พระคงเชียงใหม่กรุ ดอยคำ ช้างค้ำ
สถาน ที่ตั้งของดอยคำ อยู่ห่างจากดอยสุเทพราว 5- 6 กิโลเมตร โดยประมาณ ลัดเลาะเรียบถนนชลประทานไปทางทิศใต้ ดอยคำเป็นดอยเล็กที่มีความสูงไม่มากนัก ถนนทางขึ้นไปสู่ยอดดอยมีความคดเคี้ยว และสูงชัน วัดที่ตั้งอยู่บนดอยคำมีชื่อว่า วัดพระธาตุดอยคำ ซึ่งมีอายุราว 500 – 600 ปี จากคำบอกเล่า ถึงการสร้างวัดพระธาตุดอยคำ ได้มีผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า เดิมมีพระธุดงค์พม่า มาสร้างเจดีย์เอาไว้บนยอดดอยคำ และได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุ มาประดิษฐานเอาไว้ในเจดีย์ดังกล่าว เมื่อพระธุดงค์จากไป ปล่อยให้ดอยคำร้างไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง ต่อมามีพระมาจำพรรษาที่นั่น พร้อมทั้งบูรณะดอยคำขึ้นมาอีก แล้วก็ถึงคราวร้างไปอีกครั้งหนึ่ง จึงทำให้ดอยคำเป็นสถานที่ที่มีสภาพเดี๋ยวมีพระ เดี๋ยวร้างอยู่เรื่อยไป ลุล่วงมาจนถึงสมัยพระนางจามเทวีได้มีการบูรณะดอยคำขึ้นอีกครั้งหนึ่ง และมีการบูรณะอีกครั้งในยุคของครูบาเจ้าศรีวิชัย โดยได้สร้างศาลารอบๆ สำหรับให้ศรัทธาได้พักผ่อน ทำบุญ
มูลเหตุเจดีย์แตกทำให้พบพระพิมพ์
สาเหตุ สำคัญคือ พุทธศักราชที่ 2509 ได้เกิดฝนตกหนักคืนหนึ่ง ชาวบ้านได้ยินเสียงดังเหมือนภูเขาถล่ม รุ่งเช้าพบว่าพระเจดีย์เก่าแก่นั้น พังทลายลงมา จึงได้นำความไปบอกพระครูไฝ ( พระครูปริยัตยานุรักษ์ ) วัดพันอ้น จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นผู้ดูแลอยู่ในเวลานั้น
พระ ครูไฝจึงได้เดินทางมาถึง พร้อมกับได้เก็บวัตถุโบราณรักษาไว้ รวมทั้งพระพิมพ์จำนวนมาก บรรจุใส่กระสอบลงมาเก็บไว้ที่วัดพันอ้น และพระครูไฝได้มีความคิดที่จะให้นำเอาพระพิมพ์ออกให้ประชนเช่าบูชาเพื่อนำ เงินไปบูรณะเจดีย์ และดอยคำต่อไป
พระพิมพ์ที่พบนครั้งนั้น ได้มีการแบ่งแยกพิมพ์ต่างๆ ออกเป็นหลายๆประเภท มีทั้ง พระพุทธรูป พระเนื้อชิน และเนื้อดิน
พระพุทธรูปส่วนใหญ่เป็นพระอุปคุตจกบาตร พระหินจุยเจีย และพระแก้วสีต่างๆ จำนวนหนึ่ง
พระพิมพ์เนิ้อชิน เป็นพระลีลาเดี๋ยว
พระพิมพ์เนื้อดินประกอบด้วย
1. พระสามหอมแบบใหญ่
2. พระสามหอมเดี่ยว
3. พระเลี่ยง พิมพ์ขนาดใหญ่กว่าของลำพูน
4. พระคง
5. พระสามใบโพธิ์
6. พระสาม
7. พระปางปาฏิหารย์
8. พระป๋วย
สมบูรณ์มาก สภาพสวย ไม่อุดไม่ซ่อม รับประกันพระแท้ตามมาตรฐานสากลครับ
|