พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
โชว์พระเกจิอาจารย์ทั่วไป

ราหูกะลาแกะหลวงพ่อน้อย


ราหูกะลาแกะหลวงพ่อน้อย


ราหูกะลาแกะหลวงพ่อน้อย

   
 

หลวงพ่อน้อย วัดศีรษะทอง พระเกจิอาจารย์ชื่อดังของจังหวัดนครปฐม ท่านทำให้วัดศีรษะทองเป็นที่รู้จักและเลื่องชื่อโดยเฉพาะในเรื่องการกราบ ไหว้องค์ราหู เพื่อสะเดาะเคราะห์และขอพร เชื่อว่าท่านผู้อ่านคงจะเคยได้ยินได้ฟังหรือได้ไปมาบ้างแล้ว "พันธุ์แท้พระเครื่อง" จึงขอนำอัตโนประวัติโดยย่อและเรื่องราวของวัตถุมงคล "ราหูอมจันทร์"

หลวงพ่อน้อย ศัสธโชโต เกิดเมื่อปี พ.ศ.2435 ที่เมืองนครชัยศรี บิดาเป็นชาวลาวมาจากเวียงจันทน์ มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านวิทยาอาคมและเครื่องรางของขลังต่างๆ หลวงพ่อน้อยจึงได้ศึกษากับบิดาตั้งแต่ยังเยาว์ เมื่ออายุครบบวชจึงอุปสมบท ณ วัดแค โดยพระอธิการยิ้ว เจ้าอาวาสวัดแคเป็นพระอุปัชฌาย์ พระภิกษุมุน วัดกลางคูเวียง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระภิกษุลอย วัดแค เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา "ศัสธโชโต"

ต่อมาท่านย้ายมาจำพรรษา ที่วัดศีรษะทอง ในสมัยที่พระอธิการลีเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัด หลวงพ่อน้อยได้ฝึกฝนวิทยาอาคมจนแตกฉาน ท่านเป็นพระภิกษุที่มีศีลาจารวัตรงดงาม มีเมตตาธรรมสูง ช่วยเหลือกิจต่างๆ ของวัด ทั้งได้สร้างพระและเครื่องรางของขลังต่างๆ ขึ้นมาเพื่อแจกจ่ายแก่ผู้มีจิตศรัทธาบริจาคทรัพย์ในการพัฒนาวัดศีรษะทองจน เจริญรุ่งเรือง ท่านได้รับตำแหน่งเจ้าอาวาสสืบต่อจากพระอธิการช้อย ปกครองและพัฒนาวัดเรื่อยมาจนมรณภาพในปี พ.ศ. 2490 สิริอายุได้ 55 ปี

"ราหูหลวงพ่อน้อย" นับเป็นเครื่องรางของขลังที่ได้รับความนิยมอย่างมากมาตั้งแต่อดีตถึง ปัจจุบัน เพราะมีคุณปรากฏเป็นเลิศทั้งด้านโชคลาภ การพ้นเคราะห์ และเสริมดวงชะตา กรรมวิธีการสร้างนั้นหลวงพ่อน้อยสืบทอดมาจากหลวงพ่อไตร อันเป็นการสร้างตามตำรับใบลาน จารอักขระขอมลาวที่นำมาจากประเทศลาวโดยตรง ซึ่งก็คือการใช้ "กะลาตาเดียว" มาแกะนั่นเอง

"ราหูหลวงพ่อน้อย" แบ่งการแกะออกเป็น 2 ฝีมือ คือ ฝีมือช่างฝีมือภายในวัดและฝีมือชาวบ้าน ส่วนลายมือในการจารนั้นมี 4 ท่าน คือ หลวงพ่อน้อย ช่างลี ลูกศิษย์ตาปิ่น และพระอาจารย์สม ดังนั้นรูปแบบของราหูหลวงพ่อน้อยจึงมีความแตกต่างกันไปตามฝีมือและลายมือของ แต่ละท่าน ไม่เป็นมาตรฐานแปะๆ แบบการหล่อที่มีแม่พิมพ์ ประเด็นสำคัญอยู่ที่หลวงพ่อน้อยท่านเป็นผู้ปลุกเสกเองทั้งหมด

ของดีๆ อย่างนี้ มีการเลียนแบบแน่นอน ดังนั้นพิจารณาให้ดีจากความเก่าและความเป็นธรรมชาติของเนื้อกะลาที่นำมาแกะ ถ้ากะลาที่ไม่ได้ผ่านการใช้เลยจะมีความแห้งและดูเก่า ส่วนกะลาที่ผ่านการใช้มาแล้ว เนื้อจะดูเป็นขุยและยุ่ย 

บอกได้คำเดียวว่า 1 เดียวในโลก!!

ปล....เพิ่มเติมข้อมูล


4. สิ่งแวดล้อมพิเศษหรือการมีลักษณะพิเศษของพระราหูอมจันทร์ คือโดยส่วนมากของคหบดีในจังหวัดนครปฐมนั้น เมื่อได้พระราหูอมจันทร์จากหลวงพ่อน้อยก็มักจะนำพระราหูองค์นั้นไปเลี่ยม เป็นกรอบทองคำ,นาคและเงิน ถ้าพระราหูอมจันทร์อันใดถูกปิดด้านหลังที่หลวงพ่อน้อย ท่านจะให้นำแผ่นทอง,แผ่นเงินและแผ่นนาคมาให้ท่านจารอักขระแล้วนำไปติดด้าน หลังในการเลี่ยมแต่ละอัน 

 
     
โดย : keang   [Feedback +4 -1] [+0 -0]   Sun 22, Jan 2017 17:08:55
 








 
 
โดย : keang    [Feedback +4 -1] [+0 -0]   [ 1 ] Sun 22, Jan 2017 17:09:28









 

ไม้ครู หลวงปู่ภู สุดยอดเครื่องรางหายาก 1ในสุดยอดเครื่องรางที่ติดอันดับต้นๆของไทยเลยค่ะ ประวัติการสร้างไม้ครูของท่าน สุดยอดเป็นที่สุด กว่าจะได้ไม้ครูแต่ละชิ้น ไม่ได้ทำได้ง่ายๆเลย ประวัติ และ ขั้นตอนการสร้าง แสนจะซับซ้อน ร่ายมนต์ คาถา ตั้งจิตรภาวนา สุดยอดจริงๆค่ะ ไม้ครูที่ท่านสร้าง นั้นสามารถบนบอกได้ด้วย ไม้ครูของหลวงปู่ ต้องเป็นไม้ไผ่ยืนต้นตายพรายกลางกอ และมีโขลงช้างข้ามกอไผ่ จากนั้นนำมาจักเป็นเส้นตอกแล้วลงอักขระบรรจุไว้ในไม้ไผ่อีกทีหนึ่ง เสร็จแล้วท่านก็เอาชันโรงปิดหัวปิดท้ายก่อนตัดต้องประกอบพิธีพลีกรรม โดยตัดเอาเฉพาะกิ่งที่ทอดยาวไปทางทิศตะวันออก ตัดเอาเฉพาะท่อน และ ในการสร้างยังมีพิธีกรรมที่สลับซับซ้อนอีกหลายขั้นตอน กว่าจะสำเร็จเป็นไม้ครู จึงมีพุทธคุณครอบจักรวาลเลยทีเดียวตามแต่ผู้บูชาจะอธิษฐาน เช่น กันภูตผีปีศาจ กันเสนียดจัญไร คุณไสยต่างๆ ฯลฯ อย่าได้ไปตีหัวใครเล่นไปเรื่อย เป็นบล้า เป็นบอ ได้เลยค่ะ  

   ไม้ครูที่ลงอยู่นี้จัดว่าสวย สมบูรณ์มากค่ะ ความยาวประมาณ 12 นิ้ว ค่ะ กว้างประมาณ 1 นิ้ว สวยเดิมๆ เจ้าของเก็บดีมาก 

คาถาที่ใช้บูชาไม้ครูของหลวงปู่ภู ให้ว่านะโม 3 จบ แล้วระลึกถึงหลวงปู่ภูแล้วท่องคาถาว่าดังนี้ “คะเตสิ คะเตสิ กิงกะระนัง กิงกะระนัง อะหังปิตตัง ชานามิ ชานามิ สี่คนเดินหน้า ห้าคนเดินหลัง โอมกะรัง กะรัง” เดินภาวนาไปเรื่อยๆ ข้อสำคัญ ท่านต้องเซ่นด้วยหมูนอนตอง(หมูสามชั้นต้มสุกวางบนใบตองห่อ) ทุกๆวันอังคารและวันเสาร์

วิธีบนคือ ทุกวันเสาร์หรือวันอังคารให้นำเอาหมูนอนตอง วางเลยชายคาบ้านแล้วบนเอาเถิด เทวดาที่รักษาองค์ไม้ครูก็จะออกมา หากสำเร็จดังที่บนไว้ก็ขอให้ทำอย่างที่บนไว้ อุทิศส่วนกุศลให้กับหลวงปู่ภู ให้รุกขเทวดาที่รักษาองค์ไม้ครู และผู้ร่วมสร้าง

 
โดย : keang    [Feedback +4 -1] [+0 -0]   [ 2 ] Sun 22, Jan 2017 17:12:55









 

ตะกรุดหลวงพ่อทบถักด้ายดิบเคลือบยางไม้ สวยเดิมๆค่ะ ระดับแชมป์ ยาว 12 เซนติเมตร กว้าง 1.2เซนติเมคชตรค่ะ  ดอกนี้สมบูรณ์มากจริงๆ สวยเดิมๆ 

ข้อมูลตะกรุดหลวงพ่อทบค่ะ

ตะกรุดของหลวงพ่อทบผู้ที่ชื่นชอบตะกรุดเครื่องรางและสายานุศิษย์ของท่าน แบ่งให้เป็น ๓ ยุค คือยุคต้นท่านสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ลงไปยุค กลางสร้างหลังปี พ.ศ.๒๕๐๐ไปจนมาถึงปี พ.ศ.๒๕๐๙ และยุคปลายสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๑๐-๒๕๑๙ ลักษณะและการพิจารณาตะกรุดหลวงพ่อทบจะสังเกตจากลักษณะชนิดของเชือก การถักเชือก ลายถัก โลหะที่ใช้ทำตะกรุด การลงรัก และการตีหัวตะกรุดทั้งสองด้าน นี้คือลักษณะการพิจารณาตะกรุดของหลวงพ่อทบ(หลัดเกณฑ์ดังกล่าวนี้เป็นพื้นฐานในการดูตะกรุดของทุกสำนัก และผู้ที่ชื่นชอบเครื่องรางจะต้องรู้เป็นพื้นฐานอยู่แล้ว) ในที่นี้เราจะมาเอยถึงตะกรุดดอกนี้ว่าทำไมถึงดูรู้ว่าเป็นยุคแรก ยุคต้นกัน อันดับแรกเรามาพิจารณา ถึงเส้นเชือกของตะกรุดดอกนี้กันคือ ๑.เส้นเชือกที่นำมาถักเป็นเชือกปอ เป็นเชือกที่ผลิตจากใยธรรมชาติ หรือปอผสมใยสับปะรด ซึ่งยุคกลางกับยุคปลายเป็นเชือกไนล่อน(Nylon)และเชือกไนล่อน(Nylon)แบบเอ็นตกปลาล้วนๆ...๒.เป็นตะกรุดอั่วสองชั้น(สองกษัตริย์)ที่เนื้อทองแดงและเนื้อตะกั่วรวมทั้งเส้นเชือกถักกอดรัดตัวจนแทบจะเป็นเนื้อเดียวกันโดยธรรมชาติอายุความเก่า...๓.ลักษณะของรักที่ลงเก่าแห้งแตกเป็นเกร็ดเก่าถึงอายุดูมันส์มากๆ...๓.รอยขึ้นและรอยจบการถักเชือกของตะกรุดทั้งสองด้านซึ่ง เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของตะกรุดยุคแรกๆของท่านคือพันผูกเป็นเงื่อนกันหลุดแล้วเอาส่วนปลายเชือกทั้งสองด้านยัดไว้ด้านในแล้วพันเชือกทับหรือยัดไว้ด้านในแผ่นตะกั่วก่อนจะทุบแผ่นปลายตะกั่วให้ล๊อคเชือกตะกรุดทั้งสองด้านหัวท้ายและด้วยวันเวลาผ่านไปอายุความเก่ามาเยือนทำให้ปลายเส้นเชือกที่ยัดล๊อคไว้ในแผ่นตะกั่วรวมตัวกันจนเป็นเนื้อเดียวกัน ดังรูปของตะกรุดที่ผม "วัต ท่าพระจันทร์" บรรจงถ่ายมาเพื่อให้เพื่อนๆทัศนากันตามอัธยาศัยหลายๆจุด หลายๆมุมนั่นแล นะเพื่อนเอย! เป็นความรู้เล็กๆครับ

เรื่องราวอภินิหารของตะกรุดหลวงพ่อทบ ที่โด่งดังมากในสมัยหนึ่ง อย่างเมื่อคราวที่ภูหินร่องกล้า ทหารที่ไปรบก็เคยมีประสบการณ์จากพระเครื่องและตะกรุดของหลวงพ่อทบ ซึ่งถูกยิงจากผู้ก่อการร้ายแต่ยิงไม่เข้าอยู่หลายราย จนทำให้ตะกรุดของหลวงพ่อทบหายากขึ้น

หลวงพ่อทบท่านเกิดเมื่อปี พ.ศ.๒๔๒๔ ณ บ้านหัวลม ตำบลนายม เพชรบูรณ์ โยมบิดาชื่อเผือก โยมมารดาชื่ออินทร์ หลวงพ่อทบท่านบวชเณรตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๔๐ ที่วัดช้างเผือก และอุปสมบท เมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๕ ที่วัดเกาะแก้ว บ้านนายม เพชรบูรณ์ โดยมีพระครูเมืองเป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์ปานเป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารย์สีเป็นพระอนุสาวนาจารย์

อุปนิสัยของหลวงพ่อทบท่านเป็นพระที่มีเมตตา สุขุมเยือกเย็น พูดน้อย หลวงพ่อทบท่านได้สร้างวัดและบูรณะวัดวาอารามไว้หลายวัดด้วยกันในแถบเพชรบูรณ์ หลวงพ่อทบท่านออกธุดงค์ไปในสถานที่ต่างๆ มากมาย หลังจากนั้นท่านก็มาจำพรรษาอยู่ที่วัดศิลาโมง วัดเสาธงทองเจริญธรรม วัดเกาะแก้ว วัดสว่างอรุณ วัดพระพุทธบาทเขาน้อย และวัดช้างเผือก เป็นต้น และทุกวัดที่หลวงพ่อทบท่านจำพรรษาอยู่ท่านจะบูรณปฏิสังขรณ์ จนวัดมีความเจริญรุ่งเรืองทุกวัด หลวงพ่อทบท่านมรณภาพในวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๑๙ ปัจจุบันสังขารของหลวงพ่อทบยังเก็บรักษาไว้ในโลงแก้วภายในมณฑปตามเจตนาของท่าน มีประชาชนมามนัสการเป็นประจำมิได้ขาด

เรื่องอภินิหารตะกรุดโทนของหลวงพ่อทบนั้นจะยกมาเล่าให้ฟังสักเรื่องหนึ่ง คือในราวปีพ.ศ.๒๕๑๗ ตอนนั้นในอำเภอวิเชียรบุรี มีเรื่องพิพาทเกี่ยวกับที่ดินมาก ผู้ใหญ่ประเสริฐ ได้ถูกคุกคามจากผู้มีอิทธิพลคนหนึ่ง จะฮุบเอาที่ดินของผู้ใหญ่ประเสริฐ แต่ไม่สำเร็จ ผู้มีอิทธิพลคนนั้นจึงสั่งลูกน้องให้ฆ่าล้างครัว ผู้ใหญ่ประเสริฐจึงพาครอบครัวไปกราบมนัสการหลวงพ่อทบ พร้อมทั้งเล่าเรื่องต่างๆ ให้หลวงพ่อทบฟัง

หลวงพ่อทบท่านจึงได้ทำน้ำมนต์อาบให้ทุกๆ คน จากนั้นท่านก็มอบตะกรุดโทนให้กับผู้ใหญ่และลูกชาย ส่วนภรรยาและลูกสาวท่านได้มอบเหรียญรูปท่านกับสีผึ้งให้ไป ก่อนกลับผู้ใหญ่ได้ถวายเงินจำนวน ๕๐๐ บาทให้หลวงพ่อทบ แต่ท่านไม่รับ ท่านบอกผู้ใหญ่ว่า "เก็บเอาไว้เถอะยังมีความจำเป็นต้องใช้อีกมาก วันๆ ข้าไม่ใช้เงินอยู่แล้ว" จากนั้นท่านก็ให้พรผู้ใหญ่ และกำชับว่ากลางค่ำกลางคืนไม่มีธุระจำเป็นจริงๆ แล้ว อย่าออกไปไหนเป็นอันขาด มิฉะนั้นอาจเป็นอันตรายได้

เมื่อกลับจากวัดแล้ว ทุกคนต่างก็มีกำลังใจที่จะต่อสู้ป้องกันชีวิตและทรัพย์สินของตนเอง ผู้ใหญ่ได้บอกกับลูกเมียให้ทำที่กำลังให้มั่นคง กลางคืนหากมีใครมาเรียกอย่าขานรับโดยเด็ดขาด ผู้ใหญ่กับลูกชายมีอาวุธครบมือ เพื่อรับกับเหตุร้ายที่จะเกิดขึ้น เวลาที่ผ่านมานานนับเดือนก็ไม่มีเหตุร้ายใดๆ อยู่มาวันหนึ่งแกรู้สึกตัวในตอนดึก และหิวน้ำจึงลุกขึ้นไปดื่มน้ำ สายตาของผู้ใหญ่ก็เห็นคนกำลังเดิมจะมาเปิดประตูขึ้นบ้าน ผู้ใหญ่จึงหยิบปืนลูกซองที่เตรียมไว้ยิงทันที เสียงปืนดังแชะ ผู้ใหญ่ยังไม่ละความพยายาม ขึ้นนกยิงอีกนัด เสียงปืนดังแชะเหมือนเดิม และแล้วบุรุษผู้มาในยามวิกาลได้ร้องขึ้นว่า "พ่อทำอะไรนะ ฉันเอง" เท่านั้นเองปืนลูกซองแทบหล่นจากมือ แกรีบเดินไปเปิดประตูและสวมกอดลูกชาย แล้วถามว่า "เอ็งหรอกหรือไอ้ทิด แล้วเอ็งออกไปทำไมตอนดึกดื่มเที่ยงคืนอย่างนี้" ลูกชายก็ตอบว่า "ฉันปวดท้องเบาจึงลุกไปฉี่ข้างนอก" ผู้ใหญ่ยกมือท่วมหัวแล้วพูดว่า "เป็นเพราะบารมีตะกรุดหลวงพ่อแท้ๆ ที่ช่วยไม่ให้พ่อต้องฆ่าลูกในไส้" ในตัวของลูกชายผู้ใหญ่มีตะกรุดโทนของหลวงพ่อทบเพียงดอกเดียวเท่านั้น

เหตุการณ์ที่มีผู้ประสบเกี่ยวกับตะกรุดหลวงพ่อทบ ส่วนมากจะถูกยิงแต่กระสุนด้านเป็นส่วนมากครับ พวกทหารที่ไปรบที่เขาคล้อ ภูหินร่องกล้าต่างก็มีประสบการณ์เกี่ยวกับตะกรุดของหลวงพ่อทบกันมาก ชาวเพชรบูรณ์ต่างก็ห่วงแหนตะกรุดของหลวงพ่อทบมากครับ_ขอขอบคุณข้อมูลชีวประวัติเพิ่มเติมจากพี่ชายที่แสนดี พี่หน่อย ท่าพระจันทร์

 
โดย : keang    [Feedback +4 -1] [+0 -0]   [ 3 ] Sun 22, Jan 2017 17:16:10









 

ตะกรุดหลวงพ่อทองสุข วัดโตนดหลวง สวยเดิมๆค่ะ มีทองเก่า ขนาดของตะกรุดยาว5 เซนติเมตร กว้าง 1 เซนติเมตรค่ะ

 

หลวงพ่อทองสุข อินทโชโต เกิดเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2420 ณ บ้านทับใต้ ตำบลหินเหล็กไฟ จังหวัดเพชรบุรี ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 มีพีน้อยทั้งหมด 6 คน เมื่ออายุได้ 9 ปี บิดาได้ย้ายมาอยู่ที่บ้านโพธิ์ อำเภอบ้านลาดในปัจจุบัน ด้วยวัยหนุ่มที่กำลังคึกคะนองจึงหลงผิด กระทั่งกลายเป็นนักเลงอันธพาล แต่ในที่สุดก็กลับตัวกลับใจได้ และเข้าอุปสมบท เมื่ออายุ 32 ปี ตรงกับปี 2452 ณ วัดปราโมทย์ บางคณฑี สมุทรสงคราม มี หลวงพ่อตาด วัดบางวันทองเป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อตุย วัดปราโมทย์และหลวงพ่อคง วัดแก้ว เป็นพระคู่สวด หลวงพ่อทองสุขถึงกาลมรณภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2500 
ท่านเป็นศิษย์เอกของหลวงพ่อตาด วัดบางวันทอง และหลวงปู่นาค วัดหัวหิน ประจวบคีรีขันธ์ วัตถุมงคลที่ท่านสร้างและปลุกเสกเอาไว้นั้น มีทั้งเหรียญ ผ้ายันต์ ลูกอม แหวน เหรียญรุ่นแรกสร้างปี 2492 แต่เหรียญที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ เหรียญรุ่น 2 สร้างปี พ.ศ.2498 มีเนื้อทองคำ เงิน และทองแดง

ตะกรุดของท่านมีทั้งประเภทเนื้อโลหะ และตะกรุดไม้รวก สำหรับเนื้อโลหะนั้น จะเป็นโลหะประเภททองแดง แบ่งเป็นตะกรุดโทน ตะกรุดชุด 7 ดอก และตะกรุดสามกษัตริย์ เอกลักษณ์ของตะกรุดของท่านคือ ทุกดอกจะพอกด้วยครั่งพุทรา โทนสีจะออกแดงอมน้ำตาลถึงดำ อักขระเลยยันต์ที่ใช้ลงตะกรุดนั้น เรียกว่า ยันต์ตรีนิสิงเห พุทธคุณในตะกรุดของท่านจะเด่นทางแคล้วคลาด คงกระพันชาตรีเป็นหลัก

 
โดย : keang    [Feedback +4 -1] [+0 -0]   [ 4 ] Sun 22, Jan 2017 17:19:37









 

ตะกรุดเก่าไม่รู้ที่ ครับ

 
โดย : keang    [Feedback +4 -1] [+0 -0]   [ 5 ] Sun 22, Jan 2017 17:22:06









 
 
โดย : keang    [Feedback +4 -1] [+0 -0]   [ 6 ] Sun 22, Jan 2017 17:24:50









 

ตะกรุดหลวงพ่อพิท วัดฆะมัง พิจิตร (สวยเดิมๆ) 
ในสมัยก่อนย้อนไประหว่างปี พ.ศ. 2470 – 2485
ตะกรุดหลวงพ่อพิธนี้และมีราคาจำหน่ายเพื่อทำบุญสร้างพระอุโบสถที่วัดสามขาถึงดอกละ 10 บาท 

ข้าพเจ้าเชื่อว่า ระยะนั้นราคาตะกรุดหลวงพ่อพิธจะแพงที่สุดในระยะนั้น
รูปหล่อหลวงพ่อเงินราคาในท้องถิ่นไม่เกิน 10 บาทแน่ 

มีแต่ราคาในกรุงเทพฯ ที่พ่อค้าคนจึนในสำเพ็งซื้อเท่านั้นที่ให้ราคารพระหลวงพ่อเงินถึงองค์ละ 10 บาท
เพราะพ่อค้าไม่มีเวลาเดินทางไปพิจิตรได้ 

เมื่อต้องการก็สั่งให้ผู้อื่นไปเอา และให้ค่าตอบแทนองค์ละ 10 บาท
ตะกรุดหลวงพ่อพิธระยะนั้นในท้องถิ่นราคา 10 บาท นับว่าราคาสูงมาก ผู้ไม่ศรัทธาจริง ๆ คงไม่มีใครแสวงหา 

เรื่องตะกรุดหลวงพ่อพิธนั้นเป็นเรื่องยืดยาวประวัติด้านคงกระพันมีมาก เชื่อถือได้แน่นอน ท่านเป็นศิษย์
หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน ได้วิชาทำตะกรุดมาจากท่าน มีหลักฐานยืนยันไว้แน่ชัด 

มีเอกสารเป็นหลักฐานยืนยันไว้ว่า ยันต์นี้ หลวงพ่อเตียง (วัดเขารูปช้าง) เรียนมาจากหลวงพ่อพิธ
หลวงพ่อพิธเรียนมาจาก หลวงพ่อเงิน 

ตะกรุดหลวงพ่อเตียงก็ได้เลียนแบบอย่างของหลวงพ่อพิธ แต่มีเอกลักษณ์บางอย่างที่เราสามารถแยกได้ว่า
ตะกรุดดอกไหนเป็นของอาจารย์องค์ไหนกันแน่ 

ตะกรุดของท่านสังเกตได้ง่าย ๆ คือ

1. ตะกั่วที่ใช้จารเป็นตะกั่วน้ำนม (เนื้ออ่อน)
2. ส่วนใหญ่มีอั่วทองเหลืองเป็นแกนกลาง
3. ยันต์ที่ใช้จารเป็นยันต์คู่ชีวิต หรือยันต์อะสิสันติ เป็นหลัก

ข้อควรระลึกคือ ของเทียม มีมากพอสมควรต้องดูความเก่าเป็นหลักพิจารณา สำหรับเชือกถักนั้นจะมีหรือไม่ก็ได้
ของเดิมรุ่นเก่าจริงมีขนาดย่อมและถักเชือกลงรักสวยงามมาก ต่อมาได้พัฒนาให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
มีทั้งถักเชือกเฉย ๆ และไม่ถักเชือก

ส่วนยันต์ของท่าน ข้าพเจ้าได้นำมาลงพิจารณาประกอบแล้ว ตะกรุดท่านจะจารทั้ง 2 ด้านการสร้างประณีต
ไม่สุกเอาเผากิน 

ยันต์ต่าง ๆ ที่ปรากฏเป็นตะกรุดส่วนใหญ่เป็นยันต์ของหลวงพ่อเงินที่ใช้ลงตะกรุดของท่าน ตะกรุดของท่าน
ตะกรุดหลวงพ่อเงินก็มีหลายแบบซึ่งจะได้กล่าวแยกไว้ต่างหาก

โดยเฉพาะ หลวงพ่อพิธ เกิดเมื่อ พ.ศ. 2415 มรณภาพเมื่อ พ.ศ. 2488 จากปากคำของผู้รู้เล่าว่า
ท่านเป็นหลานแท้ ๆ ของ หลวงพ่อเงิน จึงได้วิชาอาคมมาเต็มที่ 
ในสมัยหนุ่มเมื่อได้บวชเรียนแล้วได้ไปศึกษาพุทธาคม จากแหล่งอื่นอีก 

เคยอยู่ที่วัดหัวคง วัดบางคลาน วัดวังปราบ วัดบางไผ่ วัดดงป่าคำ วัดสามขา
(วัดนี้แหละที่ท่านตำตะกรุดให้ผู้ศรัทธาได้ทำบุญช่วยวัด) ต่อมาก็ได้มาอยู่ที่วัดใหญ่ (วัดมหาธาตุ)
พิษณุโลก หลังจากนั้นก็กลับไปอยู่ทางพิจิตรและมรณภาพที่วัดฆะมัง เมื่อปี 2488 ดังกล่าวข้างต้น

ตะกรุดหลวงพ่อพิธมีอานุภาพด้านคงกระพันสูงมาก ผู้ใช้หลายรายโดนทั้งปืนทั้งมีดไม่เคยระคายผิว 

ชาวบ้านบางคนถูกแทงจนเสื้อขาดแต่ก็ไม่เข้า พวกเศรษฐีมีเงินก็ทุ่มทุนซื้อตะกรุดอกนั้น 

เมื่อได้ราคาหลายหมื่นก็ขายเหมือนกัน เพราะทนเงินง้างไม่ไหว 

ยันต์อะสิสัตติ ธนูเจวะฯ นี้เป็นยันต์ที่มีมาแต่โบราณกาล
เกจิอาจารย์รุ่นเก่าทั้งภาคกลางและภาคเหนือใช้กันมาก 

 

หลวงพ่อดัง ๆ เช่น หลวงพ่อโพธิ์ วัดวังหมาเน่า หลวงพ่อเรือง วัดบ้านดง หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน
หลวงพ่อน้อย วัดป่ายางนอก ฯลฯ ซึ่งเกจิอาจารย์ที่กล่าวถึงนี้มีอายุอยู่ในศตวรรษก่อนทั้งสิ้น 
และแต่ละท่านก็มรณภาพไปอย่างน้อย 70 ปี แล้วทั้งนั้น จากหลักฐานที่ได้ศึกษามา
แต่ละท่านใช้ยันต์นี้ลงตะกรุด บางดอกของท่าน กรณีที่เป็นตะกรุดดอกสำคัญ 

 
โดย : keang    [Feedback +4 -1] [+0 -0]   [ 7 ] Sun 22, Jan 2017 17:25:52









 
 
โดย : keang    [Feedback +4 -1] [+0 -0]   [ 8 ] Sun 22, Jan 2017 17:26:47









 
 

ตะกรุดใบลอน ถักเชื่อก ลงชาติ ลงทองเก่า

 

 
โดย : keang    [Feedback +4 -1] [+0 -0]   [ 9 ] Sun 22, Jan 2017 17:30:52









 
 
โดย : keang    [Feedback +4 -1] [+0 -0]   [ 10 ] Sun 22, Jan 2017 17:31:29









 
 
โดย : keang    [Feedback +4 -1] [+0 -0]   [ 11 ] Sun 22, Jan 2017 17:32:15









 

สุดยอดเครื่องรางของขลังของหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง เครื่องรางของหลวงปู่เอี่ยม วัดหนังนั้น ความจริงท่านได้ทำไว้หลายอย่าง เช่น หมากทุยตะกรุด ผ้าประเจียด ลูกอม และลูกสะกด แต่ที่เรารู้จักกันดีก็คือหมากทุย และพอจะแยกแยะออกว่าอันไหนเป็นของหลวงปู่เอี่ยม แท้หรือไม่ วันนี้เราก็มาคุยกันถึงหมากทุยก็แล้วกันครับ

หลวงปู่เอี่ยม ท่านคงจะทำเครื่องรางมาก่อนที่จะสร้างพระเครื่อง ตั้งแต่ครั้งยังอยู่ที่วัดโคนอน เนื่องจากการทำนั้นทำให้ทุกวาระ เมื่อมีชาวบ้านมาขอให้ท่านทำไว้และหาวัสดุมา ท่านก็ทำให้ การสร้างหมากทุยนั้นท่านคง จะสร้างเมื่อตอนที่มาอยู่ที่วัดหนังแล้ว วัดหนังนั้นอยู่ย่านตลาดพลู บางขุนเทียน แถบนั้นในสมัยก่อนเป็นสวน ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็มีอาชีพทำสวน ปลูกผักผลไม้ หมากพลู และคงมีสวนหมากสวนพลูมาก จนได้ชื่อว่า "ตลาดพลู"

หลวงปู่เอี่ยม ท่านคงเห็นแถบนี้มีต้นหมากมาก และบางต้นก็ยืนต้นตายพราย มีลูกหมากตายพรายเป็นทะลายๆ ที่เราเรียกกันว่าหมากทุย ท่านก็ให้เก็บเอามาทำเครื่องรางโดยวิธีการเก็บ"หมากทุย"นั้นไม่ใช่ว่าจะไปเก็บมาเฉยๆ ต้องมีกรรมวิธีการเก็บด้วย คือหมากทุยที่จะใช้นั้นต้องเป็นหมากทุยตายพรายทั้งทะลาย แล้วผู้เก็บก็ต้องบริกรรมคาถาก่อนขึ้นไปเก็บ พอขึ้นไปบนต้นหมากแล้ว ก็ต้องบริกรรมคาถาด้วยตามสูตร ตอนเก็บก็ให้บริกรรมคาถาแล้วใช้ปากงับ หมากทุยทีละลูกลงมา

เมื่อได้หมากทุยมาแล้วก็ต้องคว้านเจาะด้านขั้วให้เป็นโพรงลงไป เพื่อจะบรรจุตะกรุด กระดาษสา หลวงปู่เอี่ยมท่านจะลงอักขระนะปถมังก่อน ซึ่งอยู่ตรงกลางแผ่นยันต์ มุมทั้งสี่จะลงด้วย นะโม พุท ธา ตัวยะจะอยู่ตรงกลางตัวนะปถมัง ด้านบนตัวนะฯ จะลงอักขระมะ อุ อะ ต่อยอดด้วยอุณาโลม ด้านล่างตัวนะฯ จะลงด้วย นะ มะ พะ ทะ บรรทัดตรงกลางจะลง อักขระ อุท ธัง อัท โธ โดยมีตัวนะปถมังอยู่ตรงกลางระหว่างอักขระ จากนั้นท่านจึงทำการปลุกเสกอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นจึงม้วนตะกรุดกระดาษสาบรรจุลงในหมากทุย พอเสร็จสรรพจึงอุดด้วยชันโรงใต้ดิน พร้อมกับว่าคาถาบรรจุด้วย

หมากทุย หลวงปู่เอี่ยมนั้นท่านทำให้ไว้เพื่อป้องกันตัว หมากทุยเด่นทางคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาด ปัจจุบันนั้นหายากพอสมควร ของปลอมทำเลียนแบบก็มีมานานแล้ว การพิจารณาหมากทุยนั้น ต้องอาศัยความชำนาญมาก ต้องดูความเก่าของตัวหมากและชันโรงได้ หมากทุยของท่านนั้นบางชิ้นก็เป็นหมากเปลือยๆ ไม่ได้หุ้มอะไร บางชิ้นเจ้าของได้มาก็ถักเชือก เพื่อสะดวกในการห้อย และลงรักหรือลงยางไม้ ก็เพื่อให้เชือกมีความคงทนในการใช้ ถ้าหมากทุยที่มีการลงรักถักเชือกหรือยางไม้ก็ให้พิจารณา เชือก รัก หรือยางไม้ว่ามีอายุความเก่าพอหรือไม่ และต้องมีความรู้ความชำนาญพอสมควร วันนี้ก็นำรูปหมากทุยของหลวงปู่เอี่ยม วัดหนังมาให้ชมกันครับ ที่มา.

 
โดย : keang    [Feedback +4 -1] [+0 -0]   [ 12 ] Sun 22, Jan 2017 22:37:18









 
 
โดย : keang    [Feedback +4 -1] [+0 -0]   [ 13 ] Sun 22, Jan 2017 22:38:03









 
 
โดย : keang    [Feedback +4 -1] [+0 -0]   [ 14 ] Sun 22, Jan 2017 22:39:31









 

สุดยอดเครื่องรางของขลังของหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง เครื่องรางของหลวงปู่เอี่ยม วัดหนังนั้น ความจริงท่านได้ทำไว้หลายอย่าง เช่น หมากทุยตะกรุด ผ้าประเจียด ลูกอม และลูกสะกด แต่ที่เรารู้จักกันดีก็คือหมากทุย และพอจะแยกแยะออกว่าอันไหนเป็นของหลวงปู่เอี่ยม แท้หรือไม่ วันนี้เราก็มาคุยกันถึงหมากทุยก็แล้วกันครับ

หลวงปู่เอี่ยม ท่านคงจะทำเครื่องรางมาก่อนที่จะสร้างพระเครื่อง ตั้งแต่ครั้งยังอยู่ที่วัดโคนอน เนื่องจากการทำนั้นทำให้ทุกวาระ เมื่อมีชาวบ้านมาขอให้ท่านทำไว้และหาวัสดุมา ท่านก็ทำให้ การสร้างหมากทุยนั้นท่านคง จะสร้างเมื่อตอนที่มาอยู่ที่วัดหนังแล้ว วัดหนังนั้นอยู่ย่านตลาดพลู บางขุนเทียน แถบนั้นในสมัยก่อนเป็นสวน ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็มีอาชีพทำสวน ปลูกผักผลไม้ หมากพลู และคงมีสวนหมากสวนพลูมาก จนได้ชื่อว่า "ตลาดพลู"

หลวงปู่เอี่ยม ท่านคงเห็นแถบนี้มีต้นหมากมาก และบางต้นก็ยืนต้นตายพราย มีลูกหมากตายพรายเป็นทะลายๆ ที่เราเรียกกันว่าหมากทุย ท่านก็ให้เก็บเอามาทำเครื่องรางโดยวิธีการเก็บ"หมากทุย"นั้นไม่ใช่ว่าจะไปเก็บมาเฉยๆ ต้องมีกรรมวิธีการเก็บด้วย คือหมากทุยที่จะใช้นั้นต้องเป็นหมากทุยตายพรายทั้งทะลาย แล้วผู้เก็บก็ต้องบริกรรมคาถาก่อนขึ้นไปเก็บ พอขึ้นไปบนต้นหมากแล้ว ก็ต้องบริกรรมคาถาด้วยตามสูตร ตอนเก็บก็ให้บริกรรมคาถาแล้วใช้ปากงับ หมากทุยทีละลูกลงมา

เมื่อได้หมากทุยมาแล้วก็ต้องคว้านเจาะด้านขั้วให้เป็นโพรงลงไป เพื่อจะบรรจุตะกรุด กระดาษสา หลวงปู่เอี่ยมท่านจะลงอักขระนะปถมังก่อน ซึ่งอยู่ตรงกลางแผ่นยันต์ มุมทั้งสี่จะลงด้วย นะโม พุท ธา ตัวยะจะอยู่ตรงกลางตัวนะปถมัง ด้านบนตัวนะฯ จะลงอักขระมะ อุ อะ ต่อยอดด้วยอุณาโลม ด้านล่างตัวนะฯ จะลงด้วย นะ มะ พะ ทะ บรรทัดตรงกลางจะลง อักขระ อุท ธัง อัท โธ โดยมีตัวนะปถมังอยู่ตรงกลางระหว่างอักขระ จากนั้นท่านจึงทำการปลุกเสกอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นจึงม้วนตะกรุดกระดาษสาบรรจุลงในหมากทุย พอเสร็จสรรพจึงอุดด้วยชันโรงใต้ดิน พร้อมกับว่าคาถาบรรจุด้วย


หมากทุย หลวงปู่เอี่ยมนั้นท่านทำให้ไว้เพื่อป้องกันตัว หมากทุยเด่นทางคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาด ปัจจุบันนั้นหายากพอสมควร ของปลอมทำเลียนแบบก็มีมานานแล้ว การพิจารณาหมากทุยนั้น ต้องอาศัยความชำนาญมาก ต้องดูความเก่าของตัวหมากและชันโรงได้ หมากทุยของท่านนั้นบางชิ้นก็เป็นหมากเปลือยๆ ไม่ได้หุ้มอะไร บางชิ้นเจ้าของได้มาก็ถักเชือก เพื่อสะดวกในการห้อย และลงรักหรือลงยางไม้ ก็เพื่อให้เชือกมีความคงทนในการใช้ ถ้าหมากทุยที่มีการลงรักถักเชือกหรือยางไม้ก็ให้พิจารณา เชือก รัก หรือยางไม้ว่ามีอายุความเก่าพอหรือไม่ และต้องมีความรู้ความชำนาญพอสมควร วันนี้ก็นำรูปหมากทุยของหลวงปู่เอี่ยม วัดหนังมาให้ชมกันครับ ที่มง

 
โดย : keang    [Feedback +4 -1] [+0 -0]   [ 15 ] Mon 30, Jan 2017 15:44:20









 

สุดยอดเครื่องรางของขลังของหลวงปู่เอี่ยม วัดหนัง เครื่องรางของหลวงปู่เอี่ยม วัดหนังนั้น ความจริงท่านได้ทำไว้หลายอย่าง เช่น หมากทุยตะกรุด ผ้าประเจียด ลูกอม และลูกสะกด แต่ที่เรารู้จักกันดีก็คือหมากทุย และพอจะแยกแยะออกว่าอันไหนเป็นของหลวงปู่

เอี่ยม แท้หรือไม่ วันนี้เราก็มาคุยกันถึงหมากทุยก็แล้วกันครับ

หลวงปู่เอี่ยม ท่านคงจะทำเครื่องรางมาก่อนที่จะสร้างพระเครื่อง ตั้งแต่ครั้งยังอยู่ที่วัดโคนอน เนื่องจากการทำนั้นทำให้ทุกวาระ เมื่อมีชาวบ้านมาขอให้ท่านทำไว้และหาวัสดุมา ท่านก็ทำให้ การสร้างหมากทุยนั้นท่านคง จะสร้างเมื่อตอนที่มาอยู่ที่วัดหนังแล้ว วัดหนังนั้นอยู่ย่านตลาดพลู บางขุนเทียน แถบนั้นในสมัยก่อนเป็นสวน ชาวบ้านส่วนใหญ่ก็มีอาชีพทำสวน ปลูกผักผลไม้ หมากพลู และคงมีสวนหมากสวนพลูมาก จนได้ชื่อว่า "ตลาดพลู"

หลวงปู่เอี่ยม ท่านคงเห็นแถบนี้มีต้นหมากมาก และบางต้นก็ยืนต้นตายพราย มีลูกหมากตายพรายเป็นทะลายๆ ที่เราเรียกกันว่าหมากทุย ท่านก็ให้เก็บเอามาทำเครื่องรางโดยวิธีการเก็บ"หมากทุย"นั้นไม่ใช่ว่าจะไปเก็บมาเฉยๆ ต้องมีกรรมวิธีการเก็บด้วย คือหมากทุยที่จะใช้นั้นต้องเป็นหมากทุยตายพรายทั้งทะลาย แล้วผู้เก็บก็ต้องบริกรรมคาถาก่อนขึ้นไปเก็บ พอขึ้นไปบนต้นหมากแล้ว ก็ต้องบริกรรมคาถาด้วยตามสูตร ตอนเก็บก็ให้บริกรรมคาถาแล้วใช้ปากงับ หมากทุยทีละลูกลงมา

เมื่อได้หมากทุยมาแล้วก็ต้องคว้านเจาะด้านขั้วให้เป็นโพรงลงไป เพื่อจะบรรจุตะกรุด กระดาษสา หลวงปู่เอี่ยมท่านจะลงอักขระนะปถมังก่อน ซึ่งอยู่ตรงกลางแผ่นยันต์ มุมทั้งสี่จะลงด้วย นะโม พุท ธา ตัวยะจะอยู่ตรงกลางตัวนะปถมัง ด้านบนตัวนะฯ จะลงอักขระมะ อุ อะ ต่อยอดด้วยอุณาโลม ด้านล่างตัวนะฯ จะลงด้วย นะ มะ พะ ทะ บรรทัดตรงกลางจะลง อักขระ อุท ธัง อัท โธ โดยมีตัวนะปถมังอยู่ตรงกลางระหว่างอักขระ จากนั้นท่านจึงทำการปลุกเสกอีกครั้งหนึ่ง จากนั้นจึงม้วนตะกรุดกระดาษสาบรรจุลงในหมากทุย พอเสร็จสรรพจึงอุดด้วยชันโรงใต้ดิน พร้อมกับว่าคาถาบรรจุด้วย

หมากทุย หลวงปู่เอี่ยมนั้นท่านทำให้ไว้เพื่อป้องกันตัว หมากทุยเด่นทางคงกระพันชาตรีและแคล้วคลาด ปัจจุบันนั้นหายากพอสมควร ของปลอมทำเลียนแบบก็มีมานานแล้ว การพิจารณาหมากทุยนั้น ต้องอาศัยความชำนาญมาก ต้องดูความเก่าของตัวหมากและชันโรงได้ หมากทุยของท่านนั้นบางชิ้นก็เป็นหมากเปลือยๆ ไม่ได้หุ้มอะไร บางชิ้นเจ้าของได้มาก็ถักเชือก เพื่อสะดวกในการห้อย และลงรักหรือลงยางไม้ ก็เพื่อให้เชือกมีความคงทนในการใช้ ถ้าหมากทุยที่มีการลงรักถักเชือกหรือยางไม้ก็ให้พิจารณา เชือก รัก หรือยางไม้ว่ามีอายุความเก่าพอหรือไม่ และต้องมีความรู้ความชำนาญพอสมควร วันนี้ก็นำรูปหมากทุยของหลวงปู่เอี่ยม วัดหนังมาให้ชมกันครับ ที่มง

 

 

 

 
โดย : keang    [Feedback +4 -1] [+0 -0]   [ 16 ] Mon 30, Jan 2017 15:48:12









 

ตะกรุดเก่าไม่รู้ทีชอบเป็นการสั่วนตัว

 
โดย : keang    [Feedback +4 -1] [+0 -0]   [ 17 ] Sun 3, Dec 2017 12:43:25









 

ไม้ครูลงรักเก่าไม่รู้ที่ 
ชอบเป็นการส่วนตัวครับ

 
โดย : keang    [Feedback +4 -1] [+0 -0]   [ 18 ] Sun 3, Dec 2017 12:46:31

 
ราหูกะลาแกะหลวงพ่อน้อย : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.