พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
โชว์พระกรุทั่วไป

มีประโยชน์ครับ

   
 

คุยกับจารย์โชคแล้วจารย์บอก "คุณวันชัย เปิดกระทู้ที่มีประโยชน์หน่อยซี" สงสัยแบบนี้มัง ไม่ใช่จารย์นี่ผมไม่ยอมทนหลังขดหลังแข็งพิมพ์นะเนี่ย

 

 

 
     
โดย : วันชัย   [Feedback +0 -0] [+0 -0]   Wed 15, Oct 2008 19:35:15
 








 

หลวงพ่อจุก  ลพบุรี

 

 

            ในบรรดาตระกูลพระเนื้อดินของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ  จังหวัดลพบุรีแล้ว  เห็นจะไม่มีพระพิมพ์อื่น ๆ  ดังเท่ากับพระหลวงพ่อจุก  เป็นแน่  เพราะความดังของท่านนั้น  คู่เคียงกันมากับพระหูยานอันได้จากบริเวณเดียวกัน  มีนักเล่นและนักบูชาส่วนมากมีความเชื่อถือศรัทธาเป็นจำนวนไม่น้อย  ยิ่งชาวลพบุรีด้วยแล้วมีความหวงแหนเหลือเกิน  เท่า ๆ  กับพระหูยานทีเดียว  บริเวณที่ได้พระหลวงพ่อจุกนั้นคือได้จากเจดีย์รายมีฐานเกือบจะจมดิน  (พังทลาย)  ใกล้กับเจดีย์พูมะเฟือง  (รูปฟัก)  ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกมุมสุดของวัดมีระยะห่างกันกับเจดีย์พูมะเฟืองไม่เกิน  10  เมตร  ทางทิศใต้  อยู่แนวเดียวกัน

 

            มีนักเผชิญโชคได้ทำการขุดค้นสมบัติโบราณหลายพวก  หลายกลุ่ม  หลายหมู่เหล่า  ได้เข้าไปทำการขุด  ซึ่งแต่ละคนทีผมนำมากล่าวนั้น  ล้วนเป็นนักขุดชั้นบรมครูทั้งสิ้น  มีอาทิเช่น  ลุงทา , ลุงขาว , หมอช้อย  , ลุงยา  (นกเขา) , ลุงยูร  (สามล้อ)  , ลุงแก้ว , ลุงแสวง ล ลุงชาญ , ลุงไสว , ยายเกลี้ยงและนายสี  (สามล้อ)

 

            แต่ละท่านที่กล่าวนามมานี้ล้วนแต่เป็นผู้ที่มีประสบการณ์ได้พบได้เห็นพระเครื่องและพระบูชาจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุและทุกคนที่กล่าวมานามนี้  โดยมากจะเสียชีวิตไปบ้างแล้ว  ส่วนที่เหลือมีประมาณ  3  คนที่ยังมีชีวิตอยู่

 

            พระหลวงพ่อจุก  นี้มีด้วยกันอยู่หลายแห่ง  มีตำแหน่งและจุดสังเกตไม่เหมือนกันอย่างเช่น  ที่วัดบันไดหิน  และที่วัดศรีสุทธาวาส  (วัดกบชัย)  ก็มีลักษณะคล้ายกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ  แต่ความหนาบางขององค์พระและเนื้อดินอาจจะผิดกันได้เพราะมีทั้งเนื้อหยาบและเนื้อละเอียดมีหลายสี

 

            พิมพ์ทรงนั้นเหมือนกัน  แต่การตัดฐานอาจผิดกันบ้าง  การสร้างนั้นผู้สร้างมีเจตนาในแนวเดียวกันทั้งสิ้น  สำหรับองค์พระนั้นมีทั้งพิมพ์ใหญ่และพิมพ์เล็ก

 

            พระของวัดบันไดหินโดยมากไม่มีฐานเหมือนกับวัดอื่น  สำหรับพระของวัดศรีสุทธาวาสนั้นโดยมากจะบาง  และด้านหลังจะมีรอยกากบาท  และรอยเขียนเป็นภาษามอญโบราณคล้ายกับตัว    (ก)  อยู่ด้านหลังเกือบทุกองค์  มีฐานเท่ากับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ

 

            สาเหตุหนึ่งที่เหมือนกับพระของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุนั้น  มีผู้รู้กล่าวว่า  พระหลวงพ่อจุกนี้ได้ขุดได้ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุได้เป็นกระสอบ ๆ  และมีคนนำไปไว้ยังวัดศรีสุทธาวาส  คัดเลือกเอาองค์ที่มีอักษรมอญและกากบาทไขว้  ไปไว้ยังโคนต้นจันทน์บ้าง  โคนต้นโพธิ์บ้างและบรรจุไว้ในเจดีย์องค์เดิมที่ขุดไว้บ้าง

 

            สมัยก่อนนี้พระยังไม่มีราคาค่างวดเหมือนปัจจุบัน  ให้กันใช้ได้  ขอกันได้และโดยมากจะเป็นของจริง  (ไม่ปลอม)  เป็นส่วนใหญ่  ต่อมาภายหลังพระดังกล่าวหายากขึ้น  จึงมีคนคิดทำเลียนแบบและปลอมกัน  จนกระทั่งไม่มีใครแทบจะอยากได้

 

            พระหลวงพ่อจุกมีทั้งเนื้อดิน  ชิน  และเนื้อชินปนตะกั่ว  พระเนื้อชินนั้นปรากฏว่ามีน้อยมากสำหรับพระหลวงพ่อจุกของจังหวัดพระนครศรีอยุธยานั้นปรากฏว่ามีแต่เนื้อชิน ผู้เขียนเคยพบที่บ้านอาจารย์ชด  และทั่ว ๆ  ไปอีกหลายองค์  สนิมและคราบกรุเหมือนกับคราบกรุของวัดราชบูรณะทั้งหมดแต่มีพิมพ์ทรงและลักษณะทั่วไปขององค์พระเท่ากับพระหลวงพ่อจุกเนื้อชิน  วัดพระศรีรัตนมหาธาตุลพบุรีทั้งนั้น  แต่คราบกรุและผิวกรุไม่เหมือนกัน

 

            ของลพบุรีมีผิวกรุดำกว่าของอยุธยา  เพราะเหตุว่าของลพบุรีขึ้นก่อน  หมายถึง  ขุดกรุได้ก่อนถูกใช้ก่อน  ความเค็มของเหงื่อคนเราถูกกับองค์พระทำให้องค์พระและผิวของชินสึก  และทำให้เกิดความดำขึ้นตามธรรมชาติ

 

            พระหลวงพ่อจุกของอยุธยานั้น  มีเนื้อชินบางกว่าของลพบุรี  ของลพบุรีเนื้อชินหนา  ความคมชัดหรือความชัดเจนของพิมพ์สู้ของลพบุรีได้

 

            พระหลวงพ่อจุกเนื้อชินเงินเป็นพระที่หายาก  เดี๋ยวนี้แทบจะไม่ได้พบเลย  และหายากเสียด้วย

 

 
โดย : วันชัย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 1 ] Wed 15, Oct 2008 19:36:58









 

พระหลวงพ่อจุกเนื้อชินเงินที่ลพบุรี  ผู้เขียนเห็นว่าพระของคุณน้าพยงค์  คนรถไฟเสียมีสวยงามยิ่งองค์หนึ่ง  เท่าที่ผู้เขียนเคยพบมา  ยังไม่เคยพบว่าของใครจะงามกว่า  ขณะนี้คุณพยงค์ได้เสียชีวิตไปแล้วก็คงจะตกกับทายาทต่อไป

 

            พระหลวงพ่อจุกของวัดบันไดหินนั้น  คนชื่อศรีเป็นผู้ขุดได้จากเจดีย์องค์หนึ่ง  ยอดเจดีย์หักพังทลายลงทางทิศใต้  ส่วนฐานเจดีย์ยังคงอยู่ใกล้ชิดกับโบสถ์นั่นเอง

 

            คนขุดมีความพยายามมีความอดทนและมีความมานะเป็นเยี่ยม  โดยเขาใช้ซากุไรขุดโดยซ่อนตัวให้เข้ากับภูมิประเทศ  เพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่รู้  เขาใช้ซากุไรแทงในดิน  เพื่อไม้ให้เกิดเสียงดัง  ทีละน้อยๆ  จนกระทั่งพบพระหลวงพ่อจุกจำนวนหนึ่ง

 

            เมื่อได้พระแล้วก็นำไปจำหน่ายให้กับร้านค้าของเก่าร้านหนึ่ง  และจำหน่ายให้กับนักเล่นบ้างเจ้าของร้านค้าผู้นั้นได้นำไปถอดพิมพ์ยางที่เชียงใหม่  ชาวเชียงใหม่ที่เป็นช่าง  ก็นำมาให้นักนิยมชมชอบได้เช่าหาไว้บูชากันบ้าง  ประกวดกันบ้าง  ติดรางวัลก็หลายราย

 

            คนที่เช่าแพงที่สุดก็คนอยุธยา  เพราะคนอยุธยาชอบพระหลวงพ่อจุกเป็นชีวิตจิตใจเท่ากับคนลพบุรี  ใครมีพระหลวงพ่อจุกเขาจะหวงสุดใจทีเดียว  หวงไม่หวงเปล่าราคาก็แสนแพงองค์ละครึ่งหมื่นค่อนหมื่นทีเดียว  แต่ถ้าองค์งาม ๆ  ก็แพงมากขึ้นไปอีก

 

            พระหลวงพ่อจุก  เป็นพระที่มีความงามพอสมควร  แต่รู้สึกว่าองค์พระจะโตไปหน่อยเหมาะแก่คนที่มีร่างกายใหญ่โตล่ำสันจะคล้อง ห้อยคอไว้เพื่อปกป้องคุ้มครองชีวิต

 

            พระหลวงพ่อจุกเป็นพระที่มีพุทธคุณล้ำเลิศเชื่อถือได้  นักเลงสมัยก่อนให้ความไว้วางใจมาตลอดเพราะมีความศรัทธาในเรื่องพุทธคุณ  และเรื่องประสบการณ์ทุกด้านดีเด่นตลอดมา  นักนิยมและนักสะสมทุกคนจะต้องมีหาพระหลวงพ่อจุกไว้ประจำรังพระเสมอ

 

            สีของหลวงพ่อจุก  มีหลายสีด้วยกัน  อาทิเช่น  สีพิกุลแห้ง  มีคราบกรุ  คล้ายช้างเผือกตกกระ)  สีแดง  มีคราบกระ  สีเขียว  สีดำ  สีหม้อใหม่  โดยมากจะมีคราบกระแทบทั้งนั้น  และคราบกระนี้ไม่ใช่คราบที่ทำด้วยหมึกอินเดียอิ้งค์ คราบของจริงจะล้างไม่ใคร่ออก  ถ้าเป็นคราบอินเดียอิ้งค์จะล้างออกง่ายมาก

 

            การขุดกรุได้นั้นเมื่อประมาณ  70  ปีล่วงมาแล้ว  เนื้อพระหลวงพ่อจุก  โดยมากจะเป็นเนื้อละเอียดที่สุด  สวยงามเป็นเงา  เมื่อถูกเหงื่อจะมีความชุ่มหนึกนุ่ม

 

            ถ้าพระองค์ใดไม่เคยใช้เลย   จะมีความแห้งสนิท  ผิวพรรณวรรณะจะบ่งบอกถึงความเก่าในตัว

 

            สำหรับพระหลวงพ่อจุก  ที่ทำปลอม   (โดยคนลพบุรีนั้น)  จะสวยงามเกินความจริง  ขอให้นึกตระหนักเถิดว่า  นั่นคือของปลอมแน่ ๆ

 

            ของกรุนั้นโดยมากจะมีความงามและความคมพอประมาณ  สู้ของปลอมไม่ได้  เพราะเหตุอะไรก็เพราะว่า  คนที่ทำปลอมเขากดพิมพ์แล้ว  เขาเห็นว่าพิมพ์ออกไม่ชัด  เขาก็เลยแต่งพิมพ์เสียใหม่ให้ชัด  ให้สวยงามเกินกว่าของจริงเสียเลย

 

            อีกประการหนึ่ง  นักนิยมเช่าพะโดยมากปัจจุบันนี้  ชอบของสวย  เขาก็ต้องทำให้สมจริง  ผลลัพธ์คนที่สวยก็ต้องได้ของปลอม

 

            บางคนนำไปเป็นของขวัญให้กับผู้หลักผู้ใหญ่หลายท่านห้อยคอกันเกร่อ  เพราะผู้รับไม่รู้ก็ต้องทนหนักเอาหน่อย  บางครั้งผู้เขียนเห็นแล้วอดสงสารไม่ได้  คนที่โดนของอย่างว่านี้มีถึงขั้นนายพล , นายพัน , นายร้อย , จ่า  , หมู่ , อธิบดี , หัวหน้ากอง  ฯลฯ

 

            อาสนะหรือฐานของพระหลวงพ่อจุกนั้น  จะเป็นฐานขีดธรรมดาเป็นชั้น ๆ  แต่มีลวดลายพิเศษคือมีบังที่เลือนมากแทบมองไม่เห็นชัดเหมือนกับพระหูยาน  (บัวคว่ำ บัวหงาย)  นั่งสมาธิคล้ายเข้าฌาน  หลับพระเนตร  พระพักตร์คว่ำต่ำ  (มองต่ำ)  อิริยาบถเคร่งขรึม  ริมฝีพระโอษฐ์องค์ที่ชัด ๆ  จะแลดูคล้ายอมยิ้ม  เพราะปากจะกว้างงอนขึ้น  จึงดูแลคล้ายกับยิ้ม

 

            สำหรับเส้นพระเกศนั้นจะเป็นรอยควั้นได้ระยะเรียงชิดติดกันพระเกศมาลาคล้ายจุก  (ผมจุกเด็ก)  ด้วยเหตุนี้เองนักเลงพระหรือนักนิยมพระรุ่นเก่าจึงตั้งสมญานามว่า  หลวงพ่อจุก  ก็ได้

 

            ความจริงการตั้งชื่อพระนั้น  โดยมากถือเอาว่าลักษณะของพระเป็นส่วนใหญ่  หรือถือเอาที่ได้ที่กรุแตก  มาตั้งชื่อโดยมาก  สถานที่ที่ได้พระ  เช่น  พระร่วงกรุช่างกล  เป็นต้น  เราถือเอาสถานที่ที่ได้มาเป็นชื่อเรียก  แต่ความจริงนั้นคงสร้างเขามีเจตนาเรียกของเขาอย่างไรเราไม่รู้  สิ่งนี้เราเรียกกันเอง  ตั้งชื่อกันเอง  จนเกิดความเคยชินและเป็นนิสัย  และคนรุ่นหลังก็เรียกตามกันต่อไปอีกนานเท่านาน

 

            พระหลวงพ่อจุกนี้  แตกกรุจากเจดีย์สมัยอยุธยา  ซึ่งสร้างขึ้นในบริเวณวัดพระศรีรัตน มหาธาตุ  จังหวัดลพบุรี

 

            บางท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมของจังหวัดลพบุรี  จึงมาสร้างในสมัยอยุธยา  ก็ขอเรียนให้ทราบว่าครั้งอยุธยา  เป็นราชธานีตั้งแต่  พ.ศ.  1600 2034  นั้น  ลพบุรีก็ตกเป็นเมืองเมืองหนึ่งของกรุงศรีอยุธยา  (อยุธยารุ่นแรก)

 

            ผู้เขียนขอลำดับระยะแห่งสมัยต่าง ๆ  ของโบราณวัตถุที่ปรากฏในลพบุรี  ให้ทราบพอเป็นสังเขปเสียเลย  เพื่อให้ท่านที่ผู้อ่านบางท่านหายสงสัย  ดังต่อไปนี้

 

            1.    สมัยก่อนประวัติศาสตร์

 

            2.    สมัยทวารวดี  พ.ศ.  880-1200

 

            3.    สมัยศรีวิชัย  พ.ศ.  1200-1700

 

            4.    สมัยลพบุรี  (ขอม)  พ.ศ.  1500-1800

 

            5.    สมัยสุโขทัย  พ.ศ.  1800-2031

 

            6.    สมัยอยุธยารุ่นแรก  (อู่ทอง)  พ.ศ.  1600-2034

 

            7.    สมัยอยุธยารุ่นหลัง  พ.ศ.  2031-2310

 

            8.    สมัยรัตนโกสินทร์  พ.ศ.  2325

 

            9.    สมัยรัตนโกสินทร์  พ.ศ.  2325

 

            ผู้เขียนคิดว่าการที่นำระยะแห่งสมัยมาให้ท่านรับทราบ  คงจะไม่เกิดความไขว้เขวขึ้นได้  เพราะได้พยายามเขียนแจ่มชัดที่สุดแล้ว  คงจะเป็นประโยชน์ยิ่งสำหรับนักนิยมพระของเราได้ไม่มากก็น้อย  (สำหรับผู้ที่ไม่เชื่อนั้น  ท่านก็แสดงความคิดเห็นคัดค้านหรือติติงได้ทุกอย่าง  ผู้เขียนต้องค้นคว้าหาความรู้ให้มากที่สุดที่จะมากได้มาเสนอต่อท่าน  ท่านจะเชื่อหรือไม่นั้นเป็นสิทธิ์ของท่านเอง)

 

            ขอย้อนกลับมายังเจดีย์อันเป็นแหล่งกำเนิดของพระหลวงพ่อจุกอีกครั้ง  เจดีย์ที่กล่าวมาแล้วแต่ต้นเป็นเจดีย์รายสมัยอยุธยารอบ ๆ  วัดพระศรีฯ  มีเจดีย์เป็นจำนวนมาก  รวมทั้งเล็กใหญ่ภายในบริเวณวัดและมีเจดีย์แบบสุโขทัย  อยู่ในวัดพระศรีฯ

 

            เวลาช่างทำการขุดแต่ง  จะปรากฏเท้าช้าง  ซึ่งปั้นด้วยปูนฝังจมดินอยู่  ซึ่งเท้าช้างนี้เหมือนกับเจดีย์แบบวัดช้างล้อม  สุโขทัย  ส่วนฐานนั้นก็ใช้ศิลาแลงก่อเหมือนกัน  อันมีลักษณะและสถาปัตยกรรมเดียวกันทั้งสิ้น

 

            สำหรับในเจดีย์ที่มีพระหลวงพ่อจุก  นั้นโดยมากจะมีพระเนื้อดินหลายพิมพ์  อาทิเช่น  พิมพ์คอน้ำเต้า , หลวงพ่อจุก  พระแผงสามพี่น้อง  และพระแผงนารายณ์ทรงปืนด้วย  (รวมกัน)

 

            ส่วนพระหลวงพ่อจุกที่ได้จากวิหารเก้าห้องนั้น  ไม่ได้อยู่ในกรุคงอยู่เรี่ยราด  ตามเสาโบสถ์และพื้นดินที่เป็นทราย  จะวางเรียงกันเป็นชั้น ๆ  สมัยก่อนนี้พระเนื้อดินไม่ค่อยมีใครสนใจมากนักบางอย่างผู้ขุดเล่าให้ฟังว่าแลกก๋วยเตี๋ยวกินได้  แต่เดี๋ยวนี้เรื่องราคานั้นไม่ต้องพูดถึงกันละ  ครึ่งหมื่นค่อนหมื่น  หรือมากกว่านั้น  ถ้าสวยงามถูกใจผู้เช่า

 

            พระหลวงพ่อจุก  เป็นฝีมือช่างอู่ทอง  มีพระพักตร์แบบปาละ  หรือบางคนเรียกว่าแบบอินเดีย  มีลักษณะค่อนข้างจะใหญ่อยู่สักหน่อย  คือมีขนาดประมาณ  3.5-6  ซม.

 

            องค์พระประทับนั่งปางสมาธิขัดราบแบบครึ่งซีกรอบองค์  ด้านหลังแบบเรียบ  บางครั้งมีรอยปาดด้วยของมีคม  บางองค์ก็ยังมีรอยมือติดปรากฏอยู่ก็มี

 

            พระเกศมาลา  นั้นเป็นขมวดปอยผมลิ่ม  ดูเป็นป้านใหญ่คล้ายผมจุก  จึงเอาเอกลักษณ์อันนี้เรียกชื่อท่าน  หลวงพ่อจุก

 

            พระเกศา  (ผม)  ลักษณะเป็นเส้นเวียนรอบพระเศียร

 

            พระพักตร์  (หน้า)  กลมป้อม  จะปรากฏพระเนตร  (ตา)  พระนาสิก  (จมูก)  พระโอษฐ์  (ปาก)  ชัดเจนมาก  พระกรรณ  (หู)  จรดพระอังสา  (บ่า , ไหล่)  พระอุระ  (อก)  ยืนดูผึ่งผ่ายน่าเกรงขาม

 

            สำหรับอาสนะนั้นไม่แน่นอนเสมอไป  บางองค์อาจจะมีฐานเต็มและบางองค์อาจจะตัดฐานมาแต่เดิมเลยก็มี

 

            เรื่องของพระหลวงพ่อจุกนั้น  แตกกรุมาหลายครั้งหลายหน  ตั้งแต่ปี  พ.ศ.  2430  พ.ศ.  2487  พ.ศ.  2491  พ.ศ.  2501  พ.ศ.  2508  และเข้าใจว่าก่อนหน้า  พ.ศ.  ดังกล่าวนี้ก็มีแตกกรุมาก่อนบ้างแล้วเช่นกัน

 

            พระหลวงพ่อจุกมีการปลอมกันมาเรื่อยตั้งแต่เริ่มแรกของการได้พระมา  จนกระทั่งบัดนี้พระหลวงพ่อจุกเนื้อสัมฤทธิ์ก็เริ่มทยอยออกสู่ท้องตลาดแล้วขณะนี้  ก็ขอให้ทุกท่านที่อยากได้พระจำพวกนี้   จงระวังไว้บ้าง...ไม่อย่างนั้นอาจจะได้ของปลอมไปไว้จะเศร้าใจในภายหลัง       

 

 

 
โดย : วันชัย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 2 ] Wed 15, Oct 2008 19:38:05





 

 จารย์อเนก เจกะโพธิ์ เจ้าของบทความ กำลังบอกผม "ขุดเลยไอ้น้อง โดนปรับไม่เท่าไรหรอก"

 
โดย : วันชัย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 3 ] Wed 15, Oct 2008 19:44:09

 
ยอดเยี่ยมครับ มีข้อมูลดีมีประโยชน์มากจริงๆครับพี่
 
โดย : สมภาร    [Feedback +2 -0] [+0 -0]   [ 4 ] Wed 15, Oct 2008 20:50:48

 
ขอบคุณครับพี่ ที่แบ่งปันเรื่องดีๆ
 
โดย : bonex    [Feedback +2 -0] [+0 -0]   [ 7 ] Wed 15, Oct 2008 21:36:55

 

สุดยอดครับพี่...สาระความรู้แบบเจาะลึก

ชมจริงๆนะ...กระทู้นี้ไม่เขวะครับ

 
โดย : โชค มอชอ    [Feedback +21 -0] [+0 -0]   [ 8 ] Wed 15, Oct 2008 21:54:18

 
ครบเครื่องเรื่องความรู้ครับ
 
โดย : น้อย ไอยรา    [Feedback +28 -1] [+0 -0]   [ 9 ] Wed 15, Oct 2008 23:52:28









 

       บทความเรื่องราวเจ๋งจริง ๆครับ  แต่รูปประกอบน้อยไปหน่อย  จึงขออนุญาตส่งรูปมาช่วยเสริมบทความดี ๆแบบนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นไปอีกนะครับ ยังมีรูปคอน้ำเต้าอีก ๔ รูปขอต๊ะไว้ก่อน เพราะว่าดึกมากแล้ว ถ้าน๊อคไปอีกที จะไม่มีโอกาสได้เลี้ยงข้าวเลี้ยงเหล้าพวกเราอีก        

 
โดย : kik-kok    [Feedback +1 -0] [+0 -0]   [ 10 ] Thu 16, Oct 2008 03:19:26

 
 
โดย : madaew    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 11 ] Thu 16, Oct 2008 08:39:26

 

ขอบพระคุณทุกท่านครับ โดยเฉพาะจารย์โชคที่ไม่สร้างความปั่นป่วนกระทู้ผม

และคุณอา kik-kok ครับ ที่นำภาพมาเสริม ทำให้ผมรู้แล้วว่า ถ้าขาดรูปพระแล้วผมจะขอความช่วยเหลือได้ที่ไหน

 
โดย : วันชัย    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 12 ] Thu 16, Oct 2008 09:36:25

 
องค์บนดูง่าย ส่วนองค์กาหลิบมีเสน่ห์ดีครับ อิ อิ
 
โดย : pongsakorn    [Feedback +1 -0] [+0 -0]   [ 13 ] Thu 16, Oct 2008 09:47:17

 
***...สวยงามและทรงคุณค่าทุกองค์ครับ...***
 
โดย : prakat    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 14 ] Fri 17, Oct 2008 00:54:59

 
แน่นทั้งเนื้อหา และความรูป    







 
โดย : บ้านเหนือ    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 15 ] Fri 17, Oct 2008 01:35:19









 

ส่งรูปมาช่วยอีก ช้าไปบ้างไม่ว่ากันนะครับ

 
โดย : kik-kok    [Feedback +1 -0] [+0 -0]   [ 16 ] Fri 17, Oct 2008 17:04:50









 

ไม่ว่ากันน่า มาอีก ๒ นะ

 
โดย : kik-kok    [Feedback +1 -0] [+0 -0]   [ 17 ] Fri 17, Oct 2008 17:06:23

 

ขอบคุณป๋า kik แทนครับ

 
โดย : admin    [Feedback +4 -1] [+0 -0]   [ 18 ] Sat 18, Oct 2008 01:00:25

 
 
โดย : พลร้อยเอ็ด    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 19 ] Sat 18, Oct 2008 14:50:01

 
มีประโยชน์ครับ : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.