พระบูชาปางนาคปรก ที่ระลึกฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ พร้อมตู้เดิมๆ ขนาดหน้าตักเกือบสี่นิ้ว สูงสิบสามนิ้ว สภาพผิวหิ้งเดิมๆ
งานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ หรือพุทธชยันตี ๒,๕๐๐ ปี เป็นเทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนา ที่จัดขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐ เนื่องในโอกาสที่ครบรอบ ๒,๕๐๐ ปีแห่งการปรินิพพานของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นอกจากนี้ยังเรียกว่างานฉลองกึ่งพุทธกาล เนื่องจากความเชื่อโบราณว่าพระพุทธศาสนาจะดำรงอยู่ ๕,๐๐๐ ปี แล้วจักเสื่อมสลายลง
ในประเทศไทยได้มีการเตรียมการงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษล่วงหน้ากว่า ๕ ปี นับแต่ปี พ.ศ.๒๔๙๕ มีการสร้างอนุสรณ์สถานพุทธมณฑล และการจัดกิจกรรมมากมายเพื่อเฉลิมฉลองพร้อมกันกับประเทศศรีลังกา อินเดีย พม่า เนปาล และประเทศที่มีประชากรนับถือพระพุทธศาสนาทั่วโลก ๒ โดยในประเทศอื่นใช้คำว่า "พุทธชยันตี" ซึ่งเป็นงานพุทธพิธีครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์พุทธศาสนพิธี เห็นจะไม่มีงานไหนยิ่งใหญ่ไปกว่า ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเกือบ ๖๐ ปีมาแล้ว คือ พ.ศ.๕๐๐ เพื่อเฉลิมฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ เนื่องด้วยชาวพุทธถือกันว่าเป็น "กึ่งพุทธกาล"
งานเฉลิมฉลองจัดต่อเนื่องกันถึง ๗ วัน ๗ คืน ในช่วง "วันวิสาขบูชา" คือเริ่มตั้งแต่วันอาทิตย์ที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๐๐ (ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖) ถึงวันเสาร์ที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๕๐๐ (แรม ๕ ค่ำ เดือน ๖) ณ บริเวณท้องสนามหลวง ตลอด ๗ วันนี้ วัดวาอาราม บริษัท ห้างร้านทั่วประเทศจะตกแต่งธงทิวและประดับประดาโคมไฟเป็นพุทธบูชา,ประชาชนรักษาศีล ๕ หรือ ศีล ๘, มีการจัดอุปสมบทหมู่ ๒,๕๐๐ คน และถวายเพลพระสงฆ์ ๒,๕๐๐ รูป ตลอด ๓ วัน, จัดสร้างเหรียญที่ระลึกงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ, จัดทำดวงตราไปรษณีย์, มีการอภัยโทษแก่นักโทษ, งดการฆ่าสัตว์และดื่มสุรา ช่วงกลางคืนก็จะมีมหรสพสมโภชตลอดทั้ง ๗ คืน
ในวันวิสาขบูชาที่ ๑๓ พฤษภาคม เวลา ๑๖.๐๐ น.วัดวาอารามทั่วประเทศมีการย่ำฆ้องกลองระฆัง พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ มีการยิงสลุต การสมาทานศีล แผ่เมตตา และเวียนเทียน จุดดอกไม้เพลิง เป็นพุทธบูชา มีการจัดสร้างวัตถุมงคลและบูรณะปูชนียสถานที่สำคัญรวม ๑๕ แห่ง และอื่นๆ อีกมากมาย นับเป็นพิธีกรรมทางศาสนาที่ยิ่งใหญ่มโหฬารมาก สมกับเป็นงานที่มีความหมายและความสำคัญอย่างยิ่งยวดของพุทธศาสนิกชนชาวไทยทุกคน
พิธีงานฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ มีพระคณาจารย์มาร่วมพิธีมากมาย เช่น หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อเต๋ คงทอง หลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก ฯลฯ ภายในองค์พระบรรจุมวลสารมหามงคล เช่นผงพระสมเด็จวัดระฆัง ผงพระสมเด็จบางขุนพรหม ที่ได้จากการเปิดกรุในปีเดียวกันนั้น รวมถึงผงจากชิ้นส่วนพระกรุสำคัญๆ และเทปูนพลาสเตอร์บรรจุไว้อย่างมั่นคง