พระ เจ้าทันใจ ("พระเจ้า"เป็นคำเรียกแบบภาษาเหนือ) เป็นพระพุทธปฏิมากรที่ประดิษฐานอยู่ที่วัดดอนไฟ ต.ดอนไฟ อ.แม่ทะ จ.ลำปาง ชาวบ้านดอนไฟ และชาวจังหวัดลำปางตลอดถึงประชาชนทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ต่างให้ความเคารพนับถือ ต่างก็มาขอพร และมาบนบานสารกล่าวกัน และก็มักจะได้ผลตามปรารถนากันแบบทันใจ และด้วยความเก่าแก่ของวัดดอนไฟ ซึ่งสร้างขึ้นมาเป็นเวลา แปดร้อยกว่าปีแล้ว นับตั้งแต่อดีตมาถึงปัจจุบันนี้มีเจ้าอาวาสดำรงตำแหน่งแล้ว ถึง 40 รูปด้วยกัน ภายนอกบริเวณวัดดอนไฟ ก็ยังมี ต้นโพธิ์ที่ใหญ่ที่สุด ประมาณ 10 คนโอบอีก 2 ต้น ซึ่งก็อาจจะบ่งบอกได้ถึงความเก่าแก่ของวัดแห่งนี้ นอกเหนือไป จากนั้นในหมู่บ้านดอนไฟ ยังมีโบสถ์ 1 หลัง และวิหารอีก 2 หลังด้วยกัน ห่างจากหมู่บ้านอีกประมาณหนึ่งกิโลเมตร บนเขาด้านทิศตะวันออกยังมีวัดม่อนจ๋อมแจ้ง (ปัจจุบันถูกไฟไหม้เหลือแต่ซากกระเบื้อง) และทางด้านทิศเหนือก็มีวัดม่อนพระบาท (ปัจจุบันยังมีรอยพระบาทอยู่)อีก 1 วัด รวมแล้วบ้านดอนไฟแห่งนี้มีอยู่ 5 วัดด้วยกัน ฯ ตามตำนานกล่าวว่ามี ลั๊วะ 3 (เป็นชนกลุ่มหนึ่ง ลักษณะคล้ายกับชาวเขา) พี่น้องได้อพยพครอบครัวลงมาจากทางทิศเหนือมาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่ที่ปง ม่อนจ๋อมแจ้ง ดอนกลาง (กลางทุ่ง) และดอนเปียน ลั๊วะ 3 คนมีความขยันหมั่นเพียรในการกสิกรรมทำไร่ทำนา และทำสวน ไม่นานก็ร่ำรวยเป็นเศรษฐีทั้ง 3 คน ภายหลังมาชาวบ้านทั้งหลายพากันเรียกว่า "เศรษฐี 3 ตระกูล" คือ - เศรษฐีตระกูลบ้านปงม่อนจ๋อมแจ้ง (ปัจจุบันบ้านปงม่อนจ๋อมแจ้งคงเหลือแต่ซากกระเบื้อง และกองอิฐเจดีย์ที่พังแล้ว) - เศรษฐีตระกูลบ้านม่อนดอนกลาง (ในอดีตเป็นวัดพระเจ้าทันใจแต่ในปัจจุบันนี้เหลือแต่ต้นโพธิ์และโบสถ์ ร้างอยู่กลางทุ่งท้ายหมู่บ้าน) - เศรษฐีตระกูลบ้านม่อนดอนเปียง (ปัจจุบันยังเหลือแต่ภูเขาเท่านั้น) เศรษฐีแต่ละคนมีลูกบ้านได้ 100 หลังคาเรือนเป็นบริวาร วันหนึ่งมีพระฤาษี 2 พี่น้องอยู่บำเพ็ญ พรตธรรม ที่ดอยกิ่วพระฤาษี (ปัจจุบันนี้ดอยกิ่วพระฤาษี มีหน้าผาที่สูงชัน มีทัศนียภาพที่สวยงามมาก) ได้มาบิณฑบาตบ้านของท่านเศรษฐีทั้ง 3 ท่านๆ มีความยินดีที่ได้เห็นผู้มีศีลได้มาโปรดถึงในบ้าน จึงได้ช่วยกันหาอาหารมาใส่บาตร แก่พระฤาษีทั้ง 2 องค์นั้นด้วยความศรัทธาและเคารพยิ่ง ในวันต่อมาท่านเศรษฐีทั้ง 3 มีจิตศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามีความคิดเห็นตรงกันว่าอยากจะสร้างพระ พุทธรูปคนละ 1 องค์เพื่อสืบอายุและทนุบำรุงพระพุทศาสนาให้เจริญรุ่งเรืองต่อไป จึงได้ประชุมปรึกษาหารือกันว่า จะไปเอานายช่างที่ไหนมาหล่อพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์นั้น ในเวลานั้นยังมีนายพรานป่าคนหนึ่ง (ในตำนานไม่ปรากฏชื่อไว้) ได้เดินทางออกจากบ้านเพื่อแสวงหาล่าเนื้อได้เดินทางมาทางป่า ถึงเมืองพิจิกคต (เมืองพิจิตในปัจจุบัน) อยู่ทางทิศใต้ได้ติดตามรอยกวางทะลายคำ (เนื้อทราย) มาถึงน้ำจำ (ตาน้ำ) แห่งหนึ่งซึ่งสัตว์ป่าทั้งหลายจะพากันลงมากินน้ำเป็นฝูงๆ และนายพรานป่าก็สะกดรอยนายช่างทองหล่อพระพุทธรูปมีแห่งหนตำบลใด ยังไม่รู้เลยแต่ไม่เป็นไร เมื่อเป็นความประสงค์ศรัทธาสามัคคีของท่านเศรษฐีทั้ง 3 ข้าพเจ้าจะไปติดต่อสอบถามหานายช่างทอง เมื่อพบแล้วจะนำมา ให้ถึงบ้านท่านเศรษฐีทั้ง 3 ภายในเร็ววัน แล้วนายพรานป่าก็ลาท่านเศรษฐีทั้ง 3 กลับไปบ้านของตนเอง พอถึงบ้านก็เปลี่ยนเครื่องแต่งตัวเสียใหม่ เรียบร้อยแล้วก็ออกจากบ้านติดต่อสอบถามไปเรื่อยๆจนไปพบบ้านนายช่างทองๆ ก็ออกมาต้อนรับด้วยความยินดีแล้วกล่าวว่า ดูก่อนนายพรานป่า แต่ก่อนท่านก็มีอาชีพเป็นพรานป่ามิใช่หรือท่านคิดได้อย่างไรถึงได้ละอาชีพ พรานป่าแล้วมาหาเราดังนี้ เมื่อนายพรานป่าได้ยินคำถามของนายช่างทอง ดังนั้นจึงเล่าลำดับความตั้งแต่ต้นถึงปลายโดยตลอด กลับมาสู่บ้านแล้วละเพศเครื่องแต่งตัวอันเป็นายพรานป่าเสียแล้วก็ออกเดินทาง มาบ้านของนายช่างทองและมาพบบ้านของนายช่างทองในเวลานี้มีความประสงค์เพื่อ ที่จะมาหาท่านนายช่างทองไปหล่อพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ ของท่านเศรษฐีทั้ง 3 ตามสัญญานายช่างทองก็รับคำนั้นด้วยความยินดีแล้วก็เตรียมเครื่องมือเสบียง อาหารในการเดินทางพร้อมแล้วก็พักผ่อนสบายดีแล้วจึงยกข้าวปลาอาหารออกมาต้อน รับนายพรานป่าแล้วก็นอนหลับที่บ้านของนายช่างทอง 1 คืนพอรุ่งเช้ากินข้าวเช้าแล้วก็พร้อมกันออกเดินทางจากเมืองพิจิก ใช้เวลาเดินทางมาตามป่าเป็นเวลานาน 1 เดือนก็มาถึงดอนกลางพอดี เมื่อท่านเศรษฐีทั้ง 3 เห็นนายพรานป่านำนายช่างทองมาถึงบ้านตามสัญญาที่ให้ไว้ก็มีความปีติยินดีพูด จาต้อนรับปราศรัยถามทุกข์สุขในการเดินทางพอสมควรแล้ว วันที่นายช่างทองและนายพรานป่าเดินทางมาถึงดอนกลางนี้เป็นวันจันทร์ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 8 เหนือในราวพุทธศักราช 1500 สมัยเชียงแสน (พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก)นายช่างทองจากเมืองพิจิกได้เริ่มปั้นเบ้าแบบพิมพ์ (ได้เริ่มสร้างหุ่นพระพุทธรูปเจ้าทันใจ) มีพุทธลักษณะ ใหญ่น้อยตามลำดับดังนี้ องค์ที่ 1 หน้าตักกว้าง 25 นิ้ว ส่วนสูง 39 นิ้ว องค์นี้ท่านเศรษฐีบ้านม่อนจอมแจ้งเป็นเจ้าศรัทธาหล่อ องค์ที่ 2 หน้าตักกว้าง 20 นิ้ว ส่วนสูง 29 นิ้ว องค์นี้ท่านเศรษฐีบ้านม่อนดอนกลางเป็นเจ้าศรัทธาหล่อ องค์ที่ 3 หน้าตักกว้าง 19 นิ้ว ส่วนสูง 19 นิ้ว องค์นี้ท่านเศรษฐีบ้านม่อนดอนเปียนเป็นเจ้าศรัทธาหล่อ เมื่อนายช่างทองปั้นเบ้าแบบพิมพ์เสร็จแล้วในวันนั้นเป็นวันพฤหัสบดี 4 ค่ำ เดือน 8 เหนือ ได้ฤกษ์งามยามดีนายช่างทองได้ทำการหล่อพระพุทธรูปเจ้าทันใจทั้ง 3 องค์นั้นจนหมดทองที่ท่านเศรษฐีทั้ง 3 มีอยู่แต่ยังไม่สำเร็จเหลือจิกโมลี (พระโมลี) เมื่อนั้นท่านเศรษฐีทั้ง 3 จึงได้ประกาศไปทั่วบ้านทั่วเมือง ให้ท่านศรัทธาสาธุชนที่มีจิตศรัทธาได้ร่วมกันบริจาคทองว่าดังนี้ ดูก่อนท่านทั้งหลายบัดนี้เราทั้ง 3 ได้ร่วมกันหล่อพระพุทธรูปเจ้าทันใจทั้ง 3 องค์นั้น เพื่อว่าไว้เป็นที่สักการะบูชากราบไหว้ และสืบอายุพระศาสนา เวลานี้ทองที่มีอยู่ก็หมดพอดีท่านผู้มีทองก็ขอนำเอามาร่วมกันหล่อจิกโมลีของ พระพุทธรูปเจ้าทันใจทั้ง 3 องค์นั้นเถิดข่าวอันนี้ได้ลือชา ปรากฎไปทั่วทุกสารทิศ ได้ยินไปถึงหูของนางแม่ม่ายคนหนึ่งซึ่งมีนามว่า "ย่าเท็ก" อยู่ที่ตำบลหัวเสือในปัจจุบันเป็นคนยากจน เมื่อได้ทราบข่าวบุญอันนี้นางก็มีความปีติยินดีในหัวใจอยากจะร่วมหล่อพระ พุทธรูปเจ้าทันใจกับท่านเศรษฐีทั้ง 3 นั้น มีในวันหนึ่งนางก็มาคิดอยู่ในใจว่า ตัวกูเกิดมาในชาตินี้เป็นคนอาภัพเข็นใจหาทรัพย์ สมบัติอันใดก็ไม่ได้ แม้แต่ข้าวปลาอาหาร จะกินแต่ละมื้อก็ไม่มี คิดแล้วนางก็เกิดความน้อยใจในโชควาสนาดวงชะตาที่เกิดมาจน ก็ร้องให้หนีออกจากบ้านไปแสวงหาขอทองกับพี่น้องชาวบ้านในที่สุดก็หมดหวังขอ ไม่ได้สักแห่งก็ร้องให้กลับมาสู่บ้านของตนเอง นางจึงตั้งสัจจะอธิฐานว่าดูก่อนเทพยดาพระอินทร์จงมาดลบันดาลกรุณาโปรดคนยาก ไร้เข็ญใจ อันแสวงหาข้าวของและทองเพื่อที่จะเอาไปร่วมหล่อพระพุทธรูปเจ้าทันใจกับท่าน เศรษฐีทั้ง 3 ขอเทพบุตรเทพยดาทั้งหลายจงดลบันดาลมาโปรดคนยากไร้เข็ญใจด้วยเถิด ณ บัดนั้นด้วยแรงสัจจะอธิษฐานแท่นหินปัณฑุกรรมศิลาอาสน์ของพระอินทร์ซึ่งเคย อ่อนนุ่มนิ่ม ก็มาแข็งกระด้าง ก็ประหลาดใจพระองค์จึงส่องทิพย์เนตรลงดูก็รู้ว่านางแม่หม้าย ย่าเถก ผู้ยากไร้เข็ญใจอยากได้ทองเพื่อนำเอาไปร่วมท่านเศรษฐีหล่อจิกพระโมลีพระพุทธ รูปเจ้าทันใจทั้ง 3 องค์ นั้นในกาลบัดนั้น เมื่อพระอินทร์ท่านทราบความต้องการของนางแม่หม้ายโดยตลอดแล้วจึงได้ใช้ท้าว วิษณุกรรมเทพบุตรนำเอาทองสัมฤทธิ์ (ทองทิพย์) แท่งหนึ่งลงมาไว้ยังปงแห่งหนึ่ง (ที่ราบบนผั่งแม่น้ำ) แล้วท้าววิษณุกรรมก็กลับไปอยู่ที่อยู่ของอตนเองในวันรุ่งขึ้นย่าเถก ก็มาถูกเทวดาบันดลหัวใจให้นางแม่หม้ายมีความอยากได้ทองเป็นกำลังทุกลมหายใจ เข้าออกเมื่อนางกินข้าวเช้าให้อิ่มหนำสำราญแล้ว ก็ได้เดินทางออกจากบ้านแสวงหาขอทองไปตามลำดับทาง โดยตลอดจนแนวทางมาถึงปงแห่งหนึ่งนางก็มามองเห็นทองโดยบังเอิญซึ่งงอกพ้นออก มาจากแผ่นดิน นางก็มีความยินดีมากเหลือคณานับรีบวิ่งเข้าไปยกเอาทองทิพย์นั้นขึ้นทูนหัว แล้วรีบวิ่งนำไปให้ท่านเศรษฐีทั้ง 3 สมตามความมุ่งมาตรปรารถนาทันใจทุกประการ เมื่อท่านเศรษฐีทั้ง 3 ได้ทองจากนางแม่หม้ายแล้ว ก็มีความยินดีเป็นที่สุดก็นำเอาทองแท่งนั้นมาให้นายช่างทองหล่อทำเป็นจิก โมลีของพระพุทธรูปเจ้าทันใจทั้ง 3 องค์นั้น ก็สำเร็จบริบูรณ์ดีทุกประการ นายช่างทองก็มาแกะแม่พิมพ์ออกปรากฏว่า โมลีของพระพุทธรูปเจ้าทันใจทั้ง 3 องค์นั้นก็เอียงไปคนละทิศละทางไม่ตรงเสมอกัน หมายความว่าเป็นปริศนาให้ทราบภายหลังว่า นายช่างทองที่มาทำการหล่อพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์นั้นเป็นคนมาจากเมืองพิจิกคตปงที่ราบบนฝั่งน้ำที่นางแม่หม้ายย่าเถกได้ พบทองทีหลังมาคนทั้งหลายเรียกว่า (นาปงทอง) เมื่อหล่อพระพุทธรูปเจ้าทันใจทั้ง 3 องค์เสร็จเรียบร้อยท่านเศรษฐีทั้ง 3 จึงได้ร่วมกันประชุมจัดงานมหากรรมเฉลิมฉลองสมโภช พระพุทธรูปเพื่อสืบอายุพระศาสนาตลอด 5000 พระพรรษาจัดงานสมโภชนานได้ 7 วัน 7 คืนพอถึงวันเดือน 8 เหนือขึ้น 14 ค่ำ ก็มีพระอรหันต์ 2 รูปดังต่อไปนี้ คือ รูปที่ 1 ชื่อว่า"โสณะ" รูปที่ 2 ชื่อว่า"อุตตระ" ได้นำเอาพระสารีริกธาตุมาจากเมืองกุสินารา แสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์เหาะมาทางอากาศมาถึงดอนกลาง พระอรหันต์ทั้ง 2 รูป ก็ได้เรียกเอาพระยากุมภัณฑ์ (ยักษ์) เข้ามาหาแล้วกล่าวว่าดูก่อนท่านพระยากุมภัณฑ์ บัดนี้เราทั้ง 2 ได้นำเอาพระสารีริกธาตุมาถึงที่นี้ขอให้ท่างจงตีทองคำ ให้เป็นเรือคำ (เรือทองคำ) มานำเอาพระสารีริกธาตุไปบรรจุไว้ในองค์พระพุทธรูปเจ้าทันใจทั้ง 3 องค์ พระยากุมภัณฑ์ ก็ได้ปฏิบัติตามคำของพระอรหันต์ทุกประการต่อมาพระอินทร์ก็ได้นำเอามายังอุป แก้วผลึก (หับแก้วผลึกมีหูหิ้ว) และฆ้องคำมาไว้สำหรับตีบูชาพระพุทธรูปเจ้าทันใจทั้ง 3 องค์นั้นเมื่อพระยากุมภัณฑ์ทำสำเภาสำเร็จแล้วก็ถ่อแล่นมารับเอาพระ สารีริกธาตุแล้วนำไปใส่ไว้ในอุปแก้วผลึกของพระอินทร์พร้อมกันนั้นก็เอาเข้า ไปบรรจุไว้ในพระพุทธรูปเจ้าทันใจทั้ง 3 องค์ในเวลานั้นเศรษฐีทั้ง 3 ท่านได้เสียสละข้าวของคนละ 1 โกฎิ เพื่อไว้บูชาพระพุทธรูปเจ้าทันใจทั้ง 3 องค์ พอถึงวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 8 เหนือ พระสารีริกธาตุก็แผ่รัศมีรังสีให้คนทั้งหลายได้เห็นโดยทั่วกัน พอวันรุ่งเช้าของวันใหม่พระอรหันต์ทั้ง 2 รูปก็กลับคืนไปสู่ยังเมืองกุสินาราตามเดิมต่อมาเศรษฐีทั้ง 3 ท่านก็ร่วมพากันสร้างวิหารอีก 1 หลัง มีกำแพงล้อมรอบวิหารด้วยตลอดเสร็จแล้วจึงได้อาราธนาอัญเชิญพระพุทธรูปเจ้า ทันใจทั้ง 3 องค์นั้น เข้าไปประดิษฐานไว้ในวิหารหลังนั้นตลอดมาและได้ชื่อว่า "วัดม่อนดอนขวางสามเงา" (วัดกลางทุ่งในปัจจุบัน) ต่อมาวัดม่อนดอนขวางได้รับการอุปถัมภ์ บำรุงจากท่านเศรษฐีทั้ง 3 ซึ่งเป็นผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมในบวรพุทธศาสนาเป็นทุนเดิมอยู่แล้วจึงทำให้วัด มีความเจริญรุ่งเรืองตามลำดับไปจนสิ้นอายุ และหมดสมัยของท่านเศรษฐีทั้งสาม ต่อมาก็ได้มีเมืองเล็กเมืองน้อยเกิดขึ้นมาอพยพได้ขยายแผ่กว้างออกไปและเวลา ก็ล่วงโรยมาอีกหลายชั่วอายุคนวัดม่อนดอนขวางก็ขาดผู้ดูแลอุปถัมภ์บำรุง เพราะผู้คนได้โยกย้ายถิ่นฐานบ้านเรือนห่างไกลวัดออกไปเรื่อยๆ อีกหลายปีต่อมาก็เป็นวัดร้าง เมื่อปีใดเกิดบ้านเมืองแห้งแล้งฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล เจ้าหลวงนครลำปางมักจะใช้ให้คนมาหามเอาพระพุทธรูปเจ้าทันใจทั้ง 3 องค์ ไปไว้ในเมืองโดยไม่ได้อาราธนาอัญเชิญแต่อย่างใดบ่อยครั้งเข้า พระพุทธรูปเจ้าทันใจองค์พี่ใหญ่จึงแสดงปาฎิหาริย์ให้เหมือนกับว่ามีรอยช้าง มาเหยียบให้แบนทั้งองค์หลังจากนั้นมาอีกหลายปีเกิดสงครามพม่า ผู้คนชาวบ้านพากันหลบซ่อนตัวหนีภัยสงครามออกไปอยู่ตามป่าตามเขาหมดมีพลเมือง ดีห่วงใยในของโบราณวัตถุจะถูกทำลายและสูญหายจึงได้ช่วยกันนำเอาพระพุทธรูป เจ้าทันใจและของโบราณอีกหลายชนิดนำไปเก็บรักษาไว้ในถ้ำใกล้บ้านแม่ออก (โยมอุปถัมภ์) ย่าเถกที่ตำบลหัวเสือในปัจจุบันถ้าปีไหนฝนฟ้าแล้งชาวตำบลหัวเสือก็จะมา อาราธนาอัญเชิญพระพุทธรูปเจ้าทันใจทั้ง 3 องค์ ออกไปอบรมสมโภชแห่แล้วได้นำเอาฆ้องออกมาจากถ้ำมาตีบูชาพระพุทธรูปเจ้าทันใจ ฝนก็ตกลงมาอย่างน่าอัศจรรย์ทุกครั้งและเจ้าหลวงนครคนต่อมาก็มีความเคารพหวง แหนกราบไหว้ปีใดฟ้าฝนแล้งก็บอกมายังท่านกำนันผู้ใหญ่บ้านตำบลหัวเสือดอนไฟ ได้นำเอาพระพุทธรูปเจ้าทันใจทั้ง 3 องค์ไปร่วมแห่สมโภชที่ในเมืองเพื่อขอฝนๆ และก็ได้ทันใจสมปรารถนาทุกครั้งตลอดมา ต่อมาอีกหลายปีก็มีโจรผู้ร้ายชุกชุมทางท่านเจ้าคณะตำบลดอนไฟชื่อว่า "ท่านครูบาวงค์" ได้นำเอาพระพุทธรูปเจ้าทันใจทั้ง 2 พี่น้องมาเก็บรักษาไว้ที่วัดดอนไฟตั้งแต่บัดนั้นมาส่วนองค์พี่ใหญ่ไม่สม ประกอบฐานเสริมด้วยไม้สัก และพอกด้วยปูนรอบองค์จนไม่มีใครทราบว่าข้างในเป็นทองเมื่อรื้อวิหารหลังเก่า บูรณะซ่อมแซมใหม่จึงได้พบว่าเป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ และสันนิษฐานว่าเป็นพระพุทธรูปเจ้าทันใจองค์พี่ใหญ่ก็อาจเป็นได้เพราะมีพุทธ ลักษณะสง่างามคล้ายกันทุกประการ แต่ที่น่าแปลกไปกว่านั้น ก็คือจะมีตัวคางคกซึ่งทำมาจากเนื้อกระเบื้องโบราณและที่ปากยังคาบแก้วอีก หนึ่งลูก น้ำหนักประมาณได้ 1 กิโลกรัม ได้ติดตามเป็นบริวารมากับพระพุทธรูปเจ้าทันใจมาโดยตลอด ซึ่งก็ไม่มีใครทราบได้ว่าตัวคางคกนี้มีตำนานมาว่าอย่างไรบ้าง แต่ก็สันนิฐานว่าในสมัยก่อนคงจะมีการขอฝนบ่อยครั้งมาก ซึ่งก็คงจะมีใครดลบันดาลให้มาก็เป็นได้ ฯ ประวัติโดยสังเขปของพระพุทธรูปเจ้าทันใจก็มีเพียงเท่านี้ ฯ ต้นฉบับจากคำภีร์ใบลานภาษาล้านนาเมืองเหนือ
เหรียญนี้ไม่สวย แต่มากด้วยประสบการครับ ....
ขอบคุณครับ ข้อมูลยอดเยี่ยม