พระร่วงปราการแห่งชัยชนะ นานๆจะมีเวลามานั่งเขียนสาระเล่าสู่กันฟัง วันนี้เลยขอหยิบยกเอาพระศิลปะขอม หรือ ศิลปะเขมร มาพูดคุย อานาจักรขอมโบราณนั้นเริ่มตั่งแต่พุทธศตวรรษที่ 6 จนถึงต้นพุทธศตวรรษที่ 18 จึงเริ่มเสื่อมอำนาจลง เพราะถูกต่างชาติรุกราน แต่ในสมัยก่อนนั้นอานาจักรขอมรุ่งเรืองมาก ได้ขยายอิทธพลไปกว่างไกลในคาบสมุทรอินโดจีน ดังจะเห็นได้จากการที่มีปราสาทขอมมากมาย เกิดขึ้นในประเทศไทย จากประเทศเขมร ไล่มาถึงภาคกลางของไทย โดยมีเมืองใหญ่ที่เป็นศูนย์กลางกระจายอำนาจอยู่ที่ลพบุรี ที่เราเรียกกันว่า อนาจักร ละโว้ เริ่มตั่งแต่ พุทธศตวรรษที่ 12 และสิ้นสุดใน พุทธศตวรรษที่ 19 บายน เป็น ยุคสุดท้ายก่อนที่ ขอมจะเริ่มเสื่อมอำนาจ โดยจากเดิมที่เคยสร้างปราสาทด้วยหินและสถานที่ใหญ่โตเริ่มหมดไป ในยุคบายนนั้น ก็คือ ยุคลพบุรีที่เรารู้จักกันดี ฉะนั้นศิลปะลพบุรีจึงเป็นศิลปะขอมแบบบายน เทวรูป จากเดิมที่สร้างด้วยหินแกะ ก็กลายเป็นหล่อสำริด จากไม่เคยมีพระพิมพ์ขนาดเล็ก ก็มี พระพิมพ์ขนาดเล็กเกิดขึ้น มี เนื้อดิน เนื้อชิน สิ่งก่อสร้าง ก็มี ปรางสามยอด ถ้าในเขมรเองก็ จะมีปราสาทตาพรม ยุคนี้ก็คือยุคบายนนั่งเอง สำหรับพระพิมพ์ที่โด่งดังของยุคลพบุรีก็คงหนีไม่พ้นพระร่วง ในจำนวนพระร่วงที่เรารู้จักพิมพ์ที่นักสะสมพระให้ความสนใจมากที่สุดก็คือพระร่วงพิมพ์ยืน เช่นพระร่วงหลังรางปืน พระร่วงหลังลายผ้า พระร่วงกรุหนองแจง พระร่วงกรุถ้ํามหาเถร ใน จำนวนพระร่วงที่กล่าวมานั้นล้วนเป็นพระที่มีราคาในการสะสม สูงพอควร ซึ่งทำให้ใครหลายคนที่ฝันอยากจะได้พระร่วงพิมพ์ยืนห้อยติดตัวบูชา สักองค์นั้นยากนัก แต่รู้ใหมว่ายังมีพระร่วงอีกกรุหนึ่งที่เป็นพระร่วมสมัย และราคายังไม่แพงมากจนเกินกำลังเช่าหาอยู่กรุหนึ่ง นั่นก็คือพระร่วงยืนกรุวังเพิ่มนั่นเอง พบที่ตำบลวังเพิ่ม อำเภอสีชมพู จังหวัดขอนแก่น เหตุที่พบพระกรุนี้เป็นการพบโดยบังเอิน คือช่วงเดือนพฤษภาคมปี 2527 ชาวบ้านตำบลวังเพิ่มคนหนึ่งได้ออกไปทำไร่ ตามปกติของชาวนาตามชนบททั่วไป โดยจะเป็นการปรับหน้าดินเพื่อปลูกมันสำปะหลัง แต่บังเอิน ชาวนาได้ขุดพบพระเนื้อสำริด และเทวรูปสำริด ตลอดจนของเก่าแก่มากมาย มีทั้งเครื่องประดับ ต่างหู, หม้อ, ไห, กำไรแขน อันเป็นของโบร่ำโบราณทั้งสิ้น นอกจากนี้ยังพบพระร่วงเนื้อตะกั่วสนิมแดงประมาณ 123 องค์ จะมีพระเนื้อชินบ้างเป็นส่วนน้อย เมื่อเรื่องราวของการพบพระครั้งนั้นก็ทำให้นักล่าสมบัติแผ่นดินอยากจะเข้าไปเผชิญโชคบ้าง ดังนั้นจึงมีนักล่าสมบัติชุดหนึ่ง ที่อำเภอเชียงดาวซึ่งทำมาหากินในถิ่นอีสาน รู้ข่าวคราวการแตกกรุนี้ ก็ปรึกษาพรรคพวกเพื่อนฝูง เพื่อจะทำการค้นหากรุพระร่วงนี้อีกครั้ง ครั้นแล้วเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2536ได้ พบพระจำนวน 8,000 องค์ที่สมบูรณ์ โดยไม่นับ พระที่ชำรุด พระที่พบ เป็นพระร่วงยืน มีอยู่ 2 พิมพ์ 2 เนื้อ คือ พิมพ์ห้ามญาติ และพิมพ์พนมมือ เนื้อชินเงินและตะกั่วสนิมแดง พุทธลักษณะ เป็นพระยืนสมัยลพบุรี ศิลปะแบบบายน พุทธศตวรรษที่ 17 – 18 เป็นช่างฝีมือชาวบ้าน ที่ดำให้รู้ว่าเป็นบายนนั้นให้สังเกตุที่เกตุพระจะเป็นการสวมหมวกชีโบ เปิด อกไม่คลุมจีวร มัดจีวรช่วงเอวปล่อยชายยาวถึงท้าว เอกลัก บอกถึงความเป็นยุคบายน การเทหล่อเป็นการหล่อแบบประกบ รูปทรงคล้ายใบหอก ไม่ตัดปีก
วิธีดูพระร่วงกรุวังเพิ่ม
1. พระกรุวังเพิ่มนั้นถูกพบในพื้นที่ที่เคยเป็นเทวาลัยเก่ามาก่อนที่จะพังทลายลงกลายเป็นพื้นนาทำให้พระจมฝังในดินมาอย่างน้อย 300 ถึง 400 ปี ดังนั้นพระกรุวังเพิ่ม เนื้อชิน 90 % เป็นพระที่มีคราบกรุติดอยู่ โดยคราบกรุต้องเป็นดินบนทราย เท่านั้น ส่วนเนื้อตะกั่ว 100 % ต้องเป็นสนิมแดง
2. เนื้อชินเงินจะต้องมีคราบขาวหินปูนติดองค์พระ คราบเหล่านี้เกิดจากพระถูกฝังในดินมายาวนานถูกความชื้นทำให้หินปูนเกาะติด คราบหืนปูนต้องนุ่มนวลตามีความเก่าในตัว
อาจารย์ อเล็ก พระ กรุ
|