จากครั้งที่ผ่านมาผู้เขียนขอต่อเรื่อง รารักที่ค้างไว้ ปกติรารักจะเกิดขึ้นกับพระที่เป็นเนื้อดิน และมักจะเกิดขึ้นได้ง่ายกับพระกรุที่มีสภาพความชื้นสูง สภาพกรุไม่ค่อยดีหมายความว่ากรุมีรอยร้าว อิฐร่วงโหล่นลงมาเยอะ หรือเจดีหักพัง ซึ่งเวลาฝนตกหนัก น้ำฝนใหลซึมผ่านตามซอกอิฐลงไปในกรุ หรือกรุโดนน้ำถ่วมขัง จะพูดกันง่ายๆก็คือ พระโดนความชื้นนั่นเองพระก็จะมีรารักเกิดขึ้น ต่อมาเราจะมาศึกษาถึงการแยกแยะ รารักเก๊-แท้กัน รารักที่เป็นของแท้นั้น จะขึ้นเป็น สองลักษณะคือ
1ขึ้นแบบ เกลื้อน (อาการเชื้อโรคผิวหนังชนิดหนึ่ง) ขึ้นชื่อว่า เชื้อรา การก่อตัวก็จะเป็นแบบเดียวกันก็คือเกิดเป็นแผ่นเป็นดวง รารักที่เกิดบนองค์พระก็เหมือนกัน ถึงจุดนี้ผมจะค่อยๆอะธิบายเพราะมันค่อนข้างอะธิบายยาก หมายความว่าพระกรุที่เกิดรารักแบบเป็นแผ่น เมื่อเรายังไม่ส่องกล้องก็จะเห็นว่ามันเป็นแผ่นเดียวกัน แต่เมื่อส่องกล้องดูแล้วจะเห็นได้ว่ารารักมันเกิดเป็นจุดเล็กๆซ้อนทับกันจนเป็นแผ่น ถ้าเป็นรารักเก๊ เขาจะเอาน้ำหมึก ที่เราเรียกว่าหมึกจีน จุ่มผู่กันและสบัดลงบนพระ ดังนั้นรารักของเก๊มันจะดำเรียบเป็นพื้นเดียวกัน
2 ขึ้นเป็นแบบ จุด หมายความว่ารายังไม่ได้จับตัวเป็นแผ่น ถ้าเรียกภาษาแบบชาวบ้านคือเชื้อรายังไม่ลุกลาม การดูรารักที่เกิดเป็นจุดนี้เมื่อเราส่องกล้องให้สังเกตุตรงขอบของรา จะเห็นว่ามันเป็นแฉก คือขึ้นมาเป็นจุดแล้วก็แตกเป็นแฉก ต้องค่อยๆดูและศึกษา
3. คราบไข
คราบไข จะเกิดขึ้นมาจากองค์พระ ที่เป็นพระกรุ เนื้อชิน และ เนื้อผง ไม่ปรากฎในพระเนื้อดิน ในที่นี้ อาจารย์จะพูดถึงไขที่เกิดขึ้นกับพระเนื้อชินและเป็นไขชินเงินเท่านั้น (อาจารย์จะไม่พูดถึงชินเขียวเพราะอาจารย์ไม่เล่น) เราพูดถึงเนื้อดินมาตลอดตอนนี้จะพูดถึงเนื้อชินบ้าง อาจารย์เชื่อว่าหลายคนยังไม่เข้าใจจริงๆถึงเนื้อชิน ถ้าลองถามคนเล่นพระ สิบคนว่าชินเงินทำมาจากอะไร หลายคนก็ต้องบอกว่า ชินเงินก็ต้องมีส่วนผสมของเงินสิ ผิดทันที ก่อนที่จะศึกษาพระกรุเนื้อชิน(ชินเงิน) ก็ต้องเข้าใจว่ามันคืออะไร ชินหรือชินเงิน คือส่วนผสมของโลหะ 2 ชนิด คือ ตะกั่ว กับ ดีบุก ในปริมาณที่ดีบุกมากว่าตะกั่ว เรียกว่าชินเงิน แต่ถามีตะกั่วมากกว่าดีบุกเรียกว่าชินตะกั่ว หรือชินเงินแก่ตะกั่ว ใขที่เกิดขึ้นในเนื้อชินเงินนั้น จะเป็นใขขาวแต่จะไม่ขาวซะทีเดียวจะออกอมเหลืองนวล มีความฉ่ำและนุ่มในตัว การเกิดไขขาวก็เปรียบเหมือนการเกิดรารักในพระเนื้อดิน คือพระเนื้อชินโดนความชื้นจึงเกิดเป็นใขขึ้น เมื่อเราส่องกล้องดูให้สังเกตุดีๆว่าใขของแท้จะ ออกขาวอมเหลืองมีความนุ่มฉ่ำไม่แข็งกระด้าง เกิดขึ้นประปลายไม่ใช่เต็มองค์(พูดถึงชินเงินไม่ใช่ชินเขียว)
(คราบกรุจบไว้แค่นี้ก่อนอจะยังไม่พูดถึง คราบกรุที่มันหนัก คือ รัก กับ สนิมแดง เพราะมันจะยาวเอาไว้จะอธิบายในตอนท้ายๆของบทเรียน)
ธรรมชาติความเก่าอย่างที่สอง คือ เม็ดแร่
เม็ดแร่ก็คือ เม็ดกรวด หิน ทราย แร่ สารพัดที่มีอยู่ในดิน พระเนื้อดินนั้นจะมีอยู่สองโซน คือหยาบและละเอียด แต่ละภูมิภาคแต่ละยุคจะมีการสร้างพระที่ไม่เหมือนกัน คือ ส่วนผสมที่ไม่เหมือนกัน เช่น พระสกุลลำพูนเนื้อดินละเอียด พระสกุลอยุทธยา เนื้อดินหยาบ ไม่ว่าละเอียดหรือหยาบมีเม็ดแร่ทั้งนั้น ให้เราจำไว้เสมอว่าไม่ว่าจะเป็นโซนเนื้อแบบใหน แร่ในพระกรุเนื้อดินเมือจับขึ้นมาแล้วไม่ควรรู้สึกสากมือ คือจับแล้วแร่ ต้องไม่บาดมือ ในองสวยสมบูรณ์ไม่ควรมีเม็ดแร่ลอยให้เห็น แร่ควรจะจมอยู่ในองพระ หากว่าใช้สึกเม็ดแร่ลอยต้องไม่บาดมือและเมื่อส่องดูแร่ต้องมีความเก่า
|