พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
หนังสือพิมพ์เชียงใหม่นิวส์

Lanna Variety...เชียงใหม่นิวส์ 3 กันยายน 2555


Lanna Variety...เชียงใหม่นิวส์ 3 กันยายน 2555

     
   
 
โดย : admin    [Feedback +5 -1] [+0 -0]   Mon 3, Sep 2012 15:00:54
 




 
 
โดย : aun_sarot1    [Feedback +5 -1] [+0 -0]   [ 1 ] Tue 4, Sep 2012 07:31:06

 

น่าจะเป็นสิ่งที่ทำสืบต่อกันมาหรือเปล่าครับคือรุ่นพี่ทำยังไงรุ่นน้องก็ทำต่อกันมาเหมือนโรงเรียนอาชีวะต่างสถาบันที่ตีกันมาตั้งแต่รุ่นก่อนๆจนเป็นวัฒนะธรรมแก้ไม่ได้นั้นหรือเปล่าครับ ผมว่าคนรุ่นใหม่น่าจะคิดนอกกรอบได้นะครับ ผมในฐานะคนที่ติดตามอ่านคิดว่ากรรมการหวงรางวัลไปหรือเปล่า คนส่งเขาคงหวังที่1 เพื่อเป็นเกียรติแก่พระที่ส่งในงานขณะนั้น ก็มันไม่มีใครส่งเองนี้เหมือนการสมัคร สส ครับเมื่อไม่มีคนแข่งก็ได้ตำแหน่งไป  เหมือนการสอบแข่งขันและการแข่งกีฬาครับเมื่อรับ 1 ตำแหน่งมีคนสมัคร1 ตำแหน่งเขาก็ทำคะนผ่านได้ ก็ต้องที่1ในรุ่นนั้นไป คงไม่มีใครให้ติดชมเชยหรือสำรองไปก่อนแน่ๆครับอืมผิดถูกยังไงก็ขออภัยคนที่อ่าจคิดต่าง

 
โดย : thit2043    [Feedback +5 -1] [+0 -0]   [ 2 ] Tue 4, Sep 2012 09:45:30

 

เนื่องจากผมเป็นคนเขียนเพราะฉะนั้น ขออธิบายความเพิ่มเติมหน่อยนะครับ

ผมเป็นคนชอบคิดต่างครับ(อ่านจากบทความที่เขียนในอมตะล้านนาเดือนมิถุนายน และกรกฏาคม) แต่บางอย่างผมเลือกที่คิดตามมากกว่าเพราะอะไรอ่านต่อครับ

ก่อนอื่นต้องแบ่งระหว่าง กฏเกณฑ์และระเบียบปฏิบัติ กับ แนวคิดเสียก่อน

กฏเกณฑ์และระเบียบปฏิบติคือสิ่งที่ถูกวางเป็นมาตรฐานเพื่อปฏิบัติสืบต่อกัน สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมในอนาคต แต่เมื่อผู้กำหนดกฏเกณฑ์ในแต่ะกลุ่มถือเป็นสิ่งที่ยังเหมาะสมอยู่ก็สามารถคงเอาไว้ได้เช่นกัน ยกตัวอย่างกฏเกณฑ์ทั่วไปที่ทราบกันดี เช่น ห้ามขับรถเร็วเกิน 80 กม./ชั่วโมง อันนี้คิดต่างได้ แต่ผิดระเบียบ สามารถปรับเปลี่ยนได้เช่นกัน แต่ผู้กำหนดคือตำรวจ และรัฐมนตรีกระรวงที่รับผิดชอบ หรือแม้แต่เวลาจะซื้ออาหารต้องหยิบบัตรคิว บางร้านอาจบอกว่าไม่ต้องหยิบแล้วขี้เกียจทำ ยืนรอคิวดีกว่า อันนี้คือถูกกำหนดโดยเจ้าของร้าน

เพราะฉะนั้นหมายถึงระเบียบที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ หรือแม้แต่ของวงการพระเอง เช่นมีระเบียบว่าที่ 1 ได้รับหนังสือพระ ที่ 2-4 ได้รับเฉพาะใบประกาศอันนี้เป็นระเบียบเช่นกัน การตัดสินเช่นกัน เพราะการกำหนดเกิดจากการกำหนดของผู้จัดงาน และให้สิทธิกรรมการแต่ละโต๊ะเป็นผู้กำหนดกรอบการตัดสินขึ้น อันนี้คือกฏเกณฑ์ และระเบียบ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่ต้องรอผู้กำหนดกฏเกณฑ์ที่ไม่เห็นพ้องเสียก่อนจึงจะทำได้

ผมขอเปรียบเทียบเป็นตัวเลขเพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ เปรียบอายุพระเหมือนตัวเลข สมมุติตั้งหมุดเอาไว้ที่ 350 ปีขึ้นไป เอา50 ปีมาส่ง ต่างกัน 7 เท่า ผมอนุโลมให้ไม่ได้ครับ ผมว่าคนส่วนใหญ่จะคิดแบบนี้ คงมีคนคิดต่างน้อยมาก เพราะ"มันห่างเกินไป" ถ้าปกหมุดไว้ 350 ปี เอา 300 ปีมาส่งอันนี้ให้ได้ไม่ว่ากันเพราะอะไร คำตอบที่ไม่จำเป็นต้องตอบแล้ว อ่านมาถึงตรงนี้คิดกันได้แล้วนะครับ 

ส่วนแนวคิด ถือเป็นเรื่องที่ค่อนข้างอิสระ ปรับเปลี่ยนได้ตามแนวคิดตนเอง สามารถคิดนอกกรอบได้ เนื่องจากเราปฏิบัติได้เอง เช่น การเดินทางระหว่างทะเล และภูเขา บางคนไม่ชอบทะเลเพราะร้อน บางคนชอบทะเลเพราะเหงา บางคนไม่ชอบภูเขาเพราะเหนื่อย บางคนชอบภูเขาเพราะมีสีเขียวเยอะ การเลือกตามแนวคิดของเราสามารถกระทำได้ คิดต่างได้เพราะเรากำหนดแนวคิดเอง ไม่ต้องตามใคร ทุกคนมีสิทธิ และอิสระที่จะคิด เพียงแต่สิ่งที่คิดนั้นจะเป็นการคิดตาม หรือคิดต่างจาก

  

 
โดย : Tae    [Feedback +5 -1] [+0 -0]   [ 3 ] Tue 4, Sep 2012 12:21:07

 

ผมขอแสดงความเห็นหน่อยนะครับ ฐานะนักเล่นพระหน้าใหม่ ผมว่าการประกวดพระน่าจะมีกฏและกติกาที่เป็นสากลนิยม และทุกฝ่ายยอมรับ ไม่ใช่โต๊ะที่1 กรรมการมีกฏของโต๊ะ1  โต๊ะ2ก็มีกติกาอีกอย่าง1  ถ้าพูดถึงการประกวดเมื่อจัดอันดับให้มีที่1-2-3-ชมเชย ก็น่าจะให้ตามลำดับความสวยที่ส่งประกวด ถ้ากรณีเหรียญ สมมุติว่า(หรืออาจมีกรณีมาแล้ว)รายการหนึ่ง มีคนส่งพระมาประกวดองค์เดียวซึ่งเป็นพระสึก จมูกบี้ แต่เป็นพระหายาก กรณีนี้กรรมการเขาจะให้ที่1 หรือชมเชย หากเป็นกติกาสากล ก็น่าจะได้ที่1 เพราะไม่มีใครกล้าส่งมาประชันด้วย ยกประโยชน์ให้เจ้าของพระ แต่ผมว่าไม่น่าจะติดรางวัลให้เลยเพราะ จุดประสงค์ของคนส่งพระเข้าประกวดคืออะไร จากความคิดเห็นผมคิดว่ามีหลักๆคือ 1.อยากเช็คว่าพระแท้หรือเก้  2.อยากเพิ่มมูลค่าพระเมื่อติดรางวัล 3.เพื่อได้รับรางวัลที่ทางผู้จัดตั้งไว้  ซึ่งทุกคนก็หวังรางวัลเพื่อเป็นเกียรติประวัติของพระของตนเอง แต่ที่กล่าวมาผมคิดว่ากรรมการในการประกวดพระน่าจะยกระดับมากกว่านี้เพื่อเป็นบรรทัดฐานใหม่คือ1.พระที่สวยไม่ถึงเกณฑ์ก็ไม่ควรให้ติดรางวัล 2.พระผิดกรุผิดวัดก็ไม่ควรให้รางวัล 3.พระผิดยุคไม่ถึงยุคก็ไม่ควรให้ติดรางวัล ทุกๆกรณีที่กล่าวมาผมว่าควรติดแค่ พระแท้ให้ก็พอแล้วครับ และอธิบายกับเจ้าของพระเขาคงไม่มีปัญหา

 เพราะอะไรหรือครับ ส่วนมากคนที่ได้รางวัลก็จะเอารางวัลที่ได้ไปการันตีพระตัวเองที่ได้รับและบวกราคาเพิ่มขึ้น แต่ที่หนักไปกว่านั้นในกรณีที่พระผิดกรุ ผิดวัด ผิดยุค คนขายก็จะเอาไปอ้างว่าพระนี้ผ่านการตรวจสอบจากงานประกวดของสมาคม ชมรม มาแล้วแท้ ถึงยุค ไม่ผิดกรุแน่นอน ในกรณีนี้หากเป็นคนที่เข้าวงการใหม่ หัดเล่นพระใหม่ หรือหันมาศึกษาในพระเครื่องซึ่งไม่มีความรู้มากนัก คงจะแยกแยะไม่ออกว่าเก๊หรือแท้และคงเชื่อในใบประกาศของสมาคม ชมรม ซึ่งก็มีความน่าเชื่อถือพอควร ซึ่งกรณีแบบนี้ในตอนเริ่มมาศึกษาพระเครื่องใหม่ๆผมเคยเจอมาแล้ว 3 กรณี  ที่พระผิดกรุ เก๊ หรือผิดวัด แต่ติดรางวัลซึ่งเป็นรางวัลของงานประกวดที่มีสมาคมรับรอง

ที่กล่าวมาก็เพื่ออยากให้วงการนี้ยกระดับไปอีกขั้นหนึ่ง และคนที่จะซื้อพระที่ติดรางวัล จะได้มั่นใจ100%ว่าพระที่เราซื้อมาแท้ทันยุค ไม่ผิดวัดแน่นอน เพื่อคนรุ่นใหม่ที่จะมาศึกษาเกี่ยวกับพระเครื่องจะได้ไม่กลัววงการนี้ และกล้าซื้อพระเพื่อไปศึกษาซึ่งหาครูยากมากพอสมควร มีวิธีเดียวคือศึกษาจากองค์จริงของจริง เพื่อทำให้คนรุ่นใหม่ไม่หลงทางครับผม

 
โดย : ekaluck    [Feedback +5 -1] [+0 -0]   [ 4 ] Wed 5, Sep 2012 16:14:29

 

ในฐานะที่ถูกต้องอย่างที่ว่าครับ ผิดกรุ ผิดวัด ผิดยุค หรือแม้แต่ผิดพิมพ์

ควรที่สุดคือติดแค่พระแท้

ตัวอย่างอีกอันที่จะยกมาให้อ่านคือ รายการตัดสินพระพุทธรูป คนส่งดันส่งพระสังกัจจายน์ เพราะอ้างว่าไม่มีกำหนดรายการพระสังกัจจายน์ในรายการใด มีงานหนึ่งตัดสินให้ที่ 1 อีกงานติดให้ชมเชย อีกงานไม่ตัดสิน เคยเจอมาทั้ง 3 งาน มีคนมายืนดูเขาถามกรรมการว่าทำไมตัดสินสังกัจจายน์ติดที่ 1 ที่ 2-4 เป็นพระพุทธรูป กรรมการบอกหายาก ทั้งที่เป็นรายการพระพุทธรูป ผมก็งง จริงอยู่สงกัจจายน์แพงกว่า แต่ผิดประเภท แพงกว่ายังไงก็ไม่ได้

อันนี้จริงๆ ต้องบอกตั้งแต่ก่อนส่ง ถ้าคนส่งยังดื้อจะส่งถึงจะรับ

และทางปฏิบัติระบบเกรงใจมันไม่ควรจะมีครับ ไอ้ระบบนี้บางทีโทษกรรมการ บางทีโทษคนส่งด้วย ไอ้คำว่าเดี๋ยวเคลียร์ให้ เดี๋ยวจัดการให้ อันนี้ก็ต้องไม่มี

ก่อนเข้างานบางที ผมเคยคิดเล่นๆ เหมือนกันว่าน่าจะมีใบแนบ ระเบียบการส่งพระ และการตัดสินแจกให้คนจะส่งพระได้อ่านก่อน ให้ทำความเข้าใจ และปฏิบัติตามระเบียบของการจัดประกวดด้วยซ้ำไป จะได้เป็นมาตรฐานเดียวกันหมด ในอนาคตได้แต่คาดหวังว่าจะมี

 
โดย : Tae    [Feedback +5 -1] [+0 -0]   [ 5 ] Wed 5, Sep 2012 17:15:00

 

"ก่อนเข้างานบางที ผมเคยคิดเล่นๆ เหมือนกันว่าน่าจะมีใบแนบ ระเบียบการส่งพระ และการตัดสินแจกให้คนจะส่งพระได้อ่านก่อน ให้ทำความเข้าใจ และปฏิบัติตามระเบียบของการจัดประกวดด้วยซ้ำไป จะได้เป็นมาตรฐานเดียวกันหมด ในอนาคตได้แต่คาดหวังว่าจะมี"

 

ชอบคำเขียนข้างบนนี้มากครับ หวังว่าคงจะได้เห็นซักวัน

 
โดย : คนเชียงราย    [Feedback +5 -1] [+0 -0]   [ 6 ] Thu 6, Sep 2012 13:14:16

 
พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.