บทที่ 8 สำริด เป็นโลหะผสมที่ เป็นการนำโลหะตั่งแต่ สองชนิดขึ้นไปมาผสมกันเราจึงเรียกว่าสำริด และมีชื่อเรียกต่างๆกัน แล้วแต่อัตราส่วนในการผสม ทองผสม ก็เป็นโลหะสำริดประเภทหนึ่งเหมือนกัน คนเรารู้จักนำโลหะมาผสมกันเพื่อใช้ประโยชน์กันมานานแล้ว ตั่งแต่หลายพันปีก่อน ที่เรารู้จักกันดีว่ายุคสำริด คือการนำเอาโลหะประเภททองแดง มาผสมกับโลหะอื่น ใช้ทำเครื่องมือและอาวุท แต่ที่เราจะศึกษากันในบทนี้นั้นไม่ใช่สำริดที่เอามาทำอาวุทแต่เป็นสำริดที่เขาเทหล่อทำพระบูชาหรือเทวรูป ซึ่งก็จะถือว่าเป็นพระเการ่วมสมัยกับพระกรุ หรือ แถบจะทุกกรุก็ต้องเจอพระบูชาหรือเทวรูปเพราะกับพระกรุองค์เล็กๆทั้งสิ้น เพื่อให้เข้าใจในสำริดและวิธีการดูสำริดมากยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องให้นักเรียนเข้าใจถึงโลหะสำริด แต่ละชนิดก่อนว่ามีประเภทใดบ้างและมีกรรมวิธีผสมอย่างไร การเทหล่อพระของคนสมัยก่อนนั้นเขาจะยึดถือพิธีกรรมและกรรมวิธีในการสร้างอย่างเคล่งคัดคือต้องถูกต้องตามกรรมวิธีที่สืบทอดกัน ทั้งโลหะที่นำมาหล่อก็ต้องใด้สัดส่วน และที่สำคัญโลหะสำริดที่นำมาทำพระบูชาหรือเทวรูปนั้นจะต่างจากสำริดที่นำมาทำของใช้อย่างมาก เพราะสำริดที่นำมาทำพระนั้นเรียกว่าสำริดชั้นสูง คือจะมีส่วนผสมของทองคำอยู่ด้วยเสมอไม่ว่าจะเป็นสำริดแบบใดก็ตามที่นำมาทำพระ การผสมเขาจะถือตัวเลขที่เป็นโชคและเป็นมงคลมาผสมทำเนื้อ เราจะเรียก ตัวเลขเหล่านั้นแท่นชื่อสำริดแต่ละชนิด สำริดชนิดแรกที่เราจะมาเรียนคือ
ไตรสำริด (สัมฤทธิ์ผล) หรือ สำริดเนื้อ สาม
เป็นโลหะสำริดที่ยืดเอา พระรัตนะไตรให้บังเกิดผล โลหะ ชนิดนี้ จะ มีส่วนผสมของโลหะสามชนิด คือ ทอง เงิน และ ทองแดง โดยจะมีทองแดงเป็นโลหะนำ พูดภาษาชาวบ้านก็คือ ทองแดงเย้อกว่าเพื่อน สีของสำริดเนื้อสามนี้จะออกโทนสีนาค คือสีแดงเนื้อนาค ผิวออกคำมะขามเปียกขัดแล้วออกเป็นทองนาค เป็นโลหะสำริดยอดนิยมที่นำมาทำพระบูชา โดยเฉพาะสมัยอูทองและอยุทธยานิยมกันมาก (เคล็ดลับ อาจารย์ อเล็ก เมื่อนักเรียนมีโอกาศได้จับหรือเช่าบูชาพระเนื้อสำริดประเภทนี้ให้สังเกตุให้ดี ถ้าเป็นพระบูชาให้สังเกตุที่ขอบใต้ฐานพระ เพราะเป็นส่วนที่จะเห็นเนื้อในของสำริดได้ชัดเจนมากที่สุด หากว่า สีออกนาคเข้มมีประกายมันวาว แสดงว่ามีทองคำอยู่ข้างค่างมาก เนื้องจากไม่มีสูตรตายตัวในการผสม แม้จะเป็นสำริดเนื้อสาม แต่ก็มีหลายเกร็ด ขึ้นอยู่กับโลหะที่มีค่ามากที่สุดว่าตัวใหนผสมมากกว่ากัน )
ปัญจะโลหะ (สัมฤทธิ์โชค) หรือ สำริดเนื้อ ห้า เป็นการผสมระหว่าง โลหะห้าชนิด อันประก่อบไปด้วย ทองคำ เงิน ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี มีเนื้อโลหะคล้ายกลองมโหระทึก หรือ ขันลงหิน มีแววเหมือนหางนกยูงอยู่ในเนื้อ หากผสมทองแดงเป็นหลักหรือเย้อกว่าเพื่อนจะให้สีนาคแววนกยูง เนื้อประเภทนี้พบในพระเชียงแสนและสุโขทัยบางยุค
สัตตสำริด (สัมฤทธิ์ศักดิ์) คือสัมฤทธิ์ขาว สำริดเนื้อเจ็ด เป็นมงคลนามหมายถึง โพชฌงค์ 7 คือ องค์ธรรมเป็นเครื่องตรัสรู้ มี 7 ประการ ได้แก่ สติ ธัมมวิจยะ วิริยะ ปิติ ปัสสัทธิ สมาธิ และอุเบกขา สัมฤทธิ์ศักดิ์เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเจ็ด ประกอบด้วย ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี ปรอท เหล็กละลายตัว เงิน และทองคำ สัมฤทธิ์ตระกูลนี้มีวรรณะหม่นคล้ำน้อยๆ แต่มีแวววรรณะขาวผสมผสานอยู่ นับถือกันว่าอำนวยผลในด้านอำนาจ มหาอุด คงกระพัน แคล้วคลาด
นวะสำริด (สัมฤทธิ์เดช) สัมฤทธิ์ดำ หรือนวโลหะ เป็นทองสัมฤทธิ์เนื้อเก้า มีสัดส่วนการผสมได้เกณฑ์ถูกต้องตามมูลสูตรมากที่สุด ดังนั้นภายในจึงมีวรรณะจำปาแก่ หรือสีนากแก่ ผิวเนื้อเมื่อกลับคล้ำเพราะต้องไอเหงื่อ จะดำสนิท ประหนึ่งนิลดำ เรียกกันว่า "สัมฤทธิ์เนื้อกลับ" โบราณถือว่าสัมฤทธิ์นวโลหะทั้ง 2 ประเภทนี้ เป็นสัมฤทธิ์ที่สมบูรณ์ที่สุด หรือเป็นยอดของสัมฤทธิ์ อำนวยผลในด้านมหาอุตม์อันสูงส่ง คืออำนาจตะบะเดชะ มหานิยม ลาภผล ความสำเร็จ คงกระพัน แคล้วคลาด ทุกประการ สูตรผสมเนื้อสัมฤทธิ์เดช หรือนวโลหะ ที่เป็นตำรับของสมเด็จพระพนรัต วัดป่าแก้ว ยุคกรุงศรีอยุธยา ตกทอดมาอยู่กับ สมเด็จกรมพระยาปรมานุชิตชิโนรส วัดพระเชตุพนฯ พระพุฒาจารย์มา ครั้งยังเป็นพระมงคลทิพยะมุนี วัดจักรวรรดิฯ และสมเด็จพระสังฆราช แพ วัดสุทัศน์ ครั้งยังเป็นพระเทพโมลีตามลำดับ เกณฑ์อัตราส่วนผสมของโลหะทั้ง 9 ชนิด มีดังนี้
1) ชิน หนัก 1 บาท
2) จ้าวน้ำเงิน หนัก 2 บาท
3) เหล็กละลายตัว หนัก 3 บาท
4) ตะกั่วเถื่อน หนัก 4 บาท
5) ปรอท หนัก 5 บาท
6) สังกะสี หนัก 6 บาท
7) บริสุทธิ์ (ทองแดงเถื่อน) หนัก 7 บาท
8) เงิน หนัก 8 บาท
9) ทองคำ หนัก 9 บาท
เนื้อทองสัมฤทธิ์เดชนี้ เราจะเห็นได้ว่า ส่วนผสมใช้ทองคำมากกว่าโลหะอื่นๆ ซึ่งหนักถึง 9 บาท จึงจะได้น้ำหนักของเนื้อสัมฤทธิ์เดชเพียง 45 บาทเท่านั้น ซึ่งก็จะสร้างเป็นองค์พระไม่ได้มากนัก ในปัจจุบันจึงไม่มีใครกล้าทำเนื้อทองสัมฤทธิ์เดช ซึ่งเป็นนวโลหะจริงๆ ตามสูตรโบราณเนื่องจากจะสิ้นเปลืองมาก
|