พระคงลำพูน
พระคงถูกขุดพบที่วัดพระคงฤาษี ในเมืองลำพูน ส่วนวัดอื่น ๆ ในจังหวัดลำพูนได้มีการขุดพบพระลำพูนสกุลอื่น ๆ พร้อมกับการพบพระคงประกอบอยู่ในกรุด้วยเสมอ ซึ่งแทบจะขุดพบในวัดต่าง ๆ ทุกวัดในจังหวัดลำพูน
จากการสันนิษฐานพระคง ลำพูน น่าจะมีการสร้างในยุคที่ใกล้เคียงกับพระรอดกรุวัดมหาวัน แต่จำนวนพระคงมีมากกว่าพระรอดจึงทำให้ความนิยมในพระคงจะเป็นรองกว่าพระรอด ซึ่งในปัจจุบันราคาเช่าหาพระคงก็ไม่ได้เป็นรองพระสกุลลำพูนอื่น ๆ จะเป็นรองก็เพียงแต่พระรอดเท่านั้น พระคงที่มีหน้ามีตา ฟอร์มสมบูรณ์ คมชัดลึกทุกอย่างหายาก ราคาเช่าหาก็จะสูงตามไปด้วย ไม่ได้เป็นรองพระสกุลลำพูนอื่น ๆ เลย
พระคงลำพูนประกอบด้วยสีหลัก ๆ ทั้งหมด 6 สี คือ
1. สีขาว
2. สีพิกุล
3. สีเขียวคราบเหลือง
4. สีเขียวคราบแดง
5. สีเขียวหินครก
6. สีดำ (หายากมาก)
ซึ่งสีพระคงที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับการนำพระไปสุม ซึ่งพระแต่ละองค์แต่ละสีจะถูกความร้อนเผาในอุณหภูมิที่แตกต่างกันไป
ทำให้สีที่ได้แตกต่างกัน โดยสีที่ใกล้เคียงกับสีเขียวนั้น พระคงจะมีลักษณะแกร่ง ขนาดอาจจะเล็กไปกว่าสีขาวและสีพิกุล(สีเหลือง)
ที่โดนความร้อนเผาน้อยกว่า เนื่องจากพระคงสีเขียวมีการหดตัวมากกว่า
พระคงลำพูนประกอบด้วยพระกรุเก่า และกรุใหม่
พระคงบางองค์เป็นกรุเก่า ซึ่งบางกรณีเพิ่งจะมีการขุดพบเมื่อไม่นานมานี้ หรือที่เรียกว่าเก่าฝากกรุนั้น พบเห็นได้มากจากพระคงที่มีการลงรักปิดทอง ซึ่งอาจจะเคยถูกขุดพบมานานแล้ว แต่เนื่องจากพอนำพระมาใช้แล้ว ทำให้มีเหตุผลบางประการที่จะนำไปฝังไว้ตามเดิม เช่นพระคงลำพูนที่พบในวัดเจดีย์หลวง วัดพวกแต้ม วัดพวกหงส์ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งพระที่พบจะมีลักษณ์บึกบึนมีการลงรักปิดทองแทบทุกองค์