|
พระกริ่งนเรศวรวังจันทน์ 2515 เลข 3992 ข้อมูลเพิ่มเติมที่ค้นมาครับ พระดีพิธีใหญ่ นาม จักรพรรดิ์มหาพุทธาภิเษก ของประเทศไทย จัดสร้างเป็นครั้งที่ ๒ ของกรุงรัตนโกสินทร์ มีในวันที่ ๒๐ มกราคม ๒๕๑๕ โดยมี อาจารย์ผ่อง วัดจักรวรรดิ์ พระนคร และ อาจารย์เทพย์สารกบุตร เป็นเจ้าพิธิ จัดทำครบถ้วนตามแบบฉบับของโบราณพิธีทุกประการในพิธีมีการจัดสร้าง พระพุทธชินราชจำลอง พระกริ่งนเรศวรวังจันทร์ และพระชัยวัฒน์ พระพิมพ์และเหรียญมหาจักรพรรดิ์ โดยพระชัยวัฒน์มีการสร้างน้อยเมื่อเทียบกับพระกริ่ง โดยมีการนิมนต์คณาจารย์มาร่วมพิธี ๑๐๙ รูป ได้แก่ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู หลวงพ่ออุตมะ วัดวิเวกการาม หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี อาจารย์นำ วัดดอนศาลา หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าฟ้าศาลาลอย หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ หลวงพ่อเกษม สุสานไตรลักษณ์ หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ หลวงปู่สุข วัดโพธิ์ทรายทอง หลวงพ่อเปรื่อง วัดบางคลาน ฯลฯ "กริ่งนเรศวรวังจันทร์" ... ผู้ที่เป็นเจ้าพิธีพระกริ่งนี้คือ "อาจารย์เทพ สาริกบุตร" อ.เทพ ผู้นี้ เป็นผู้เชี่ยวชาญในไสยเวทย์ เขียนตำหรับ ตำราไว้มากมาย เป็นผู้ร่วมในพิธีพระกริ่งวัดสุทัศน์หลายครั้ง อีกทั้งยังรอบรู้ในการผสมสูตรเนื้อนวะโลหะที่เทพระกริ่งสายวัดสุทัศน์ จากสมเด็จพระสังฆราช แพ .... ฉนั้น พระกริ่งซึงอาจารย์เทพเป็นเจ้าพิธีนั้น จะดำเนินตามกระแสวัดสุทัศน์ อย่างเข้มขลังทีเดียว กริ่งนเรศวรวังจันทร์ ถือเอาฤกษ์พระนเรศวรออกศึกเป็นสำคัญ .... ทางด้านพิธีกรรมนั้นเล่า เป็นครั้งแรกที่มีการปักฉัตรเก้าชั้นในบริเวณพิธีเทพระกริ่ง ส่วนในพิธีพุทธาภิเษก ก็จัดได้ว่ายิ่งใหญ่ที่สุดในรอบทศวรรษ จะเป็นรองก็น่าจะเพียงพิธีลงตะกรุดมหาจักรพรรดิตราธราช ที่ท่านอ.เฮง ไพรวัลย์ สร้างเพื่อถวายในหลวง ร.6 เท่านั้น ด้านเนื้อหา.... ที่จริงแล้วพระกริ่งนเรศวรวังจันทร์หาใช่เนื้อนวะโลหะไม่ หากแต่เป็นสำริดเงิน ด้วยเหตุเพราะไม่มีทองคำเป็นส่วนผสม ซึ่งในช่อเบิกฤกษ์และมีทองคำรวมอยู่ด้วยนั้น ดันเทเป็นช่อพระชัยแทน ดังนั้นพระชัยจึงกลับดำแบบนวะโลหะ.... แต่ทำไมถึงกลับดำ นี่เป็นความอัศจรรย์ในขั้นแรก กล่าวคือเมื่อเทพระกริ่ง และเอาออกจากช่อเรียบร้อยแล้ว ได้นำพระกริ่งทั้งหมด ไปแช่ในน้ำที่ผุดจากเศียรพระประธานวัดดอนตูม (ถ้าเข้าใจไม่ผิด วัดนี้พระนเรศวรใช้แช่ศาสตราในพิธีแช่งน้ำ) ที่น่าประหลาดคือทำให้องค์พระกลับดำทุกองค์ ... จำนวนพระทั้งหมดมี 6500 องค์ (ว่าตามสายตรง ไม่ใช่ 5 พันกว่า) ซึ่งในการเทพระนี้ไม่มีเสียเลย ได้พระตามจะนวนที่ตั้งใจ ประกอบพิธีเททองที่หน้าพระอุโบสถวัดพระพุทธชินราช พิษณุโลก .... โดยได้ใช้ไม้มงคลทั้งเก้าเป็นฟืนในการสุมทอง....เช่น ไม้กัลปพฤกษ์ เป็นต้น ด้วยประวัติคร่าวๆที่กล่าวมานี้ ... บวกกับประสบการณ์ที่หลายๆท่านเคยประสบมา... พระกริ่งนเรศวรวังจันทร์ พุทธคุณดีเด่นทางด้านแคล้วคลาด เป็นหลักใหญ่ ยังไม่รวมถึงการใช้ทำน้ำมนต์ , คงกระพัน และ บารมี รวมทั้งเนื่อหา และพิมพ์ทรงที่งดงาม ... จึงเป็นพระที่น่าสนใจมีไว้บูชาเป็นอย่างยิ่ง
|
|