ว่าที่ด่านการค้าชายแดนถาวรแห่งใหม่ของประเทศไทย
กิ่วผาวอก...เส้นทางใกล้สุด
สู่ฆัณฑะเลย์....ตองยี....ทะเลสาปอินเล ฯลฯ
อันที่จริงโลกของเราที่อาศัยอยู่นี่มันช่าง “ซับซ้อน” ซ่อนเงื่อน ไปด้วยผลประโยชน์มากมาย
ของแต่ละก๊ก แต่ละกลุ่ม ประโยชน์ภาวะเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม ข้างโลก หรือโลกที่ไร้พรมแดน โลกาภิวัตน์ ประชาคมซักโลกต่างปกป้องผลประโยชน์ซึ่งกันและกัน จึงเกิดกลุ่มต่างๆ ในแต่ละภูมิภาคของโลก
โดยเฉพาะซีกโลกอาเซียนที่มีสมาชิก 10 ประเทศ มีประชากรประมาณ 600 ล้านคน ที่พยายามรวมตัวกันเพื่ออำนาจต่อรองทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะเมื่อรวมกันคู่ค้าสำคัญประเทศ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ก็จะทำให้เกิดมวลรวมเศรษฐกิจครึ่งค่อนโลก
คาดว่าในปี พ.ศ. 2558 ประตูสู่การค้าการลงทุนภาคเหนือตอนบนจะเป็นไปตามยุทธศาสตร์ ด้านเศรษฐกิจ การค้า การท่องเที่ยวของโลกเชื่อมโยงกับ จีเอ็มเอส GMS (Greater Mekong Sub regional Economic Cooperation : GMS-EC) เชื่อมโยงกับเส้นทางคมนาคม อาร์สามเอ (R3a: ไทย ลาว จีน) และเปลี่ยนแปลงเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอาเซียน AEC (ASEAN Eonomic Community)
โดยเฉพาะ “กิ่วผาวอก” อ.เชียงดาว ใกล้ๆ กับ อ.ฝาง ประมาณร้อยกว่ากิโลจะเป็นจุดผ่อนปรน เส้นทางคมนาคมสู่ฆัณฑะเลย์-ตองยี-ย่างกุ้ง ประเทศพม่า และอาจเชื่อมต่อไปยังอินเดีย บังกลาเทศ และปากีสถานใต้........ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งการค้าชายแดนที่เราจะไปมาหาสู่ประเทศเพื่อนบ้าน กับ “โลกไร้พรมแดน” ในเขตภูมิภาคของเราที่มีประชากรค่อนครึ่งโลก และความ มั่งคั่ง มั่นคง เสถียรภาพทางเศรษฐกิจในภูมิภาคนี้ โตไม่หยุดอย่างแน่นอน อย่างที่เราได้รับรู้รับทราบถึงเศรษฐกิจในทวีปยุโรปและสหรัฐอเมริกาถดถอยลงทุกวัน
โลกของการแข่งขันในระบบทุนนิยมก็คงเป็นธรรมดา “ปลาใหญ่กินปลาเล็ก, ปลาเร็วกินปลาช้า” บนเวทีเศรษฐกิจโลกอาเซียน ที่เราเดินตามตูดชาติยุโรป – อเมริกา พวกสร้างโอกาส และมีโอกาสในภูมิภาคแห่งนี้.... เราจำเป็นต้องศึกษาและเตรียมความพร้อมอยู่ตลอดเวลาและตลอดชีวิต..............
ในฐานะประชากรอาเซียนคนหนึ่ง ที่ชักชวน พาท่านท่องเที่ยว เดินทางสู่ประเทศอาเซียนประเทศเพื่อนบ้าน อย่าง ลาว จีน พม่า .... เพื่อรองรับโครงการต่างๆ อย่างรถไฟความเร็วสูง ยุทธศาสตร์ทางด้านโลจิตส์ติกส์ของจังหวัดต่างๆ และในอนาคตข้างหน้าเราเชื่อว่า “เชียงใหม่” จะเป็นส่วนหนึ่งของศูนย์กลางสนับสนุนการท่องเที่ยว การขนส่ง ฯลฯ ในภูมิภาคแห่งนี้ก็ว่าได้ ......
|