พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
ฮู้ตันพระแท้-เก๊

พระกรุบางขุนพรม สมเด็จที่ไม่ไกลเกินฝัน โดย อาจารย์ อเล็ก พระกรุ


พระกรุบางขุนพรม สมเด็จที่ไม่ไกลเกินฝัน โดย อาจารย์ อเล็ก พระกรุ

   
 

หากจะถามเซียนพระว่าอย่าได้พระอะไรมากที่สุด ใน 100 คน เชื่อว่าเกินครึ่งหนึ่งของจำนวนหนึ่งร้อยต้องตอบว่าพระสมเด็จ นั่นก็เพราะสมเด็จเป็นพระในฝันของใครหลายคน อาจารย์เลยอยากจะเอาเรื่องเก่ามาเล่าใหม่เกี่ยวกับความเป็นไปเป็นมาของ พระกรุวัดบางขุนพรม เพื่อแบ่งปันและเพิ่มความรู้ให้กับเพื่อนๆที่รักชอบพระสมเด็จได้ร่วมศึกษากัน   และหวังว่าหลายคนจะชอบกระทู้นี้

วัดบางขุนพรม หรือ วัดใหม่อมตรส   เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแต่ครั้งกรุงธนบุรี เดิมชื่อวัดรามะตาราม ต่อมาจึงได้เปลียนชื่อเป็นวัดใหม่อมตรส แต่ชาวบ้านเรียกติดปากว่าวัดบางขุนพรม สมัยก่อนวัดบางขุนพรมมีอานาเขตกว้างขวางแต่ต่อมามีการตัดถนนผ่านวัดจึงได้แยกออกเป็นสองวัด คือวัดบางขุนพรมใน กับ วัดบางขุนพรมนอกซึ่งก็คือวัดอินทรวิหาร ของหลวงปู่ภู นั่นเอง ต่อมาในสมัย ร.3 ได้มีการปฏิสังขรโดย  พระองค์เจ้าอินทร์ แต่ก็เกิดมีกขถพระเจ้าเจ้าอนุวงศ์ เวียงจันทร์ พระเจ้าองค์อิน ต้องเข้าร่วมวัดจึงถูกทิ้งให้ทุดโทรม ในกาลต่อมา เสมียนตราด้วง(ต้นตระกูล ธนโกเศศ) ได้รับช่วงต่อในการบูรณะปฏิสังขรวัดต่อจากพระเจ้าอินทร์  ประกอบกับในขณะนั้นท่านเจ้าประคุณสมเด็จโต ได้มาพำนักที่วัดบางขุนพรมทำให้เป็นที่สัทธาของเจ้าบ้านในระแวกรวมถึง เสมียนตราด้วงก็ด้วยเช่นกัน  ถึงแม้ในช่วงชีวิตของสมเด็จโตท่านไม่ได้พำนักอยู่ที่วัดบางขุนพรมตลอดแต่ก็ไปๆมาๆระหว่างวัดระฆังกับวัดบางขุนพรม  มูลเหตุสำคัญในการสร้างพระก็เพราะเสมียนตราด้วงมีความคิดที่จะสร้างพระสมเด็จบรรจุในเจดีเพื่อสืบทอดศาสนา จึงได้ปรึกษากับสมเด็จเจ้าพระคุณและได้รับความเห็นชอบด้วย จึงมีการแกะแม่พิมพ์ขึ้นทั้งหมด 10 พิมพ์มาตราฐาน 1 พิมพ์พิเศษ คือ 1พิมพ์ใหญ่ 2พิมพ์เส้นด้าย 3พิมพ์ฐานแซม 4พิมพ์ฐานคู่ 5พิมพ์สังฆาฏิ 6พิมพ์เกศบัวตูม 7พิมพ์ทรงเจดี     8พิมพ์อกครุฑ(เซียนสมัยก่อนเรียกพิมพ์นี้ว่าพิมพ์ไกเซอ)  9พิมพ์ปรกโพธิ์  10พิมพ์นอนไสยสาสน์ นอกจากนี้ยังมีอีกพิมพ์หนึ่งซึ่งเป็นพิมพ์พิเศษและหายากมาก คือ พิมพ์ฐานสิงห์ ในการสร้างครั้งนั้นเป็นงานใหญ่มากเนื้องจากเป็นงานช้างจึงได้มีการเกณเอาชาวบ้านพระเณรมาช่วยกันตำมวลสารและกดพระ ทำให้สมเด็จบางขุนพรมเป็นพระที่มีเนื่อหาแก่ปูนและพบมวลสารในเนื้อพระน้อยมากแทบจะไม่มีเลยก็ว่าได้  ต่างจากสมเด็จวัดระฆังที่เป็นการสร้างแบบค่อยเป็นค่อยไป มีการตำและผสมสวลสารมากทำพระออกมาหลายครั้งทำให้วัดระฆังมีเนื้อหามวลสารที่มากกว่า สมเด็จวัดบางขุนพรมซึ่งทำแบบรีบเร่งในครั้งเดียว ถึง 84,000 องค์ ทำให้พระจะแก่ปูนขาวเป็นส่วนใหญ่ หลังจากการสร้างเสร็จสิ้นแล้ว เสมียนตราด้วงก็เรียนเชิญสมเด็จโตท่านทำการปลุกเศกและบรรจุพระลงในเจดีใหญ่บางขุนพรม  โดยส่วนตัวผมเชื่อว่าสมเด็จบางขุนพรมเป็นพระที่ไม่ไกลเกินฝันของคนรักพระสมเด็จจริงๆเมื่อเปรียบเทียบกับสมเด็จวัดระฆังแล้วท่านมีโอกาศเป็นเจ้าของบางขุนพรมมากกว่าอีกหลายเท่านัก และเราถูกปลูกฝังความเชื่อที่ผิดๆว่า “ อย่าไปหาเลยสมเด็จบางขุนพรมตอนเปิดกรุมีแค่ สองพันกว่าองค์เองนอกนั้นเป็นพระหักหมด จะไปหาที่ใหน” คำพูดนี้เป็นความจริงครับแต่ก็ไม่ถูกต้อง100% เพราะอะไรเดี๋ยวท่านก็จะเข้าใจต่อจากที่ผมจะเล่าให้ฟังดังนี้   ก่อนที่จะมีการเปิดกรุพระสมเด็จอย่างเป็นทางการในปี พศ 2500 นั้น นากคำบอกเล่าของเจ้าอาวาสและพระลูกวัดบางขุนพรมชุดก่อน ปี 2500นั้น ได้เล่าให้ฟังว่า มีการลักลอบขุดเจดีและขโมยพระสมเด็จ ครั้งแรก เมื่อ พศ 2425 จนถึงเปิดกรุปี 2500  ในครั้งนั้นใช้วิธีการต่างๆ และวิธีที่ hot hit ที่สุดคือการตกเบ็ด การตกเบ็ดพระสมเด็จนั้นมีอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ 1.ตกด้วยดินเหนียว คือการนำดินเหนียวมาปั่นเป็นลูกกลมๆ ผูกติดกับเชือกเบ็ดแล้วหย่อนลงใปในช่องระบายอากาศของเจดี  วิธีที่2 คือการนำเอาตุ๊กแก มามัดหางกับเชือกเบ็ดแล้วย่อนลงใปในชองลมตีนต๊กแกจะเหนียวและติดพระขึ้นมา วิธีนี้เป็นวิธีที่ทำให้พระเสียหายน้อยที่สุด การตกเบ็ดในครั้งนั้นพระที่ออกมาจะสวยงามมีคลาบกรุน้อย เราจึงเรียกว่ากรุเก่า  การขโมยพระสมเด็จมีมานานแต่การขโมยครั้งใหญ่นั้น มีขึ้นในปี พศ 2500 ก่อนเปิดกรุ บอกเล่าโดย พระพิสุวงษ์ สุธรรมโม ในคืนวันนั้นเป็นวันที่ฝนตกไม่แรงมากมีนักเลงพระ ทางภาคเหนือ ร่วมกับเพื่อนลักขุดที่ใต้ฐานพระเจดีพอตัวมุดเข้าไปได้ ขนพระขึ้นมามากมายหลายสิบถุง คิดว่าเกินหมื่นองค์  จนหิ้วไม่ใหว ประกอบกับกลัวเจ้าหน้าที่บ้านเมืองมาพบ ก็มีบางส่วนถูกทิ้งไว้ข้าง เจดีอยู่หลายถุง ดังนั้นก็ไม่แปลกที่ท่านอาจจะพบเจอสมเด็จบางขุนพรมแถวภาคเหนือเพราะมีพระหลุดไปหลายหมื่นองค์เหมือนกัน ส่วนพระที่ถูกทิ้งไว้ มีชาวบ้านในระแวกนั้น ชื่อ ธนา เก็บพระสมเด็จที่คนร้ายได้ทิ้งเอาไว้ ขายต่อให้กับ นายเถกิงเดช คล่องบัญชี ดังนั้นท่านจะเห็นว่า ความเป็นจริงแล้ว พระบางขุนพรมกรุเก่าที่มีการขโมยขุดมาตั่งแต่ 2425 จนถึง 2500 มีจำนวนมากมายกว่าตอนที่เปิดกรุอย่างเป็นทางการเสียอีก จะเรียกได้ว่า ทางวัดมาขุดเป็นมือสุดท้ายก็ว่าได้  ดังนั้น ทางวัดจึงมีพระ สวยสมบูรณ์ตอนออกจากรุนั้น แค่ 2950 องค์แค่นั้น นอกนั้นก็เป็นพระหักหมด  ดังนั้น หากนับระกรุเก่ากรุใหม่ รวมกันแล้วน่าจะมีสมเด็จบางขุนพรมที่มีอยู่พอเล่นหา อย่างต่ำๆ ก็เกิน 10,000 องค์ขึ้นไป  จากทั้งหมด 84,000 องค์  ดังนั้นอย่าคิดว่ามีน้อย เปิดกรุมีน้อยก็จริงแต่อย่าลืมก่อนหน้านั้นเขาขโมยขุดกันมาก่อนนะครับ และอย่าคิดว่าคนเหนือไม่มีโอกาศมีสมเด็จบางขุนพรมแท้ๆ เพราะท่านไปอยู่ภาคเหนือก็ไม่น้อยเหมือนกัน  ในครั้งที่เปิดกรุนั้น ได้กระทำเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน พศ 2500 โดยมี พลเอกประภาส จารุเสถียร รองนายกและรัฐมลตรีมหาดทัย เป็นประธานเปิดกรุ  มีเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร มาเฝ้าตลอดการเปิดกรูโดยไม่อนุญาติให้บุคคลภายนอกมาเกียวข้องในการเปิดกรุอย่างเป็นทางการนี้ เริ่มกันตั่งแต่ เจ็ดโมง เช้า ถึง ตอนเย็นเลยที่เดียว จากคำบอกเล่า ในกรุมีสภาพร้อนมาก ต้องเอาหลอดไฟและฟัดลมช่วยเป่า พระที่ขุดได้ในครั้งนั้นเป็นพระที่มีคราบกรุจับอยู่หนาแน่นมาก  ส่วนมากเป็นพระหัก นับพระที่สมบูรณ์ได้ แค่ 2950 องค์แค่นั้น หลังจากเปิดกรุแล้ว ทางคณะกรรมการวัดจึงทำการประชุมเพื่อ กำหนดราคาให้บูชา โดยมีการเปิดให้บูชาในเดือนธันวาคม ปี 2500 โดยตั่งราคาดังต่อไปนี้

กลุ่มพิมพ์หายากมีน้อย ได้แก่พิมพ์นอนไสยาสน์ มีขึ้นจากกรุ 3 องค์  บูชาองค์ละ 5000 บาท

พิมพ์ใหญ่,เกศบัวตูม,และปรกโพธิ์ สูงสุด 3500 รองลงมา 3000, 2500, 1500 ตามลำดับ

พิมพ์ทรงเจดี,ฐานแซม,และเส้นด้าย สูงสุด 2200 รองลงมา 1500, 800 ตามลำดับ

พิมพ์ฐานคู่ และ สังฆาฎิ สูงสุด 2000 รองลงมา 1600,1200 และ 500 ตามลำดับ

พิมพ์อกครุฑเศียรบาตร หรือพิมพ์ไกเซอ สูงสุด 1400 รองลงมา 1200 , 800 และ 400 ตามลำดับ

หลักการพิจารณาพระสมเด็จ บางขุนพรม มีหลักพื้นฐานเช่นเดียวกับพระกรุทั่วไปคือ

1,  พิมพ์ทรงพระ การวางมือ วางแขน เส้นซุ้ม พยายามจดจำทรงพระให้ดี เพราะของเก๊นั้นเป็นการแกะแม่พิมพ์ขึ้นมาใหม่ยังไงก็ต้องมีจุดพิมพ์ที่ไม่เหมือนกับของแท้ แน่นอน หากพิมพ์ถูก พระก็แท้ไปแล้วครึ่งหนึ่ง

2, คลาบกรุ  คลาบกรุหรือขี้กรุของสมเด็จบางขุนพรมนั้น จะมีเอกลักณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใคร คือสีจะออกไปในโซนสีน้ำตาลไหม้ หรือ ที่เรียกว่าสีโอวันติน คลาบกรุนี้จะติดแน่นหนามากยากต่อการขัดหรือถูออก  คลาบกรุมีความนุ่มนวลในตัวไม่หยาบกระด้างหรือหลุดออกได้ง่าย

3, เนื้อพระเก่าสมอายุเป็นเนื้อแก่ปูนพบมวลสารน้อยมาก หรือ ไม่พบเลย หากพบว่าเป็นสมเด็จบางขุนพรมองค์ใดที่มีมวลสารมากจนเห็นได้ชัดโดยมากจะเป็นพระเก๊

4, การตัดขอบพระบางขุนพรมนั้นสำคัญมาก ในการพิจารณา ต้องดูให้ออกว่าเป็นการตัดด้วยมือเท่านั้น ข้างมีลักษณะของการตัดแบบใช้มือโดยธรรมชาติ หากเป็นการใช้เครื่องตัดพื้นด้านข้างตรงรอยตัดจะเรียบเท่ากันไปหมด ให้เราสังเกตุให้ดี

 

และทั้งหมดนี้ก็คือ ความเป็นไปเป็นมาของพระกรุบางขุนพรม สมเด็จที่ไม่ไกลเกินฝัน

โดยอาจารย์ อเล็ก พระกรุ

 

 
     
โดย : alexanderulic   [Feedback +17 -0] [+0 -0]   Mon 28, Jan 2013 22:01:06
 




 

สมเด็จบางขุนพรมพิมพ์ ใหญ่

 
โดย : alexanderulic    [Feedback +17 -0] [+0 -0]   [ 1 ] Mon 28, Jan 2013 22:03:21





 

สมเด็จบางขุนพรม พิมพ์เส้นด้าย

 
โดย : alexanderulic    [Feedback +17 -0] [+0 -0]   [ 2 ] Mon 28, Jan 2013 22:04:38





 

 

สมเด็จบางขุนพรม พิมพ์ฐานคู่

 
โดย : alexanderulic    [Feedback +17 -0] [+0 -0]   [ 3 ] Mon 28, Jan 2013 22:07:57





 

สมเด็จบางขุนพรม พิมพ์ฐานแซม

 
โดย : alexanderulic    [Feedback +17 -0] [+0 -0]   [ 4 ] Mon 28, Jan 2013 22:09:10





 

สมเด็จบางขุนพรม พิมพ์ฐานแซม

 
โดย : alexanderulic    [Feedback +17 -0] [+0 -0]   [ 5 ] Mon 28, Jan 2013 22:12:25





 

สมเด็จบางขุนพรม พิมพ์สังฆาฏิ

 
โดย : alexanderulic    [Feedback +17 -0] [+0 -0]   [ 6 ] Mon 28, Jan 2013 22:14:26





 

สมเด็จบางขุนพรม พิมพ์อกครุฑ หรือ พิมพ์ไกเซอ

 
โดย : alexanderulic    [Feedback +17 -0] [+0 -0]   [ 7 ] Mon 28, Jan 2013 22:16:02





 

สมเด็จบางขุนพรม พิมพ์ทรงเจดี

 
โดย : alexanderulic    [Feedback +17 -0] [+0 -0]   [ 8 ] Mon 28, Jan 2013 22:17:32





 

สมเด็จบางขุนพรม พิมพ์เกตุบัวตูม

 
โดย : alexanderulic    [Feedback +17 -0] [+0 -0]   [ 9 ] Mon 28, Jan 2013 22:19:32

 

ขอบคุณมากครับ อ.อเล็ก  รอศึกษาเนื้อและมวลสารอยู่ครับ

 
โดย : aosaos    [Feedback +2 -0] [+0 -0]   [ 10 ] Wed 30, Jan 2013 11:52:30

 

ขอบคุณอาจารย์มากครับ   emo_15

 
โดย : sukoncm    [Feedback +2 -0] [+0 -0]   [ 11 ] Thu 31, Jan 2013 05:54:10

 

ขอบคุณครับอาจารย์

 
โดย : nook563    [Feedback +1 -0] [+0 -0]   [ 12 ] Mon 4, Feb 2013 10:34:13

 

emo_10

 
โดย : งามดอยตุง    [Feedback +1 -0] [+0 -0]   [ 13 ] Sat 23, Feb 2013 20:57:58

 

 น้องใหม่ขอขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้  สุดยอดครับ

 
โดย : กฤตณ์รักษ์พุทธศิลป์    [Feedback +1 -0] [+0 -0]   [ 14 ] Thu 25, Apr 2013 12:41:13

 

สวัสดีดีคับ    อาจารย์เล็ก...

ผมได้ติดตามบทเรียนของอ. ตั่งแตบทแรกจน...ทำข้อสอบ..อ่านและดูภาพการเปรียบเทียบหลายครั้ง..จากคนที่ดุพระไม่เป็นเลย...

ก้เริ่มที่่จะเข้าใจ..ถึงพิมพ์ทรง...ธรรมชาติความเก่า...เนื้อพระ...อย่างที่อาจารย์ได้สอน..ผมมีอุปกรณ์การเรียนรู้คืกล้อง..กะหนังสือพระพระ...แตสิงที่ขาดคือพระองค์ครู..คือผมมีความตั่งใจอยากบอกอาจารย์ว่า...ผมอยากได้พระองค์ครูจากอาจารย์..ซัก...4  องค์   อาจารย์อย่าเพิ่งตกใจนะคับ...ผมอ่านบทความอาจารย์...มา 1 เดื่อน  อ่านไปอ่านมา...เก็บเงินได้ 5000  บาทอยากได้พระ.....องค์ครู..4  องค์คับ  1แท้ดูง่าย....2เก้ดูง่าย..3แท้ดูยาก...4.เก๊ดูยาก คับผมอยากจะรบกวนอาจารย์ช่วยผม

ได้ไหมคับ...ผมอยากโทรไปหานะคับแต่เกรงใจมากคับไม่กล้าเพราะผมไม่ใช่เซียนพระเลยไม่รู้ว่าจะพูดอย่างไร....ผมแค่ชอบประวัติศาสตร์ โบราณคดี...พุทธศาสนา..เลยศึกษาไปเรือยคับ   สุดท้ายนี้ต้องขอบคุณ  อาจารย์เล็กมากคับที่ให้ความรู้อย่างเปิดเผยแก่นักสะสม..นักเรียนโบราณคดี..นักเรียนประวัติศาสตร์......ขอให้อาจารย์มีความสุขคับ...ด้วยความนับถืออย่างสูงคับ

 

 
โดย : morntattoo    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 15 ] Tue 7, May 2013 05:26:15

 
พระกรุบางขุนพรม สมเด็จที่ไม่ไกลเกินฝัน โดย อาจารย์ อเล็ก พระกรุ : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.