พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
แอนติคและเครื่องราง

แมลงภู่เนื้องาเเกะ ศิลปะโฟล์คอาร์ต


แมลงภู่เนื้องาเเกะ ศิลปะโฟล์คอาร์ต


แมลงภู่เนื้องาเเกะ ศิลปะโฟล์คอาร์ต

   
 

แมลงภู่เนื้องาเเกะ ศิลปะโฟล์คอาร์ต ศิลปะนี้เมือก่อนเจอเยอะครับ เเต่เดียวกลับกลายเป็นของหายากไปเสียเเล้ว ถ้าดูผ่านอาจจะดูไม่สวยเท่าพวกศิลปะขาฉลุ เเต่ถ้าดูนานๆศิลปะเเบบนี้มัน คลาสสิค มากมากครับผม 
เเมลงภู่ถือกำหนด ประเทศพม่า เครื่องรางชาวไทใหญ่
เป็นเครื่องรางชั้นสูงคู่กับเทพอู่เต่ง เเมลงภู่มีการสร้างสือต่อกันมาเรื่อยๆ หลายยุคหลายสมัย มีทั้งเก่าเป็น100ปีขึ้้น เเละสร้างใหม่จนถึงเดียวนี้ก็ยังไม่มีจัดสร้างอยู่ครับ ราคาเช่าหา เเล้วเเต่ความเก่า เเละ ศิลปะของตัวเเมลงภู่ อนุภาพของเเมลงภู่นั่น เมือก่อน ชาวไทใหญ่ เชื่อว่าเป็น ปกป้องคุมภัย เเคล้วคลาด เเละยังนำโชคลาภ ตัวเก่าๆเเท้บอกได้เลยครับว่าหายากมากครับผม มีถิ่นกําเนิดอยู่ที่ประเทศพม่า มีสร้างด้วยกันหลายขนาดเเละหลายวัสดุ เช่น ไม้ งา ครับผม อนุภาพ ของเเมลงภู่นั่น เชื่อว่า ใครบูชาเเมลงภู่ไว้ จะป้องกันภัยอันตราย คนที่คิดร้ายก็จะกลับใจ ทำให้มีคนรักคนเมตตา ป้องกันคุณไสย มนต์ดํา 
แมลงภู่ไทยใหญ่นั้นถือได้ว่าเป็นสุดยอดเครื่องรางสายพม่า-ไทใหญ่ ที่มีวิธีการสร้างที่ยากและสลับซับซ้อนมาก ซึ่งตามตำนานกล่าวว่าผู้สร้างคนแรกที่ทำก็คือ ท่านโป๊ะโป๊ะอ่องบรมครูแห่งปถมัสิทธิธรรมเจดีย์ เชื่อกันว่าท่านเป็นบรมครูแห่งสมเด็จพระเจ้าสิบทิศบุเรงนองและองค์สัจจะยามิน(โป๊ะต่อเอ)ต้นสายยาส่วยหยิ่นจ่อ ท่านได้สร้างแมลงภู่นี้โดยการใช้ปรอท และยาสายปถมังที่ท่านได้สร้างไว้บรรจุลงให้ตัวแมลงภู่และมอบให้กับพระเจ้าสิบทิศบุเรงนอง ซึ่งบัลลังก์ของบุเรงในพม่ามีแมลงภู่อารักษ์ไว้ถึง8คู่เลยทีเดียว เชื่อว่าสิ่งนี้คงเป็นสิ่งเสริมให้บุเรงนองเป็นผู้ชนะสิบทิศในการก่อนแล 
โดยแมลงภู่จะมีการแกะตั้งแต่ขนาดตัวเล็ก(ตัวลูก)ไปจนถึงตัวใหญ่(ตัวจ่าฝูง ) หรือตัวครู เมื่อ แกะเสร็จแล้วจะนำมาอุดปรอทบางตัวก็เป็นเข็มทอง และยาสายปถมัง ถ้าเป็นไม้นั้นเมื่ออุดแล้วจะปิดด้วยไม้มะเขือบ้าอีกที ถ้าเป็นงาจะใส่ขนสีเหลืองของตัวพญาด้วย ซึ่งส่วนนี้ก็แล้วแต่ผู้สร้างนั้นนั้น จากประสบการณ์มากมายหลากหลายที่มาจึงถือได้ว่า แมลงภู่ไทยใหญ่ นั้นเป็นสุดยอดเครื่องรางไทยใหญ่ ที่ถูกกล่าวขานไว้บนแผ่นดินสยามมากที่สุดเลยก็ว่าได้ครับ
เรียบเรียงขึ้นใหม่และเพิ่มเติมข้อมูลโดยแจ็คเชียงดาว และขอบคุณผู้ค้นคว้า อ.วิลักษณ์ ศรีป่าซาง และพี่เชน เชียงใหม่ ตลอดจนผู้ให้ข้อมูลต่าง ณ ที่นี้ด้วยครับ

•• Maeng Phu ••
There are insects with a sting for weapons like carpenter bees, sawflies and the like. There insects are carved from wood or Ivory. Nowadays, they are even cast from metal or the real insects are stuffed and coated with gold leaf or paint with magic incantation spoken over them. The author came across some Tai Yai and Karen from Myanmar in 2009 who worked in Chiang Mai who had the sacred bee hanging on their necks. And later when conducting a study on the border between Myanmar and China I also saw Red Wa Soldiers and even some sex service workers tie the bees to their necks or braziers. So it is indeed popular among them and it has spread into Thailand. It is believed to protect against danger and evil things and to change the enemy's mind from wanting to hurt one. Most Tai Yai keep 5 bees on the shrine shelf and carry one with them. Gold shops in Shan State or Myanmar put one on a raised tray to prevent robbery.
A Tai Yai relates that King Naresuan of Thailand died in Mueang Hang due to the Burmese king using the kind of empowered insect to attack him.
The wooden carved bee with mercury and a sting put inside it of the Tai Yai had the following abilities:
1. Attracting people to love
2. Bringing good luck and business success
3. Protesting from dangers
4. Counteracting the superstitious methods of attack
5. Keeping robbers away
6. Protecting children from being hurt
7. Protecting from danger l during a journey and making one beloved by people and angels.
:: ขอขอบพระคุณข้อมูลแปลไทย-อังกฤษ โดยพ่อครู ผศ.วิลักษณ์ ศรีป่าซาง ณ ที่นี้ด้วยครับ ::

 
     
โดย : แจ็คเชียงดาว   [Feedback +1 -0] [+0 -0]   Mon 4, Dec 2017 19:55:16
 








 
 
 
โดย : แจ็คเชียงดาว    [Feedback +1 -0] [+0 -0]   [ 1 ] Mon 4, Dec 2017 19:55:46

 
แมลงภู่เนื้องาเเกะ ศิลปะโฟล์คอาร์ต : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.