พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
แอนติคและเครื่องราง

ตะกรุดตาลหิ้น ครูบาสม วัดศาลาโป่งกว๋าว


ตะกรุดตาลหิ้น ครูบาสม วัดศาลาโป่งกว๋าว


ตะกรุดตาลหิ้น ครูบาสม วัดศาลาโป่งกว๋าว

   
 
ตะกรุดตาลหิ้น ครูบาสม โอภาโส วัดศาลาโป่งกว๋าว สะเมิง ตัวจริงดูง่าย
ตะกรุดยันต์ฟ้าฟีก หรือ ตะกรุดตาลหิ้น หรือ คาถาตาลหิ้นครูบาอินสม โอภาโส วัดศาลา (โป่งกว๋าว ) ท่านได้สร้างไว้ ตาลหิ้น ยันต์ฟ้าฟีก หรือคาถาตาลหิ้น เป็นการดึงเอาหัวใจของพระคาถาไจยะเบงชร ออกมา ๘ อักขระ ว่าดังนี้ "ระตะนัง ปุระ โต อาสิ" มาเขียนย่อเป็นยันต์ลงในแผ่นกระดาษหรือแผ่นผ้าขนาดสี่เหลี่ยมสำหรับติดที่ปลายเสาดั้งของบ้านเรือน โบสถ์ วิหาร 

 

เพื่อป้องกันฟ้าผ่า ไฟไหม้ เรียกว่า ยันต์หัวเสา ยันต์เสาดั้ง ยันต์ฟ้าฟีก บ้าง 

 

การลงอักขระมีหลากหลายรูปแบบ บางครั้งก็ลงเป็นรูปตารางสี่เหลี่ยม ๙ ช่อง เวลาลงอักขระให้ลงเป็นตารางแบบม้าย่อง ตรงกลาง บางตำราก็ลง "ติ" บางตำราก็ลงเป็นตัวเลขล้านนา บางตำราก็ลงเป็นองค์พระ ( โอม , อุนาโลม ) อันนี้ก็แล้วแต่ว่าครูบาอาจารย์สืบสายตำรามากันอย่างไร 

 

อีกแบบหนึ่งเป็นรูปวงกลม ซ้อนกันหลายวง ตัดแบ่งเป็นช่องๆ ลงอักขระที่แตกต่างกัน นิยมทำเป็นยันต์หัวเสา ยันต์ฟ้าฟีก เป็นยันต์ที่เชื่อว่า มีฤทธิ์ ป้องกันบรรเทาภัยจาก ฟ้า ฝน ลมพายุได้ ตามความเชื่อโบราณ ว่ากันว่า เวลาเกิด "ฝนตกใหญ่ลมหลวง" ฝนฟ้าคะนองและมีพายุพัดแรงจัด ต่างคนก็ต่างมีวิธีป้องกันบ้านเรือน บ้างก็นำเอาจวัก ช้อน ชามไปแขวนบริเวณหน้าบ้าน บ้างก็เอามีดไปขัดประตู หน้าต่างแทนกลอน หรือไม่ก็เอามีดไปแทงทะลุเสียบคารอยฝาแตกให้ปลายมีชี้ไปทางทิศที่ลมมาถือว่าเป็นการ "แทงลม" บ้างก็เอามีดไปเสียบขัดไว้ที่ข้างฝา บ้างใช้มีดขัดกลอนประตูหน้าต่างนัยว่าเป็นการขัดหรือฝืนลม บางแห่งให้ลูกหลานไปซื้อเหล้าโรงมาประกอบพิธีไล่ลมที่เรียกว่า "ม้าเหล็กไล่ม้าลม" โดยนำเขียงไปวางที่ชานเรือน พ่อเจ้าเรือนจะถือมีดด้วยมือซ้าย กลั้นลมหายใจสับมีดอย่างแรงให้มีดสับคาเขียงและปลายมีดชี้ไปทางทิศที่ลมมา แล้วเสกเหล้าด้วยมนต์ "คาถาฟ้าฟีก" (ฟีก = หลีก) ว่า "ระตะนัง ปุระโต อาสิ" อมแล้วพ่นไปที่มีดพร้อมให้ลูกหลานตบมือส่งเสียงโห่ร้องว่า "เอ้าๆ ม้าเหล็กไล่ม้าลม 

 

เหตุที่ชื่อว่าคาถาตาลหิ้น มีเรื่องเล่าแบบมุขปาถะ เรื่องหนึ่งว่าในแคว้นล้านนาสมัยของเจ้าหนานติ๊บจ๊าง (ทิพย์ช้าง) ต้นตระกูล ทิพย์ช้างเชื้อ เจ้าเจ็ดตน หลักฐานยังอยู่ที่วัดพระธาตุลำปางหลวง ท่านเป็นปู่ของ เจ้าชีวิตอ้าว เจ้าหลวงเชียงใหม่ ตามประวัติว่า ถ้าท่านอุทานว่า "อ้าว" เมื่อไหร่ต้องจับประหารเมื่อนั้น หนานติ๊บจ๊างมีอาจารย์อยู่ท่านหนึ่ง ซึ่งท่านนับถือมากเป็นคนประสิทธิ์ประสาทคาถาทั้งหลายทั้งมวลให้ วันหนึ่งท่านเรียกหนาน เข้าไปหาและบอกว่าจะให้ของดี มันเป็นคาถา แต่ไม่มีชื่อเรียก มี ๘ คำ เมื่อเจ้าหนานท่องจนขึ้นใจแล้วก็จะทดสอบความขลัง จึงให้ทหารเอาปืนมาอยู่ใต้ต้นตาล ให้มากที่สุด จากนั้นเจ้าหนานก็ขึ้น ไปอยู่ยอดต้นตาล แล้วสั่งให้ทหารยิง ยิงเท่าไหร่ก็ไม่ถูกเจ้าหนานจนต้นตาลปลายด้วนหมด เจ้าหนานเลยตั้งชื่อ คาถาบทนี้ ว่า ยอดตาลหิ้น นั่นเอง

 

ยันต์นี้ ถือเป็นยันต์ที่มีอานุภาพ มากเรื่องแคล้วคลาด ป้องกันภัย ภยันตรายต่างๆ และเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ครูบาอาจารย์ทางเหนือใช้กันมากครับ

 

ครูบาสมท่านเมตตาจารมือ เเจกก่อนสร้างเหรียญรุ่นแรก หายากมากครับ
399932915_2261460814048491_4237806109903360550_n.jpg 399909556_2261460777381828_8127193715206863184_n.jpg 399924169_2261460794048493_2713328592540741435_n.jpg 400443483_2261460764048496_536989553759855445_n.jpg 400045123_2261460827381823_8019908208406161764_n.jpg
 
     
โดย : ศิวิไล   [Feedback +55 -0] [+36 -1]   Mon 13, Nov 2023 09:54:16
 




 
ตะกรุดตาลหิ้น ครูบาสม โอภาโส วัดศาลาโป่งกว๋าว สะเมิง ตัวจริงดูง่าย

 

ตะกรุดยันต์ฟ้าฟีก หรือ ตะกรุดตาลหิ้น หรือ คาถาตาลหิ้นครูบาอินสม โอภาโส วัดศาลา (โป่งกว๋าว ) ท่านได้สร้างไว้ ตาลหิ้น ยันต์ฟ้าฟีก หรือคาถาตาลหิ้น เป็นการดึงเอาหัวใจของพระคาถาไจยะเบงชร ออกมา ๘ อักขระ ว่าดังนี้ "ระตะนัง ปุระ โต อาสิ" มาเขียนย่อเป็นยันต์ลงในแผ่นกระดาษหรือแผ่นผ้าขนาดสี่เหลี่ยมสำหรับติดที่ปลายเสาดั้งของบ้านเรือน โบสถ์ วิหาร 

 

เพื่อป้องกันฟ้าผ่า ไฟไหม้ เรียกว่า ยันต์หัวเสา ยันต์เสาดั้ง ยันต์ฟ้าฟีก บ้าง 

 

การลงอักขระมีหลากหลายรูปแบบ บางครั้งก็ลงเป็นรูปตารางสี่เหลี่ยม ๙ ช่อง เวลาลงอักขระให้ลงเป็นตารางแบบม้าย่อง ตรงกลาง บางตำราก็ลง "ติ" บางตำราก็ลงเป็นตัวเลขล้านนา บางตำราก็ลงเป็นองค์พระ ( โอม , อุนาโลม ) อันนี้ก็แล้วแต่ว่าครูบาอาจารย์สืบสายตำรามากันอย่างไร 

 

อีกแบบหนึ่งเป็นรูปวงกลม ซ้อนกันหลายวง ตัดแบ่งเป็นช่องๆ ลงอักขระที่แตกต่างกัน นิยมทำเป็นยันต์หัวเสา ยันต์ฟ้าฟีก เป็นยันต์ที่เชื่อว่า มีฤทธิ์ ป้องกันบรรเทาภัยจาก ฟ้า ฝน ลมพายุได้ ตามความเชื่อโบราณ ว่ากันว่า เวลาเกิด "ฝนตกใหญ่ลมหลวง" ฝนฟ้าคะนองและมีพายุพัดแรงจัด ต่างคนก็ต่างมีวิธีป้องกันบ้านเรือน บ้างก็นำเอาจวัก ช้อน ชามไปแขวนบริเวณหน้าบ้าน บ้างก็เอามีดไปขัดประตู หน้าต่างแทนกลอน หรือไม่ก็เอามีดไปแทงทะลุเสียบคารอยฝาแตกให้ปลายมีชี้ไปทางทิศที่ลมมาถือว่าเป็นการ "แทงลม" บ้างก็เอามีดไปเสียบขัดไว้ที่ข้างฝา บ้างใช้มีดขัดกลอนประตูหน้าต่างนัยว่าเป็นการขัดหรือฝืนลม บางแห่งให้ลูกหลานไปซื้อเหล้าโรงมาประกอบพิธีไล่ลมที่เรียกว่า "ม้าเหล็กไล่ม้าลม" โดยนำเขียงไปวางที่ชานเรือน พ่อเจ้าเรือนจะถือมีดด้วยมือซ้าย กลั้นลมหายใจสับมีดอย่างแรงให้มีดสับคาเขียงและปลายมีดชี้ไปทางทิศที่ลมมา แล้วเสกเหล้าด้วยมนต์ "คาถาฟ้าฟีก" (ฟีก = หลีก) ว่า "ระตะนัง ปุระโต อาสิ" อมแล้วพ่นไปที่มีดพร้อมให้ลูกหลานตบมือส่งเสียงโห่ร้องว่า "เอ้าๆ ม้าเหล็กไล่ม้าลม 

 

เหตุที่ชื่อว่าคาถาตาลหิ้น มีเรื่องเล่าแบบมุขปาถะ เรื่องหนึ่งว่าในแคว้นล้านนาสมัยของเจ้าหนานติ๊บจ๊าง (ทิพย์ช้าง) ต้นตระกูล ทิพย์ช้างเชื้อ เจ้าเจ็ดตน หลักฐานยังอยู่ที่วัดพระธาตุลำปางหลวง ท่านเป็นปู่ของ เจ้าชีวิตอ้าว เจ้าหลวงเชียงใหม่ ตามประวัติว่า ถ้าท่านอุทานว่า "อ้าว" เมื่อไหร่ต้องจับประหารเมื่อนั้น หนานติ๊บจ๊างมีอาจารย์อยู่ท่านหนึ่ง ซึ่งท่านนับถือมากเป็นคนประสิทธิ์ประสาทคาถาทั้งหลายทั้งมวลให้ วันหนึ่งท่านเรียกหนาน เข้าไปหาและบอกว่าจะให้ของดี มันเป็นคาถา แต่ไม่มีชื่อเรียก มี ๘ คำ เมื่อเจ้าหนานท่องจนขึ้นใจแล้วก็จะทดสอบความขลัง จึงให้ทหารเอาปืนมาอยู่ใต้ต้นตาล ให้มากที่สุด จากนั้นเจ้าหนานก็ขึ้น ไปอยู่ยอดต้นตาล แล้วสั่งให้ทหารยิง ยิงเท่าไหร่ก็ไม่ถูกเจ้าหนานจนต้นตาลปลายด้วนหมด เจ้าหนานเลยตั้งชื่อ คาถาบทนี้ ว่า ยอดตาลหิ้น นั่นเอง

 

ยันต์นี้ ถือเป็นยันต์ที่มีอานุภาพ มากเรื่องแคล้วคลาด ป้องกันภัย ภยันตรายต่างๆ และเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ครูบาอาจารย์ทางเหนือใช้กันมากครับ

 

ครูบาสมท่านเมตตาจารมือ เเจกก่อนสร้างเหรียญรุ่นแรก หายากมากครับ
 
โดย : ศิวิไล    [Feedback +55 -0] [+36 -1]   [ 1 ] Mon 13, Nov 2023 09:55:03

 
ตะกรุดตาลหิ้น ครูบาสม วัดศาลาโป่งกว๋าว : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.