พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
โชว์พระเกจิอาจารย์ทั่วไป

ท้าวเวสสุวรรณ หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะองค์


ท้าวเวสสุวรรณ หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะองค์


ท้าวเวสสุวรรณ หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะองค์

   
 

ท้าวเวสสุวรรณ หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะองค์ จ.สมุทรสาคร (พระครูสุตาธิการี) ยุคต้น

 
     
โดย : เอก บางขุนเทียน   [Feedback +0 -0] [+0 -0]   Mon 5, Jan 2015 11:48:24
 








 

ประวัติหลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง สมุทรสาคร (2430 - 2526)

 

 
หลวงพ่อทองอยู่ (พระครูสุตาธิการี) วัดใหม่หนองพะอง จ.สมุทรสาคร 

หลวงพ่อทองอยู่ หรือ พระครูสุตาธิการี (ทองอยู่ ยโส) อายุ  ๙๖ ปี ๙ เดือน ๙ วัน   อดีตเจ้าอาวาส  องค์ที่ ๘  วัดใหม่หนองพระอง  จ.สมุทรสาคร  ท่านเป็นพระเถระ พระเกจิอาจารย์ยุคเก่าที่แก่กล้าด้วยอาคม มีความเชี่ยวชาญในด้านวิปัสสนาธุระ-คันถธุระ เขียนและอ่านภาษาขอมได้เป็นอย่างดี
    •    พ.ศ.2475    เป็นเจ้าอาวาสวัดหนองพะอง
    •    พ.ศ.2481    เป็นประทวนสมณศักดิ์ที่ พระครูทองอยู่
    •    พ.ศ.2501    เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นตรีที่  พระครูสุตาธิการี
    •    พ.ศ.2521    เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโทที่  พระครูสุตาธิการี
    •    พ.ศ.2522    เป็นพระอุปัชฌาย์
    •    
    •     ชาติภูมิของหลวงพ่อ
ชื่อ ทองอยู่ นามสกุล ชมปรารภ  ต่อมาเปลี่ยนเป็น สิงหเสนี  เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2430  ตรงกับวันแรม 1 ค่ำ ปีกุน เป็นบุตรคนที่ 3 ของ นายคำ และนางปั่น ชมปรารภ  มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 5 คน คือ


          1.  นายหุ่น   ชมปรารภ
          2.  นางจิบ   ชมปรารภ
          3.  พระครูสุตาธิการี (ทองอยู่)  ชมปรารภ (สิงหเสนี)
          4.  นางหน่าย   ชมปรารภ
          5.  นางรอด   ชมปรารภ
                   
          พระครูสุตาธิการีนั้นท่านเติบโตมากับวัดโดยสมัยที่ท่านยังเป็นเด็กได้มาช่วยสร้างอุโบสถของวัดหนองพะองด้วย และมาช่วยกิจการงานของวัดในเวลาว่างเสมอ ในวัยหนุ่มท่านเป็นคนโอบอ้อมอารีต่อเพื่อนฝูงมาก และมีนิสัยชอบความยุติธรรม ถ้าอะไรไม่ถูกต้องท่านจะต้องเข้าไปช่วยแก้ไขเสมอ จึงเป็นที่รักของเพื่อนฝูง ท่านสนใจวิชาการเล่นแร่แปรธาตุศึกษาจนสามารถนำแร่ปรอทมาหุงให้เป็นทองคำได้ และท่านได้เรียนรู้วิชาอาคมจากพระอาจารย์แห ปัญจสุวัณโณ ซึ่งเป็นเกจิอาจารย์ชื่อดังด้านวิทยาอาคมในสมัยนั้นด้วย
           
          เมื่ออายุครบกำหนดเข้ารับการคัดเลือกเป็นทหารเรือ ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระพุทธเจ้าหลวง ท่าน เข้ารับราชการเรื่อยมาจนถึงรัชกาลที่ 6  จึงลาออกจากราชการ มาประกอบอาชีพการทำนาอยู่ข้างวัดบึงพระยาสุเรนทร์ เขตมีนบุรี จังหวัดกรุงเทพฯ ท่านได้ช่วยพ่อแม่ประกอบอาชีพกสิกรรมและมีความกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ ด้วยการเลี้ยงดูท่านเป็นการสนองน้ำใจของพ่อแม่ หลวงพ่อได้ใช้ชีวิตการครองเรือนมีภรรยาคือ นางหนู ชมปรารถ มีบุตรธิดา 2 คน คือ นายย้อย ชมปรารถ และนางแย้ม  ชมปรารถ  จนกระทั่งเมื่อนางหนูเสียชีวิตจึงได้นางทองสุขเป็นภรรยามีบุตร 1 คน คือ นายหยด ชมปรารถ จนถึงอายุ 31 ปี หลวงพ่อท่านรู้รสชาติของการครองชีวิตคู่เป็นอย่างดี  ท่านจึงกราบลาพ่อแม่เพื่อที่จะเข้ารับการ บรรพชาอุปสมบท โดยมีขุนหนองแขมเขมกิจ เป็นผู้ดำเนินการจัดการอุปสมบทให้ ณ วัดใหม่หนองพะอง ตำบลหนองแขม อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดธนบุรี  ซึ่งตรงกับวันจันทร์ ขึ้น 7 ค่ำ เดือน 8 ตรงกับวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2461  โดยกราบนิมนต์ท่านพระครูสังวรศีลวัตร (หลวงพ่ออาจ) วัดดอนไก่ดี เป็นพระอุปัชฌาย์ กราบนิมนต์ท่านพระครูถาวรสมณศักดิ์ (หลวงพ่อคง) วัดหงอนไก่ มาเป็นพระกรรมวาจาจารย์ กราบนิมนต์พระอธิการ (หลวงพ่อแห) วัดใหม่หนองพะอง เป็นพระอนุสาวนาจารย์
               
สถานะเดิม ตามใบสุทธิ
 
          นามเดิม ทองอยู่ ชมปรารถ นามบิดา นายคำ สีเนื้อดำแดง สัณฐานสันทัด ตำหนิ แผลเป็นเนือข้อมือขวา อายุ 31 เกิดปีกุน วันที่ 7 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2430 ตำบลหนองแขม อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดธนบุรี บรรพชาอุปสมบท นามฉายา ยสภิกขุ  นามพระอุปัชฌาย์ พระครูสังวรศีลวัตร  นามพระกรรมวาจาจารย์ พระครูถาวรสมณศักดิ์  นามพระอนุสาวนาจารย์ พระแห ปัญจสุวัณโณ  เวลา 14.00 น.  ณ วัดใหม่หนองพะอง ตำบลหนองแขม อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดธนบุรี ได้ให้ไว้ ณ วันจันทร์ที่ 15 เดือน กรกฎาคม พ.ศ.2461 ลงนามพระครูสังวรศีลวัตร (ตำแหน่ง) เจ้าคณะแขวง

             นามพระทองอยู่ ฉายา ยสภิกขุ สำนักวัดใหม่หนองพะอง ตำบลหนองแขม อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดธนบุรี
                   

     วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ.2461
     (ลงนาม) พระครูสังวรศีลวัตร
     (ตำแหน่ง) เจ้าคณะแขวง
 
          เมื่อหลวงพ่อบวชเข้ามาแล้วได้ศึกษาหลักธรรมวินัยจนมีความรู้พอสมควร ครั้นพอพรรษาแรก จิตใจรู้สึกสงบ  และทราบซึ้งในรสพระธรรม  พอออกพรรษาแล้วท่านได้ขอลาพระอาจารย์แห  ออกธุดงค์เพื่อแสวงหาโมกขธรรม  ใน สมัยที่ท่านยังมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ท่านได้ธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพรกว่า ๓๐  ปี ไปในที่ทุรกันดารต่าง ๆ ที่ใดที่มีพระอาจารย์เก่งกล้าทางคาถาอาคม หรือ เก่งทางด้านปฏิบัติธรรม ก็จะไปฝากตัวเป็นศิษย์เพื่อขอศึกษาวิชาความรู้ต่าง ๆ
       
          ประวัติหลวงพ่อแห  ท่าน เป็นสหธรรมิกกับหลวงพ่อพร วัดหนองแขม ตำบลหนองแขม จังหวัดกรุงเทพฯ ท่านได้ศึกษาทดลองวิชาอาคมกับหลวงพ่อพร ที่วงการพระเครื่องรู้จักกันดีว่ามีวิทยาอาคมเพียงใด  หลวงพ่อท่านเป็นศิษย์ของหลวงพ่อแห  ก็ตั้งใจเจริญสมาธิภาวนากับหลวงพ่อแหเป็นประจำ จนเกิดความชำนาญในสมาธิภาวนาที่ท่านได้ทำเป็นประจำ
                
          พอออกพรรษาท่านก็ขอลาหลวงพ่อออกธุดงค์  คราวนี้ท่านได้ไปนมัสการพระธาตุพนม  การ เดินทางไปธุดงค์ในสมัยนั้นยากมากด้วยสิงห์สาราสัตว์ในป่าดงดิบนั้นมากมาย ครั้งหนึ่งในระหว่างทางท่านได้พบฝูงความยป่าเข้าโดยบังเอิญ  หลวงพ่อก็ใช้ปัญญาวิจารณญาณและสมาธิภาวนา ทำจิตให้สงบเจริญเมตตาภาวนาจนฝูงควายป่าที่วนเวียนเพ่นพ่านอยู่ล่าถอยหลบทาง ให้  ในคืนนั้นท่านได้ปักกลดพักในป่า รุ่งเช้าท่านจึงออกเดินทางต่อไป ในพรรษานี้หลวงพ่อกลับวัดไม่ทันก็จำพรรษาที่วัดในระหว่างทาง ท่านได้ศึกษาสมาธิภาวนากับพระอาจารย์ที่วัดนั้นด้วย เพื่อเป็นการเพิ่มเติมความรู้ให้แตกฉานยิ่งขึ้น พอออกพรรษาท่านจึงลาพระอาจารย์เพื่อเดินธุดงค์ต่อไป

                 ท่านออกเดินทางไปนมัสการพระแท่นศิลาอาสน์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ใน คืนวันหนึ่งท่านได้ปักกลดเรียบร้อยแล้วอยู่ในแนวป่าเมืองอุตรดิตถ์ ได้มีเสือลายพาดกลอนตัวขนาดใหญ่มากทีเดียว มันคำรามมาแต่ไกลและใกล้เข้ามาทุกที  พอเวลาดึกสงัดมันก็เข้ามาใกล้กลดที่พัก  ทีแรกหลวงพ่อก็สะดุ้งกลัวภัยอันเป็นธรรมดาของมนุษย์ แต่พอท่านตั้งสติได้ในวินาทีต่อมา หลวงพ่อได้เจริญเมตตาภาวนาและเพ่งกสิณจนเสือลายพาดกลอนตัวนั้นล่าถอยกลับ เข้าป่าดงดิบไป ในเวลาเช้าหลวงพ่อได้เข้าไปรับอาหารบิณฑบาตในเมืองลับแล  โดยการนิมาต์ของผู้หญิงคนหนึ่ง  ได้อาหารมาพอสมควรในการขบฉันแล้วหลวงพ่อก็เดินทางต่อไป  พอใกล้เข้าพรรษาหลวงพ่อก็เดินทางกลับมาจำพรรษาที่วัดใหม่หนองพะอง

          ในปีต่อมาหลวงพ่อได้เดินทางไปนมัสการพระแท่นดงรัง จังหวัดกาญจนบุรี และเลยไปในดงกะเหรี่ยง ท่านออกรับอาหารบิณฑบาตแต่ไม่มีใครใส่บาตรให้เลย พอถึงกลดได้มีชายคนหนึ่งนำอาหารมาถวาย เมื่อหลวงพ่อพิจารณาแล้วก็ห้ามมิให้พระที่ไปด้วยฉัน แล้วหลวงพ่อก็หยิบถุงย่ามข้างกายมา เอาน้ำมนต์พรมไปที่อาหารนั้น อาหารนั้นกลับกลายเป็นตะปูและเศษกระดูกคนทั้งนั้น แต่พอหันมาดูอีกทีชายคนนั้นก็หายไปแล้ว หลวงพ่อท่านออกธุดงค์เป็นประจำทุกปี กว่าหลวงพ่อจะกลับมาวัดก็ย่างเข้าฤดูฝนแล้ว  คาถาอาคมต่างๆ หลวงพ่อได้ศึกษาจากอาจารย์หมอพุ่ม และจากตำราของอาจารย์หมอพุ่มที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาคาถาอาคม และได้ศึกษาจากพระอาจารย์แห ปัญจสุวัณโณ
 การออกธุดงค์ของหลวงปู่ทุกครั้ง หลวงพ่อแหจะคอยควบคุมดูแลอยู่ที่วัดว่าหลวงพ่อไปอยู่ที่ไหน เมื่อมีญาติพี่น้องของพระที่ออกไปธุดงค์มาถาม ท่านก็จะตอบได้ว่าสบายดี ไม่มีอุปสรรคอันตรายอะไร
   
         การออกธุดงค์ท่านได้พบปะสนทนากับพระธุดงค์หลายรูปด้วยกัน ในจำนวนนั้นก็มีเทพเจ้าแห่งล้านนาไทย ครูบาศรีวิชัย  หลวงพ่อได้สนทนาธรรมกันเป็นที่ถูกอัธยาศัยของกันและกัน เมื่อเวลาที่หลวงพ่อออกธุดงค์ไปทางเหนือท่านจะแวะไปพักสนทนาธรรมศึกษาวิชา ความรู้ของกันและกันเสมอมาเป็นที่รู้ใจกันในวิชาความรู้ในวิชาสมถภาวนาและ วัปัสสนาภาวนา ซึ่งท่านครูบาศรีวิชัย ได้เคยชักชวน ลพ.ทองอยู่ ให้อยู่กับท่านด้วยกัน แต่ ลพ.ทองอยู่ ยังติดภาระที่ต้องดูแลทางวัดอยู่จึงเดินทางกลับมา ซึ่งครูบาศรีวิชัย ท่านจะถวายปัจจัยสำหรับค่าเดินทางกลับให้อยู่เสมอมิได้ขาด   มีอยู่ครั้ง หนึ่ง ลพ.ทองอยู่ได้กราบเรียนถามพระครูบาเจ้าฯว่า ปฏิบัติอย่างไรจึงมีเมตตามีบารมีและมีคนนับถือมากมายขนาดนี้  ซึ่งพระครูบาเจ้าศรีวิไชยก็ได้ตอบแก่ ลพ.ทองอยู่ อย่างเมตตาว่า
              
                            " พุทโธ ธัมโม สังโฆ นี้แหละ ที่เฮาภาวนาเสมอ มิได้ขาด ”
 
          และ ลพ.ทองอยู่ ได้เคยกล่าวถึงท่านครูบาเจ้าศรีวิชัย ให้ลูกศิษย์ใกล้ชิดฟังว่า  ”ครูบาเจ้าศรีวิชัยนี้ ท่านมีญาณสูงมาก"  ด้วยเหตุนี้แหละ จึงมีผู้ตั้งอธิกรณ์ฟ้องท่านว่าเป็นผีบุญ เพราะไปไหนก็มีคนติดตามไปเป็นจำนวนมาก บางครั้งก็เดินไปเหนือยอดหญ้า ฝนตกจีวรก็ไม่เปียกทั้งๆที่เดินฝ่าฝนไป  แต่สุดท้าย ผู้ที่กล่าวหาท่าน ก็ถูกบาปกรรมตามสนองอย่างน่าสยดสยองที่สุด
                                      
          หลวงพ่อทองอยู่ ท่านได้ขอเรียนวิชาเพิ่มเติมจาก หลวงปู่ทอง วัดราชโยธา ท่านเป็นยอดพระเกจิที่เก่งมาก ๆ ในสมัยก่อน หลวงปู่ทอง วัดราชโยธานี้ ท่าน เป็นศิษย์รุ่นน้องของ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ซึ่งมีอาจารย์ร่วมสำนักเดียวกัน คือ หลวงปู่แสง วัดมณีชลขันธ์ จ.ลพบุรี (ศิษย์ร่วมสำนักเดียวกันอีกท่าน คือ หลวงปู่แก้ว วัดเครือวัลย์) ซึ่งในสมัยนั้นยังมีพระเกจิอาจารย์อีกหลายท่านที่มาขอเรียนวิชาเพิ่มเติมจาก หลวงปู่ทอง เช่น หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก อยุธยา, หลวงปู่คง วัดบางกะพ้อม สมุทรสงคราม, หลวงปู่จาด วัดบางกะเบา ปราจีนบุรี, หลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ, หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขันธ์ นครศรีธรรมราช, หลวงปู่เหลือ วัดสาวชะโงก ฉะเชิงเทรา, หลวงพ่ออี๋ สัตหีบ ชลบุรี และ หลวงปู่เผือก วัดกิ่งแก้ว จ.สมุทรปราการ จะเห็นว่า ลูกศิษย์ของหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา ที่เอ่ยนามมานี้ ล้วนเก่งกล้าวิทยาคม วัตถุมงคลของท่านเป็นที่นิยมของสะสมพระเครื่องทั้งหลาย ดังนั้น หลวงพ่อทองอยู่ ซึ่งเป็นศิษย์รุ่นน้อง หรือ รุ่นสุดท้ายของหลวงปู่ทอง วัดราชโยธา จึงไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน

          ท่านเป็นสหธรรมิก กับ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ โดย เรียนวิชายันต์ตรีนิสิงเห มาจาก หลวงพ่อรุ่ง วัดท่ากระบือ สมุทรสาคร มาด้วยกัน งานไหนมีปลุกเสกเครื่องรางของขลัง หรือ วัตถุมงคล ที่นั่นจะมี หลวงปู่โต๊ะกับ หลวงพ่อทองอยู่ ด้วยเสมอ

          วิชาที่สุดยอดของท่านอีกอย่างคือ ลงกระหม่อมด้วยน้ำมันจันทร์หอม ใครได้ลงครบสามครั้ง รับรองได้ว่า ไม่มีตายโหง และไม่อดไม่อยาก เป็นที่รักใคร่ของคนโดยทั่วไป  ท่านเจริญเมตตา จนมีฝูงปลาสวายมาอยู่หน้าวัดเต็มไปหมดเลย
                     
         ท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ ๑ ใน ๔ องค์ ที่หลวงปู่โต๊ะนิมนต์มาในงานครบรอบวันเกิดของท่านทุกปี อีกสามองค์ที่เหลือ องค์แรก คือ หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง  กรุงทพฯ องค์ที่สอง หลวงพ่อฮะ วัดดอนไก่ดี สุพรรณบุรี องค์ที่สามเป็น พระจีน (ไม่ทราบชื่อ) สำหรับงานวันเกิดหลวงปู่โต๊ะนั้น จะนิมนต์หลวงปู่หลวงพ่อทั้ง ๔ องค์นี้เป็นประจำ มานั่งสี่มุม  ส่วนหลวงปู่โต๊ะท่านจะนั่งที่หน้าพระประธานเป็นองค์ที่ห้า  ซึ่งหลวงปู่โต๊ะท่านยังสั่งลูกศิษย์ลูกหาของท่านว่าหลวงพ่อทองอยู่นั้น สามารถเป็นที่พึ่งพิงของลูกศิษย์ได้อีกรูปหนึ่งให้ไปกราบนัสการ หลวงพ่อทองอยู่ท่านก็เมตตาอนุเคราะห์แก่บรรดาลูกศิษย์ที่มาหาท่านเสมอกันทุก คนไม่เลือกว่ายากดีมีจน ธรรมะที่ท่านจะบอกกับลูกศิษย์เป็นประจำก็คือ
            
  “ จะทำอะไรก็แล้วแต่มันสำคัญที่ใจ ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นหัวหน้า ใจเป็นประธาน ถ้ามีจิตใจแน่วแน่แล้วล่ะก็ผลสำเร็จนั้นย่อมเป็นที่หวังพึ่งพิงได้เสมอ ทำใจให้ดีตั้งใจให้ดีแล้วผลสำเร็จจะมีมาเอง”

หลวงพ่อท่านยังห่วงใยในวัดวาอาราม ท่านจะบอกอยู่เสมอว่าในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่นั้นการเงินทองนั้นหาง่าย ให้ขยันทำงานต่างๆ นั้นให้มาก ถ้าท่านมรณภาพไปแล้วการเงินจะฝืดเคืองกว่าตอนสมัยของท่านให้เร่งพัฒนาวัด ช่วยกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้วัฒนาถาวรต่อไป ด้วยการประพฤติปฏิบัติของพระเณรที่บวชเข้ามาแล้ว ถ้าประพฤติดีตามพระธรามวินัย ก็จะทำให้พระพุทธศาสนาอยู่ได้ตลอดไป

คำสั่งเสียของหลวงปู่โต๊ะ ก่อนมรณภาพ
                    
          ในการสร้างพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ พุทโธ ของวัดประดู่ฉิมพลี ในขณะที่หลวงปู่โต๊ะชราภาพมากแล้ว ท่านปรารภกับลูกศิษย์ว่า
  
 "หากหมดบุญฉันแล้วให้ไปหาหลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพระองค์ ท่านแทนฉันได้"
     
และท่านยังสั่งลูกศิษย์ใกล้ชิดไว้ว่า หากท่านอยู่ปลุกเสกรุ่นนี้ไม่ทัน ให้นำไปให้หลวงพ่อทองอยู่ปลุกเสกแทน พระ กริ่ง พระชัยวัฒน์ พุทโธ รุ่นนี้ จึงเป็นสุดท้ายของหลวงปู่โต๊ะ ซึ่งทางวัดประดู่ฉิมพลี ได้ประกอบพิธีเททองหล่อภายในวัด เมื่อวันที่ ๑๕ ก.พ. ๒๕๒๔ โดยหลวงปู่เป็นประธานในพิธี และมีเกจิอาจารย์อีก ๙ ท่าน ร่วมนั่งปรกในขณะเททอง
 
          ขณะที่พระกริ่งพระชัยวัฒน์ พุทโธ กำลังอยู่ในระหว่างตกแต่ง หลวงปู่โต๊ะก็ได้มรณภาพเสียก่อน ในวันที่ ๕ มี.ค ๒๕๒๔ (แสดงให้เห็นถึงอนาคตังสญาณของหลวงปู่โต๊ะ ที่รู้ล่วงหน้าว่าจะมรณภาพในปีนั้น) เมื่อตกแต่งเสร็จเรียบร้อยแล้ว หลวงพ่อทองอยู่ ได้ปลุกเสกเดี่ยวให้ก่อน ๑ ครั้ง และ ต่อมา เมื่อทางวัดได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกครั้งใหญ่ พร้อมกับ รูปหล่อขนาดเท่าองค์จริงหลวงปู่โต๊ะ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเททองหล่อขึ้น ทางวัดได้นำ พระกริ่ง พระชัยวัฒน์ "พุทโธ" เข้าร่วมในพิธี โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร เป็นประธาน และ หลวงพ่อทองอยู่นั่งปรกปลุกเสกด้วย จำนวนสร้างพระกริ่ง ๑,๕๐๐ องค์ พระชัยวัฒน์ ๓,๐๐๐ องค์ ทั้ง ๒ พิมพ์ ตอกโค้ด "ต" สำหรับพระชัยวัฒน์นั้นใต้ฐานอุดด้วยเทียนชัย และเส้นเกศาของหลวงปู่โต๊ะไว้ด้วย  
                        
สองเกจิร่วมสมัย ร่วมกันโปรดวิญญาณในคลองภาษีเจริญ
 
           เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อประมาณปี ๒๕๐๐ กว่า ๆ เป็นเหตุการณ์ที่พระอริยะเจ้าสองรูป ได้โปรดวิญญาณ ที่ต้องทนทุกข์ทรมาน อยู่ในคลองภาษีเจริญ บริเวณประตูน้ำหน้าวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ พระอริยะเจ้าสองรูปนั้น องค์แรกท่าน คือ หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี องค์ที่สอง คือ หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง เหตุการณ์ นี้สืบเนื่องจาก บริเวณหน้าวัดปากน้ำภาษีเจริญในขณะนั้น มีคนตกน้ำตายเป็นประจำ ชาวบ้านต้องตกอยู่ในความกลัวตลอด มีลูกศิษย์ไปเล่าเรื่องให้หลวงปู่ทั้งสองท่านฟัง ท่านจึงได้เดินทางมาโปรดวิญญาณทั้งหลาย ที่ต้องทนทุกข์อยู่ในน้ำนั้น โดยมี หลวงพ่อทองอยู่ เดินโปรยข้าวตรอกดอกไม้ และ หลวงปู่โต๊ะนั่งสมาธิอยู่ที่ริมคลองบริเวณประตูน้ำ   ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนั้น ผู้สูงอายุในขณะนี้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้น ต่างทราบเหตุการณ์นี้ดี

จะยกตัวอย่างพลังจิตของหลวงพ่อทองอยู่เรื่องหนึ่ง ในมูลเหตุที่ท่านได้รับฉายาจากศิษยานุศิษย์ทั้งหลายว่า หลวงพ่อทองอยู่ ดับดาวเดือน
     
          มีเรื่องบอกเล่าโดยพระที่เคยบวชอยู่ที่วัดหนองพะองว่า เมื่อ ว่างเว้นจากภารกิจหน้าที่การงานก่อสร้างและการทำวัตรเรียบร้อยแล้ว ท่านก็ไปชุมนุมกันอยู่หน้ากุฏิหลวงพ่อในเวลากลางคืน  หลวงพ่อท่านจึงถามว่า จะไปไหนกัน มากันพร้อมเพรียงเชียว พระที่มาทั้งหมดก็ไม่พูดว่าอะไร เพราะไม่รู้ว่าจะตอบอย่างไร  หลวงพ่อท่านจึงเรียกพระทั้งหมดให้ออกมาข้างนอกชานกุฏิของท่าน เมื่อออกมาแล้วหลวงพ่อก็บอกให้ดูดาวประจำเมืองที่มีแสงสุกใสอยู่บนท้องห้า นั้นไว้ให้ดี พระทั้งหลายในที่นั้นก็จ้องมองไปที่ดาวดวงนั้น หลวง พ่อท่านก็เริ่มบริกรรมภาวนาโดยเอาผ้าอาบน้ำฝนที่ท่านนำติดตัวมาด้วยพันกัน และขมวดให้แน่นๆ สักพักหนึ่งดาวดวงนั้นก็ค่อยๆ หรี่แสงลงไปจนกับดับหายไปจากท้องฟ้าเลยทีเดียว แล้วหลวงพ่อก็ค่อยๆ คลายผ้าอาบน้ำฝนนั้น ดาวประจำเมืองก็ค่อยๆ เพิ่มแสงมากขึ้นเรื่อยๆ จนมีแสงนวลใสตามปกติของดวงดาว การดับดาวนี้หลวงพ่อท่านทำให้ดูหลายครั้งด้วยกันในเวลาที่ท่านเห็นว่าสมควร หรือตามวาระโอกาสที่พอจะอำนวยให้  ซึ่งบางครั้งที่ท่านเคยแสดงให้ลูกศิษย์ใกล้ชิดดู โดยถามว่า เธอต้องการให้ดับดาวดวงไหน ให้ลองชี้มาแล้ว ท่านจะดับให้ดู ครั้นพอลูกศิษย์บอกว่าต้องการดูดวงไหนดับแล้ว ท่านจะบริกรรมคาถาสักครู่ แล้วชี้ไปที่ดาวดวงนั้น ซึ่งแสงดาวก็จะหายวับดับไปในทันที ราวกับปาฏิหารย์ แสดงว่า พลังจิตของท่านสูงส่งมากทีเดียว สามารถเพ่งกระแสจิต แล้วชี้ไปที่ดวงดาว จนแสงดาวที่กระพริบอยู่นั้น ดับวูบลงไปทันที
                          
          เมื่อครั้งที่เริ่มทำถนนสายวัดใหม่หนองพะองไปต่อเชื่อมกับถนนสายเลียบคลองภาษีเจริญ ฝั่งทิศเหนือ เริ่ม ทำตั้งแต่เป็นถนนดินแล้วมาเป็นถนนลูกรัง โดยผู้ใหญ่บ้าน กำนัน และหลวงพ่อได้ติดต่อขอลูกรังมาทำถนนโดยว่าจ้างรถบรรทุกสิบล้อมาถมทำถนน เมื่อทำการบรรทุกมาได้ประมาณครึ่งหนึ่งของระยะทาง รถบรรทุกลูกรังวิ่งมาบนสะพานไม้ ได้เกิดการทรุดตัวของไม้สะพาน ทำให้ล้อรถตกลงไปในช่องสะพานไม้ ไม่สามารถจะนำรถขึ้นไปพ้นจากหลุมไม้สะพานนั้นได้ แม้ว่าจะเอารถมาฉุดลากดึงขึ้นมา ก็ไม่ได้ เถ้าแก่รถจึงมาแจ้งให้หลวงพ่อทราบว่ารถติดอยู่บนสะพานข้ามไปไม่ได้เอารถมา ลากก็ไม่ขึ้น  หลวงพ่อจึงบอกให้ช่วยกันเข็นขึ้นสิ เถ้าแก่บอกว่าไม่ขึ้นหรอกเสียแรงเปล่าๆ หลวงพ่อบอกให้ไปช่วยกันเข็นแล้วจะขึ้นมาเองแหละ เถ้าแก่ก็บอกว่า ถ้าเข็นขึ้นมาได้จะเอาลูกรังมาถมถนนให้เสร็จเลยทีเดียว หลวงพ่อจึงครองผ้าแล้วเดินไปที่รถบอกคนขับให้เตรียมติดเครื่องแล้วก็เอามือ แตะที่ตัวถังรถ สักประเดี๋ยวก็บอกให้คนขับเดินหน้าแล้วเร่งเครื่องไปเลยนะ พอเร่งเครื่องสักประเดี๋ยวเดียวก็สามารถเดินหน้ารถขึ้นจากสะพานนั้นได้ เถ้าและคนขับก็สงสัยว่ามันขึ้นมาได้อย่างไรทั้งที่ก่อนหน้านั้นเอารถมาดึง ยังไม่ขึ้นมาเลย แล้วคนเข็นเพียงไม่กี่คนก็สามารถขึ้นมาได้ เถ้าแก่คนนั้นจึงมาทำถนลูกรังจนเสร็จเรียบร้อย และมากราบนมัสการหลวงพ่อเสมอมา   
  
           วัตถุมงคลที่สร้างในสมัยที่หลวงพ่อทองอยู่ ยังมีชีวิตอยู่ เมื่อเทียบกับพระเกจิอาจารย์อื่น ๆ ที่ร่วมสมัยเดียวกัน อย่างเช่น หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี , หลวงปู่สุด วัดกาหลง, หลวงปู่ธูป วัดแคนางเลิ้ง, หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู ฯลฯ แล้ว ถือว่า น้อยมาก และมีเพียงไม่กี่แบบ เท่า ที่ทราบมี เหรียญรุ่นแรก สร้างปี พ.ศ. ๒๕๐๙ จากนั้นก็มีเหรียญรุ่นต่าง ๆ อีกเพียงไม่กี่รุ่น, พระกริ่งสุตาธิการี, พระกริ่งตั๊กแตน ฯลฯ เนื่องจากท่านเป็นศิษย์สายวัดสุทัศน์ เคยอยู่วัดสุทัศน์มาก่อน พระกริ่งของท่านจึงได้รับความนิยมอย่างมาก ใช้แทนพระกริ่งวัดสุทัศน์ได้เลย นอกนั้นก็เป็นพวก พระปิดตา, ล็อกเก็ต, ภาพถ่าย, ท้าวเวสสุวัณ (ขนาดบูชา) เป็นต้น
  
          พระเครื่องที่ ได้รับความนิยมสูงสุด ท่านสร้างมาก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๐ คือ พระสมเด็จ มีพระสมเด็จเนื้อผงขาว และ พระสมเด็จเนื้อผงใบลาน (สีดำ) มีหลาย พิมพ์ แต่ที่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย และถือเป็นเอกลักษณ์ของท่านก็เห็นจะเป็น “สมเด็จหลังยันต์” และ“สมเด็จหลังเสือเผ่น” ซึ่งสร้างมา ๒ – ๓ รุ่น หลายรูปแบบ (เสือเล็ก & เสือใหญ่) หลายพิมพ์ ปัจจุบันเป็นที่เสาะแสวงหาของนักนิยมสะสมพระเครื่องอย่างกว้างขวาง

          พระสมเด็จเนื้อผงของท่าน ท่านสร้างจากผงวิเศษที่ท่านเก็บสะสมไว้ และทำไว้ด้วยตัวของท่านเอง ท่าน มีความสามารถลบผงวิเศษทั้ง ๕ ประการ คือ ผงปถมัง ผงอิทธิเจ ผงมหาราช ผงพุทธคุณ และผงตรีนิสิงเห ตามตำรับเดียวกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ได้อย่างเข้มขลัง โดยผสมน้ำมันจันทร์หอม ลงไปในเนื้อพระดังกล่าวด้วย ทำให้พระสมเด็จของท่านนั้น มีพุทธคุณโดดเด่นไปด้วยเมตตามหานิยม อุดมลาภผล แคล้วคลาด และคงกระพันชาตรี เรียกว่าสมเด็จทุกรุ่นของท่านนั้น มีมวลสารสุดยอดจริง ๆ มีทั้งผงสมเด็จเก่า ๆ ที่หลวงพ่อได้รวบรวมไว้ เช่น ผงแตกหักของพระวัดระฆัง ผงแตกหักของพระกรุวัดบางขุนพรหม ซึ่ง แต่ก่อนนั้นหาได้ไม่ยากนัก และที่สำคัญ คือ ผงของวัดพระยาบึงสุเรนทร์ (หลวงปู่ทองเป็นประธานการปลุกเสก) ดังนั้น ในแต่ละรุ่นจึงสร้างได้น้อย และมีไม่มากนัก เพราะท่านพิถีพิถันในการสร้างพระสมเด็จเป็นอย่างมาก ไม่ให้เสียชื่อสำนัก และครูบาอาจารย์ก็ว่าได้

 

 
โดย : เอก บางขุนเทียน    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 1 ] Mon 5, Jan 2015 11:53:52

 

ธุดงค์กลับสมุทรสาครแล้วครับ...ขอบคุณมากครับ

 
โดย : เอก บางขุนเทียน    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 2 ] Tue 6, Jan 2015 15:22:20

 
ท้าวเวสสุวรรณ หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะองค์ : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.