อนนี้มาถึงบทที่ 7 กันแล้ว บทนี้เป็นการศึกษาสนิมแดง ว่ามีความเป็นไปอย่างไรเก๊แท้มีวิธีการดูแบบใหน แต่ก่อนที่จะเข้าบทเรียน มาทำความเข้าใจ คำว่า สนิมก่อน สนิม เกิดจากการทำปฎิกิริยา ออกซิเดชั่น ระหว่าง ออกซิเจ้นกับโลหะ โลหะที่เกิดสนิมได้ง่ายคือ เหล็ก แต่ที่เราจะมาศึกษากันคือสนิมที่เกิดขึ้นกับ พระที่เป็นเนื้อ ตะกั่ว ที่เราเรียกว่า ตะกั่วสนิมแดงนั่นเอง ตามที่อาจารย์ได้บอกไปแล้วว่า เหล็กเป็นโลหะที่เกิดสนิมแดงได้ง่ายที่สุดเราเรียกว่าสนิมเหล็ก แต่สนิมที่เกิดกับโลหะ ที่เป็นตะกั่ว ต้องใช้เวลาเป็นร้อยปีจึงจะทำให้เกิดเป็นสนิมแดงของโลหะตะกั่วขึ้นมาได้ การเกิดสนิมแดง ในแต่ละที่แต่ละกรุก็ขึ้นอยู่กับสภาพกรุและการเก็บรักษา ตลอดจน อายุของพระกรุนั้นๆ เพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้น
สนิมแดงลูกหว่า หรือ แดงเลือดนก
คือมีลักษณะ สีแดงแบบลูกหว่านั่นเอง สนิมแดงโซนนี้ส่วนมากจะเกิดกับพระกรุที่มีอายุ 500 ปีขึ้นไป เช่น พระกรุในสมัยลพบุรีเป็นต้น การดูสนิมแดงโซนนี้นั้นสีของสมิม จะต้องไม่แดงเท่ากันทั้งองค์ คือ มีสีแดง เข้มบ้างอ่อนบ้าง บางจุด ไม่ใช่แดงเป็นสีเดียวกันทั้งองค์ และจะต้องเกิด ไขขาว ผุดขึ้นมาจากสนิม ไขขาวต้องขาวแบบนมสด และมีความนุ่มซึ้งเช่นเดียวกับสนิมแดง และต้องมีรอยแยก คล้ายใยแมลงมุมเกิดอยุ่ข้างในสนิมไม่ใช่แตกออกมาภายนอก เหมือนกับ กระจกร้าวที่เกิดอยู่ภายใน
สนิมแดงเก๊ สีโป้รถยนต์
เป็นการทำสนิมเทียมโดยใช้สีโป้รถยนต์ ผสมให้ได้สีแดงแล้วนำมาพอกบนองพระ การดูสนิมเก๊แบบนี้นั้น ให้สังเกตุให้ดี สีจะเป็นสีแดงเดียวกันทั้งองค์ ไม่มีความนุ่มนวลในเนื้อสนิม การแตกจะปริแตกออกมาภายนอกชัดเจน ถ้าไม่แตกสีจะเป็นคลื่น ดูแล้วไม่เป็นธรรมชาติ
จบ บทที่เจ็ด
|