชียงราย
วันที่ 10 มกราคม 2533
1. พระครูชยาลังการ วัดทาดอยแช่ อ.แม่ทา ลำพูน
2. พระครูรัตนวงศ์วิวัฒน์ วัดประทุมสราราม อ.ป่าซาง ลำพูน
3. ครูบาจันทร์ จันทวังโส วัดสันเจดีย์ริมปิง อ.เมือง ลำพูน
4. ครูบาสุจินดา สุมังคโล วัดม่วงชุม อ.พาน เชียงราย
วันที่ 10 มกราคม 2533
1. ครูสิงหวิชัย สิริวิชโย วัดฟ้าฮ่าม อ.เมือง เชียงใหม่
2. ครูบาอินตา อินทปัญโญ วัดห้วยไซ อ.เมือง ลำพูน
3. ครูบาแสง วัดล้อมก่องข้าว อ.สันกำแพง เชียงใหม่
4. พระครูพิทักษ์ปัจจันตเขต วัดพระชินธาตุดอยตุง อ.แม่สาย เชียงราย
วันที่ 11 มกราคม 2533
1. พระครูคันธวงศ์วิวัฒน์ วัดหนองผำ อ.ป่าซาง ลำพูน
2. ครูบาสม โสภโน วัดเจดีย์สามยอด อ.ป่าซาง ลำพูน
3. ครูตุ่น ปัญญาวิลาโส วัดบ้านล้อง อ.ป่าซาง ลำพูน
วันที่ 12 มกราคม 2533
1. พระครูญาณภิรัต วัดป่าเจริญธรรม อ.สันป่าตอง เชียงใหม่
2. พระครูศรียูรมงคล วัดทุ่งแป้ง อ.สันป่าตอง เชียงใหม่
3. พระครูบวรสุขบท วัดป่าซางน้อย อ.ป่าซาง ลำพูน
วันที่ 13 มรกราคม 2533
1. พระครูวรวุฒิคุณ วัดฟ้าหลั่ง อ.จอมทอง เชียงใหม่
2. พระครูธรรมภาณี วัดดอยชัย อ.สันป่าตอง เชียงใหม่
3. พระครูญาณภิรัต วัดป่าเจริญธรรม อ.สันป่าตอง เชียงใหม่
วันที่ 14 มกราคม 2533
1. พระครูสุขบทบริหาร วัดห้างฉัตร อ.ห้างฉัตร ลำปาง
2. พระครูโถมมณียคุณ วัดบ้านเป้า อ.ห้างฉัตร ลำปาง
3.พระครูรัตนาคม วัดพระธาตุเสด็จอ.เมือง ลำปาง
4.พระครูรักขิตคุณ วัดม่อนพญาแช่ อ.เมือง ลำปาง
นอกจากพระเถระที่นิมนต์มาแล้ว ทุกคืนพระสงฆ์ภายในวัดสันป่ายางหลวงอันประกอบด้วย
1.พระปลัดอินทร ปัญญาวัฑฒโน เจ้าอาวาส
2.พระมหาเจริญ ชุตินธโร
3.พระอุทัย อภิญญาโณ
4.พระชัยพร สิริปัญโญ
5.พระคัชเชน โชติธัมโม
ได้ ร่วมพิธีอธิฐานจิตแผ่เมตตา กับพระเถระเป็นประจำทุกคืน ตั้งแต่คืนเริ่มต้นจนถึงคืนสุดท้าย พระภิกษุรูปอื่นที่ไม่เข้าร่วมพิธีอธิฐานจิตแผ่เมตตา ก็เข้าไปสวดพระคาถาพุทธาภิเษก ร่วมกันกับสามเณร ตั้งแต่เริ่มพิธีจนจบพิธีกรรมทุกๆ คืน
พระสงฆ์จากเทวโลก พรหมโลกที่มาร่วมอธิฐานจิตแผ่เมตตา
ทุก คืน หลังจากพิธีกรรมทางมนุษย์โลกจบสิ้นแล้วเวลาตั้งแต่ 24.00 น.เป็นต้นไป ได้มีพระสงฆ์จากพรหมโลก เทวโลก มาร่วมอธิฐานจิตแผ่เมตตาต่อไปอีก จนถึงเวลา 05.00
พระสงฆ์จากเทวโลก พรหมโลก
ที่มาร่วมอธิฐานจิตแผ่เมตตา พระรอดปลอดภัย
วันที่ 6 มกราคม 2533
1.ครูบาคัณธา คัณธาโล วัดเมืองสร้อย ตาก
2.ครูบาศรีวิชัย วัดบ้างปาง ลี้ ลำพูน
3.ครูบาบุญทา วัดสันป่ายางหลวง ลำพูน
4.ครูบาอภัยสะระทะ วัดฝานหิน เชียงใหม่
วันที่ 7 มกราคม 2533
1.ครูบาอุปาละ วัดดอยเต (บ้านทา)ลำพูน
2.หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน นครศรีธรรมราช
3.หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ชุมพร
4.หลวงปู่เขียว วัดหลงบน นครศรีธรรมราช
วันที่ 8 มกราคม 2533
1.หลวงพ่อยิ้ม วัดเจ้าเจ็ดใน อยุธยา
2.หลวงพ่อปาน วัดคลองด่วน สมุทรปราการ
3.หลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อยุธยา
4.หลวงปู่รอด วัดทุ่งศรีเมือง อุบล
วันที่ 9 มกราคม 2533
1.สมเด็จลูน ประเทศลาว
2.หลวงพ่อโอภาสี วัดบางมด
3.หลวงปู่บุญ นครปฐม
4.หลวงปู่สงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย ชุมพร
วันที่ 10 มกราคม 2533
1.ครูบาสุริยะ วัดเท้าบุญเรือง เชียงใหม่
2.ครูบาเถิ้ม วัดแสนฝาง เชียงใหม่
3.ครูบาอินทรจักร วัดป่าลานห้วยยาบ ลำพูน
4.ครูบาอุปาละ วัดดอยแต (บ้านทา) ลำพูน
วันที่ 11 มกราคม 2533
1.หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา
2.หลวงพ่อหมุน วัดเขาตะแคงตะวันตก พัทลุง
3.หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน ปราจีน
4.ครูบาอุปาละ วัดดอยแต (บ้านทา) ลำพูน
วันที่ 12 มกราคม 2533
1.หลวงพ่อน้อย วัดศรีษะทอง นครปฐม
2.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม
3.ครูบาอ้าย อินทรปัญโญ วัดสะปุ๋งน้อย (ป่าซาง) ลำพูน
วันที่ 13 มกราคม 2533
1.ครูบาดง ชวโน วัดดงเหนือ แพร่
2.ครูบาแก้ว อินทรจักโก วัดเขื่อนคำลือ แพร่
3.พระครูเนกขัมมะวิสุทธิ์ วัดดอนตัน น่าน
4.ครูบาขันแก้ว วัดสันพระเจ้าแดง ลำพูน
วันที่ 14 มกราคม 2533>>
1.ครุบาคำแสน วัดสวนดอก เชียงใหม่
2.ครูบาคำแสน วัดป่าดอนมูล เชียงใหม่
3.หลวงปู่คำปัน วัดสันโป่ง เชียงใหม่
4.หลวงปู่ภู วัดอินทร์วิหาร กรุงเทพ
พระ มหาเถระที่มีชื่อประจำวันนี้ ท่านจะมาร่วมอธิฐานจิต ตั้งแต่เที่ยงคืนจนถึง 5โมงเช้า ตามรายการ นอกจากนี้ยังมีพระเถระอีกนับร้อยรูปจากพรหมโลก ผลัดเปลี่ยนเวียนกันมาร่วมอธิฐานจิต องค์ละประมาณ10-15 นาที แล้วกลับ ตลอดระยะเวลาพิธีอธิฐานจิต ตั้งแต่วันเริ่มต้นจนวันสุดท้าย แต่ไม่อาจจะนำรายนามท่านมาลงได้ทั้งหมด เพราะมีจำนวนมากและบางองค์คุณไพศาล ก็ไม่รู้จัก
ในคืนเริ่มต้นและคืนสุดท้ายของพิธีกรรม พระแม่เจ้าจามเทวี ได้เสด็จมาร่วมอนุโมทนา และแผ่เมตตาด้วยแต่อยู่ภายนอกโบสถ์ พระแม่ เจ้าได้ตรัสกับไพศาลว่า พระรอดปลอดภัยนี้ดีเท่ากับพระรอดในสมัยที่แม่หม่อน(พระแม่จามเทวี)สร้างสามา รถปราบแป๊ (ชนะ)ภูตผี เงือกหงอน ได้ด้วย ใครมีบูชาก็จะอยู่เย็นเป็นสุข จำเริญรุ่งเรือง แม่หม่อนขออนุโมทนากับผู้ใดก็ตามที่ได้ไว้บูชาทุกผู้ทุกคน ขอให้เคารพนบยำอย่าได้เหยียบย่ำข้ามกลายเป็นอันขาด(นี่คือคำยืนยันจากดวงพระ วิญญาณอันศักดิ์สิทธิ์ของพระนางจามเทวี)
ในปีพุทธศักราช ๒๕๒๙ พระอาจารย์อินทรปัญญาวัฑฒโน (พระครูปัญญาธรรมวัฒน์) ได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าซึ่งชำรุด ในปีนั้นท่านได้พิจารณาว่า ในงานฉลองอุโบสถหลังใหม่จะเอาอะไรเป็นที่ระลึกแก่ญาติโยมตลอดจน พุทธบริษัทที่ได้ร่วมกันสร้างพระอุโบสถ
ใน คืนวันหนึ่งท่านนั่งสมาธิและได้เห็นรูปพระรอดปรากฏขึ้นในนิมิตนั้น รุ่งเช้าหลังจากฉันภัตตาหารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ท่านได้คำนึงถึงนิมิตนั้น ท่านได้พิจารณาว่า ถ้าสร้างพระรอดเลียนแบบของเก่าก็จะไม่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง อีกทั้งจะกลายเป็นว่ารูปแบบซ้ำกันเหมือนเลียนแบบของเดิม ท่านจึงเอาสัญญาลักษณ์ อ. ซึ่งเป็นตัวอักขระสำคัญที่ทุกคนจะต้องใช้ตัว อ. นี้ รวมเข้าไปในชื่อของทุกคน คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ โอม ซึ่งเป็นอักขระนะโม มี ๙ ตัว เท่ากับโลกุตระธรรมของพระสัมมาสัมมาพุทธเจ้า อีกทั้งเป็นชื่อของท่านด้วย พระอาจารย์อินทรปัญญาวัฑฒโนจึงได้รวบรวมมวลสารต่าง ๆ ในสมัยที่ท่าน เดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมไปในสถานที่ต่าง ๆ ใบลานจารอักขระธรรมของวัดที่หักชำรุด เอามาบดรวมกันเพื่อทำผงพระรอด ผสมกับดินสังเวชนียสถานและดินที่วังหัวกวงซึ่งเป็นดินสร้างพระของเมืองลำพูน แต่โบราณกาลมา ได้สร้างพระรอดหลัง อ. ขึ้นจนสำเร็จและทำพิธีพุทธาภิเษก โดยได้นิมนต์พระสงฆ์คณาจารย์แห่งเมืองลำพูนมาทำพิธีพุทธาภิเษก เป็นเวลาหนึ่งเดือนกับเก้าวันเก้าคืน และได้แจกให้ญาติโยมในพิธีฉลองพระอุโบสถหลังใหม่ หลังจากที่ญาติโยมได้รับแจกพระกันไปโดยทั่วถึงแล้ว เกิดปรากฏการณ์อภินิหารแก่ผู้ที่ได้รับแจกไป ดังนี้
เรื่องที่หนึ่ง ตำรวจถูกยิง
นายดาบตำรวจวิสูตร ประจำสถานีตำรวจภูธรแม่ทา จังหวัดลำพูน ถูกยิงด้านหลังขณะเข้าจับกุมยาบ้า หมดสติไป
สองวัน ในวันที่สามจึงพื้นคืนสติเหมือนคนนอนหลับ ไม่ปรากฏแผลตามร่างกายแต่อย่างใด
เรื่องที่สอง คนจะคลอดบุตร
นาง นภาภรณ์ บ้านกอม่วง อำเภอเมือง ลำพูน ตั้งครรภ์ เลยกำหนดคลอดมาเป็นเวลานานพอสมควร ญาติจึงนำส่งโรงพยาบาลแมคคอมิค ผลกาตรวจปรากฏว่าเด็กขวางลำตัว ขณะเตรียมตัวรอเจ้าห้องผ่าตัด แม่ของนางนภาภรณ์ได้ระลึกถึงพระรอดหลัง อ.ได้ เพราะได้ยินท่านอาจารย์พูดว่า ถ้าใครมีปัญหาอะไรที่สาหัส ให้เอาพระรอดตั้งสัจจะอธิษฐาน ทำน้ำพระพุทธมนต์ น้ำไปดื่ม กิน อาบ โดยเอาพระรอดแก่วงลงไปในน้ำเพื่อทำน้ำพระพุทธมนต์ มารดาของนางนภาภรณ์ก็ทำเช่นนั้น เพราะพระรอดได้ผ่านการอาบน้ำว่าน ๑๐๘ ชนิดและน้ำมันมนต์ผ่านการทำพิธีมาเรียบร้อยแล้ว แม่ของนางนภาภรณ์จึงนำน้ำมนต์นั้นมาให้นางนภาภรณ์ดื่ม กิน ลูบหัว ลูกหน้า ลูบท้องของนางนภาภรณ์ ปรากฏเป็นที่อัศจรรย์ว่า ลูกของนางนภาภรณ์คลอดออกมาอย่างง่ายดาย โดยไม่ต้องทำการผ่าตัด
เรื่องที่สาม อุบัติเหตุรถชน
นาย สวัสดิ์ สันตติภัค คนบ้านพระคงฤาษี ในเมืองลำพูน อายุ ๖๐ ปีถูกรถกระบะชนกลางลำตัวขณะขับขี่จักรยานสองล้อตัดหน้ารถ เพราะไม่เห็นรถกระบะด้วยสายตาไม่ดี รถกระบะชนเต็มที่ ปรากฏว่า ขาหัก ๓ ท่อน โดยไม่มีบาดแผลอื่นใด หมดสติ ไปรู้สึกตัวที่โรงพยาบาล พอรู้สึกตัวก็คลำหาพระรอดหลังอ. ยกมือท่วมหัวพรางนึกในใจว่า รอดตายพระบารมีพระรอดหลังอ.คุ้มครอง หลังจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น ยังโดนรถมอเตอร์ไซด์ชนอีก ๒ ครั้ง แต่ก็รอดมาได้โดยไม่เป็นอะไร
เรื่องที่สี่ พระรอดช่วยคนฟันปลอมติดคอ
นาย บุญชื่น บ้านต้นเหียว อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ รับประทานอาหารเสร็จในวันหนึ่งแล้วลุกมาบ้วนปาก ขณะกรั้วคอล้างปาก ฟันปลอมที่ใส่อยู่ประจำเกิดหลุดออกจากเหงือกที่ยึดอยู่ แล้วไหลลงไปติดอยู่ที่หลอดลม เจ็บปวดสุดแสนสาหัส ทำอย่างไรก็ไม่อาจสามารถเอาออกมาได้ ภรรยาจึงนำส่งโรงพยาบาลมหาราช เชียงใหม่ แพทย์ได้ทำการ x - ray ผลปรากฏว่าฟันปลอมไปติดค้างอยู่ที่หลอดลม หมอลงความเห็นว่าต้องผ่าตัดลำคอเพื่อเอาฟันปลอมออกมา ในขณะที่กำลังรอการผ่าตัด นายบุญชื่นได้รับความทรมานอย่างสุดแสนสาหัส จึงลงความเห็นให้ผ่าตัดด่วน ขณะที่รอหมอภรรยานายบุญชื่นซึ่งแขวนพระรอดหลังอ.ไว้ นึกขึ้นมาได้ จึงเดินไปเอาน้ำจากที่ดื่มน้ำบริการของโรงพยาบาลมหาราช แล้วนำพระรอดหลังอ. มาอธิษฐานว่า “ถ้าพระรอดแน่จริง ศักดิ์สิทธิ์จริง ของให้ฟันปลอมของนายบุญชื่นหลุดออกมาโดยปาฏิหารย์” ภรรยาจึงนำพระรอดหลังอ.แก่วงลงไปในน้ำเพื่อทำน้ำพระพุทธมนต์ แล้วให้นายบุญชื่นอธิษฐานดื่ม ประมาณครู่หนึ่งหลังจากที่นายบุญชื่อดื่มน้ำเข้าไปแล้ว มีอาการคลื่นไส้ อยากอาเจียรอย่างรุนแรง นายบุญชื่นจึงเดินไปที่ถังขยะ ด้วยความทุรนทุรายแล้วอาเจียรออกมาอย่างหนัก ปรากฏว่า ฟันปลอมได้หลุดมากับการอาเจียรในครั้งนั้นโดยอัศจรรย์ นายบุญชื่นได้หยิบเอาฟันปลอมมาทั้งน้ำหูน้ำตา แล้วนำออกมาเพ่งดู ขณะนั้นพอดีกับพยาบาลเรียกให้ไปเข้าห้องผ่าตัด นายบุญชื่นจึงเดินไปหาพร้อมกับยื่นฟันปลอมให้พยาบาลที่จะนำเข้าห้องผ่าตัดดู แล้วบอกว่า “ผมไม่ผ่าแล้ว ฟันผมหลุดออกมาแล้ว” พยาบาลมองดูดด้วยความงุนงงว่ามันหลุดออกมาได้อย่างไร? จึงถามนายบุญชื่นว่ามันหลุดออกมาได้อย่างไร? ภรรยาจึงเล่าเรื่องเอาพระรอดหลังอ.ทำน้ำมนต์ให้พยาบาลฟัง เรื่องนี้เป็นที่ฮือฮาและเล่าขานกันมากในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
เรื่องที่ห้า ตำรวจได้ลาภ
รตต.รัตน์ บุญชู ประจำกองกำกับการตำรวจภูธร จว.ลำพูน เป็นผู้มีความศรัทธาในตัวพระอา |