พระล้านนาดอทคอม แหล่งรวมพระเครื่องเมืองเหนือ
โชว์พระเกจิอาจารย์ล้านนา

ข้อมูลเกี่ยวกับ ตะกรุด ครูบาชุ่ม โพธิโก ฉบับเต็ม


ข้อมูลเกี่ยวกับ ตะกรุด ครูบาชุ่ม โพธิโก  ฉบับเต็ม

   
 

ขอกราบไหว้สา   ครูบาชุ่ม ในฐานะพระอริยสงฆ์แห่งลานนา  และเป็นอาจารย์แห่งคณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโก  ผู้ให้ธรรม และแนวทางอาณาปณสติต่อจากหลวงปู่พรหม วัดช่องแค  รวมถึงพระคุณที่ท่านเมตตาให้ ฉายา  โพธิโก   มาเป็นชื่อแห่งคณะฯ  

            ความตั้งใจและข้อมูลที่ผมได้ลงไป ขอท่านครูบาได้ทราบและอนุโมทนาให้พร   แต่หากผมมีเจตนาที่ไม่ดีนำข้อมูลที่ผิดเพี้ยนมาลง เพื่อประโยชน์ส่วนตัวในทางการค้าหรือทางใดก็ดี     ขอความวิบัติจงมีแก่ผมโดยพลัน    และเช่นเดียวกันหากแม้มีใครนำข้อมูลที่ผิดเพี้ยนมาลงเพื่อประโยชน์หรือปกป้องผลประโยชน์อย่างใด อันทำให้เกิดความเข้าใจที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนในวัตถุมงคลของครูบา ก็ขอให้ผู้นั้นได้รับผลกรรมที่ได้ทำไว้โดยพลันเช่นกัน

ขอขอบพระคุณ ผู้ให้ข้อมูล และหลักฐาน  โดยเฉพาะข้อมูลจากบันทึกของอาจารย์หมอ สมสุข คงอุไร  อาจารย์แห่งคณะศิษย์รัศมีพรหมโพธิโก ที่ได้จากการสอบถามครูบาชุ่มด้วยตัวท่านเอง  และเจ้าของตะกรุดทั้งหลายที่กรุณา เสียสละเวลา ถ่ายรูปตะกรุดของท่าน และส่งมา เพื่อเปรียบเทียบลักษณะและได้ร่วมให้ข้อมูลครั้งนี้โดยเฉพาะ 

และขอบคุณทุกท่านที่ได้เข้ามาชมในกระทู้นี้  และขอบคุณหลายๆสายที่ได้โทรมายืนยันข้อมูลที่ตรงกันและให้กำลังใจ    เดิมทีเดียวตั้งใจว่าจะยุติเรื่องนี้แล้วเพราะถือว่าได้ให้ข้อมูลไปแล้ว  แต่มีผู้ที่เคารพนับถือ   ขอให้สรุป ไว้หน่อย   ก็เลยต้องขออนุญาตตั้งกระทู้นี้   

 

ผมจึงขอสรุป เรื่องตะกรุด ครูบาชุ่ม   ตามข้อมูลและพยานหลักฐาน   ดังนี้ นะครับ

 

1ตะกรุดหนังลูกควายตายพรายมีต้นตำรับสายวิชามาจากเมืองน่าน  ซึ่งในยุคนั้น โซนจังหวัดน่านมีผู้ก่อการร้ายชุกชุม(พื้นที่สีแดง)  ครูบาอาจารย์สมัยนั้น จึงเน้นสร้างเครื่องรางของขลัง ที่เกี่ยวกับ มหาอุด คงกระพัน โดยตะกรุดหนังฯ เป็นตะกรุดที่นิยมสร้างกันมากในเขต แพร่ น่าน โดยในยุคนั้น  ผู้ที่มีชื่อเสียงที่สุดถือว่าเป็นดั่งปรมาจารย์ทางวิปัสสนา และพระเวทย์(เปรียบเสมือน อ. ทองเฒ่า แห่งสำนักเขาค้อเขาอ้อ) อยู่ทาง จ.แพร่ เป็นสหธรรมิก ของครูบาเจ้าศรีวิชัยและวิชาที่โดดเด่น คือการทำตะกรุดหนังลูกควายตายพราย คือ  พระมหาเมธังกร  วัดน้ำคือ จ.แพร่ ครูบาชุ่มท่านได้ทราบชื่อเสียงของ พระมหาเมธังกร(หลวงปู่หมา)ในคราวที่ตามครูบาเจ้าศรีวิชัย มาบูรณะวัดพระธาตุช่อแฮ พระธาตุประจำปีเกิดครูบาเจ้า ศรีวิชัย จนเมื่อปลงพระศพสรีระครูบาเจ้าศรีวิชัยแล้ว ครูบาชุ่มท่านเดินทางมาศึกษาวิชากับหลวงปู่พระมหาเมธังกรเป็นเวลา 2ปี

 

2.  ครูบาชุ่ม ท่านได้ เรียนวิชานี้ มาจาก พระมหาเมธังกร   โดยมีศิษย์ร่วมเรียนกัน (ทั้งรุ่นพี่และรุ่นน้อง ) ที่มีการค้นคว้ามาพอได้สังเขปคือ

                  1.ครูบา สิทจิ๊ ไจยา (เป็นพ่อครู ของครูบาอินสม วัดเมืองราม จ.น่าน)

                  2.ครูบา อินต๊ะวงค์ปู๋เผือก วัดแสงดาว จ.น่าน

                  3.ครูบา กั๋ญจ๊ะณะวงค์  วัดม่วงตึ๊ด

                  4.ครูบา ขัตติยะวงค์ วัดท่าล้อ จ.น่าน

                  5.ครูบา ญาณะ วัดสวนดอก ( ผู้เป็นพ่อครูบาอาจารย์ ของครูบา สุทธะวงค์(บุญทา) ใจเฉลียว หรือครูบาวัดดอนตัน  ท่าวังผา จ.น่าน )

                  6.ครูบา สุทธะวงค์(บุญทา) ใจเฉลียว หลวงพ่อวัดดอนตัน ท่านก็ทำตะกรดหนังพอกครั่งเช่นกัน แต่ท่านสืบตำรามาจาก ครูบา ญาณะ วัดสวนดอก ไม่ได้สืบตำรากับพระมหาเมธังกรโดยตรง

                  7.ครูบา อาทะวงค์ วัดน้ำปั๊ว อ.สา จ.น่าน

                  8.ครูบา ธรรมจัย วัดศรีนาป่าน

                  9.ครูบา พรหมมา วัดบ้านก๋ง ท่าวังผา จ.น่าน (ครูบาวัดบ้านก๋ง ผู้เป็นอาจารย์ ของครูบา มนตรี วัดพระธาตุศรีสุโทนมงคลคีรี อ.เด่นชัย จ.แพร่ )

                 10.ครูบา อินสม วัดเมืองฮาม (เมืองราม)

                 11. ครูบา ปัญญา วัดซ้อ

                 12.ครูบา บุญเยี่ยม วัดเชียงของ อ.นาน้อย

                 13.ครูบา วงค์  วัดเชียงของ อ. นาน้อย

                 14.ครูบา อินต๊ะยศ วัดไทรหลวง

                 15.ครูบา อินหวัน วัดอภัยคีรี ( พ่อครูอาจารย์ของ ครูบา วัดศรีบุญเรือง)

                 16.ครูบา วัดศรีบุญเรือง จ.น่าน ท่านก็สร้างตะกรุดหนังและสืบตำรามาจาก ครูบา อินหวัน

ครูบาที่เอ่ยนามมานี้ท่านได้สร้างตะกรุดหนังมาเหมือนกัน รวมทั้งที่ยังไม่ได้เอ่ยนามอีกมาก ซึ่งในยุคนั้นเป็นยุคที่เก่าตรงสมัยกับ หลวงปู่มหาเมธังกร และหลวงปู่ ชุ่ม โพธิโก อีกด้วย

 

*********ตามข้อ 1-2 สามารถสอบถามข้อเท็จจริงได้จาก ผู้ที่ใช้นามปากกาว่า หนานบุญแห่งเมืองงาช้างดำ ผู้ศึกษาข้อมูลเรื่องราวเวทย์มนต์ เครื่องรางล้านนามาเป็นเวลาร่วม 30ปี และยังได้รับการขอร้องให้เขียนเรื่องอักขระเลขยันต์เครื่องรางสายล้านนาลงในหนังสือ อุณมิลิต. และยังเป็นผู้ที่ออกมาโต้แย้งเรื่อง ผ้ายันต์พระสิหิงค์หลวง ที่มีเซียนบางคนบอกว่าเป็นยันต์ทัพหลวง แต่สุดท้ายก็จนด้วยพยานหลักฐานจนยอมรับว่าเป็นผ้ายันต์พานครู ตามที่ท่านโต้แย้งไว้    อีกทั้งท่านยังเป็นต้นทางข้อมูลและรังใหญ่เครื่องรางของขลัง ที่แม้แต่เซียนเครื่องรางใหญ่ในส่วนกลางและของลานนา ยังแวะเวียนไปขอความรู้และพยายามขอแบ่งของจากท่านเสมอ ( อภิมหาเซียนเครื่องรางล้านนาท่านหนึ่ง ลองไตร่ตรองนึกดูว่าได้เคยไปขอแบ่งผ้ายันต์พระสิหิงค์หลวงจากท่านบ้างหรือเปล่า) ท่านกรุณาให้เบอร์โทรไว้ คือ  082662519..สำหรับผู้ที่ต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติม  รวมถึงวิธีการใช้ตะกรุดหนังฯ ตามตำราโบราณที่ท่านได้เก็บรักษาไว้  และถ้าโชคดีท่านอาจได้เห็นอักขระในตำราโบราณ  ที่ตรงกันกับอักขระที่ลงในตะกรุดหนังฯ ครูบาชุ่ม ก็ได้

 

3.  โปรดใช้วิจารณญาณไตร่ตรองว่า  ตะกรุดหนังฯที่ทำในยุคนั้น โดยครูบาอาจารย์ท่านอื่นตามข้อ 2 นั้น  ณ ปัจจุบัน จะมีอายุอานามเท่าไหร่ จะปรากฏ ธรรมชาติความเก่าหรือไม่

 

4.  ในส่วนของครูบาชุ่ม  หลังจากที่ได้ศึกษา  วิชาการทำตะกรุดหนังฯ มาแล้ว  ท่านยังไม่ได้ทำตะกรุด เพราะว่ายังไม่พบหนังลูกควายตายพรายตามตำรา   จนมาเมื่อปี 248 กว่า  และปี 2510 ,  2518 ,  2519   ท่านจึงได้สร้างตะกรุดหนังฯขึ้นมา เพราะได้หนังลูกควายตายพรายตามตำรามา  ( ได้หนังฯมา 4 ครั้ง  แต่ละครั้ง ได้หนังมาประมาณ ฟุตกว่า ๆ เพราะเป็นหนังลูกควายที่ตายขณะอยู่ในท้องนะครับ ตัวไม่โตนะครับ บางคนเข้าใจว่าเอาทั้งแม่และลูกควาย ขอย้ำ เอาเฉพาะลูกควายที่อยู่ในท้องแม่นะครับ  และในปี 2519  ได้หนังลูกควายตายพรายมีลักษณะ 8 ขา 4 เขาและเป็นควายเผือกมา )  รวมทำทั้งหมดไม่เกิน 400 ดอก 

 

***ในส่วนนี้ได้ข้อมูลจากพ่ออุ้ยปั๋น  และบันทึกของอาจารย์หมอ สมสุข  คงอุไร  ที่ได้สอบถามจากครูบาชุ่ม  ด้วยตัวเอง***

 

 

5.  เพื่อให้ลักษณะของตะกรุด แตกต่างกับของ ครูบาอาจารย์ท่านอื่น   ครูบาชุ่ม จึงได้ สร้างตะกรุดให้เป็นเอกลักษณ์ คือ ปิดทอง และ ทาทอง  ( การปิดทองทำในยุคต้น  ส่วนการทาทองทำในตระกรุดยุค 2518 ,2519 เพราะมีสีทองจากการบูรณะวิหารอยู่  ส่วนจะเอาไปแจกใคร  จะตั้งชื่อรุ่นว่าอะไร เป็นเรื่องของคนยุคหลังที่กล่าวอ้างกันเอง ไม่เกี่ยวกับท่านครูบานะครับ)  และลักษณะรูปทรงของตะกรุดจะเป็นเอกลักษณ์    วิธีการสร้างตะกรุดก็คือ.

                      1.เมื่อได้หนังลูกควายตามตำราแล้วต้องมีการพลีเพื่อขอศพลูกควาย  จากศพแม่ก่อน( ตำราต้นฉบับกล่าวไว้)แล้วนำหนัง มาฟอกล้างให้สะอาดแล้วนำมาผึ่งให้แห้ง

                      2.นำหนังมาวัดกะจำนวนปริมาณของดอกตะกรุดว่าจะได้สักกี่ดอก แล้วตัดหนัง เมื่อตัดแล้ว ลงอักขระที่หนังแต่ละดอกว่า  “ พุทธังอัด ธัมมังอัด สังฆังอัด อุดธังอัดโธอัด ฆะขาขาขาขา ฆะพะสะจะ กะพะวะกะหะ”

พุทธังอัด ธัมมังอัด สังฆังอัด อุดธังอัดโธอัด( มหาอุตย์ หยุดปืน ปืนแตก )

ฆะขาขาขาขา (ข่าม เหนียว กันงูเงี้ยว เขี้ยวขอ กันเขา กันปืน กันมีด)

ฆะพะสะจะจะ ( หัวใจข่าม คงกระพัน สารพัดกัน )

กะพะวะกะ (หัวใจ ฟ้าฟี๊ก คลาดแคล้ว ปลอดภัย กันสิ่งไม่ดี)

                       3. นำทองแดงมาเป็นแกนกลางเพื่อจะได้พันหนังได้ง่ายไม่เสียรูปทรง เสร็จแล้วนำ เชือก  เส้นในสายไฟ หรืออะไรก็ได้ ที่แทนเชือกได้มาพันให้แน่นกับทองแดง

                      4.นำครั่งมาพอกไว้เพื่อทำเป็นรูปทรงเดียวกัน(แบบหนำเลี๊ยบ)แล้วนำเชือกสีแดงหรือเหลืองมาร้อยไว้

******โปรดสังเกตตามหลักฐานภาพถ่าย ว่าตะกรุดตามภาพที่นำมาลง  ลักษณะตะกรุดจะเป็นแบบเดียวกัน  และที่สำคัญ จะไม่มีลูกคั่น หรือตะกรุดอื่นคั่นแต่อย่างใด*****

 

6.  ตะกรุดอื่นที่ท่านสร้างคือ  ตะกรุดปรอท, ตะกรุดเสื้อยันต์แบบ 12 ดอก , ตะกรุดยันต์แหนบ ยันต์หนีบ, ตะกรุดเด็ก , ตะกรุดแม่ยิง   ส่วน  ตะกรุด กาสะท้อน  , ตะกรุดขาปิ่นโตพอกครั่ง, ตะกรุดลูกอมพอกครั่ง , ตะกรุดไม้ไผ่ต่าง วัวธนูพอกครั่ง หรือตะกรุดอื่นๆ ท่านไม่ได้สร้างนะครับ

 

*****ข้อสังเกต 1.ในปัจจุบัน  นักค้าขายพระเครื่องที่ไม่ทราบข้อมูลที่แท้จริง หรือมีเจตนาแอบแฝง พอพบเจอ ตะกรุดอะไรก็ตาม เพียงแต่มีลักษณะพอกครั่งเก่าๆก็ตีเป็นของครูบาชุ่ม  เพื่อเหตุผลด้านราคา   ทั้งๆที่ตะกรุดดอกนั้นอาจเป็นตะกรุดของครูบาอาจารย์ผู้มีวิทยาคมท่านอื่นในยุคเก่า ได้สร้างไว้ก็เป็นได้  และขอให้ข้อสังเกตเพิ่มว่าตะกรุดทั้งหลายที่กล่าวอ้างว่าเป็นของครูบาชุ่มนั้น  หากลองเอาของหลายๆเจ้าที่ได้กล่าวอ้างว่าเป็นของครูบาชุ่ม มาวางเรียงกัน จะพบว่ามีลักษณะสัณฐานที่แตกต่างกันมากทีเดียว  

                      ลองนึกเทียบกับเครื่องรางของขลังที่ส่วนกลางเขายอมรับ เช่น ตะกรุดหลวงปู่เอี่ยม เบี้ยแก้หลวงปู่รอด หรือเครื่องรางอื่นที่เป็นที่นิยมของวงการ ทำไมเขาถึงยึดลักษณะการถัก รวมถึงรูปพรรณสัณฐานที่เหมือนกันละครับ 

                     2. ในกรณีตะกรุดพอกครั่งเก่าๆ ผู้เขียนเชื่อว่า น่าจะเป็นของครูบาอาจารย์ตาม ข้อ2. ที่ได้เรียนวิชาทำตะกรุดมาก่อน ,มาพร้อม,หรือภายหลังท่านครูบาชุ่ม  ดังนั้นจึงน่าจะมีพุทธคุณตามตำราที่ได้ระบุไว้ ทั้งนี้เพราะเป็นการสร้างด้วยเจตนาบริสุทธิ์ของพระอริยสงฆ์

                    3.ในกรณีตะกรุดปรอท  ผู้เขียนให้ให้ข้อมูลไปในกระทู้..โชว์พระเกจิลานนา.กระทู้ที่.20699...และในครั้งนี้ได้ลงภาพถ่ายในขณะครูบาชุ่มคล้องตะกรุดปรอทให้แก่ลูกศิษย์มาด้วย  แบบนี้หรือเปล่าที่เซียนเรียกว่า  รับมากับมือ     และโปรดสังเกตุลักษณะของตะกรุดปรอทให้ดีนะครับท่านจะเห็นความจริง

 

 

7. ถามว่ามีเกจิอาจารย์ท่านอื่น  หรือแม้แต่ลุงปั๋น ซึ่งเป็นหลานครูบาชุ่มได้สร้างตะกรุดในลักษณะคล้าย  ของครูบาชุ่ม ( คือมีลักษณะสัณฐาน และการลงทองปิดทอง) หรือไม่  ตอบว่ามี   แล้วถามว่าจะดูยังไง  ก็ตอบว่า ขอให้ท่านได้เห็นตะกรุดหนังฯครูบาชุ่มเพื่อเป็นดอกครู ไวๆ  แล้วพิจารณาตะกรุดที่พบเจอหรือจะเช่าด้วยปัญญา   ซึ่งก็ขอให้ความโชคดีจงมีแด่ท่าน

 

8.  ผมไม่มีตะกรุดหนังฯ หรอกนะครับ ไม่ต้องโทรมาถามบูชา  

 

9.   ผมไม่ใช่เซียนเครื่องราง หรือรู้จักเซียนขายเครื่องรางใดๆ เป็นการส่วนตัว  และผมก็ตระหนักดีครับว่า  การลงข้อมูลในครั้งนี้ ไม่มี ได้  หรือ เสมอตัวหรอกครับ  มีแต่เปลืองตัว  แต่ที่ผมต้องลงข้อมูล ก็เพราะเคารพศรัทธาในครูบาชุ่ม   วันนี้หรือวันไหนที่ผมได้ระลึกถึงท่านครูบา หรือแม้ขณะมองภาพถ่ายของครูบา   ผมก็ภูมิใจครับว่า ยังได้ทำอะไรเพื่อถวายท่านบ้าง

 

10.ผมนำประวัติเครื่องรางครูบาชุ่มมาลงให้ทราบเป็น ก็เพราะแหล่งข้อมูลที่ได้มา มีพยานหลักฐานเป็นที่น่าเชื่อถือได้ เช่น

**ข้อมูลจากบันทึกอาจารย์หมอสมสุข  คงอุไร   ซึ่งได้บันทึกเกี่ยวกับการสร้างวัตถุมงคลของครูบาชุ่ม ซึ่งได้สอบถามจากครูบาชุ่มด้วยตัวท่านเอง ครั้งเมื่อครูบาชุ่มได้มาพักที่บ้านอาจารย์ หมอ ฯ ที่บ้านสะพานเหลือง (ปรากฏหลักฐานตามภาพถ่ายครูบาชุ่มที่ได้ลงไว้ด้านล่าง) อย่างนี้ จะเรียกว่าเป็นข้อมูลชั้นต้นได้หรือไม่   หรือการที่ได้สอบถามจากครูบาชุ่มด้วยตัวเองแล้วมีบันทึกไว้นี้    เป็นแค่พยานบอกเล่าต่อๆกันมา  อันทำให้ขาดน้ำหนักแห่งพยานหลักฐานไป

                  ที่อาจารย์หมอ ฯได้บันทึกไว้นี้  ก็เป็นบันทึกอย่างเดียวกันกับ ที่ท่านได้บันทึกถึงการที่หลวงปู่พรหม วัดช่องแคผม อนุญาตให้ท่านสร้างวัตถุมงคลชุดทองระฆังของหลวงปู่  รวมถึงชุดเนื้อผงต่างๆ ตั้งแต่ปี 2514  ทั้งชนิด จำนวน และการสร้าง  ซึ่งเป็นที่ยอมรับของผู้นิยมพระทั่วทั้งประเทศ

                 **.หลักฐานตามภาพถ่ายที่ปรากฎ  ท่านย่อมเห็นว่าเป็นรูปถ่ายที่แท้จริง มิได้เป็นการตัดต่อ  และขอเรียนว่าภาพทุกภาพ เพิ่งออกสู่สายตาประชาชน ใน เวปพระลานนาแห่งนี้เป็นที่แรก  ในบางภาพท่านจะสามารถเห็นได้ถึงลักษณะของวัตถุมงคลครูครูบาชุ่มได้อย่างชัดเจน  เรียกว่า เห็นอยู่ในมือครูบาท่าน จะๆ 

                 **นอกจากนี้ ในสายท่านเจ้ากรมเสริม ซอย สายลม ซึ่งเป็นศิษย์สายท่าซุง ก็ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างวัตถุมงคลของครูบาชุ่ม ถูกต้องตรงกัน  ตามที่ได้มาลงให้ท่านทราบนี้  ( เมื่อครูบาชุ่มท่านลงมา กทม. ท่านจะพักอยู่สองที่ คือบ้านสะพานเหลือง ของอาจารย์หมอสมสุข ฯ  และบ้านเจ้ากรมเสริม ฯ นี่แหละครับ)    

                      และที่สำคัญ ทุกๆท่านที่ให้ข้อมูล ต่างยินดี และอนุโมทนาที่ได้นำข้อมูลนี้มาลง ข้อมูลที่ถูกต้องอันเป็นการรักษาเกียรติของท่านครูบาชุ่ม  อีกทางหนึ่ง

                      เหนือสิ่งอื่นใดผมทราบดีว่าการลงครั้งนี้ไม่อาจทำให้ท่านกลับมาเชื่อในวันเดียวได้ เพราะในวงการเครื่องรางลานนา เขาเล่นแบบนี้ และเชื่อแบบนี้มานานมาก

 

11.  ในส่วนของท่านผู้อ่านไม่มีใครไปบังคับท่านได้หรอกครับว่าจะให้เชื่อในทางไหน   ทุกท่านย่อมมีวิจารณญาณของตัวเอง   เงินเป็นของท่านเองจะใช้จ่ายไปทางไหนก็แล้วแต่ท่าน  จะเช่าหา  ก็เพราะ  คำขึ้นต้นว่า  กาลครั้งหนึ่ง.....(นิทาน)  ก็ตามแต่ท่าน  หรือชอบที่จะเล่นเอาเฉพาะความเก่า แล้วเป็นขุนหลวงหาวัด  หรือจะเอาแบบประเภทที่เซียนเขาบอกว่า “แบบนี้ขายได้  แต่เอาใช้ไม่ได้”  ก็ตามแต่ท่าน

 

 

ท้ายนี้ขอบารมีครูบาชุ่ม จงปกปักรักษาท่าน  ให้พ้นจากบ่วงมารทั้งปวง   หากแม้มีจิตศรัทธา ในตะกรุด ของท่านครูบา  ขอท่านได้สมปรารถนาโดยเร็ว

 

 

*****

ธันชนก  

วันพระ   15 มี.ค. 2555 

 
     
โดย : ธันชนก   [Feedback +11 -0] [+0 -0]   Thu 15, Mar 2012 11:19:43
 








 
 
โดย : ธันชนก    [Feedback +11 -0] [+0 -0]   [ 1 ] Thu 15, Mar 2012 11:25:04









 

.

 
โดย : ธันชนก    [Feedback +11 -0] [+0 -0]   [ 2 ] Thu 15, Mar 2012 11:30:42





 
 
โดย : ธันชนก    [Feedback +11 -0] [+0 -0]   [ 3 ] Thu 15, Mar 2012 11:32:06









 
 
โดย : ธันชนก    [Feedback +11 -0] [+0 -0]   [ 4 ] Thu 15, Mar 2012 11:33:21









 
 
โดย : ธันชนก    [Feedback +11 -0] [+0 -0]   [ 5 ] Thu 15, Mar 2012 11:34:35









 
 
โดย : ธันชนก    [Feedback +11 -0] [+0 -0]   [ 6 ] Thu 15, Mar 2012 11:35:59









 
 
โดย : ธันชนก    [Feedback +11 -0] [+0 -0]   [ 7 ] Thu 15, Mar 2012 11:37:15









 
 
โดย : ธันชนก    [Feedback +11 -0] [+0 -0]   [ 8 ] Thu 15, Mar 2012 11:38:04





 
 
โดย : ธันชนก    [Feedback +11 -0] [+0 -0]   [ 9 ] Thu 15, Mar 2012 11:38:53

 

เป็นกำลังใจให้ และขอขอบคุณที่นำข้อมูลดีฯมาให้พวกเราชาวพระล้านนา จะจดจำและเป็นแนวทางต่อไปครับ

 
โดย : ลลนาพระเครื่อง    [Feedback +2 -0] [+0 -0]   [ 10 ] Thu 15, Mar 2012 13:26:29

 

 

ขอบคุณครับ  สำหรับข้อมูลเฉพาะในส่วนที่เพิ่มขึ้นจากข้อมูลแรกส่วนแรกของท่านที่ผมได้อ่านมา 

ข้อมูลในส่วนแรกของท่าน   ก็ทำให้ผมไขว้เขวเหมือนกันนะ  แต่ผมเลือกที่จะไม่เชื่อข้อมูลของท่านในทันที   ต้องได้ฟังแนวคิดดั้งเดิม เสียก่อน  ว่าน่าเชื่อเพียงใดหรือไม่  และเมื่อฟังข้อมูลส่วนที่มีเพิ่มของท่านแล้ว  ผมก็ยังต้องวิเคราะห์อยู่ดีว่าจะเลือกเชื่อฝ่ายใด   จำเป็นที่ผมต้องวิเคราะห์   หาข้อสรุปของแนวคิดทั้งสองฝ่าย   สุดท้ายผมก็เลือกที่จะเชื่อแนวคิดดั้งเดิม  ไม่เชื่อแนวคิดของท่าน(ส่วนท่านอื่นๆจะใช้หลักวิเคราะห์อย่างใดก็เป็นสิทธิส่วนตัวแต่ละคน  ว่าใช้หลักวิเคราะห์ที่สมเหตุสมผลหรือไม่  ได้รับฟังหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญหรือยัง)

ประเด็นสำคัญ  คือท่านได้ฟังแนวความคิดเห็นของอีกฝ่ายหรือความเห็นของผู้เชี่ยวชาญหรือยัง     หากท่านได้ฟังแล้ว  ส่วนตัวท่านจะเชื่อหรือไม่เป็นสิทธิของท่าน  แต่การที่ท่านจะจูงใจให้คนหมู่มากที่มีความเชื่อในแนวคิดดั้งเดิมที่มีความเชื่อมาอย่างยาวนาน  เปลี่ยนแนวคิดให้หันมาเห็นคล้อยตามแนวความคิดของท่าน  ก็ขอความกรุณาท่านให้เหตุผลด้วยว่า จากการที่ได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญในแนวคิดเดิมแล้วมันไม่ถูกต้องหรือผิดเพี้ยนอย่างไร  

การที่ท่านรับฟังข้อเท็จจริงของฝ่ายท่านอย่างเดียว  แล้วมาสรุปจูงใจให้คนเชื่อตามท่าน   ดูมันจะไม่ยุติธรรมกับอีกฝ่ายหนึ่งไป  คนเราจำต้องมีจิตใจที่เป็นธรรม  ฟังความเห็นของฝ่ายเรา ฝ่ายเขา  ฝ่ายที่เป็นกลาง   โดยเฉพาะอย่างยิ่งความเห็นของฝ่ายผู้เชี่ยวชาญที่เป็นที่ยอมรับของคนในสังคมส่วนมาก (ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญจอมปลอม)  และองค์ประกอบรวมอื่นๆอีกด้วย

ผมก็เคยเรียนกับท่านมาครั้งหนึ่งแล้ว  ว่ายินดีจะให้เบอร์โทรศัพท์ของท่านผู้เชี่ยวชาญ(อาจารย์วิลักณ์   ศรีป่าซาง)  เพื่อให้ท่านรับฟังข้อมูลให้ครบทุกๆฝ่าย  รวมทั้งต้องรับฟังฝ่ายผู้เชี่ยวชาญเสียก่อน (พราะความเห็นของฝ่ายผู้เชี่ยวชาญถือว่ามีน้ำหนักมากๆที่จูงใจให้ผมเชื่อเช่นนั้น)    จึงสรุปหลักและเปลี่ยนแนวคิดที่มีมาแต่เดิมอย่างยาวนานให้คนอื่นเชื่อตามท่าน   

ท่านจะสาปแช่งผม  ผมก็ไม่ว่าครับ  เหตุเพราะผมทำเพื่อประโยชน์แก่ทุกๆคนแห่งแดนล้านนาและเพื่อประโยชน์ของวัตถุมงคลของครูบาชุ่มให้มีหลักที่นิ่งตายตัว   เหตุถ้าหลักไม่นิ่งจะก่อให้เกิดผลกระทบในด้านร้ายได้   ส่วนผมก็ไม่เคยคิดที่จะไปสาปแช่งท่านและก็ไม่โกรธเกลียดท่านด้วย  เพราะการถกกันในเชิงเหตุและผล ไม่จำเป็นที่ต้องทำให้คนที่ไม่เคยรู้จักกัน   ให้กลายเป็นศัตรูกัน   มันตลกครับ

ท้ายนี้  ผมก็ยังยินดีรับฟังข้อมูลจากท่านอีกเช่นกันชอบด้วยนะครับเพราะได้ความรู้เพิ่มขึ้นดีครับ    และหวังว่าข้อมูลใหม่ของท่านจะทำให้ผมเปลี่ยนใจเชื่อถือตามแนวคิดของท่านนะครับ

ไม่ต้องเกลียดผมนะครับ

ด้วยรัก

 
โดย : ริมฝั่งวัง    [Feedback +19 -0] [+0 -0]   [ 11 ] Thu 15, Mar 2012 15:39:59

 

emo_10

 
โดย : samran    [Feedback +121 -1] [+0 -0]   [ 12 ] Thu 15, Mar 2012 17:34:27

 

เมื่อใด้อ่านข้อมูลเรื่องนี้ และเรื่องปรอทที่เคยลงใว้เก่าๆก็เลยขอร่วมด้วยสักครั้ง ในฐานะที่เล่นพระ และเครื่องราง มาจนหัวหงอก กระทู้ที่ลงแล้วเจ็บตัวแบบนี้และ ชอบมาก  ถ้าถามผมเรื่องปรอทจากข้อมูลของคนตั้งกระทู้ที่เห็นรูปถ่ายชัดขนาดนั้นมีหลักฐานแน่นหนา ชัดเจน สำหรับผม เรื่องนี้ จบเลยและไม่มีใครกล้าหาหลักฐานมาโต๊แย้ง และคงไม่มีคนบ้าที่ไหนเอาปรอทแปลกๆมาแบ่งยุคต้นยุคปลายยัดวัดขายของกันอีก อีกอย่างที่ผมอยากจะบอกเรื่อง ตะกรุดพอกครั่งแปลกๆมีพ่วง หรือเป็นรูปสัตว์ต่างๆ สำหรับผมจบไปตั้งแต่ก่อนปี 2540 แล้ว จะบอกให้ก็ใด้ว่า ช่วง 2538-2540 ผมใด้ ออร์เดอร์จากพรรคพวก ให้หาผ้าโบราณ รู้ไหมเมืองแพร่ เมืองน่านนี่แหละ ที่เป็นแหล่งผ้าโบราณ ใหญ่มาก แต่ตอนนี้ไม่ต้องไปหาแล้วนะ เพราะผมไปเอามาหมดแล้ว ฮ่าๆๆๆๆๆ ซึ่งจากการไปหาผ้านี่เอง ทำให้ผมใด้ตะกรุดติดไม้ติดมือมา มารวมเกือบ200ดอก เห็นมาหมดครับ ตะกรุดพอกครั่งเดี่ยวแบบป้อมๆ หรือ ที่เป็นรูปสัตว์ รูปคน หรือมีตะกรุดเล็ก ตะกรุดน้อยคั่น ถึงจะแปลกแต่ก็แท้หมด นี่แหละ สายเมืองแพร่ เมืองน่าน แบ่งพรรคพวกเข้า ท่าพระจัทร์ สบายไปเลย คิดๆไปก็เสียดาย( ถ้าเอามาขายตอนนี้ คงออกรถสวยๆให้กิ๊กนั่งสบายไปแล้ว)

ที่ผมอ่านดูแล้วของกระทู้นี้ หรือของ เชน เชียงใหม่ ผมใด้ข้อ สรุปว่า ตะกรุดลงทอง นั้นแน่นอนที่สุด เพราะเป็นข้อมูลที่ตรงกัน แต่ ปัญหามันมาอยู่ที่ ตะกรุดแบบไม่มีทองนี่แหละ. ผมลองหาตามร้านที่ลงขายในเวปนี้ที่บอกว่าเป็นของครูบาชุ่มที่เอามาลง ต้องอุทาน ว่า ธัมโม สังโฆเพราะที่พวกเอามาลง มันมีหลายรูปแบบเหลือเกิน กลมบ้าง แบนบ้าง ยาวบ้าง สั้นบ้าง รีบ้าง แถมแบบมีเหลี่ยมก็มี ซ้ำร้ายมีแบบเมืองแพร่ เมืองน่าน ที่เคยใด้มาด้วย จะบ้าตายแล้วทีนี้ จะอายังไง ใครพอมีหลักฐาน เป็นรูปสักใบ ให้รู้กันไปเลยว่า แบบไม่ลงทอง ก็มี ไอ้ประเภทเขาเล่าว่า ไม่เอา เพราะมันเป็นคำพูดของผมที่ใช้มานาน ที่ผมมีอยู่3ดอก แบบรักบี้แต่ไม่มีทองก็ใด้เช่ามาจากเชียนใหญ่ ลำพูน เชียงใหม่นี่แหละ ต่างที่ต่างเวลา แต่ก็รวมปาไป แสนกว่า แต่บอกให้สบายใจเลยน้อง ไม่มีการคืนของ เพาะดูรู้ว่าแท้ เพียงแต่อยากรู้ว่าใช่ครูบาชุ่ม หรือหลวงพ่อองค์ไหนกันแน่ เวลาจะใช้ จะใด้ อารธนาเชิญท่านใด้ถูกองค์

 

 
โดย : ทองระฆัง    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 13 ] Thu 15, Mar 2012 20:48:00

 

องค์กรอยู่มาได้อย่างยั่งยืน  ก็จำเป็นต้องมีผู้มีความรู้เชี่ยวชาญมาเป็นเสาหลัก

ผู้ทำหน้าที่เป็นเสาหลัก ต้องมีความมั่นคง  มีใจที่เป็นธรรม ไม่หวั่นไหวต่อคำพูดหรือการกระทำใดๆที่คิดจะล้มความน่าเชื่อถือของหลักนั้นๆ

หลักก็ต้องเป็นหลัก   และวางหลักนั้นๆเป็นบรรทัดฐานให้กับองค์กรนั้นๆเพื่อเป็นประโยชน์แต่ในด้านดีๆแก่กลุ่มคนที่เกี่ยวข้องจะได้อาศัยหลักอันมั่นคงนั้นๆ

 

 
โดย : ริมฝั่งวัง    [Feedback +19 -0] [+0 -0]   [ 14 ] Fri 16, Mar 2012 08:04:21

 

ว่างแระ

ถึงตอนนี้ให้นึกถึงเรื่องแผ่นดินไหวขึ้นมา  เป็นที่รู้กันทั่วๆไปว่า แผ่นดินไหว ย่อมก่อให้เกิดความเสียหายตามมาทั้ง ชีวิต จิตใจ  ทรัพย์สิน  รวมทั้งเสียหายต่อการพัฒนาของสังคมโดยรวม

ความเสียหายจะมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับความรุนแรง  รวมทั้งสภาพความต่อเนื่องของแผ่นดินไหวที่ตามมา(อาฟเตอร์ช็อค)  

แผ่นดินไหวเมื่อหยุดเร็ว ก็สามารถเข้าซ่อมแซมเยียวยารักษาได้เร็ว  แต่ถ้ายังมีอาฟเตอร์ซ็อคตามมา  ก็ยังเยียวยารักษาได้ไม่เต็มที่  จนกว่าคลื่นอาฟเตอร์ช็อคจะหยุด

ก็ได้แต่ภาวนานะ  ว่าคงจะไม่มีคลื่นอาฟเตอร์ช๊อคตามมาอันจะก่อให้เกิดความเสียหายมากยิ่งขึ้นไปอีก

 
โดย : ริมฝั่งวัง    [Feedback +19 -0] [+0 -0]   [ 15 ] Fri 16, Mar 2012 11:13:02

 

อมิตพุทธ   ใดๆในโลกล้วนอนิจจัง  รักย่อมเข้าใจในรัก   คนหัวหงอกขอบอกกล่าวประสาคนพูดแล้วย่ามใจหยุดไม่ใด้ให้ฟังอีกสักหน่อย  แต่จะบอกเฉพาะเด็กใหม่ที่เข้ามาในวงการพระเท่านั้นนะ  เซียนๆ ที่รักโปรดมองผ่านไปอย่ามาอ่าน   เพราที่เซียนที่รักทำอยู่นี่คือการเข้ามาหาความรุ้  แล้วนิ่งๆ กับหัวข้อนี้เสี่ยงกลัวว่าถ้าพูดอะไรไปแล้วอีกฝ่ายจะไม่รัก  แล้วซุ่มเก็บของ   เออ ทำงี้ก็ถูกแล้ว    ซูฮก   สำหรับเด็กใหม่โปรดฟังไว้   เอาผมหงอกบนหัวเป็นประกันใด้เลย  คำถามที่ได้โยนไปครั้งที่แล้วไม่มีทางได้คำตอบ   และที่สำคัญบรรดาเซียนทั้งหลายคงโทรมาหาคนเขียนหัวข้อนี่แน่  แต่ก็จะยอมรับในพยานหลักฐานที่เห็นกันอย่างนี่     แต่ยังไงก็จะยังมีตะกรุดแบบไม่ลงทองอยู่  เพราะลูกศิษย์ใกล้ชิดมาขอไปก่อนที่จะใด้ลงทอง  หรือสาพัดเหตุผล     ก็ว่ากันไป         แต่ก็ดีใจนะเพราะมันดีคือ ความมั่วซั่วของพวกยัดตระกรุดมันจะน้อยลง   สุดท้าย  มันจะเหลือแต่ที่ฟอร์มมันใช่  ความเก่าถึง  มีทั้งแบบไม่ลงทองจะมีน้อย  หายาก  และก็จะอยู่ในมือเซียน  (และที่ผมอีก3 ดอก) แบบลงทองก็จะนิยมขึ้นมาอีกหน่อยเพราะมันมีหลักฐานตรงกัน   แต่ไอ่แบบป้อมๆ  แบบมีลุกพ่วงลูกคั่น แบบรูป สัตวื รูปคน  มันก็จะกลับไปอยู่ยังสายแพร่สายน่านตามที่มาเดิมของเขา  สาถุ .  ก่อนมาเขียนนี่ก็ไปดูตามร้านขายว่ามีการเปลี่ยนแปลงยังไง  ก็เห็นแล้ว  เออเก่ง  เอาตัวรอดได้  อย่างนี้อยู่วงการใด้นาน    อีกอย่าง ความรู้ที่มันชัดๆมันดี   จะใด้มีหลักการ   อีกหน่อยเวลาเครื่องรางสายเหนือ เข้าสู่ระดับประเทศ จะใด้มีหลักยึด   ไม่ใช่ว่าเล่นมั่วๆยัดมั่วๆขึ้นไป มันจะใด้กินตังเขาในตอนแรก   แล้วมันจะมีคนรุ้จริง  เอาข้อมูล หลักฐาน  มาเผยแพร่   เดี๋ยวนี้อะไรๆมันเร็ว    รุ้กันไปทั่วไปเร็ว    ทีนี้สายเหนือเราก็ตาย   ไม่มีหน้าไปหาผีบรรพบรุษ นึกถึงคนรุ่นหลังก็อายมัน     เชื่อเถอะ      อย่าให้มันเหมือนเครื่องรางของบางสายเลย       เด็กใหม่  ไปดูวิธีการดูความเก่าตะกรุดหนัง  ที่เชน  เชียงใหม่บอกไว้  ว่าหนังต้องบาง  ดูครั่งเก่า   ดูฟรอมร์  ดูทองจากหัวข้อนี่   ก็จะได้ประโยชน์      บางทีมะพร้าวตกลงพื้นมันก็ดังตุ๊บ  แต่ยังไงมันก็ไม่ใช่ฟ้าถล่ม   ก็ต้องมาดูว่ามันใช่มะพร้าวไหม จะได้ประโยชน์อะไรกับมันไหม    ก็เอวัง.

 

 
โดย : ทองระฆัง    [Feedback +0 -0] [+0 -0]   [ 16 ] Fri 16, Mar 2012 20:49:30

 
ข้อมูลเกี่ยวกับ ตะกรุด ครูบาชุ่ม โพธิโก ฉบับเต็ม : พระล้านนา.คอม เว็บ พระเครื่อง พระบูชา อันดับหนึ่ง ของภาคเหนือ ออกแบบเว็บไซต์โดย 2WinWeb design บริการรับทำเว็บไซต์
Copyright Pralanna.com All right reserved. © สงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายโดย บริษัท พระล้านนาดอทคอม จำกัด.